(0)
หลวงพ่อพรหมพิมพ์เข่ากว้างหลังเต็มเนื้อทองแดงผิวไฟ







ชื่อพระเครื่องหลวงพ่อพรหมพิมพ์เข่ากว้างหลังเต็มเนื้อทองแดงผิวไฟ
รายละเอียดหลวงพ่อพรหมพิมพ์เข่ากว้างหลังเต็มเนื้อทองแดงผิวไฟ
ประวัติโดยสังเขป "หลวงพ่อพรหม" วัดช่องแค
===================================

หลวงพ่อพรหม ถาวโร เป็นชาวเมืองกรุงเก่า จ.พระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ 12 เม.ย.2426 ณ ต.บ้านแพรก อ.มหาราช เป็นบุตร ของ นายหมี-นางล้อม โกสะลัง อุปสมบท ที่วัดเขียนลาย ต.บ้านแพรก โดยมี หลวงพ่อถมยา เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ศึกษาเล่าเรียน คาถาอาคม จากพระเกจิอาจารย์ หลายท่าน จน มีความ รู้แตกฉาน หลังจากนั้น ได้ออกเดิน ธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เป็นเวลานาน จนมาถึง บริเวณ ถ้ำเขาช่องแค อ.ตาคลี ในคืนวัน ที่ฝน ตกหนัก จึงได้อาศัยถ้ำนี้ เป็นที่พัก หลบฝน ต่อมาท่านได้บอกกับลูกศิษย์ว่า ในถ้ำนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ ทำให้ ท่านได้ "ปัญญา" เป็นแสงสว่าง ในทางธรรมปฏิบัติ ท่านจึงรู้สึก ประทับ ใจถ้ำ นี้มาก จึงได้คิดสร้าง วัดขึ้น ที่บริเวณ หน้าถ้ำ จนเป็นผลสำเร็จดังที่เห็นอยู่ในทุกวันนี้ ชาวบ้าน ละแวก วัดมีความ เคารพศรัทธา เลื่อมใสหลวงพ่อมาก เพราะท่าน ได้เป็น ที่พึ่งพา อาศัยของชาวบ้าน ในทุกด้าน รวมทั้งเรื่องของวัตถุมงคล พระเครื่องราง ของขลัง ที่ท่านได้ปลุกเสกให้ชาวบ้าน นำไปใช้แล้วมีประสบการณ์ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน หลวงพ่อพรหม มรณภาพ 30 ม.ค.2518 สิริรวมอายุ 91 ปี พรรษา 71 """""""""""""""

ในบรรดา พระเครื่องของ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ พระเครื่องประเภท "พระรูปหล่อ" หรือ "พระรูปเหมือน" นับว่าได้รับ ความนิยมสูงสุด ซึ่งมีการ สร้าง อยู่หลายรุ่น ด้วยกัน ได้แก่
รุ่นนิ้วกระดก(๒๕๐๗)
รุ่นหูกาง(๒๕๐๘)
รูปหล่อโบราณ(๒๕๑๒)
รุ่นเสาร์ห้า(๒๕๑๒)
รุ่นก้นระฆัง(๒๕๑๒)
รูปเหมือนปั๊ม เนื้ออัลปาก้า บรรจุกริ่ง รุ่นผู้ใหญ่ลี อิ่มดุลย์ (๒๕๑๓)
รูปเหมือนปั๊มพิมพ์เล็ก รุ่นคุณกุหลาบ มณเฑียร (๒๕๑๓)
รุ่นชาร์ปรถไฟ คุณวินัย อยู่เย็น (๒๕๑๓)

สำหรับรุ่นสุดท้ายคือ รุ่นเสาร์ห้า (๒๕๑๖) มีหลายพิมพ์ ได้แก่
รูปเหมือน ปั๊มพิมพ์ หลังเตารีด,
รูปเหมือน ปั๊มพิมพ์ ใบเสมา
รูปเหมือน ปั๊มพิมพ์ เข่ากว้าง หลังเรียบ
รูปเหมือน ปั๊มพิมพ์ เข่ากว้าง หลังเต็ม
รูปเหมือน ปั๊มพิมพ์ เข่ากว้าง หลังเข็มกลัด
รูปเหมือน ปั๊มพิมพ์ เข่ากว้าง พิมพ์ลังยันต์สิบ เป็นต้น
รุ่นบรรจุกริ่งตอกโค้ดระฆัง พ.ต.อ.อภัย วรดิถี สร้าง

เป็นที่น่าสังเกตว่า พระรูปเหมือนหลวงพ่อพรหม ที่สร้างในสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น จะเป็น พระรูปเหมือน แบบปั๊ม เกือบทั้งหมด (ยกเว้นรุ่นรูปหล่อโบราณ) และจะไม่มี แบบหล่อฉีด ที่สมัยใหม่นิยมกันแต่ประการใด ส่วน ที่มีอยู่ ในวงการบ้างนั้นเป็นการสร้างขึ้นภายหลังจากที่ท่านมรณภาพแล้ว """"""""""""""""""" โดยปกติตามหนังสือพระเครื่องหลายฉบับ ได้ชี้ตำหนิไว้มากมายหลายจุด เช่นเส้นแตกใน ว. ของคำว่า หลวง , เส้นแตกใน ร. ของคำว่า พรหม , เส้นแตกปลายยันต์ ตัวบนสุดที่สังฆาติ หรือรอยวนๆ ที่ด้านหลังขององค์พระ เป็นต้น ......... แต่ว่าตำหนิต่างๆนี้ในของเก๊ ก็มีครบหมด แถมบางองค์ยังทำให้เห็นง่ายๆด้วยซ้ำไป ดังนั้นตำหนิต่างๆที่เคยลงไว้ในหนังสือ มาบัดนี้ ของเก๊มันก็กางตำราทำไว้ให้เราเรียบร้อยแล้ว
เป็นของเก๊ที่กางตำราทำตำหนิออกมาได้เป๊ะๆ เลยครับ ไม่ว่าจะเป็น เส้นแตกใน ว. ของคำว่า หลวง , เส้นแตกใน ร. ของคำว่า พรหม พระเก๊องค์นี้มีครบถ้วน ดังนั้นใครใช้วิธีเปิดตำรา แล้วจำแต่ตำหนิ รับรองว่าต้อง " โดน " .........

นอกจากด้านหน้าแล้ว ด้านหลังพระเก๊ องค์นี้ ก็ยังทำออกมาได้ดี ริ้วจีวรคมชัด ซอกแขนใช้ได้ รอยตัดขอบข้างก็ไม่ปรากฎรอยขอบซ้อน ........ ถ้าคนที่ไม่เคยเห็นของจริงมา จะไม่รู้เลยว่าพระองค์นี้จะ " หนา " มากกว่าของแท้ นิ้ดเดียว อย่างนี้ก็คงต้อง " โดน " .........
จุดเดียวจอดของพระหลวงพ่อพรหมพิมพ์เข่ากว้าง ไม่ว่าด้านหลังจะเป็นแบบไหน เช่นหลังเรียบ , หลังเต็ม หรือ หลังเตารีด เท่าที่พบเห็นมาล้วนแล้วแต่ต้องมีจุดนี้ครับ จุดที่ผมพูดถึงนี้จะอยู่ใต้มือขวาของหลวงพ่อ อยู่เกือบติดขอบสังฆาติ มีลักษณะเหมือนขีดเล็กๆสองขีด จุดสังเกตุนี้ จะมองตรงๆไม่เห็นครับ ต้องตะแคงพระดูครับ ในพระแท้ที่ผมเคยพบเห็นมาไม่ว่าเนื้ออะไรจุดนี้ต้องมีครับ ติดมากติดน้อย ต้องมี อีกทั้งยังอยู่ในตำแหน่งที่ลึก แม้ว่าพระใช้มาแล้ว จุดนี้ก็ยังต้องมีให้เห็น ถ้าพระองค์ไหนไม่มี ตีเก๊ไว้ก่อน ปลอดภัยครับ ........ แม้ว่าพระจะสึก หรือผ่านการใช้มาอย่างไร จุดตำหนินี้ ก็ยังจะต้องปรากฎให้เห็น เพราะว่า จุดตำหนินี้อยู่ในส่วนที่ลึก เว้นแต่ว่าพระสึก ซะจนไม่เห็นมือ ไม่เห็นสังฆาติแล้ว""""""""""""""""""""""พระรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อพรหม พิมพ์เข่ากว้าง หลังเต็ม พ.ศ.2516 วัดช่องแค จ.นครสวรรค์




พระรูปเหมือนปั๊ม พิมพ์เข่ากว้าง ลักษณะพิมพ์ด้านหน้าเหมือนกับรุ่นหลังเตารีด เพียงแต่รุ่นหลังเตารีดเป็นพระครึ่งซีก เมื่อตัดปีกออก และเพิ่มรายละเอียดด้านหลังให้เต็มองค์ขึ้น เรียกว่า " พิมพ์เข่ากว้างหลังเต็ม " ส่วนองค์ที่ไม่ได้เติมหลังแต่ได้ตัดปีกออก เรียกว่า " พิมพ์เข่ากว้างหลังเรียบ " คณะกรรมการวัดจัดสร้าง และนำเข้าพิธีปลุกเสกใหญ่ในพิธีเสาร์ 5 พ.ศ.2516




จำนวนการสร้างพระพิมพ์เข่ากว้างหลังเต็มทั้งหมดประมาณ 8,000 กว่าองค์ ประกอบด้วยเนื้อทองคำ 2 องค์ เนื้อเงิน 30 องค์ เนื้อทองระฆัง 2,000 องค์ เนื้อทองแดง 5,000 องค์ และเนื้อตะกั่ว 1,000 องคื




ส่วนพิมพ์เข่ากว้างหลังเรียบนั้น จำนวนสร้างจะรวมอยู่กับพิมพ์หลังเตารีด




ลักษณะองค์พระ เป็นพระปั๊มลอยองค์ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อพรหมนั่งสมาธิ เข่าทั้งสองข้างมีความกว้างมากอย่างเห็นได้ชัด บนสังฆาฏิหลวงพ่อมียันต์ " นะฦาชา " เช่นเดียวกับพิมพ์หลังเตารีด ปลายสังฆาฏิมีอักขระ " โส ภะ คะ วา " ด้านล่างมีข้อความว่า " หลวงพ่อพรหม " ส่วนด้านหลังมีข้อความว่า " วัดช่องแค " อยู่ที่ฐานล่าง องค์พระมีขนาดฐานกว้างประมาณ 2.5 ซม. สูงประมาณ 2.8 ซม.


จุดสังเกตุด้านหน้า

1. มีก้อนเนื้อเกินบนเม็ดตาซ้าย

2. ตัวอุณาโลมมีปลายขยักแหลมคม

3. ริ้วจีวรบนเข่าซ้ายมีเส้นซ้อนทั้งสองเส้น

4. มีขีดในร่องเส้นของตัว ว

หมายเหตุ จุดสังเกตจะเหมือนพิมพ์หลังเตารีดเพราะใช้แม่พิมพ์ด้านหน้าบล็อคเดียวกัน แต่ในพิมพ์เข่ากว้างนี้ได้ตัดขอบนอกออกจนเหลือเฉพาะองค์พระ








จุดสังเกตด้านหลัง

1. ใบหูด้านหลังเป็นแอ่ง

2. ผ้าสังฆาฏิเรียบตึง
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน130,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 25 พ.ค. 2556 - 12:47:58 น.
วันปิดประมูล - 31 พ.ค. 2556 - 12:47:58 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลkorn88 (5.6K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 25 พ.ค. 2556 - 12:48:47 น.



g


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 27 พ.ค. 2556 - 02:22:08 น.



รองแชมป์งานวันนี้ที่โรงเรียนนายร้อยสามพราน


 
ราคาปัจจุบัน :     130,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM