ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : + การตั้งประมูลพระชินเขียว +


+ การดูพระชินเขียวนั้น นักเล่นรุ่นเก่าเขาสอนให้ดูพระชินเขียวที่มีปานดำและไขไข่แมงดาขึ้นจัดๆครับ.
+ แต่อย่างไรก็ตามจากข้อมูลจริงพระชินเขียวที่เป็นพิมพ์มาตรฐานที่วงการยอมรับกลับมีอยู่ไม่กี่ที่ เช่น พระยอดอัฏฐารส พิษณุโลก พระร่วงทรงเกราะ สุโขทัย พระกรุวัดวังบัว เพชรบุรี.
+ ดังนั้นการตั้งประมูลพระเครื่องพระเนื้อชินเขียวในเวบเรา ขอความร่วมมือในการตั้งประมูลเฉพาะพระชินเขียวในรายการต่อไปนี้ก่อนนะครับ
1.พระยอดอัฏฐารส พิษณุโลก
2.พระร่วงทรงเกราะ สุโขทัย
3.พระกรุวัดวังบัว เพชรบุรี
4.พระชินเขียวที่เป็นพิมพ์เดียวกันกับพระชินเงินและขึ้นปานดำ พร้อมไขไข่แมงดาที่ขึ้นจัดๆ
+ ส่วนพระชินเขียวที่ไม่มีพิมพ์มาตรฐานในพระเนื้อชินเงินถึงแม้จะมีปานดำขึ้น ก็ขอให้ *งด* ลงตั้งประมูลชั่วคราวจนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติมครับ ขอบคุณมากครับ

โดยคุณ webmaster3 [จ. 24 เม.ย. 2549 - 07:11 น.]



โดยคุณ Koh3955 (1.4K) [จ. 24 เม.ย. 2549 - 08:26 น.] #585 (1/29)

เห็นด้วยมาก ๆ ครับ


โดยคุณ nauts (1.9K)(1) [จ. 24 เม.ย. 2549 - 09:10 น.] #586 (2/29)

ดีครับ


โดยคุณ thevit (4.3K) [จ. 24 เม.ย. 2549 - 10:31 น.] #590 (3/29)

เห็นด้วยมากๆครับ จะได้ไม่เลอะเทอะไปกันใหญ่


โดยคุณ loeiisan (2.1K) [จ. 24 เม.ย. 2549 - 10:32 น.] #591 (4/29)

รับทราบครับและขอขอบคุณทีมงานที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสมาชิกส่วนรวมครับ


โดยคุณ powerp (191) [จ. 24 เม.ย. 2549 - 12:26 น.] #595 (5/29)






โดยคุณ suangorndang (2.3K) [จ. 24 เม.ย. 2549 - 15:09 น.] #596 (6/29)

ชอบก็ตรงที่มีมาตรฐานสูงนี่แหละครับ


โดยคุณ Nithipat (629)(1) [จ. 24 เม.ย. 2549 - 15:34 น.] #597 (7/29)

ถูกใจมากเลยจริงๆครับ สำหรับกระทู้นี้...น่าจะกำหนดไว้นานแล้วครับ


โดยคุณ boonsak (485) [จ. 24 เม.ย. 2549 - 16:36 น.] #598 (8/29)

มาตราฐานเยี่ยมเหมือนเคยครับ


โดยคุณ sagulaiman (523)  [จ. 24 เม.ย. 2549 - 21:32 น.] #601 (9/29)

แล้วที่อื่นๆมีพระเนื้อชินเขียวอีกไหมครับ


โดยคุณ ทิวไผ่งาม (4) [อ. 25 เม.ย. 2549 - 08:46 น.] #603 (10/29)

เยี่ยมครับ พี่ๆ


โดยคุณ R9999 (8.5K) [อ. 25 เม.ย. 2549 - 12:05 น.] #609 (11/29)



ตอบคุณSagulaiman


โดยคุณ R9999 (8.5K) [อ. 25 เม.ย. 2549 - 12:08 น.] #610 (12/29)



go


โดยคุณ R9999 (8.5K) [อ. 25 เม.ย. 2549 - 12:10 น.] #611 (13/29)



go


โดยคุณ R9999 (8.5K) [อ. 25 เม.ย. 2549 - 13:00 น.] #612 (14/29)



อ้างอิงจากหนังสือ รวมภาพพระชนะการประกวด ของ ลพบุรี ถ้าจะเอามาตรฐานโบร
านจริงๆ เล่นหากันแค่ 2กรุ คือ 1.พระยอดอัฏฐารส พิษณุโลก 2.พระร่วงทรงเกราะ สุโขทัย แล้วถึงเริ่มเป็น พระรอด2หน้า พะเยา แต่ปัจจุบันเริ่มเล่นหากันมากกรุขึ้น เช่น หูยาน มเหศวร ฯ และรวมถึงพระย่อย เช่น พระตระกุลลีลา ตระกุลนาคปรก ตระกุลพระร่วง และอื่นๆอีกมากมาย อยู่ที่ว่าจะเลือกเล่นแบบไหน หรือเราจะไม่ยอมรับพระย่อย ปล่อยให้เขาจัดประกวดกันไปก่อน จนกว่าเขาจะยอมรับกัน แล้วเราค่อยไปซื้อแพง แต่สบายใจ ส่วนตัวผมคงจะไม่ส่งพระไปให้เช็ค แต่จะหาเวลาเดินทางไปขอคำแนะนำด้วยตนเอง และยินดีน้อมรับคำตัดสิน ไม่ได้มีเจตนาเป็นอย่างอื่น อยากจะขอให้หายุติ เพราะถ้ายังคลุมเครืออยู่จะทำให้เสียเครดิตกันเปล่าๆ จึงเรียนมาเพื่อทราบ


โดยคุณ หมอเมืองเพชร [อ. 25 เม.ย. 2549 - 13:15 น.] #613 (15/29)

ขอบคุณคุณ R9999 ครับและจากข้อมูลของนักเล่นรุ่นเก่าไม่มีพระชินเขียวขึ้นจากกรุจริงๆครับ เช่นทางสุพรรณ ก็บอกว่ากรุวัดพระศรีฯไม่มีพระชินเขียวขึ้นจากกรุครับ.
ดังนั้นจึงทางเวบจึงยอมรับพระชินเขียวที่เล่นกันเป็นมาตรฐานแต่ดั้งเดิม คือ 1.พระยอดอัฏฐารส พิษณุโลก 2.พระร่วงทรงเกราะ สุโขทัย 3.พระรอดสองหน้า พะเยา 4.พระกรุวัดวังบัว เพชรบุรี 5.และพระชินเขียวที่เป็นพิมพ์พระเนื้อชินเงินที่มีขึ้นจากกรุจริงและมีปานดำพร้อมสนิมไขไข่แมงดาจัดๆทั้งหน้า-หลังครับ ( ด้านหลังพระจะเป็นธรรมชาติเหมือนพระชินเงิน ไม่เรียบหรือเป็นลายผ้าครับ)


โดยคุณ R9999 (8.5K) [อ. 25 เม.ย. 2549 - 16:23 น.] #615 (16/29)



ไหนๆก็มาไกลถึงขั้นนี้แล้ว ขอความกรุณาช่วยวิจารณ์ รูปนี้เปรียบเทียบกับกระทู้ 2 ภาพ 3 ชื่อภาพ พระยอดอัฏฐารส ไม่จำกัดกรุ พระกรุวัดวังบัว เป็นพระย่อยไม่ใช่กรุชินเขียวมาตรครับ ขอปิดกระทู้ครับ


โดยคุณ R9999 (8.5K) [อ. 25 เม.ย. 2549 - 18:05 น.] #620 (17/29)



ok


โดยคุณ 52331 (1.1K) [พฤ. 27 เม.ย. 2549 - 09:32 น.] #633 (18/29)




โดยคุณ เวชศรี (316) [อา. 30 เม.ย. 2549 - 16:36 น.] #667 (19/29)

ดูแลดีจริงๆ มือใหม่สบายใจ และได้ความรู้ ขอบคุณมากครับ


โดยคุณ nurseman (2.1K) [อ. 30 พ.ค. 2549 - 04:47 น.] #851 (20/29)

ดีครับ จะได้เป็นสากลสำหรับเวปเรา


โดยคุณ อุทัย (1.2K) [พฤ. 08 มิ.ย. 2549 - 12:28 น.] #910 (21/29)

เวบดีเพราะมีมาตรฐาน บริการยอดเยี่ยม สมาชิกถ้อยทีถ้อยอาศัย จริงใจต่อกันครับ


โดยคุณ ทรงศักดิ์ (24) [พ. 06 ก.ย. 2549 - 12:12 น.] #1712 (22/29)

ดีครับแบบนี้ดูเป็นทางการดี


โดยคุณ oat_bangna (795) [ศ. 01 ธ.ค. 2549 - 16:36 น.] #3136 (23/29)

รับทราบครับ


โดยคุณ Lalit (1.3K) [จ. 04 ธ.ค. 2549 - 19:42 น.] #3184 (24/29)

ดีมากๆครับ


โดยคุณ จอมยุทธ4477 (28) [จ. 19 ก.พ. 2550 - 09:50 น.] #4414 (25/29)

ขอความกรุณาเว็บมาสเตอร์ช่วย stop เลยครับเพราะคนประมูล ไม่ทราบ ถ้าผู้ตั้งประมูลนำพระผิดเงื่อนไขของทางเว็บ ผู้ประมูลได้จะได้ไม่เสียความรู้สึก


โดยคุณ korbuakaew (1.7K) [พฤ. 01 มี.ค. 2550 - 11:10 น.] #4623 (26/29)

ช่วงที่เริ่มต้นศึกษาเกี่ยวกับพระเครื่องฯ ก็เคยส่งสัยเกี่ยวกับพระเนื้อชินเขียวของกรุวัดพระศรีฯ สุพรรณบุรี เหมือนกันครับ จึงได้สอบถามจากผู้รู้หลายๆท่าน ที่ชื่นชอบพระกรุวัดพระศรีฯ ทุกท่านยืนยันว่าไม่มีพระเนื้อชินเขียวขึ้นที่กรุวัดพระศรีฯ สุพรรณบุรีครับ แถมยังบอกวิธีการทำพระให้เป็นเนื้อชินเขียวให้ฟังอีก น่าเชื่อถือจริงๆ ครับ. ส่วนตัวผมว่าอย่างไรก็ได้ของให้มีความสุขทั้งผู้เช่าและผู้เช่าเป็นดีที่สุดครับ บางคนที่ผมรู้จักก็ชอบเช่าพระโดยไม่สนใจว่าจะแท้หรือเปล่าเช่าแค่ชอบครับ แต่ไม่ใช่นะครับ นำไปปล่อยต่อ...อีกที


โดยคุณ mitmitee (2.8K) [ศ. 02 มี.ค. 2550 - 13:42 น.] #4637 (27/29)

เรื่อง พระกรุชินเขียว ผมไม่ขอออกความเห็นหรือเถียงว่าชนิดใด มีหรือไม่ แต่อย่าเพิ่งสรุปเลยครับว่าอะไรมีหรือไม่มี อาจเป็นข้อผิดพลาดที่จะทำให้คนรุ่นหลังยึดถือไปตลอด น่าเป็นว่าทางท่านรับตรวจสอบพระ หรือให้ลงประมูลพระ ประเภทชนิดใดก็พอครับ เพราะ
- พระกรุที่ขุดกันในสมัยก่อนมักจะเป็นการลักขุด การที่จะบอกตำแหน่งที่ขุดก็มักปิดบังเนื่องจากกลัวความผิดตามกฏหมาย และหวังว่าบริเวณที่ขุดอาจพบพระอีก ในเบื้องต้นก็มักไม่บอกผู้ใด หรือบอกสถานทีขุดบิดเบือนไป กว่าผู้ขุดความจริงก็ทิ้งเวลามานาน ในปัจจุบันก็ยังมีเหตุการณ์อย่างนี้อยู่สังเกตุได้จากพระที่ขุดพบใหม่ผู้ขุดมักไม่ชี้บอกสถานที่ขุดอย่างเด่นชัด
- กรุพระที่พบในเจดีย์ อาจพบพระหลายยุคหลายสมัย หรือสร้างบรรจุไว้หลายครั้งได้ เนื่องจากกัษตริย์ หรือเจ้านาย แต่ละพระองค์อาจสร้างแต่ละโอกาสบรรจุไปในที่เดียวกันหลายครั้ง หรือด้วยความศรัทธาหรือในการย้ายถิ่นฐานหรือเมืองหลวงบางครั้งก็นำพระที่ต่างยุคต่างสมัยมาบรรจุรวมกัน
- พระที่ขุดพบในบริเวณโบราณสถานใดก็ตาม ยิ่งถ้าเป็นวัดหลวงขนาดใหญ่ อาจมีพระที่ขุดพบหลายครั้ง ตำแหน่งที่ขุดหลายแห่ง หลายชนิด ก็มักเกิดสาเหตุว่า พระที่พบแต่ละครั้งพิมพ์หรือเนื้อ ไม่เหมือนกัน ผู้ที่พบในยุคใดหรือครั้งใดก็มักจะพูดหรือยึดถือในสิ่งที่ตัวเองได้ประสพมาว่าเป็นความจริงถูกต้อง แต่สิ่งที่เกิดก่อนหน้านั้นหรือหลังจากนั้นผู้พูดอาจจะไม่ทราบก็ได้
- พิมพ์พระที่ขุดพบในสถานที่ใดก็ตามอาจมีการพบพระชนิดเดียวกันนี้ในสถานที่อื่นๆ เนื่องจากพระในสมัยโบราณมักจะร่วมช่วยกันสร้างเพื่อสืบต่อศาสนา พระหรือผู้ที่มาร่วมทำพิธีก็อาจมาจากหลายวัด หลังทำพิธีเสร็จก็จะแบ่งแต่ส่วนน้อยไปบรรจุตามถิ่นฐานที่อยู่ของตนเอง ในการสร้างพระปัจจุบันนี้ก็พบเห็นอยู่ว่าเมื่อร่วมกันสร้างพระเสร็จก็มักแบ่งวัตถุมงคลไปแจกผู้ศรัทธากัน ก็มักเกิดปัญหาว่าพระที่ขุดพบพิมพ์เดียวกันแต่ตั้งชื่อไม่ตรงกัน ก็เนื่องจากมีการพบเห็นต่างสถานที่กัน สำหรับตัวผมในเรื่องนี้ผมมักยึดเมืองที่พบมักไม่แยกสถานที่ขุดพบ
- เรื่องค่านิยมในวัดถุที่นำมาสร้างพระหรือเนื้อพระ ก็ขึ้นอยู่กับความนิยมในสมัยนั้นๆ เช่น ในพระเนื้อชินเงินหรือพระเนื้อตะกั่ว ก็มักผสมธาตุปรอทเนื่องจากถือว่าปรอทเป็นวัตถุมงคล(เป็นวัตถุที่เป็นของเหลวหนักเหมือนโลหะแข็งมีการระเหยหายไปเองได้) ซึ่งพระชินเขียวก็มีการสร้างสืบต่อกันมาหลายยุคในยุคอยุธยาของสุพรรณบุรีก็อาจจะมีทำกันได้
- พระกรุสมัยโบราณ ที่มีพิมพ์พระเป็นที่นิยมสวยงาม ในบางครั้งก็ถูกนำไปลอกเลียนถอดแบบ ไปสร้างบรรจุไว้ในสถานที่อื่นหรือถอดแบบมาสร้างพระในยุคถัดมาได้
ผมขอยกตัวอย่างของพระกรุวัดราชบูรณะ จ.อยุธยา บางท่านคิดว่าเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา แต่ความจริงตามบันทึกการเปิดกรุของกรมศิลป์ฯ พบว่าพระที่ขุดพบมีถึง สามสมัย คือ อยุธยา ,ลพบุรี ,สุโขทัย รวมทั้งพระที่ถูกลอกเลียนแบบในต่างสมัย มาบรรจุรวมกัน ก็ขอให้ท่านอย่าด่วนสรุปทางสื่อจะเกิดความผิดพลาด หากพระที่สร้างมีอยู่จริงพูดกันปากต่อปาก พระก็อาจถูกลบออกจากระบบวงการพระได้



โดยคุณ pipat0422 (234)(2) [พ. 19 ก.ย. 2550 - 15:19 น.] #10165 (28/29)

ดีมากครับ


โดยคุณ visut (1.3K) [พ. 07 พ.ย. 2550 - 16:32 น.] #11951 (29/29)



พระแท้ก็แท้วันยันค่ำเพราะไข่แมงดากับปานดำยังไงก็เก๊ไม่เหมือนหรอกขอรับ...เจ้านาย...ย...ย...เมื่อไหร่เพิ่มรายการจำนวนกรุมากกว่าที่กำหนดผมคงได้ลงกรุอื่น ๆ บ้าง...


!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM