(0)
พระพุทธชินราช วัดสุทัศน์ฯ รุ่นอินโดจีน พิมพ์สังฆาฎิยาว เนื้อทองเหลือง ปี 2485 จ.กรุงเทพ (ไม่มีโค๊ด)








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระพุทธชินราช วัดสุทัศน์ฯ รุ่นอินโดจีน พิมพ์สังฆาฎิยาว เนื้อทองเหลือง ปี 2485 จ.กรุงเทพ (ไม่มีโค๊ด)
รายละเอียดพระแท้ พิธีใหญ่ สภาพสวย พร้อมบัตรรับรอง (ไม่มีโค๊ด)
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน7,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 01 พ.ค. 2556 - 00:20:01 น.
วันปิดประมูล - 04 พ.ค. 2556 - 00:20:01 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลsuwanarat (2K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 01 พ.ค. 2556 - 00:21:47 น.



พร้อมบัตรรับรอง G-pra


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 01 พ.ค. 2556 - 00:24:21 น.

เมื่อปี ๒๔๘๓ กลิ่นอายสงครามได้กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคอินโดจีน หลายประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม ประเทศไทยก็คือหนึ่งในนั้น ทั้งๆ ที่พยายามหลีกเลี่ยงทุกวิถีทาง เพราะรัฐบาลและคนไทยต่างก็รู้ดีว่า ผลพวงจากสงครามท้ายที่สุดแล้วก็จะเหลือแค่เพียง "ความสูญเสีย"
ในภาวะสงครามสิ่งที่เป็นเสมือนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยก็คือ "สิ่งศักดิ์สิทธิ์-พระคู่บ้านคู่เมือง" แต่สำหรับทหารที่ต้องอยู่แนวหน้า "พระเครื่อง" ถือเป็นมงคลวัตถุคู่กายที่หลายคนต้องพกพาหาติดตัวไป
ด้วยเหตุนี้เอง ชาวไทยในแนวหลัง นำโดย "พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย" จึงตัดสินใจดำเนินงานสร้าง "พระพุทธชินราช" จำลองขนาดบูชาขึ้นมา พร้อมทั้ง พระพุทธชินราชขนาดเล็กแบบหล่อที่สามารถคล้องคอได้ ซึ่งแต่เดิมเป็นความตั้งใจของ ๒ สมาคมพุทธฯ คือ "พุทธธรรมสมาคม" และ "ยุวพุทธศาสนิกธรรม" แต่ต้องระงับเรื่องค้างไว้ตั้งแต่ปี ๒๔๘๓ เพราะเกิดสงครามอย่างหนัก และเมื่อสงครามอินโดจีนสงบลง ในปี ๒๔๘๕ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย จึงเดินหน้าสานงานสร้าง "พระพุทธชินราช" อย่างจริงจัง
พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี ๒๔๘๕ ได้ประกอบพิธี เททองหล่อ ที่วัด พระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕ ก่อนที่คณะกรรมการ พุทธสมาคมจะมากราบทูล ขอพระเมตตา ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) วัดสุทัศนเทพวราราม ในเรื่องการประกอบพิธีพุทธาภิเษก
ทั้งนี้พระองค์ทรงพระเมตตาให้คณะกรรมการพุทธสมาคมนำพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ในวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นแม่งานผู้ดำเนินการ พร้อมทั้งได้ ทำพิธี เททองหล่อพระตามตำรับตำราการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ของวัดสุทัศน์อย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
พิธีพุทธาภิเษกที่จัดขึ้นในเวลานั้นถือว่ายิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ จนเป็นที่กล่าวขวัญมาถึงทุกวันนี้ เพราะพระคณาจารย์ ทั่วประเทศแ ละพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นได้มอบแผ่นพระยันต์ พร้อมทั้งเดินทางมาร่วม เมตตาอธิษฐานจิต กันอย่างมากมาย
การสร้างพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี ๒๔๘๕ พล.ร.ต.หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกพุทธสมาคมและคณะกรรมการ กำหนดไว้ให้สร้างเพียงแค่ ๒ แบบ คือ พระบูชา และ พระเครื่อง โดยได้กรมศิลปากรเข้ามาช่วยดูแลการหล่อและออกแบบพิมพ์พระ
พระบูชา ที่จัดสร้างในคราวนี้ได้จำลองแบบจากองค์พระพุทธชินราช วัดใหญ่ เมืองพิษณุโลก โดยใช้กรรมวิธีการหล่อเป็นพระขัดเงา จากหลักฐานบันทึก การสร้าง ได้ระบุไว้ว่า
"พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในครั้งนี้มีขนาดหน้าตักค่อนข้างใหญ่ ก่อนจะส่งไป ให้ทุกจังหวัด ทั่วเมืองไทยไว้สักการบูชา และถ้าประชาชนคนไหน ปรารถนา อยากได้ พระบูชาไว้เป็น ส่วนตัว ต้องแจ้งความจำนงเป็น ลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้ง ส่งเงินค่าจัดสร้างองค์ละ ๑๕๐ บาท ไปให้คณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้ช่างจัดสร้าง ตามจำนวนที่แจ้งความจำนงไว้เท่านั้น"
ในส่วนของ พระเครื่อง คณะผู้ดำเนินงานได้ใช้กรรมวิธี ๒ แบบ คือ "หล่อ" และ "ปั้น" พระหล่อ จัดสร้างประมาณ ๙๐,๐๐๐ องค์ เป็นพระเนื้อโลหะผสม โดยมีทองเหลือง เป็นหลัก แต่สุดท้าย คัดเหลือ สภาพสมบูรณ์ ๘๔,๐๐๐ องค์ ซึ่งให้ความหมายเท่ากับพระธรรมขันธ์
เสน่ห์ของพระเครื่องพระพุทธชินราชแบบหล่อจะอยู่ที่ผิวพระและโค้ดใต้ ฐาน จะตอกเป็นรูปตรา "ธรรมจักร" และ "อกเลา" ซึ่งอกเลานี้ได้คัดลอกแบบ มาจากรูปอกเลาที่ติดอยู่หน้าบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) จ. พิษณุโลก
พระพุทธชินราชแบบหล่อนี้ในตอนแรกได้หล่อ "อกเลานูน" ติดไว้บริเวณใต้ฐานพระ แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นก้นเรียบ แล้วใช้วิธีตอกโค้ดแทนจนครบ ๘๔,๐๐๐ องค์ ดังนั้นพระในส่วนที่เหลือจึงไม่ได้ตอกโค้ด
สำหรับพระพุทธชินราชแบบปั๊มได้ทำเป็นเหรียญลักษณะคล้ายใบเสมา ด้านหน้าเป็น รูปพระพุทธชินราชมีซุ้มเรือนแก้ว ส่วนด้านหลัง เป็นรูปอกเลา สร้างเป็น เนื้อทองแดงรมดำ จำนวน ๓,๐๐๐ เหรียญ

รายนามพระอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก พระพุทธชินราช พ.ศ. 2485

1. สมเด็จพระสังฆราช แพ (ประธาน) วัดสุทัศน์เทพวราราม
2. พระศรีสัจจญาณมุนี (แม่งาน) (สนธิ์) วัดสุทัศน์เทพวราราม
3. พระครูใบฎีกา(ประหยัด) วัดสุทัศน์เทพวราราม
4. พระครูอาคมสุนทร(มา) วัดราชบูรณะ
5. พระครูพิพัฒนบรรณกิจ(วิเชียร) วัดราชบูรณะ
6. พระครูสรกิจพิศาล(ศุข) วัดราชบูรณะ
7. พระครูสุนทรศิลาจารย์(เจิม) วัดราชูบุรณะ
8. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร(สนิท) วัดราชบุรณะ
9. พระครูสมถกิติคุณ(ชุ่ม) วัดพระประโทน
10. พระธรรมเจดีย์(สมเด็จพระสังฆราช อยู่ ) วัดสระเกศ
11.พระสุธรรมธีรุคณ(วงษ์) วัดสระเกศ
12. พระวิเชียรโมลี(ปลั่ง) วัดคูยาง กำแพงเพชร
13. พระพิมลธรรม(นาค) วัดอรุณฯ
14. พระครูอรุณธรรมธาดา(บัว) วัดอรุณฯ
15. พระครูสังฆพินิจ(เฟื่อง) วัดสัมพันธวงศ์
16. พระมหาโพธิวงศาจารย์(นวม) วัดอนงคาราม
17. พระปลัดเส่ง- วัดกัลยาฯ
18. พระสังฆวรา(สอน) วัดพลับ
19. พระสมุทห์เชื้อ- วัดพลับ
20. พระครูถาวรสมณวงศ์(อ๋อย) วัดไทร บางขุนเทียน
21. พระพิษณุบุราจารย์(แพ) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
22. พระครูวิสุทธิศีลาจาร(พริ้ง) วัดบางประกอก ธนบุรี
23. หลวงพ่อหลิม- วัดทุ้งบางมด
24. พระอุบาลีคุณูปรมาจารย์(เผื่อน) วัดพระเชตุพนฯ
25. พระวิสุทธิ์สมโพธิ์(เจีย) วัดพระเชตุพนฯ
26. พระมงคลทิพมุนี(เซ็ก) วัดทองธรรมชาติ
27. พระธรรมรังษี(ปาน) วัดเทพธิดาราม
28. พระญาณปริยัติ(พริ้ง) วัดราชนัดดา
29. พระสังกิจคุณ(ขำ) วัดศรีทศเทพ
30. พระปัญญาพิศาลการ(หนู) วัดปทุมวนาราม
31. พระปริญัติบัณฑิต(ทองคำ) วัดปทุมคงคาฯ
32. สมเด็จพระมหาศรีวรวงศ์(อ้วน) วัดบรมนิวาศ
33. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ) วัดเทพศิรินทร์
34. พระธรรมดิลก(โสม) วัดราชบูรณะ
35. พระครูวรเทย์มุนี(อี๋) วัดสัตหีบ ชลบุรี
36. พระครูศรีพนัศนิคม(ศรี) วัดพลับ ชลบุรี
37. พระครูวิบูลย์คณารักษ์(ดิ่ง) วัดบางวัว แปดริ้ว
38. พนะครูสิทธิสารคุณ(จาด) วัดบางกะเบา ปราจีนบุรี
39. พระครูกรุณาวิหารี(เผือก) วัดกิ่งแก้ว บางพลี
40. พระครูพัก - วัดบึงทองหลาง บางกะปิ
41. พระครูทองศุข - วัดโตนดหลวง เพชรุรี
42. หลวงพ่ออิ่ม - วัดหัวเขา สุพรรณบุรี
43. พระวิสุทธิรังษี(เปลี่ยน) วัดใต้ กาญจนนุรี
44. พระครูอดุลย์สมณกิจ(ดี) วัดเหนือ กาญจนนุรี
45. พระครูนิวิธสมาจารย์(เหรียญ) วัดหนองวัว กาญจนนุรี
46. พระครูยติวัตรวิบูลย์(สอน) วัดลาดหญ้า กาญจนนุรี
47. หลวงพ่อเหมือน - วัดโรงหีบ ดอนเมือง
48. พระครูธรรมสุนทร(จันทร์) วัดบ้านยาง ราชบุรี
49. พระครูนนทวุฒาจารย์(ช่วง) วัดบางแพรกใต้ นนทบุรี
50. พระครูนนทปรีชา(เผือก) วัดโมลีโลก นนทบุร
51. พระครูโศภณศาสนกิจ(กลิ่น) วัดสะพานสูง นนทบุรี
52. หลวงพ่อแฉ่ง - วัดบางพัง นนทบุรี
53. สมเด็จพระวริญาณวงศ์(สมเด็จพระสังฆราช ชื่น ) วัดบวรนิเวศฯ
54. พระสุพจน์มุรี(ผิน) วัดบวรนิเวศฯ
55. พระครูไพโรจน์มันตาคม(รุ่ง) วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร
56. พระครูมหาชัยบริรักษ์(เชย) วัดเจษฎาราม สมุทรสาคร
57. พระครูสังวรศิลวัตร(อาจ) วัดดอนไก่ดี สมุทรสาคร
58. พระครูวัตตโกศล(เจียง) วัดเจริญสุขาราม สมุทรสงคราม
59. พระครูสุนทรโฆษิต(ทองอยู่) วัดประชาโฆษิตาราม สมุทรสงคราม
60. หลวงพ่อกบึง - วัดสวนแก้ว สมุทรสงคราม
61. หลวงพ่อไวย - วัดดาวดึงษ์ สมุทรสงคราม
62. หลวงพ่อแช่ม- วัดตาก้อง นครปฐม
63. หลวงพ่อจง - วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
64. หลวงพ่ออั้น - วัดพระญาติ อยุธยา
65. หลวงพ่อนอ - วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
66. หลวงพ่อแจ่ม - วัดวังแดงเหนือ อยุธยา
67. หลวงพ่อเล็ก - วัดบางนมโค อยุธยา
68. หลวงพ่ออ่ำ - วัดวงฆ้อง อยุธยา
69. หลวงพ่อกรอง - วัดสว่างอารมย์ อยุธยา
70. หลวงพ่อจันทร์ - วัดคลองระนงค์ ชุมแสง
71. พระครูทิวากรรคุณ(กลีบ) วัดตลิ่งชัน ธนบุรี
72. พระราชโมลี(นาค) วัดระฆังฯ ธนบุรี
73. หลวงพ่อเกษีวิกรม(พูน) วัดสังฆราชาวาส สิงห์บุรี
74. หลวงพ่อจันทร์ - วัดนางหนู ลพบุรี
75. พระครูมหาศิลสุนทร(ปลอด) วัดหลวงสุวรรณาราม ลพบุรี
76. พระครูศิลธรานุรักษ์(ครุฑ) วัดท่าพ่อ พิจิตร
77. หลวงพ่อพิธ - วัดฆะบัง พิจิตร
78. หลวงพ่ออ่ำ - วัดหนองกระบอก ระยอง
79. หลวงพ่อทอง - วัดดอนสท้อน หลังสวน
80. พระมหาเมธังกร(มหา) วัดน้ำถือ แพร่
81.พระสุเมธีวรคุณ(เปี่ยม) วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
82. พระธรรมทานา(อิ่ม) วัดไชยพฤกษ์มาลา ธนบุรี
เหตุผลที่ทำให้ราคา มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ พิธีกรรมการปลุกเสก ซึ่งได้ใช้พระคณาจารย์ร่วมสมัย ที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก เช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ), หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว, หลวงพ่ออี๋ วัดสัต***บ, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร, หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว, หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ, หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้, หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก, หลวงพ่อนาค วัดระฆัง เป็นต้น
อีกเหตุผลหนึ่งคือ ความเชื่อทางพุทธคุณ เพราะ จุดประสงค์และ เจตนาการสร้าง พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ของพุทธสมาคม นี้เพียงเพื่อต้องการให้ทหารและประชาชน ได้มีพระเครื่องไว้บูชาติดตัวในยามเกิดสงครามอินโดจีน แต่ปรากฏว่าหลังจาก สงครามอินโดจีนสงบลง ยังได้เกิดสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม ทหารและประชาชน ที่ได้บูชาพระพุทธชินราช อินโดจีน ติดกายประสบพบ กับเหตุการณ์รอดชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์ใจ หลายต่อหลายคน ซึ่งทุกคนต่างรับรู้ได้ถึงพระพุทธานุภาพและพระพุทธคุณ ของพระพุทธชินราช อินโดจีน กันเป็นอย่างดี จนมีเรื่องเล่าขานกันมากมาย
พระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่หลายคนเชื่อว่า...เพียงแค่หลับตานึกถึงภาพองค์ท่าน ตั้งอธิษฐานจิตชีวิตก็จะพบแต่ความสุขและแคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้ง ปวง


 
ราคาปัจจุบัน :     7,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM