ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : *** กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ รุ่น“ที่ระลึกสร้างพิพิธภัณฑ์เรือหลวงลันตา” ***



(D)


*** เหรียญ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ รุ่น“ที่ระลึกสร้างพิพิธภัณฑ์เรือหลวงลันตา” จัดสร้างโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ ***

วันนี้นำภาพเนื้อตะกั่วรองพิมพ์มาให้ชมรูปแบบเหรียญ เป็นผลงานการแกะบล็อคประมาณ 50 % ยังต้องตกแต่งความงาม ความคมชัดลึกอีกมาก


ดูแล้วสามารถติชมได้ครับ ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ ยินดีน้อมรับและนำข้อมูลไปประมวลผลเพื่อปรับปรุงให้ได้ผลงานที่ดีที่สุดครับ


.........รายละเอียดข้อมูลอื่นๆจะทะยอยลงประชาสัมพันธ์ให้ทราบต่อไปครับ.........

โดยคุณ seetocon (9K)   [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 06:17 น.]



โดยคุณ seetocon (9K)   [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 06:18 น.] #923829 (1/27)


(D)


ลักษณะด้านหลังของเหรียญกรมหลวงชุมพรฯ

....ชื่อรุ่น...ที่ระลึกสร้างพิพิธภัณฑ์เรือหลวงลันตา....ปีที่สร้าง.....พศ. 2552

....รูปเรือหลวงลันตา 714 เป็นเรือหลวงประเภทยกพลขึ้นบก ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างมากมาย (จะนำประวัติเรือมาลงให้ทราบอีกทีครับ)

....พญานาค เป็นผู้ปกป้องคุ้มครองดูแล ล้อมรอบ อักขระ อะสังวิสุโลปุสะพุภะ (นวหรคุณหรือยันต์เก้า) และ พามานาอุกะสะนะทุ (หัวใจพาหุง) ตรงกลางเป็นยันต์ของหลวงปู่ศุข (วัดปากคลองมะขามเฒ่า) กับ อัขระ มะ อะ อุ และมีอัขระ นะ...โม...พุท...ธา...ยะ อยู่รอบพญานาค



อธิบายผิดพลาดประการใดรบกวนผู้รู้แนะนำด้วยครับ

โดยคุณ seetocon (9K)   [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 06:22 น.] #923830 (2/27)


(D)


ภาพเรือหลวงลันตา 714 (ภาพถ่ายจากเรือจริง)

กับทัศนีย์ภาพพิพิธภัณฑ์เรือหลวงลันตา และ อนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

โดยคุณ anupong (1.1K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 07:23 น.] #923882 (3/27)
สวยงามครับ

โดยคุณ kittipat (37)(2)   [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 07:41 น.] #923892 (4/27)
ผมนับถือท่านมากๆครับ

โดยคุณ wichean15 (6K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 08:02 น.] #923901 (5/27)
กระบี่อนุมัติงบสร้างพิพิธภัณฑ์เรือรบหลวงลันตา
11:58 น.


นายสมศักดิ์ กิตติธรกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า จากการที่มีการประชุมสภา อบจ.กระบี่ มีระเบียบวาระการประชุมที่สำคัญ
เรื่องขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสม
เพื่อดำเนินโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์เรือรบหลวงลันตา จำนวน 38,181,142 บาท ซึ่งในที่ประชุมเห็นชอบผ่านงบประมาณจำนวนดังกล่าว
ด้วยเสียงเอกฉันท์

สำหรับโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์เรือรบหลวงลันตา องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ได้ขอรับการสนับสนุนเรือรบหลวงลันตาที่ได้ปลดประจำการ
ไปแล้วจากกองทัพเรือ
เพื่อนำมาจัดสร้าง เพื่อนำมาจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์เรือรบหลวงลันตา บริเวณปากแม่น้ำกระบี่ ปากคลองจิหลาด หน้าที่ทำการสำนักงานองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดกระบี่
เนื่องจากเรือรบหลวงลันตาเป็นเรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ของกองทัพเรือ และชื่อของเรือรบหลวงลันตา ตรงกับชื่ออำเภอเกาะลันตาจังหวัดกระบี่
หลังจากที่ทำการสร้างแล้วเสร็จ
ก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดกระบี่

http://breakingnews.nationchannel.com/r ... sid=359632

โดยคุณ wichean15 (6K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 08:03 น.] #923902 (6/27)
ประวัติเรือหลวงลันตาจากเว็บของอบจ.กระบี่ฮะ

ประวัติของเรือหลวงลันตา


เรือ LST-1141 ถูกสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2488 โดยบริษัท Chicago Bridge and Iron CO.,
และได้เคลื่อนตัวลงน้ำเมื่อ
วันที่ 18 เมษายน โดยการอุดหนุนของคุณกวินโดลีน เค เข้าประจำการในวันที่ 9 พฤษภาคม 2488 ตามคำสั่งของ Lt. E. M. Biggs

หลังจากเรือได้ประจำการอยู่ที่ Mississippi เรือ LST-1141 ได้ย้ายจาก นิวออรีนในวันที่ 16 พฤษภาคม และเริ่มที่จะปรับปรุงเรือเพื่อใช้
ในการบรรทุกสินค้า
เรือได้อยู่ภายใต้การดูแลของ California และออกเดินเรือไปยัง Hawaii ในวันที่ 13 กรกฎาคม และเทียบท่าอยู่ที่ Pearl Harbor
ในวันที่
23 กรกฎาคม เรือได้ออกเดินทางไปทางตะวันตกในวันที่ 15 สิงหาคม โดยเดินทางไปเรื่อย ๆ ผ่าน Eniwetok, Marianas และเข้าถึงท่าเรือ
Apra ของ Guam,ในวันที่ 31 สิงหาคมในวันที่ 5 กันยายน เรือได้เดินทางไปยัง Saipan และTokyo ในช่วงต้น ตุลาคม เริ่มปฏิบัติการอยู่ที่
Marianas จนกระทั่งวันที่ 6 ธันวาคม ได้กลับไปยัง Pearl Harbor เรือได้เข้าถึง San Francisco ในวันที่ 22 ธันวาคม 2488
เริ่มปฏิบัติการณ์เป็นเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง California จนกระทั่งถึงพฤษภาคม 2489

เรือ LST-1141 ได้ปฏิบัติการณ์ที่ San Diego. ในวันที่ 2 พฤษภาคม ได้เดินทางไปยังแปซิฟิค ตะวันตกเพื่อตรวจการณ์อยู่เป็นเวลา 2
ปีเรือได้เข้าถึง
Shanghai, China ในวันที่ 12 มิถุนายน และเดินทางถึง Sasebo ของญี่ปุ่นและกลับไปยัง Tsingtao. ในวันที่ 27



หลังจากนั้นได้ยกเว้นการเดินทางเป็นครั้งคราวไป Okinawa, Guam หรือ Philippines, โดยเป็นเรือตรวจการณ์ยามฝั่งจีน.
ในวันที่ 15 เมษายน 2492
เรือได้ออกเดินทางไป Shanghai โดยผ่าน Keelung , Taiwan , Subic Bay และ Pearl Harbor ไปยังสหรัฐอเมริกา.
เรือได้เข้าถึง San Francisco ในวันที่ 2 มิถุนายน เรือได้รับคำสั่งให้ไปช่วยปฏิบัติเป็นกองเรือราบล่าตระเวนที่ Pacific.
ในวันที่ 24 สิงหาคม 2492
เรือได้ถูกปลดประจำการและเปลี่ยนไปเป็นเรือสำรองที่ San Diego.

โดยคุณ wichean15 (6K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 08:03 น.] #923903 (7/27)
การทำสงครามในเกาหลีช่วง มิถุนายน 2493 ก่อให้เกิดความต้องการเรือขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นและในวันที่ 7 สิงหาคม 2493 มีคำสั่งให้ LST-1141
เรือได้ถูกเรียกเข้าประจำการอีกครั้งที่ San Diego ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2493. หลังจากได้ปรับปรุง, ซ่อมแซมให้สมบูรณ์และบรรทุกเสบียงจนเต็ม
เรือ LST-1141 ได้ออกเดินทางไปย้งญี่ปุ่นในวันที่ 21 มีนาคม 2494 และได้เข้าเทียบท่าที่เมือง Yokosuka ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2494.
ในระหว่างที่ปฏิบัติการณ์อยู่ในตะวันออกไกล เรือได้มีส่วนร่วมในลำเลียงคนและลำเลียงเสบียงจากญี่ปุ่นไปเกาหลี และมีส่วนร่วมในการช่วยแหลือคนทางน้ำจากญี่ปุ่น.
ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2495 เรือได้ออกเดินทางจาก Yokosuka กลับไปยัง San Diego

โดยคุณ wichean15 (6K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 08:03 น.] #923904 (8/27)
ในวันที่ 8 มีนาคม เข้าปฏิบัติการณ์เป็นเรือยามฝั่ง California จนถึงวันที่ 15 มกราคม 2496 เมื่อเรือได้เดินเรือไปญี่ปุ่นอีกครั้ง ผ่าน
Pearl Harbor,
Guam, Chichi Jima หมู่เกาะBonin. เรือเข้าถึง Yokosuka ในช่วงปลายกุมภาพันธ์ และเคลื่อนตัวไป Sasebo ในวันที่ 17 มีนาคม
และเดินเรือไปยังพื้นที่หวงห้ามของเกาหลี ซึ่งเรือยังคงปฏิบัติการณ์นับจาก 20 มีนาคม จนถึง 19 เมษายน เรือได้รับการซ่อมแซมที่เมือง Yokosuka
จาก 22 เมษายน
ถึง 2 พฤษภาคม. เรือใช้ไอน้ำในการเดินทางไปยัง Inchon. ในช่วงพ.ค. เรือได้ทำการวิ่งจาก Yokosuka ไป Pusan. การปฏิบัติการณ์ครั้งนี้
เป็นการบรรทุกสินค้าจากญี่ปุ่นไปยังท่าเรือของเกาหลีเรื่อยมาจนถึงพฤศจิกายน 2496

โดยคุณ wichean15 (6K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 08:04 น.] #923905 (9/27)
โดยมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในการปฏิบัติการประจำนี้ข้อยกเว้นที่เห็นได้ชัดคือ 35 วันที่เรือใช้เวลาในการจับกุมศัตรูที่ท่าเรือ Wonsan
และบทบาทในการปฏิบัติการการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ คือการขนส่งนักโทษเกาหลีจากสงครามกลางเมือง Koje ไปยังเมือง Inchon
ที่ซึ่งพวกเขาได้รับโอกาสในการเลือกระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์หรืออิสรภาพ

เรือแล่นออกจาก เมือง Yokosuka เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. และแล่นไปยังเมือง San Diego.เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2496 เรือ LST-1141
ใช้เวลาในปี 2497 ในการปฏิบัติการณ์เป็นเรือยามฝั่งทะเลตะวันตก และรวมทั้งการปรับปรุงซ่อมแซมเสาเรือ และการเดินทางสู่เมือง Vancouver,

รัฐ British Columbia. ในวันที่ 3 ม.ค. 2498 เรือแล่นไปยังตะวันออกไกลอีกครั้งและหลังจากเดินทางไกลแบบไม่หยุดพัก
เรือก็ได้เข้าเทียบท่าที่เมือง
Yokosuka .ในวันที่ 1 ก.พ. เรือได้เข้าร่วมในฝูงบินที่ 7 และช่วยเหลือในการกู้ภัยของหมู่เกาะ Tachen

โดยคุณ wichean15 (6K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 08:04 น.] #923907 (10/27)
ในวันที่ 4 เม.ย. เรือ LST-1141 และ LST หน่วยที่ 11 แล่นไปยังรัฐ California และได้เทียบท่าที่เมือง San Diego
ในวันที่ 26 เรือถูกใช้เวลาที่เหลือของปี 2498 สำหรับการฝึกที่หลากหลายกับทหารเรืออเมริกา ที่เมือง San Diego และเมือง Oceanside
,รัฐ California



ในวันที่ 1 ก.ค. 2498 เรือ LST-1141 ถูกตั้งชื่อใหม่ว่า STONE COUNTY เพื่อเป็นการรำลึกถึงมลรัฐในอเมริกา คือ Missouri,
Arkansas, Mississippi.

ในเดือน ม.ค. 2499 เรือ STONE COUNTY ได้เข้าร่วมในการฝึกฝนที่อ่าว Makusin ,หมู่เกาะ Unalaska . หลังจาก 18 เดือน
ในการปฎิบัติการตามแนวชายฝั่งตะวันตก เรือได้แล่นออกสำหรับการเดินทางครั้งใหม่ในมหาสมุทรแปซิฟิค ในวันที่ 13 ส.ค. 2500 ภายในระยะเวลาอันสั้นหลังจาก
ที่เรือได้เทียบท่าที่เมือง Yokosuka แล้วเรือได้บรรทุกทหารเรือ ที่ค่าย McGill ในวันที่

25 ก.ย. และได้นำพวกเขาไปขึ้นฝั่งที่ Naha ,Okinawa ก่อนที่จะกลับไปยังประเทศ Japan. มีการฝึกระยะสั้น 2 ครั้ง ตามมา หนึ่งคือ ที่ Okinawa
และอีกที่หนึ่งคือ อ่าว Subic ในประเทศ Philippines. เรือได้แล่นออกจากอ่าว Subic ในวันที่ 3 ม.ค. 2501 ไปยังประเทศ Japan .
เพื่อที่ไปต่อยัง Hong Kong ตามหมายกำหนดการ การเดินทางสิ้นสุดเมื่อ วันที่ 1 เม.ย. เมื่อLST กลับคืนสู่เมือง San Diego

โดยคุณ เพชรพระอุมา (146)(1)   [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 08:04 น.] #923909 (11/27)


(D)
ขอติชมนิดหนึ่งครับ รูปแบบสวยครับ ด้านหน้าถ้าแกะให้มีมิติ มีความนูนสูงมากหน่อยก็จะสวยมาก ส่วนด้านหลังถ้าเก็บรายละเอียดของเรือให้มากกว่านี้ก็จะดีมากครับ.....

โดยคุณ wichean15 (6K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 08:04 น.] #923910 (12/27)
เรือ STONE COUNTY ได้เข้าร่วมกับฝูงเรือที่ 7 อีกครั้ง ในระหว่างวันที่ 23 เม.ย ถึง 9 ธ.ค. 2502 ในปี 2504 เรือได้เข้าร่วมการปฏิบัติการ
“Silver Sword” ซึ่งถูกจัดขึ้นที่เมือง Maui , รัฐ Hawaii ในเดือนเม.ย. 2505 เรือ LST ได้เข้าปฏิบัติการในมหาสมุทรแปซิลิคอนกลาง
ในส่วนแรกของช่วงเวลา30 วัน ในการสำรวจ EASTPAC เรือได้ให้บริการแบบ logistic สำหรับทีมสำรวจของกองทัพอากาศและกองทัพบก ในเดือน ส.ค.
เรือได้นำทหารของหน่วยทหารราบที่ 25 จากเมือง Oahu ไปยังเกาะในรัฐ Hawaii ระหว่างเดือน ก.ย. และได้กลับมายังเมือง San Diego ในวันที่
1 ต.ค. 2505



เรือ Stone County ได้เข้าปฏิบัติงานในบริเวณ Hawaii อีกครั้ง จากความล้มเหลว ใน 2506 ถึง ม.ค.2507 เมื่อเรือกลับสู่ชายฝั่ง California
เรือแล่นไปยังมหาสมุทรแปซิฟิคจากกลางเดือน ม.ค. 2508 ถึง 7 พ.ค. 2508.



เรือ Stone County ได้ลำเลียงพวกขีปนาวุธ ที่เมือง San Diego ระหว่างเดือน ก.ค.2508 และแล่นไปสู่เวียดนามใต้ ในวันที่ 10 ส.ค.
เรือได้เข้าเทียบท่าที่เมือง Chu Lai ในวันที่ 12 ก.ย. ได้ลำเลียงคน อาวุธ ในวันถัดไป และแล่นไปยัง Hong Kong หลังจากได้แวะที่ท่าเรือ Sasebo
และ Pearl Harbor เรือได้กลับคืนสู่เมือง San Diego โดยเข้าเทียบท่าเมือวันที่ 2 พ.ย. ในเดือน ธ.ค. เรือได้เข้าไปที่อู่ต่อเรือ Todd ,
เมือง San Pedro, รัฐ Calif. สำหรับการซ่อมแซมบำรุงซึ่งได้กินเวลาจนถึงวันที่ 14 ก.พ. 2509 หลังจากได้รับการซ่อมแซมและการฝึกฝน
การปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก แล้วเรือ LST ได้ลำเลียงทหาร ไปยังเวียดนามใต้ เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ผ่าน Pearl Harbor และอ่าว Subic
เรือได้เข้าเทียบท่าที่ Chu Lai เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. ได้ลำเลียงพวกอาวุธวิศวกรรม ขึ้นฝั่ง และเดินทางกลับ Japan .ในวันต่อมา

โดยคุณ wichean15 (6K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 08:05 น.] #923911 (13/27)
เรือ Stone County ได้เข้าเทียบท่าที่ Yokosuka เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. และปล่อยทหารขึ้นฝั่งที่นี่ เมื่อวันที่ 9 ก.ค. เรือแล่นสู่เมือง Naha
และได้บรรทุกเสบียงสำหรับเมือง Da nang, Chu Lai โดยทำการขนส่งเสบียง เพื่อที่จะช่วยเหลือทหารชาวอเมริกา ในพื้นที่กองพัน 1



เรือ Stone County ได้แล่นออกจากพื้นที่ปฎิบัติการ เมื่อวันที่ 21 ก.ย. ไปยังเมือง Sasebo เพื่อซ่อมแซมตัวเรือ เรือได้กลับคืนสู่แวดนามใต้ในวันที่
24 ต.ค. พร้อมด้วยตู้เสบียงที่มากขึ้นจาก สำหรับกองทัพอากาศที่ Qui Nhon เรือได้เข้าร่วมเดินทางสู่เมือง Okinawa ในวันถัดมา
เพื่อที่จะบรรทุกอุปกรณ์กลับไปยัง United States เรือแล่นไปยัง Pearl Harbor เมื่อวันที่ 25 พ.ย. และจอดเทียบท่า 2วัน
และได้เข้าเทียบท่าที่เมือง
San Diego เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2509



เรือ Stone County ได้ปฏิบัติการอยู่ข้างนอก ตลอดปี 2510 และจนกระทั่ง 2 ธ.ค. 2511 ในวันที่ 7 มี.ค. เรือได้แล่นไปสู่แปซิฟิคตะวันตกโดย
ทำการแวะที่ Pearl Harbor , Saipan , Guam และอ่าว Subic เรือ LST ได้เข้าสู่เมือง Da nang เมื่อวันที่ 25 เม.ย.
และได้เข้าปฏิบัติการเป็นเรือยามฝั่งจนกระทั่งวันที่ 13 มิ.ย. หลังจากนั้นไม่ช้าจากวันที่ 18-28 มิ.ย. เรือได้แล่นกลับสู่เมือง Da nang
เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นกองเรือสนับสนุน เรือได้จอดที่ฐานทัพในแนวชายฝั่งเวียดนามใต้ จากวันที่ 10 ส.ค. ถึง 6 ต.ค. ในวันที่ 7 ต.ค. เรือ Stone County
ได้ถูกปลด ให้กลับไปยัง United States และไดเข้าเทียบท่าที่ San Diego ในวันที่ 31 ธ.ค. 2511

โดยคุณ wichean15 (6K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 08:05 น.] #923912 (14/27)
เรือ Stone County ได้ปฎิบัติการเป็นเรือยามฝั่งแคลิฟอร์เนีย จนกระทั่งวันที่ 23 ต.ค. 2512 เมื่อเรือแล่นไป Guam ผ่าน Pearl Harbor
เรือได้เข้าเทียบท่าที่ท่าเรือ Apra ซึ่งเป็นท่าเรือใหม่ของ เรือ Stone County ในวันที่ 19 พ.ย. 2512

หลังจากการซ่อมแซมที่ท่าเรือ Apra , เรือ Stone County ได้ถูกส่งไปอยู่ภายใต้สิทธิการเช่า ให้แก่ประเทศไทย ในวันที่ 12 มี.ค. 2513
เรือ Stone County ( LST-4) เรือได้



กลับคืนสู่อเมริกาหลังจากหมดสัญญาเช่า เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2516 และได้ถูกส่งให้รัฐบาลไทย ภายใต้สัญญาการชื้อขายในวันเดียวกัน เรือ Stone County
ได้ติดอยู่ในรายชื่อเรือรบหลวงของกองทัพเรือ ในวันที่ 15 ส.ค. 2516 ด้วย .

โดยคุณ wichean15 (6K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 08:07 น.] #923914 (15/27)
เรือ Stone County ได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น LST- 714 ระหว่างปี 2538 และ2540
เรือหลวงลันตายังคงปฏิบัติงานกับกองทัพเรือไทย จนถึง พ.ค. 2542.

โดยคุณ wichean15 (6K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 08:13 น.] #923920 (16/27)
ข้อมูลเรือหลวงลันตา


เรือหลวงลันตาเข้าประจำการกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2484 ในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 เดิมชื่อ USS STONE COUNTRY โดยกองทัพเรือได้รับการอนุเคราะห์มาจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 12 มี.ค. พ.ศ. 2513 ปลดระวางประจำการ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2550 เรือหลวงลันตาเป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ สังกัด กองบัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบก กองทัพเรือ ประกอบด้วยกำลังพล 95 นาย อาวุธปืน 73 กระบอก ความยาว 98 เมตร ความกว้าง 15.5 เมตร ระวางขับน้ำ 4,080 ตัน

โดยคุณ wichean15 (6K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 08:14 น.] #923922 (17/27)
นายสมศักดิ์ กิตติธรกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ กล่าวถึงโครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์เรือหลวงลันตาว่า “เรือหลวงลันตา...เป็นเรือที่ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๓ โดยนำเอาชื่อของเกาะลันตา ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกระบี่ เป็นชื่อประจำเรือ เรือลำนี้สร้างขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ เคยผ่านสมรภูมิการรบในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ และสมรภูมิอื่นๆอีกหลายครั้ง แม้แต่ตอนเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ก็ได้ออกมาปฎิบัติการช่วยเหลือประชาชน ในฝั่งทะเลอันดามัน ปกติเรือรบขนาดใหญ่แบบนี้เมื่อปลดระวางประจำการแล้วกองทัพเรือจะไม่มีที่เก็บ ก็จะถูกนำไปเป็นเป้าสำหรับซ้อมยิงเพื่อให้จมกลางทะเลเป็นปการังเทียม และถ้าเราปล่อยให้เป็นอย่างนั้น ต่อไปถึงแม้ว่าเราจะมีเงินสักพันล้านหมื่นล้านก็ไม่สามารถที่จะหาเรือหลวงที่ชื่อลันตามาทดแทนได้ เพราะเรือหลวงลันตามีอยู่ลำเดียวในโลก


ด้วยเหตุนี้ เรือหลวงลันตาจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่งของชาวจังหวัดกระบี่ ใจถึงความรู้สึกเหล่านี้ เพราะนายพิเชษฐ ไม่ไช่คนกระบี่างเป็นพิพิธภัณฑ์ได้แล้ว เมื่อผมได้ทราบจากกองทัพเรือว่ามีเรือรบขนาดใหญ่อยู่ลำหนึ่งชื่อเรือหลวงลันตา กำลังจะปลดประจำการ ผมและคณะก็ได้เดินทางไปขอเยี่ยมชมและเริ่มเจรจาเพื่อขอนำมาจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ จ.กระบี่ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๙ แม้จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากพอสมควรเพราะเรือลำนี้ยังเป็นของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา แต่ในที่สุดเราก็พยายามจนประสบผลสำเร็จ ขณะนี้รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้มีหนังสืออนุญาตอย่างเป็นทางการให้เรานำมาจัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ได้แล้ว โดยทาง อบจ.กระบี่ ได้เตรียมสถานที่บริเวณท่าเทียบเรือท่องเที่ยวคลองจิหลาด ปากแม่น้ำกระบี่ ไว้เป็นสถานที่ดำเนินการ


จากนี้ไปอีกไม่นาน จังหวัดกระบี่ก็จะได้มีพิพิธภัณฑ์เรือหลวงลันตา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เพิ่มขึ้นมาอีกแห่งพร้อมทั้งมีอนุสาวรีย์พระเจ้ารมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ขึ้นมาเคียงคู่ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เป็นความภาคภูมิใจของพี่น้องชาวกระบี่ตลอดไป”



ข้อมูลเรือหลวงลันตา


เรือหลวงลันตาเข้าประจำการกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2484 ในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2 เดิมชื่อ USS STONE COUNTRY โดยกองทัพเรือได้รับการอนุเคราะห์มาจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 12 มี.ค. พ.ศ. 2513 ปลดระวางประจำการ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2550 เรือหลวงลันตาเป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ สังกัด กองบัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบก กองทัพเรือ ประกอบด้วยกำลังพล 95 นาย อาวุธปืน 73 กระบอก ความยาว 98 เมตร ความกว้าง 15.5 เมตร ระวางขับน้ำ 4,080 ตัน


ลักษณะโครงการ

เป็นการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์เรือหลวงลันตา โดยการนำเอาเรือหลวงลันตาซึ่งปลดระวางแล้ว ขณะนี้จอดอยู่ที่ฐานทัพเรือพระจุลจอมเกล้า จ.สมุทรปราการ โดยการลากจูง ผ่านทางทะเลอ่าวไทย ผ่านประเทศมาเลเซีย ช่องแคบมะละกา สิงคโปร์ เกาะลังกาวี มายัง จ.กระบี่ แล้วยกขึ้นวางบนบก บริเวณท่าเทียบเรือท่องเที่ยวคลองจิหลาด ปากแม่น้ำกระบี่ โดยปรับปรุงภายในตัวเรือเป็นพิพิธภัณฑ์ และตกแต่งพื้นที่ภายในเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยอย่างอื่น พร้อมทั้งก่อสร้างอนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณรอบตัวเรือ ดำเนินการบริหารจัดการและดูแลโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่



สถานที่ดำเนินการ


บริเวณท่าเทียบเรือท่องเที่ยวคลองจิหลาด ปากแม่น้ำกระบี่ ซึ่งเป็นโซนการท่องเที่ยวใหม่ที่กำลังมีการพัฒนา โดยเป็นที่ตั้งของท่าเทียบเรือท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปเกาะต่าง ๆ เช่น เกาะลันตา เกาะพีพี ภูเก็ต ฯลฯ แต่ละปีจะมีผู้ใช้บริการไม่ต่ำกว่า 600,000 คน และยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการแห่งใหม่ 20 หน่วยงาน นอกจากนั้น ยังมีโครงการที่กำลังเตรียมดำเนินการประกอบด้วย ท่าจอดเรือยอร์ช (Marina) พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ (Aquarium) และพิพิธภัณฑ์เรือหลวงลันตา



งบประมาณดำเนินการ


1. ค่าถอดและติดตั้งอุปกรณ์บางส่วน เป็นเงิน 2,000,000 บาท


2. ค่าเคลื่อนย้าย ลากจูงจากฐานทัพเรือสมุทรปราการ ผ่านช่องแคบมะละกา สู่จังหวัดกระบี่ พร้อมค่าประกันภัย เป็นเงิน 5,000,000 บาท


3. ค่าดำเนินการค่าซ่อมแซม ปรับปรุง ภายในและภายนอก รวมทั้งค่ายกเรือขึ้นวางบนบก เป็นเงิน 32,000,000 บาท


4. ค่าก่อสร้างอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรฯ เป็นเงิน 8,000,000 บาท


5. ค่าปรับปรุงภูมิทัศน์รอบบริเวณตัวเรือและอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพร เป็นเงิน 19,000,000 บาท

(รายการที่ 1-3 ดำเนินการโดย บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในเครือกองทัพเรือ) รวมงบประมาณ 66,000,000 บาท

โดยคุณ wichean15 (6K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 08:17 น.] #923925 (18/27)
ขอบคุณครับ

ผม wichean15 อดีตลูกประดู่ ชุมพลทหารเรือ รุ่น 30 ครับบบบบบบบ

โดยคุณ wichean15 (6K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 08:18 น.] #923927 (19/27)
เคยไปราชการ กิน นอน บนเรือลำนี้หลายครั้ง ครับ
ยังจำไม่เคยลืม

โดยคุณ บ้านพระระยอง (2.3K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 08:36 น.] #923950 (20/27)

โดยคุณ nkkrala (2K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 09:46 น.] #924026 (21/27)



ขอบคุณมากครับพี่ wichean15

โดยคุณ gotton (1.1K)(1)   [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 10:04 น.] #924046 (22/27)

โดยคุณ เทพธาโร (5K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 13:55 น.] #924294 (23/27)
-ผมฝึกภาคทะเล..นักเรียนจ่า รุ่นทีี่ 26 ..ได้เรือลำนี้เป็นครู..แล่นตัดอ่าวจาก

ฐานทัพเรือสัตหีบ..มายัง ท่าเรือสงขลา..ระหว่างมรสุม..คลื่นสูง 2-4 เมตร

..ยังนึกภาพเห็นอยู่เลย...เพื่อนๆ..รวมทั้งผม..ขู่ฉลาม..กัน..ถึงเหลืองถึง..เขียว.

นึกถึงความตายเลย...ใช้เวลาถึง 45 วัน..ในกาฝึกครั่งนั้น..ขอบอก..

โดยคุณ nkkrala (2K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 14:01 น.] #924297 (24/27)
โดยคุณ เทพธาโร (118.173.46.*) [12 Nov 2009 13:55] #924294 (23/23)

-ผมฝึกภาคทะเล..นักเรียนจ่า รุ่นทีี่ 26 ..ได้เรือลำนี้เป็นครู..แล่นตัดอ่าวจาก

ฐานทัพเรือสัตหีบ..มายัง ท่าเรือสงขลา..ระหว่างมรสุม..คลื่นสูง 2-4 เมตร

..ยังนึกภาพเห็นอยู่เลย...เพื่อนๆ..รวมทั้งผม..ขู่ฉลาม..กัน..ถึงเหลืองถึง..เขียว.

นึกถึงความตายเลย...ใช้เวลาถึง 45 วัน..ในกาฝึกครั่งนั้น..ขอบอก..


===========

มิน่าหละ ถึงชื่อ ไพ่เทพ


โดยคุณ supap (1.6K)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 15:40 น.] #924387 (25/27)
โคตรคิดถึงเลย เคยไปกิน ไปนอน ในเรือลำนี้หลายเพลา ทร. 21 นย.23 เล่ามาได้เห็นภาพหมดเลย

โดยคุณ seetocon (9K)   [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 20:08 น.] #924692 (26/27)


(D)
ขอบคุณมากครับพี่ wichean15 ที่นำข้อมูลดีๆมาเผยแพร่ให้ทราบทั่วกัน

ขอบคุณพี่ เทพธาโร และ พี่ supap ด้วยเช่นกันครับที่นำอดีตเกี่ยวกับเรือลำนี้มาเล่าสู่กันฟัง

ขอบคุณพี่ๆ เพื่อนๆ ทุกๆท่านที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมทักทายครับผม

ขอบคุณพี่ เพชรพระอุมา ที่ติชม ทาง อบจ.กระบี่ จะน้อมรับแล้วนำไปปรับปรุงครับผม

โดยคุณ สิทธิโชติ (263)  [พฤ. 12 พ.ย. 2552 - 20:31 น.] #924755 (27/27)

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM