(0)
((((((วัดใจ101บาท)))))เหรียญหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี 2524






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง((((((วัดใจ101บาท)))))เหรียญหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี 2524
รายละเอียดประวัติและปฏิปทา
พระธรรมสิงหบุราจารย์
(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)

วัดอัมพวัน
ต.พรหมบุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี


พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๗๑ เวลา ๐๗.๑๐ น. (๔ฯ ๘ ปีมะโรง) ณ ตำบลม่วงหมู่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวน ๑๐ คน ซึ่งเกิดจากโยมมารดาเจิม และโยมบิดาแพ จรรยารักษ์

ชีวิตในเยาว์ชัย หลวงพ่อได้อาศัยอยู่กับยาย วัย ๘๐ ปี ณ เรือนทรงไทยหลังใหญ่กลางดงไม้ร่มครึ้มด้วยมะม่วง มะปราง ขนุน น้อยหน่า และ ละมุด ฯลฯ แผ่กิ่งก้านสาขาอย่างเสรี ด้วยเนื้อที่ที่กว้างขวาง ด้านหลังติดกับลำน้ำลพบุรี ใช้ปลูกพืชผักสวนครัวนานาชนิด เรื่องราวจากชีวิตจริงของหลวงพ่อเริ่มต้นจากบ้านหลังนี้

เวลาตีสี่ของทุกวัน ยายจะลุกขึ้นสวดมนต์ภาวนา เป็นเวลา ๑ ชั่วโมง ส่วนเด็กชายจรัญ จะลุกขึ้นก่อไฟหุงข้าวให้ยายใส่บาตร หลังจากนั้นยายหลานจะลงไปพรวนดิน ถางหญ้า พร้อมเก็บพืช ผัก ผลไม้ เพื่อนำไปขายในตลาด หากวันใด ที่ผัก ผลไม้ มีมาก ยายหาบไม่ไหว หลานชายจะแบ่งใส่สาแหรกอีกลูกหนึ่ง หาบไปส่งยายที่ตลาด แล้วจึงไปโรงเรียน

ในวัยที่กำลังเรียนหนังสือ เด็กชายจรัญไม่เคยสนใจเรียนหนังสือเลย มักชวนเพื่อนๆ ไปยิงนกตกปลา ถูกย้ายโรงเรียนหลายแห่ง เพราะทางโรงเรียนทนความประพฤติของเด็กชายจรัญไม่ไหว ทั้งๆ ที่ยายพร่ำสอนแต่สิ่งดีๆ ให้เด็กชายจรัญ แต่เขากลับไม่เคยรับฟังอย่างใส่ใจเลย

ยายให้เอาข้าวไปถวายพระแทน เพราะยายไม่ค่อยสบาย ระหว่างทางเจอเพื่อนนักเรียนที่สร้างวีรกรรมหนีโรงเรียนด้วยกันมา เพื่อนบอกว่า แต่ผลกรรมยังไม่สิ้นสุดแค่นี้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ หลวงพ่อได้ไปส่ง พันตำรวจโท ชน อินทนา พร้อมคุณนายเฉลา ภรรยา ซึ่งได้ย้ายไปอยู่ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ด้วยความเป็นห่วงว่าต้องเกิดเรื่องเดือดร้อนครั้งนี้แน่ ระหว่างที่เดินทางด้วยรถไฟ เมื่อถึงสถานีชุมพร ไส้ติ่งของหลวงพ่อได้เกิดแตกขึ้นมา หลวงพ่อสลบไป แต่ท่านได้กำหนดจิต หายใจทางสะดือ อยู่ในท่าสมาธิ ทุกคนคิดว่าหลวงพ่อมรณภาพแล้ว แต่หลวงพ่อได้ตั้งสติ แข็งใจจนถึงสถานีชะอวด เดินไปจนถึงบ้านพักตำรวจ มีแพทย์หญิงคนหนึ่งมาตรวจและจะพาหลวงพ่อไปโรงพยาบาล เพราะไม่มีเครื่องมือช่วย แต่หลวงพ่อไม่ยอม จึงตั้งจิตอธิษฐาน “พ่อไก่ แม่ไก่ทั้งหลายเอ๋ย เจ้าจงมารับเมตตาจากข้าพเจ้า ที่ตอนเจ้าไม่ได้เจตนาให้เจ้าตาย เป็นเพราะไม่ได้ศึกษาให้ถ่องแท้ก่อน ถ้าข้าพเจ้ารอดตายจะทำกรรมฐานไปให้ จงอย่างจองเวรจองกรรมกับเราเลย ให้อภัยเราเถิด” เมื่อสิ้นคำอธิษฐาน ก็อุจจาระ ปัสสาวะ ไหลออกมา ทั้งเลือด ทั้งหนองเหม็นคลุ้งไปหมด หมอให้น้ำเกลือและฉีดยาให้ คืนนั้นหลวงพ่อได้ทำกรรมฐาน พวกไก่ได้มาเต็มไปหมดและบอกหลวงพ่อว่า “นี่เป็นท่านนะ ถ้าไม่ใช่ท่าน จะเอาให้ตาย” หลังจากนั้น หลวงพ่อก็หายวันหายคืนจนเป็นปกติ

นายจรัญได้ขอห่อผ้า ซึ่งห่อทองไว้ และได้ให้เงินกลมแก่ป้าไป เมื่อนายจรัญต้องเดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อไปเรียนหนังสือต่อ ได้นำห่อผ้าซึ่งห่อทองไว้ แขวนไว้บนขื่อ แล้วตั้งจิตอธิษฐาน ขอขมาลาโทษแก่ยาย เพราะว่าจะนำไปเล่นการพนัน และขอให้เทวดาช่วยรักษาไว้ให้ด้วย ๔ ปี เมื่อนายจรัญกลับมา ห่อผ้าซึ่งห่อทองไว้ยังอยู่ที่เดิม ต่อมาเมื่อนายจรัญได้มาบวชเป็นพระ จึงนำทองทั้งหมดไปขายเพื่อนำเงินมาสร้างโบสถ์วัดพรหมบุรีในภายหลัง

ชีวิตในวัยหนุ่มของนายจรัญ เป็นวัยที่คึกคะนอง แกล้งคนโน้นแกล้งคนนี้ อีกทั้งเถียงยายอยู่ตลอดเวลา แต่นายจรัญ มีดีทางการเล่นดนตรีไทย เพราะคยเรียนมากับครูตั้งแต่สมัยเด็กๆ โดยแอบยายไปเรียน

เมื่อเรียนจบชั้นมัธยม ๓ นายจรัญได้ไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ โดยไปอาศัยอยู่บ้านสามกระได แถวคลองบากแวก ฝั่งธนบุรี ของคุณหลวงธารา มีคุณนายชื่อ ห่วง คุณหลวงธารา เคยตีระนาดให้ รัชกาลที่ ๖ ทรงโขน นายจรัญไปอยู่เพื่อเรียนดนตรี ดีด สี ตี เป่า ต่อเพลงพิณพาทย์เป็นเวลา ๒ ปี และได้ไปเรียนช่างกลกับอาจารย์เลื่อน พงษ์โสภณ ที่บางขุนพรหม เมื่อคุณหลวงธาราและคุณนายห่วงได้สิ้นชีวิตลง นายจรัญได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับบ้านของครูศร ศิลปบรรเลง ซึ่งต่อมาได้เป็นคุณหลวงประดิษฐ์ไพเราะ อยู่แถวบ้านบาตร หลังวัดสระเกศ เพื่อเรียนดนตรีไทยต่ออีก ๑ ปีเศษ จึงได้มารู้จักกับ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ที่นี่

ต่อมา ครูศร ศิลปบรรเลง พานายจรัญไปฝากให้สอบเข้าเป็นนายร้อยตำรวจกับ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เมื่อ เขาเข้าไปเรียนได้ ๓ เดือน ถูกรุ่นพี่ขู่เข็ญ และกลั่นแกล้ง เขาพยายามอดทน แต่เมื่อถูกรุกรานหนัก ความอดทนก็สิ้นสุด ประกอบกับเป็นคนที่ไม่ยอมคนอยู่แล้ว จึงชกรุ่นพี่เจ็บตัวไปหลายคน นายจรัญจึงไปขอโทษครู พร้อมกับขอลาออก และได้ชี้แจงเหตุผลต่างๆ ให้แก่จอมพลแปลก ทราบ และขอไปใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเกิดเมืองนอน และนำวิชาที่เรียนมาคือ ดนตรี มาใช้ประกอบอาชีพ เมื่อมาอยู่ที่ อำเภอพรหมบุรี ก็มาเล่นดนตรีคณะ จรรยารักษ์ ซึ่งมีอยู่เดิม พร้อมออกงานแสดง มีชื่อเสียงโด่งดังไปถึงเจ็ดคุ้งน้ำ นายจรัญจอกจากมีฝีมือทางด้านดนตรีแล้ว ยังมีฝีมือทางด้านการประพันธ์หนังสือ สามารถประพันธ์เรื่องนางอรพิมกับท้าวปาจิตต์ และมีคณะลิเกมาขอลอกบท เพื่อไปแสดงเป็นลิเกหลายคณะ

นายจรัญได้ไปร่วมบรรเลงพิณพาทย์ที่วัดโตนด และหลวงธาราสั่งให้เลยไปเล่นต่อในงานศพอีกวัดหนึ่งใกล้ๆ กัน คนอื่นในวงไปกันก่อน ส่วนนายจรัญเผลอนอนหลับอยู่บนศาลาวัดคนเดียว และแล้ว สิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อพระวัดโตนดได้พาศิษย์วัดประมาณ ๑๐ คน มารุมทำร้าย เนื่องจากนายจรัญเคยด่าว่า พระวัดโตนดอาศัยผ้าเหลืองหากิน ไม่ปฏิบัติตามพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้เป็นต้นว่า แอบกินยาฝิ่น ชอบต่อนกเขา กินข้าวค่ำ ซึ่งทำให้พระวัดโตนดโกรธแค้นมาก จึงสั่งให้ลูกสมุนทั้งสิบคนช่วยกันรุมทำร้ายนายจรัญ หนุ่มร่างเล็กล้มลุกคลุกคลานอย่างสะบักสะบอม โดยไม่ทันตั้งหลัก ลูกสมุนหนึ่งในสิบชักมีดวิ่งไล่แทงตามไปติดๆ หลังจะฆ่าให้ตาย นายจรัญเห็นท่าไม่ดีแน่ จึงวิ่งหนีเอาตัวรอดไปที่ท่าน้ำ ตั้งใจว่าจะกระโดดน้ำหนี แต่โชคดีมีคนมาฉุดข้อมือลงไปในเรือช่วยไว้ได้ทันชื่อ นายหมั่น แซ่ตั้ง ทางฝ่ายพระวัดโตนดกลัวความผิด ที่มีคนมาเห็นเหตุการณ์ จึ่งสั่งให้ลูกศิษย์วัดถอยล่าทัพกลับไป นายหมั่นแจวเรือพานายจรัญซึ่งนอนสลบไสลอยู่ ไปรักษาตัวที่บ้าน และทำยาสมุนไพรจีนให้ทาน และให้นอนพักฟื้นจนหายดี แล้วจึงพาไปส่งที่บ้านหลวงธารา เป็นเพราะสาเหตุนี้ ทำให้เขาเกลียดพระมาตั้งแต่บัดนั้น

วันหนึ่งแม่ของนายจรัญเริ่มป่วยกระเสาะกระแสะ นายจรัญจึงถูกแม่ขอร้องให้บวช เพื่อจะได้เห็นชายผ้าเหลืองก่อนตาย นายจรัญก็บวชทดแทนพระคุณแม่ เมื่ออายุ ๒๐ ปี ณ วัดพรหมบุรี เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. โดยมี พระครูพรหมจริยคุณ วัดแจ้งพรหมนคร เจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดกิมเอง วัดพุทธาราม เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอธิการช่อ วัดพรหมบุรี เป็นอนุสาวนาจารย์

แม้จะเกลียดพระมาก่อน แต่เมื่อต้องมาเป็นพระ ท่านก็พยายามปฏิบัติตามพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ และปฏิบัติสมณกิจอย่างเคร่งครัด ทุกเช้าจะออกไปบิณฑบาตรในหมู่บ้าน เพื่อให้โยมยายและโยมแม่ได้ใส่บาตร เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว พระจรัญก็ทำความสะอาดกุฏิของท่าน เพราะท่านเป็นคนค่อนข้างมีระเบียบ เพราะโยมยายปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก

ในช่วงเวลาที่บวช พระจรัญถูกอารมณ์ทางโลกเข้าครอบงำ ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย มีจิตใจรุ่มร้อน ต้องการที่จะลาสึกอยู่ตลอดเวลา แต่ต้องมีเหตุที่ทำให้ท่านลาสึกไม่ได้สักที เมื่อต้องการลาสึกทีไร ก็เกิดอาการง่วงเหงา เศร้า ซึม พร้อมได้ยินเสียงกังวานให้แก้วหู.....เข้ามาแทนที่กระทันหันว่า “นะโมยังไม่ได้ ก็ยังลาสึกไม่ได้” จนท่านสมภารพูดกับพระอันดับ ๔ รูปที่จะมาสึกให้ว่า “พระจรัญไม่ได้สึกหรอก รู้สึกว่าท่านต้องบวชไปตลอดชีวิต” แล้วพระจรัญก็ทราบสัจธรรมที่แท้จริงว่า “เกลียดสิ่งไหน ก็จะเจอสิ่งนั้น เกลียดพระ ก็จะต้องมาเป็นพระ”

หลวงพ่อจรัญได้ธุดงค์ไปตามป่าเขา ลำเนาไพร และที่ต่างๆ เพื่อแสวงหาความรู้ และประสบการณ์ทั้งทาง สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน และได้ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชากับพระอาจารย์หลายท่าน อาทิ ศึกษาคชศาสตร์กับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) อำเภอหนองโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์ กับหลวงพ่อลี และท่านเจ้าคุณอริยคุณาธร จังหวัดขอนแก่น และได้ศึกษาการทำเครื่องรางของขลัง น้ำมันมนต์ กับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่าง จังหวัดอยุธยา และหลวงพ่อสนั่น วัดเสาธงทอง จังหวัดอ่างทอง และ หลวงพ่อจาด วัดบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี และได้ศึกษา สมถกรรมฐาน กับพระภาวนาโกศลเถร (สด จันทสโร) ที่วัดปากน้ำ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ศึกษาและปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐาน กับท่านเจ้าคุณอาจารย์พระราชสิทธิมุนี วัดมหาธาตุ จังหวัดกรุงเทพฯ และได้ศึกษาพระอภิธรรมกับอาจารย์เตชิน (ชาวพม่า) ที่วัดระฆัง จังหวัดธนบุรี และศึกษาการพยากรณ์จากสมเด็จพระสังฆราช วัดสระเกศฯ จังหวัดกรุงเทพฯ และศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้วิทยาศาสตร์ทางจิตกับ อาจารย์ พ.อ. ชม สุคันธรัต ต่อมาเมื่อหลวงพ่อจรัญ มาประจำอยู่ที่วัดอัมพวัน หลวงพ่อรู้ล่วงหน้า โดยสติบอกว่าต้องใช้หนี้เต่า ที่ *****ต้มเต่า ๗ ตัว เป็นเงิน ๑ บาท ให้พวกขี้เมาเมื่อตอนที่เป็นเด็ก สมัยอยู่มัธยม ๒ ซึ่งปรากฏว่า เต่ามันมีความสามัคคีกันดิ้นจนหม้อแตก แล้วหนีเข้ากอไผ่ไป จากกรรมที่หลวงพ่อสร้างเหล่านี้ ท่านลืมไปหมดแล้ว อยู่มาวันหนึ่งหลวงพ่อทราบว่าเจ้าของร้านเบ๊เต็กเส็ง ที่บางปะกิ ซึ่งรู้จักคุ้นเคยกัน ไปผ่าท้อง ที่สุขศาลาอนามัย จึงตั้งใจไปเยียม โดยมีญาติโยมจะขอร่วมเดินทางไปด้วยจนเต็มคันรถ แต่สติได้เตือนว่า ถ้าพาคนอื่นไปด้วยต้องตายกันหมด หลวงพ่อจึงออกอุบายหลอกล่อ ไม่ให้คนเหล่านั้นไปด้วย โดยจ้างรถปิ๊กอัพไปกับคนขับเพียงลำพัง ๒ คน แล้วตั้งใจว่าจะไปเยี่ยมแค่ ๑๕ นาที แล้วจะรีบกลับ

ระหว่างเดินทางกลับ ฝนตกหนักมาก ถนนสายเอเซียเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ ถนนลื่นมาก ช่วงโค้งวัดเขาคู รถวิ่งมาด้วยความเร็วประมาณ ๑๒๐ ก.ม./ชั่วโมง รถยนต์เกิดเสียหลักหมุน ๕-๖ ครั้ง แล้วพลิกคว่ำแปดตลบ หลวงพ่อดิ้นขลุกขลักอยู่ในรถ เพราะประตูรถล็อคหมด ศีรษะถูกกระแทกทั้งบนและล่าง รถพังหมดทั้งคัน พอดีมีรถคันอื่นมาจอดช่วย ต้องเอาชะแลงงัด แล้วช่วยนำตัวออกมา บังเอิญช่วงที่เกิดเหตุไม่มีรถยนต์วิ่งสวนทางมา ไม่เช่นนั้นคงไม่รอด หลวงพ่อต้องมานอนรักษาตัวที่วัดไม่ได้ไปหาหมอ ต้องปวดแสบ บวดร้อน ผิวหนังถลอกไปทั้งตัวเป็นเวลา ๖ เดือน ทรมานเป็นยิ่งนัก “ฉะนั้นคนเราถึงจะสร้างความดี แต่ก็ต้องมีกรรม” หลวงพ่อจึงเจริญกรรมฐานแผ่เมตตาขออโหสิกรรมแก่เต่า เพราะที่ทำไปเพียงต้องการเงิน ๑ บาท ต่อจากนั้นอาการต่างๆ จึงค่อยทุเลาหายเป็นปกติ

หลังจากนั้นสติได้บอกว่า วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๒๑ เวลา ๑๒.๔๕ น. หลวงพ่อจรัญ จะมีอุบัติเหตุคอหักตาย หมดอายุขัย (ถึง ตอนนี้หลวงพ่อเริ่มเชื่อ เพราะจำเหตุการณ์อุบัติเหตุใช้หนี้กรรมจากเต่าได้ และเหตุการณ์ที่เคยยิงนกหักคอนก ถลกหนังหัว ตอนอยู่มัธยม ๓) หลวงพ่อจึง เรียกประชุมคณะกรรมการของทางวัด และบอกญาติโยมว่าจะสละตัวจากเจ้าอาวาส เพื่อขอลามรณภาพ และในเวลาต่อมา ในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๒๑ คณะแพทย์และพยาบาล จากโรงพยาบาลศิริราช มาถวายอาหารเพล แต่หลวงพ่อจะเดินทางไปประชุมเจ้าคณะอำเภอที่วัดกวิศาวราราม ที่จังหวัดลพบุรี โดยมี นาวาตรี วาด เกษแก้ว ซึ่งนุ่งกางเกงขาว เสื้อขาวมาด้วยเพราะหลวงพ่อทราบว่าต้องตายด้วยกันหมด (เนื่องจากศีรษะของนาวาตรี วาด เกษแก้ว นั้นไม่มี) จากนั้นรถได้ออกจากวัดเวลา ๑๒.๓๕ น. ขับออกมาก็ประสานงานกับรถของบริษัท ทันจิตทัวร์ ของจังหวัดนครสวรรค์ ชนเข้ากับรถปิ๊กอัพของหลวงพ่ออย่างเต็มแรง ส่วนร่างของนาวาตรี วาด เกษแก้ว กระเด็นไปหลังรถบัส ตกลงมาซี่โครงเสียบตับตายในเวลาต่อมา ส่วนหลวงพ่อจรัญพุ่งทะลุกระจกรถ กระเด็นออกไป ๒๐ วา แล้วจึงตกลงมาที่หน้าบ้านของนายเชาว์ ซึ่งเป็นโรงงานทำอิฐ ตลาดปากบาง คอหักพับมาอยู่ที่หน้าอก หนังศีรษะเปิดจากหน้าผากไปถึงท้ายทอย เลือดเต็ปากเต็มคอหอย หูก็ไม่ได้ยินมีแต่เสียงซ๋าๆ หลวงพ่อตะโกน “โยมช่วยด้วยๆ “ แต่ไม่มีใครช่วย พอดีมีตำรวจทางหลวงผ่านมาพบเข้า จึงอุ้มใส่รถขนอิฐของนายเชาว์ เพื่อนำหลวงพ่อไปส่งโรงพยาบาลสิงห์บุรี บังเอิญรถไม่มีเบาะ หม้อน้ำรถก็ไม่มีฝาปิดใช้ผ้าอุดแทน อยู่ที่ก้นของหลวงพ่อพอดี ระหว่างทางที่จะไปโรงพยาบาล หลวงพ่อได้ยินเสียงของเต่า พร้อมเห็นภาพเต่าโผล่ออกมา แล้วบอกว่า “สมน้ำหน้า เดี๋ยว*****จะซ้ำ*****ๆ” ขอขาดคำ น้ำในหม้อน้ำรถก็พุ่งขึ้นมา น้ำร้อนลวกใส่หลวงพ่อ ตั้งแต่หัวไปทั้งตัว ต้องทนทุกข์ทรมานไปตลอดทาง

เมื่อไปถึงโรงพยาบาลสิงห์บุรี พบ นายแพทย์สมหมาย ทองประเสริฐ ได้พาก เข้าห้องเอ๊กซเรย์ ปรากฏว่ากระดูกคอขาด หมอบอกกับญาติโยมให้นำหลวงพ่อไปวัด เตรียมจัดงานศพ แต่ขอนำหลวงพ่อไปห้องไอซียูก่อน เพื่อไปเก็บแผล ล้างเลือด โดยให้นอนบนรถเข็นที่ไม่มีหมอนรอง บุรุษพยาบาล ๒ คน เป็นคนเข็น หลวงพ่อรู้ตัวว่าต้องตายแน่ เลยยกมือขึ้นเหนือหัวแล้วพูดว่า “ด้วยเดชะ บุญกุศล ท้าวเวสสุวรรณ เจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้า ถ้าข้าพเจ้าใช้หนี้กรรมในโลกมนุษย์หมดแล้วยินดีจะไป ถ้าข้าพเจ้ายังใช้หนี้กรรมไม่หมด ข้าพเจ้าขอสาบานต่อท้าวเวสสุวรรณว่า ขอให้ข้าพเจ้ากลับมาแก้ตัว สร้างกรรมดีใช้หนี้ให้หมด ถ้าหมดแล้วข้าพเจ้าจะไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก เพราะมนุษย์มีแต่ขี้เกียจ ขี้โกง ขี้อิจฉาริษยา”

พอสิ้นคำอธิษฐานของหลวงพ่อ ปรากฏว่าบุรุษพยาบาลได้เข็นรถไปตกร่องประตูเหล็ก โดยไม่มีใครคาดคิด จากแรงกระแทกนั่นเอง ทำให้กระดูกคอของหลวงพ่อซึ่งขาดอยู่ เกิดติดกันขึ้นมา ทำให้หลวงพ่อฟื้นคืนสติขึ้นมา ต่อมาทางโรงพยาบาลสิงห์บุรี ได้นำหลวงพ่อไปทำการรักษาต่อที่ โรงพยาบาลเลิดสิน ซึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ ในระหว่างการรักษาใช้เฝือกพันที่บริเวณคอ ภายใต้การดูแลของคุณหมอประดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน หลังจากนั้นก็นำตัวหลวงพ่อกลับมารักษาที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี หลวงพ่อต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสเป็นเวลากว่า ๕๐ วัน หิวน้ำก็ไม่สามารถดื่มได้ ต้องหยอดด้วยหลอดกาแฟ เวลาฉันข้าวก็ใส่เข้าไปข้างๆ ปากพูดก็ไม่ได้ บบฉันอาหารเลือดก็ไหลตลอดเวลา เวลาฉันก็ต้องป้อน ไม่สามารถฉันได้เอง เลยนึกถึงคำยายที่ว่า “ต้องเป็นเปรต ปากเท่ารูเข็ม” เพราะไปกินข้าวที่ยายให้ไปถวายพระในตอนที่ยังเป็นเด็ก

พระจรัญอายุได้ ๒๕ ปี ได้ยินข่าวลือว่า มีพระรูปหนึ่งอยู่ที่ขอนแก่น สอนวิชายืดเหรียญ ท่านจึงเดินทางไปขอนแก่นเพื่อเรียนวิชานี้ และได้ไปพบกับอดีตผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่ง อายุ ๘๔ ปี ซึ่งเป็นต้นตอของข่าวลือ จึงได้เล่าความจริงให้พระจรัญทราบว่า ผมได้รับกล่องใส่ยาสูบเป็นทองเหลือง ซึ่งเป็นมรดกจากพ่อซึ่งเป็นกำนัน และได้รับพระราชทานมาจากในหลวงรัชกาลที่ ๖ ในกล่องมีเหรียญซ่อนอยู่ก้นกล่องใส่ยาสูบ ๑ เหรียญ จนกระทั่งผมได้มาพบพระรูปหนึ่งมาปักกลด นั่งขัดสมาธิหลับตาอยู่ใต้ต้นไทรใหญ่กลางทุ่งนาเป็นเวลา ๑ เดือนของทุกปี มาอยู่ราวๆ เดือน ๓ พอเดือน ๔ ก็หายไปไม่ทราบว่าท่านหายไปไหน ผมเห็นท่านตั้งแต่ ๘ ขวบจนอายุ ๘๔ ปีแล้ว รูปร่างหน้าตาท่านเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ท่านนั่งหลับตาไม่พูดกับใคร ญาติโยมไปหา ท่านก็ไม่พูดด้วย ผมจำได้ว่าเมื่อตอนเป็นเด็ก ออกไปทำนากับพ่อ ก็แวะไปนั่งเฝ้าท่าน เมื่อท่านฉันอาหารในบาตรเสร็จ ท่านก็เทอาหารก้นบาตรมาให้ผม ผมสำนึกในบุญคุณที่ท่านให้ผมกินข้าวก้นบาตรมาตลอด ผมไปพบท่านทุกๆ ปี แต่ที่น่าแปลก คือ ท่านได้พูดขึ้นมาหลังจากที่ไม่พูดมา ๗๐ กว่าปีว่า “โยม มีของดี ในกล่องยาให้นำไปบูชา ลูกหลานจะได้อยู่เย็นเป็นสุข เพราะว่าเป็นเหรียญพระราชทานให้แก่ผู้ใหญ่ กำนันที่ทำงานดี ปกป้องคุ้มครองแก่ราษฎรให้อยู่ดีกินดี” เมื่อกลับมาบ้านผมก็เปิดกล่องยาดู พบเหรียญซ่อนอยู่ก้นกล่อง ในเหรียญมีเลขอยู่ ๓ ตัว พวกลูกหลานนำเลข ๓ ตัวไปแทงหวยก็ถูกติดต่อกัน ๓ งวด ก็เลยลือกันไปถึงบางกอก ปากต่อปาก จากคืบเป็นศอก จากศอกเป็นวา แต่พระจรัญก็ไม่ปักใจเชื่อเสียทีเดียว จึงได้ขอให้ผู้ใหญ่บ้านพาไปพบพระรูปนั้น

พระรูปนั้นท่านอยู่ในป่า ห่างจากหมู่บ้านไป ๔ กิโลเมตร เมื่อไปพบ ท่านนั่งขัดสมาธิหลับตาอยู่ใต้ต้นไทรกลางทุ่ง คะเนอยายุได้ราว ๗๐ ปี พระจรัญได้เข้าไปกราบ และพูดกับท่านเรื่องขอเรียนวิชายืดเหรียญ แต่ท่านไม่ตอบกลับนั่งหลับตาเฉยๆ เมื่อพระจรัญถามเรื่อง ธรรมะและการปฏิบัติ ท่านได้ตอบว่า “สติปัฏฐาน ๔ ระลึกชาติได้ รู้กฎแห่งกรรม เกิดปัญญาแก้ปัญหาได้” พระจรัญขอให้ท่านสอน “สติปัฏฐาน ๔” ให้ แต่ท่านตอบว่า “รอให้อายุ ๔๕ ปี เสียก่อนแล้วค่อยพบกัน เมื่อต้องการจะพบฉันให้เธอปฏิบัติ ดังนี้” พร้อมบอกเคล็ดลับ ๓ ข้อ และย้ำว่าไม่ให้บุคลที่สามล่วงรู้โดยเด็ดขาด เมื่อหลวงพ่ออายุครบ ๔๕ ปี หลวงพ่อจรัญได้ธุดงค์ไปในป่าดงพระยาเย็น เพื่อพบกับหลวงพ่อในป่าตามสัญญา ดงพระยาเย็นเป็นป่าดงดิบอยู่ในอาณาบริเวณเขาใหญ่ ซึ่งกินเนื้อที่ของสองจังหวัด คือ สระบุรี และ นครราชสีมา หลวงพ่อในป่าได้สอน วิธีเจริญสติปัฏฐาน ๔

๑. การกำหนดกาย (กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน)
๒. การกำหนดเวทนา (เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน)
๓. การกำหนดจิต (จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน)
๔. ก่ารกำหนดธรรม (ธัมมานุปัสสนาสิตปัฏฐาน)

หลวงพ่อจรัญเรียน สติปัฏฐาน ๔ อยู่กับหลวงพ่อในป่าเป็นเวลา ๑ ปี จนเกิดความรู้ความเข้าใจ แจ่มแจ้งด้วยตนเอง แล้วจึงนำหลักคำสอนของหลวงพ่อในป่า มาสอนให้กับญาติโยมและศิษยานุศิษย์จนถึงปัจจุบัน

จากผลกรรมที่หลวงพ่อได้รับ ทำให้หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม (พระธรรมสิงหบุราจารย์) ได้ตั้งปณิธานแน่วแน่ว่า จะสร้างคนโดยใช้วิธีการที่สำคัญ คือ การให้การศึกษาอบรมและสอนวิปัสสนากรรมฐาน ผลงานของท่านเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งปวง ไม่เฉพาะประชาชนคนไทยเท่านั้น แม้แแต่ชาวต่างประเทศก็ยอมรับและให้ความเคารพนับถือหลวงพ่อเป็นอย่างยิ่ง ท่านเริ่มสอนวิปัสสนากรรมฐานให้กับญาติโยม และศิษยานุศิษย์ที่วัดอัมพวัน ตั้งแต่หลวงพ่อได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ท่านได้พัฒนาวัดอัมพวันให้เจริญรุ่งเรือง โดยการสร้างศาลาปฏิบัติธรรม และมีห้องน้ำสะอาดสะอ้านจำนวนมากกว่า ๕๐๐ ห้อง ในปีหนึ่งๆ มีผู้เข้ามาปฏิบัติธรรมทั้งที่เป็นพระภิกษุ สามเณร แม่ชี และคฤหัสถ์ คือ ประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา เป็นจำนวนมากนับแสนคน

หลวงพ่อท่านมีเมตตาต่อผู้คนทุกถ้วนหน้า โดยไม่เลือก ชั้น วรรณะ เชื้อชาติ หรือ ศาสนา ศิษยานุศิษย์ของท่านจึงมีทั้งที่นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ท่านตั้งปณิธานมุ่งมั่นในการสร้างคน แทนการสร้างวัตถุ จึงทุ่มเทชีวิตทั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญาให้กับ การเผยแพร่วิปัสสนากรรมฐานมากว่า ๔๐ ปี โดยทำงานอย่างหนัก ทั้งกลางวัน กลางคืน เพื่อพัฒนาจิตของบุคคนทุกระดับชนชั้น ให้สูงขึ้นเป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ท่านได้อธิษฐานจิต


พระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)

พระราชทินนาม......พระธรรมสิงหบุราจารย์ ภาวนาปฏิภาณโกศล โสภณธรรมานุสิฐ พิพัฒน์กิจสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาส

หลวง พ่อเกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ซึ่งเกิดจากโยมมารดา เจิม และโยมบิดา แพ จรรยารักษ์

ชื่อเดิม
จรัญ จรรยารักษ์
เกิด
วัน พุธ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ตรงกับวันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ ปีมะโรง เวลา ๐๗.๑๐ น. ณ ๑๕ บ้านตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
อุปสมบท
วัน พฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๙๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ วัดพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี พระครูพรหมจริยคุณ วัดแจ้งพรหมนคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดกิมเฮง วัดพุทธาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการช่อ วัดพรหมบุรี เป็นอนุศาสนาจารย์



วิทยฐานะ
พ.ศ. ๒๔๘๗ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนสุวิทดารามาศ จังหวัดสิงห์บุรี
พ.ศ. ๒๔๙๒ สอบไล่ได้นักธรรมโท ณ สำนักเรียนวัดแจ้งพรหมนคร อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี สามัญศึกษา
พ.ศ.๒๔๙๓ ศึกษาปฏิบัติกรรมฐาน กับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทธสโร) วัดหนองโพธิ์ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
พ.ศ.๒๔๙๔ ศึกษาปฏิบิติธรรมฐาน กับหลวงพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ และท่านเจ้าคุณอริยคุณาธร (เส็ง ปุสโส) วัดเขาสวนกวาง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ.๒๔๙๕ ศึกษาทำเครื่องลางของขลัง น้ำมันมนต์ กับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและ พระครูวินิจสุตคุณ (หลวงพ่อสนั่น) วัดเสาธงทอง จังหวัดอ่างทอง และ หลวงพ่อจาด วัดบ้างสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
พ.ศ.๒๔๙๖ ศึกษาปฏิบัติกรรมฐาน กับท่านเจ้าคุณอาจารย์พระราชย์พระราชสิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพ
พ.ศ.๒๔๙๘ ศึกษาพระอภิธรรม กับอาจารย์เตชิน (ชาวพม่า) ณ วัดระฆัง กรุงเทพฯ
- ศึกษาการพยากรณ์ จากสมเด็จพระสังฆราช วัดสระเกศ กรุงเทพฯ
- ศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้วิทยาศาสตร์ทางจิตกับ พ.อ.ชม สุคันธรัต
- เดินธุดงค์รอนแรมหาที่สงบ เพื่อจำศีลภาวนาตามป่าเขตลำเนาไพรทางภาคเหนือ (เป็นต้น)



สมณศักดิ์
พ.ศ.๒๕๐๐
รักษาการเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
พ.ศ.๒๕๐๑
ได้ รับสมณศักดิ์เป็น ที่พระครูปลัดจรัญ ฐิตธมฺโม ในฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณ สุนทรธรรมประพุทธ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑
พ.ศ.๒๕๑๑
ได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่พระครูภาวนาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๑
พ.ศ.๒๕๑๖
เลื่อนเป็นพระครู เทียบผู้ช่วยพระอารามหลวงชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน
พ.ศ.๒๕๑๗
รักษาการตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี
พ.ศ.๒๕๑๘
ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี
พ.ศ.๒๕๑๙
ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.๒๕๒๕
ได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก
พ.ศ.๒๕๓๑
ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระภาวนาวิสุทธิคุณ เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑
พ.ศ.๒๕๓๕
ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระราชสุทธิญาณมงคล เมื่อวันพุธที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕
พ.ศ.๒๕๔๑
ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันอังคารที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๑
พ.ศ.๒๕๔๒
ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒
พ.ศ.๒๕๔๕
ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระเทพสิงหบุราจารย์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔
ราคาเปิดประมูล91 บาท
ราคาปัจจุบัน-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา -- (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 10 มี.ค. 2555 - 15:35:54 น.
วันปิดประมูล - 20 มี.ค. 2555 - 15:35:54 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลมุกราชสีมา (2.5K)(2)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     91 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM