ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : เคยงง เรื่อง ชื่อเรียกกริ่งศิรากาศ กริ่งคุ้มเกล้า และ พ.ศ. ที่กล่องไหมครับ



(N)
ความเป็นมาที่ชัดเจนอ้างอิงได้ที่เว็ปไซด์กองทัพอากาศ http://www.rtaf.mi.th/amulet/history.asp และโบว์ชัวการจัดสร้างพระในปี 2542 (เท่าที่หาได้)

สรุป คือ พระกริ่งเป็นหนึ่งในวัตถุมงคลคุ้มเกล้าฯ จัดสร้างโดยมูลนิธิคุ้มเกล้าฯ ที่มีมูลเหตุมาจากการจัดสร้างอาคารคุ้มเกล้าฯ ของโรงพยาบาลภูมิพลฯ ในปี 2522 ในวาระครบรอบ 30 ปีของการ ให้บริการของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชเมื่อ 27 มีนาคม 2522 กองทัพอากาศได้ดำริสร้างอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉินขนาดใหญ่สูง 12 ชั้น มีดาดฟ้าเป็นลานจอดเฮลิิคอปเตอร์สำหรับลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ พร้อมด้วยเครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ืทางการแพทย์ที่ทันสมัยขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศล และเสริมสร้างพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมสิ้นค่าใช้จ่าย 600 ล้านบาทจากเงินที่ประชาชนทั่วประเทศร่วมใจกันบริจาค อาคารคุ้มเกล้าฯ แล้วเสร็จ 3 เมษายน 2528

มูลนิธิฯ เริ่มขอพระบรมราชานุญาตจัดสร้างดำเนินการตั้งแต่ ปี 2526 เป็นต้น ไปแล้วเสร็จประมาณ ปี 2528 วัตถุมงคลคุ้มเกล้าเปิดให้บูชา 2 ครั้ง คือ ปี 2530 ในมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา(5 รอบ)ใน 5ธันวาคม 2530(อันนี้คือ กริ่งศิรากาศ ที่มี 3 เนื้อ จำนวน 39,900 องค์(จำนวนมาจากผู้รู้เว็ปต่างๆ สำหรับพิมพ์คนนิยมเรียก พิมพ์หน้าไทย หรือพิมพ์ที่2)

และปี 2542 ในมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษา(6 รอบ) ใน 5ธันวาคม 2542(อันนี้คือ กริ่งคุ้มเกล้าฯ มหามงคล ที่มีเนื้อนวโลหะเพียงเนื้อเดียว จำนวน 9,720 องค์ ตามโบว์ชัว หรือที่คนนิยมเรียก พิมพ์ที่1)

ความพิเศษของพระกริ่งนี้

...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเททองหล่อแผ่นทอง เงิน นาก ที่จารโดยเกจิอาจารย์ดัง 1,250รูปทั่วประเทศ 16 ม.ค.2527ณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ เป็นชนวนจัดสร้าง

...พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ เมื่อวันที่ 6-7-8-9 เมษายน 2527 โดยโยงสายสิญจน์มาจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดไฟพระฤกษ์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มอบให้พลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ อัญเชิญเข้าขบวนแห่มายังปะรำพิธีจากนั้นเวลา19.19 น.

...สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกได้เสด็จ มาจุดเทียนชัย ไฟพระฤกษ์ พิธีพุทธาภิเษก ใน 6 เมษายน 2527จนถึงรุ่งอรุณของ 10 เมษายน พ.ศ. 2527 จึงได้เชิญสมเด็จพระญาณสังวรดับเทียนชัย เป็นอันเสร็จพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ กล่าวได้ว่า พิธีกำกับโดยสมเด็จพระสังฆราช 2 พระองค์ คือ องค์ที่18 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ(วาสน์ วาสนโน)และองค์ที่19(สมเด็จญาณสังวร)พร้อมเกจิอาจารย์ ดัง108รูป

ข้อคิดเห็นสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้

....ประวัติการสร้างนั้นไม่สงสัยแล้วครับ แต่กล่องและชื่อเรียกในปัจจุบันนี่สิยังงงๆ ถ้าพิจารณาจะพบว่า กริ่งที่นำมาประมูล ถูกต้องตามที่มาที่ไป รวมทั้งกล่องบรรจุพระ ซึ่งส่วนตัวผมเองก็ยังมีข้อแปลกใจในชื่อพระกริ่ง และกล่องพลาสติกของพระกริ่งที่เขียนว่า พระกริ่งศิรากาศ ปี 2524(แต่สร้างในปี 2526 ให้บูชาในปี 2530 แล้วปี 2524 มีไว้ทำไม อันนี้ผมเองก็เคยลงประมูลยังงง เพราะเห็นให้เช่า ประมูลกันทั่วไป เห็นพิมพ์พระถูกต้องก็ไม่สนใจอย่างอื่นแล้ว) แต่ด้านในเป็นพระกริ่งคุ้มเกล้าฯ ซึ่งถ้าเราดูโบว์ชัวของโรงพยาบาล จะพบว่า แท้จริง ชื่อพระกริ่งได้ถูกกำหนดไว้ในโบว์ชัวแล้วตามที่ได้แสดง นอกจากนี้ยังเคยเห็นบางคนที่เอากล่องแบบนี้นำพระกริ่งศิรากาศ (หน้าไทย)บรรจุลงไปในกล่องกำมะหยี่(~เหมือนที่ประมูล) แล้วให้เช่าในนามพระกริ่งคุ้มเกล้าฯ หรือบางทีก็กริ่งศิรากาศ ซึ่งดูแล้วขนาดองค์พระและร่องรับพระไม่พอดีกันเท่าไหร่ สำหรับกรณีนี้ก็เคยอ่านเจอว่า เป็นชื่อเรียกพระราชทาน ถึงพระกริ่งที่สร้างในชุดคุ้มเกล้าทั้งหมด แต่ก็แสดงว่าค้านกับโบว์ชัวสิครับใช่ไหมอันนี้เป็นข้อคิดเห็นเสริมนะครับ ใครมีข้อมูลเพิ่มเติม ช่วยกรุณาเมล์มาบอกกันเป็นวิทยาทานทีครับ

.... การสร้างพิธีเดียวกันจำนวนพระกริ่ง นวะโลหะพิมพ์ที่1 เนื้อเดียวกับพิมพ์ที่2 หรือพิมพ์หน้าไทย มีจำนวน 9,720 องค์ ชัดเจน แต่หรือพิมพ์ที่2 มีจำนวนไม่ชัดเจน คิดประมาณว่า เนื้อทองคำ ไม่น่าถึง 3,000 องค์ เพราะองค์หนึ่งก็ 2บาทแล้ว สมมติตีไป 3,000 องค์ก็ใช้ทองไป 6,000 บาท(90 กว่ากิโลกรัม) เนื้อเงินไม่น่าถึง 15,000 องค์ ยังเหลือนวะโลหะอีก 21,900 องค์ ซึ่งคิดแบบนี้คงพอเห็นภาพว่า กริ่งพิมพ์ไหนมีจำนวนสร้างมากกว่ากัน รูปแบบอาจแตกต่างคนละสไตล์ แต่จำนวนสร้างนี่สิ มากกว่ากันเท่าตัว ถ้าคุณเลือกเก็บเลือกแบบไหนดีครับ...

โดยคุณ nuttakrit (1.6K)  [พฤ. 25 เม.ย. 2556 - 15:48 น.]



โดยคุณ nuttakrit (1.6K)  [พฤ. 25 เม.ย. 2556 - 16:06 น.] #2795264 (1/7)


(N)



โดยคุณ nuttakrit (1.6K)  [พฤ. 25 เม.ย. 2556 - 16:18 น.] #2795272 (2/7)


(N)


อันนี้ตัวอย่างที่มีข้อมูลของกริ่งคุ้มเกล้าฯ มหามงคล (ไม่น่าใช่ชื่อว่า กริ่งศิรากาศ) ซึ่งถ้ามีโบว์ชัวร์วัตถุมงคลคุ้มเกล้า ปี 2530 (ในหลวงครบ 5 รอบ) นี่ ทุกอย่างน่าจะคลี่คลายทั้งจำนวนสร้าง และชื่อเรียก ซึ่งผมเห็นเว็บอื่นที่ให้ความรู้ ข้อมูลบางที่ก็เขียนตามที่ผมเข้าใจ ซึ่งใช้ book said ครับ ไม่ใช่จินตนาการเอาเอง

โดยคุณ nuttakrit (1.6K)  [พฤ. 25 เม.ย. 2556 - 16:21 น.] #2795274 (3/7)


(N)


กริ่งคุ้มเกล้า มหามงคล พร้อมกล่อง ที่ผมนำมาประมูล

โดยคุณ nuttakrit (1.6K)  [พฤ. 25 เม.ย. 2556 - 16:43 น.] #2795298 (4/7)


(N)


ความเห็นนี้ 25 Apr 2013 16:18] #2795272 (2/3) เดี๋ยวจะสับสน คือ ผมหมายถึงในโบว์ชัว ไม่น่าใช่กริ่งศิรากาศตามที่เราเข้าใจกัน แต่ในรูปเล็กๆ ที่มี 3 เนื้อ ที่เรียกว่า กริ่งศิรากาศ น่าจะถูกต้องแล้ว

แต่พอมาดูในนิตยสารลานโพธิ์ กับกล่องพระกริ่งคุ้มเกล้าฯ ก็งง ว่า ใน ลานโพธิ์เรียก พระกริ่งทั้ง 2 รุ่นว่า กริ่งศิรากาศ พิมพ์ที่ 1 กับ 2 ตามที่เราทราบกันดี มีที่มาที่ไปอย่างไรผมก็ไม่เคยอ่านเสียด้วยสิครับ แต่กล่องนี่บอกเลยว่า พระกริ่งศิรากาศ ปี 2524 ที่งงนี่ ผมงงทั้งชื่อและปีสร้างเลย ถ้าแบบนี้โบว์ชัวที่ระบุชื่อ และปี พ.ศ. ที่สร้างก็ผิดสิครับ

โดยคุณ nuttakrit (1.6K)  [พฤ. 25 เม.ย. 2556 - 16:59 น.] #2795324 (5/7)


(N)


อันนี้ชัดเจนว่า ชื่อ คือ "พระกริ่งศิรากาศ ภปร" ดูกล่องของพระครับ แบบบรรจุ 3 องค์ และ แบบบรรจุองค์เดียว

โดยคุณ nuttakrit (1.6K)  [พฤ. 25 เม.ย. 2556 - 17:54 น.] #2795389 (6/7)


(N)


เบาะแสที่พอหาได้ ที่มีการให้เช่าครั้งแรก ประมาณปี 2538 ที่เว็ปไซด์กองทัพอากาศ http://www.rtaf.mi.th/amulet/history.asp

"ในวาระครบรอบ ๑๐ ปี อาคาร “คุ้มเกล้า ฯ” ในวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๘ นี้ กองทัพอากาศจึงขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์ให้กับมูลนิธิคุ้มเกล้า ฯ เพื่อจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยและเตรียมบุคลากร ด้านศัลยศาสตร์อุบัติเหตุให้สามารถให้สามารถให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยจากอุบัติเหตุร้ายแรงบนท้องถนนในโรงงานอุตสาหกรรม และจากอากาศยานอุบัติเหตุุรวมทั้งผู้ป่วยจานเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถลดอัตราการตายและทุพพลภาพได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ โดยกองทัพอากาศจะมอบวัตถุมงคลคุ้มเกล้า ฯ สมนาคุณแก่ผู้มีีจิตศรัทธาทุกท่าน
ในการหาทุนสร้างอาคาร “ คุ้มเกล้า ฯ” และจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยไว้ใช้ในอาคาร “คุ้มเกล้า ฯ” ในครั้งนั้นกองทัพอากาศ ได้จัดสร้างวัตถุมงคล “ คุ้มเกล้า ฯ” ขึ้นเพื่อสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธา ให้การสนับสนุนประกอบด้วยพระพุทธรูปบูชา พระกริ่ง และเหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้อันเชิญพระปรมาภิไธยย่อ “ภ.ป.ร.” ประดิษฐานที่ผ้าทิพย์ของพระพุทธรูปบูชาและพระกริ่งและทรงให้ช่างในพระองค์ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ “ ภ.ป.ร.”

และ

โบว์ชัวในวาระครบรอบ ๑๐ ปี ตามรูป ระบุ
"กริ่งศิรากาศ มีให้เช่า 3 เนื้อ และมีราคา คือ ทองคำ 20,000 เงิน 2,000 นวะ 1000"


และ

รูปในเว็ปอื่นที่นำมาประมูล ซึ่งสังเกตว่า องค์พระพอดีกับช่อง และกล่องมีความเก่าตามอายุ แบบเดียวกับที่ผมลงประมูล

---------------------------------------------------------------------------------------------------

ผมสังเคราะห์เองสรุปได้ว่า

1.พระกริ่งทั้งหมดที่กล่าวมาสร้างพร้อมกัน ในปี 2527 อันเป็นปีที่มีการเททอง และเปิดให้เช่าครั้งแรกในปี 2530 ในวาระมหามงคลในหลวง 5 รอบ พระกริ่งที่ให้เช่าบูชามี 3 เนื้อ เรียกว่า กริ่งศิรากาศ ภปร. จำนวน 39,900.- ไม่ได้แยกจำนวน โดยประมาณ ทองคำ 3,000 องค์ เงิน 15,000 องค์ และนวะโลหะ 21,900 องค์ สำหรับกริ่งคุ้มเกล้าฯ รพ. จำนวน 9,720 องค์ถูกเก็บรักษาไว้ กล่องที่ใช้บรรจุมีทั้งแบบแยก และแบบรวม เป็นกล่องกำมะหยี่ทั้งหมด

2.พระกริ่งครั้งที่ 2 ในปี 2542 ในวาระมหามงคลในหลวง 6 รอบ พระกริ่งที่ให้เช่าบูชามีเนื้อเดียว คือ นวะโลหะ รพ.ได้ให้ชื่อว่า กริ่งคุ้มเกล้าฯ มหามงคล มีจำนวนพระแน่นอน คือ 9,720 องค์ กล่องที่ใช้บรรจุ เป็นกล่องกำมะหยี่

3.เดาว่าพระกริ่งที่บรรจุใน กล่องกำมะหยี่ น่าจะเป็นพระที่ออกให้เช่าบูชาจริงที่ รพ. หรือ เป็นพระกริ่งที่พระราชทาน แต่ที่เป็นกล่องพลาสติก น่าจะจัดทำมาภายหลัง และมีการเข้าใจคลาดเคลื่อนของผู้จัดทำในปี พ.ศ. หรือพระกริ่ง หรือ กล่องอาจจะเป็นของเสริมก็เป็นได้

4.ที่ระบุกันว่า พระกริ่งศิรากาศ ปี 22 และพระกริ่งคุ้มเกล้า ปี 24 ไม่ทราบว่าที่มานี้มายังไง เพราะถ้า พ.ศ. ที่ระบุคือ ปีที่สร้าง แสดงว่า โบว์ชัวของ รพ. มั่วมา หรือมีการอุปโลกปีที่ของพระกริ่งกันขึ้นมาเอง โดยใคร ซึ่งไม่มีที่มาที่ไป ใครมีที่มาบ้างครับ

ท่านใดมีความเห็นต่างขอเชิญครับ ด้วยความเคารพ

โดยคุณ nuttakrit (1.6K)  [พฤ. 25 เม.ย. 2556 - 18:42 น.] #2795447 (7/7)


(N)
ขอเสริม อีกนิดว่า

- ปี 22 น่าจะเป็นปีที่ กองทัพอากาศดำริสร้าง อาคารคุ้มเกล้า ไม่ใช่สร้างพระ เพราะข้อมูลกองทัพอากาศระบุชัดเจนว่า "ในวาระครบรอบ ๓๐ ปีของการ ให้บริการของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชเมื่อ ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๒ กองทัพอากาศได้ดำริสร้างอาคาร อุบัติเหตุและฉุกเฉินขนาดใหญ่สูง ๑๒ ชั้น มีดาดฟ้าเป็นลานจอดเฮลิคอปเตอร์สำหรับลำเลียงผู้ป่วยทาง
อากาศ พร้อมด้วยเครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ืทางการแพทย์ที่ทันสมัยขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศล และเสริมสร้างพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมสิ้นค่าใช้จ่าย ๖๐๐ ล้านบาท จากเงินที่ประชาชนทั่วประเทศร่วมใจกันบริจาค"

- ปี 28 ลป. แหวน ท่านมรณภาพแล้ว เป็นไปได้หรือไม่ว่า รพ.กลัวว่า บุคคลภายนอกจะไม่เข้าใจว่า วัตถุมงคลที่ออกบูชาในปี 2530 (5 รอบในหลวง) หรือ 2538(10 ปี อาคารคุ้มเกล้า) หรือ 2542 (ุ6 รอบในหลวง) ได้จัดทำขึ้นนานแล้วก่อน ลป.แหวน มรณภาพ จึงได้แก้ไขปี หรืออ้างว่าวัตถุมงคลสร้างมาพร้อมกับอาคารคุ้มเกล้าฯ ตั้งแต่ปี 22 เพื่อให้วัตถุมงคลได้รับความนิยม จึงมีการระบุในโบว์ชัวว่าสร้างปี 22(ไม่รู้โบว์ชัวอันไหน) และปี 24(อันนี้ที่มาดำมืดเลย เห็นอีกทีก็มีกล่องแล้ว) แต่ที่รู้คือ ภาพในหลวงเสด็จเททอง ที่วัดดอยแม่ปั๋งและจุดไฟ ในปี 27 ซึ่งหลวงปู่แหวนก็ยังอยู่ จึงเป็นไปไม่ได้ว่า กริ่งจะสร้างในปี 22 หรือ 24 ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นแสดงว่ากริ่งปี 22 หรือ 24เป็นคนละรุ่นกับในโบว์ชัวของ รพ. และเว็ปไซด์กองทัพอากาศ ถ้าแบบนั้นก็สมควรใช้ข้อมูลอื่นที่ไม่ใช่ข้อมูลของโบว์ชัว รพ.

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM