(0)
เซี่ยวกาง ร.ศ. ๒๒๙ วัดบวรนิเวศ พร้อมตลับเดิมครับ (512)








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเซี่ยวกาง ร.ศ. ๒๒๙ วัดบวรนิเวศ พร้อมตลับเดิมครับ (512)
รายละเอียดเซี่ยวกาง

ตามบานประตูทางเข้าหรือที่ซุ้มประตูวัด โบสถ์ วิหาร ศาลเจ้า บานพระทวารพระที่นั่งหรือบานประตูตู้พระธรรมก็ดีมักจะมีภาพเขียนรดน้ำปิดทองหรืองานไม้แกะสลักปิดทองติดอยู่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นภาพธรรมชาติในป่า และมีสัตว์นานาชนิดกำลังอยู่ในอากัปกิริยาต่าง ๆ ความมุ่งหมายเพื่อเป็นการตกแต่งให้สวยงาม แต่บางแห่งก็ทำเป็นภาพหรือไม้แกะสลักเป็นยักษ์ สัตว์เช่นสิงห์ อมนุษย์ หรือเทวดา เป็นต้น ความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นผู้รักษาประตู เรียกว่า ทวารบาล

สำหรับทวารบาลที่ทำเป็นภาพ หรือไม้แกะสลักเป็นเทวดาแต่มีรูปร่างหน้าตาแปลกมีหนวดเครารุ่มร่ามลักษณะท่าทีกระเดียดไปทางจีน มีชื่อเรียกว่า เซี่ยวกาง (บางทีเขียนว่า เสี้ยวกาง) หรือเพี้ยนไปเป็นเขี้ยวกาง จรีกาง ก็มี

คำว่า "เซี่ยวกาง" มีกล่าวไว้ในจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีว่า ในปีจุลศักราช ๑๑๕๘ (พ.ศ. ๒๓๓๙) ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ได้สร้างพระเมรุและมีเซี่ยวกางประจำประตู

ในหนังสือ "ภาษาไทย ภาษาจีน" ของนายเฉลิม ยงบุญเกิด อธิบายไว้ว่า

"เซี่ยวกาง น. รูปทวารบาลคือผู้รักษาประตู มักทำไว้สองข้างประตู เข้าใจว่ามาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว อ่านว่า เซ่ากัง แปลว่า ยืนยาม, ตู้ยาม, ซุ้มยาม ทวารบาลของจีนจึงเป็นเจ้าแห่งผีทั้งหลาย เชื่อกันว่าจะป้องกันภูติผีปีาจ ไม่ให้ล่วงล้ำเข้าไปได้ ต่อมาจึงนิยมวาดรูปอวยซีจงและซินซกโป๊ เป็นทวารบาลวัดหรือศาลเจ้า เล่ากันว่าเมื่อพระเจ้าไท่จง (หลีซีบิ๋น) แห่งราชวงศ์ถังทรงพระประชวร ในขณะที่ทรงพระประชวรได้ทอดพระเนตรเห็นแต่ปีศาจเป็นเนืองนิจ และให้ให้นายทหารเอกชั้นผู้ใหญ่ ๒ นาย คือ อวยซีจง และ ซินซกโป๊ มายืนเฝ้าที่หน้าห้องบรรทม จึงเป็นประเพณีนิยมในการวาดรูปอวยซีจงและซินซกโป๊ไว้สองข้างประตูวัดและศาลเจ้า"

ส่วนพระยาโกษากรวิจารย์ (บุญศรี ประภาศิริ) สันนิษฐานว่า เซี่ยวกาง น่าจะมาจากคำว่า "จิ้นกางเสี่ยว" แล้วเรียกเพี้ยนเป็น "เซี่ยวกาง"

ลักษณะของเซี่ยวกางไม่เหมือนเทวดาไทย คือมีหนวดเครายาว ถืออาวุธด้ามยาว การแต่งกายผิดไปจากโขนละครของไทย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงมีพระอธิบายไว้ในหนังสือสาส์นสมเด็จ ภาค ๔ ว่า

"อันเครื่องแต่งตัวเซี่ยวกางนั้นทำให้น่าสงสัยมาก หากจะดูแต่จำเพาะให้น่าสงสัยมาก หากจะดูแต่จำเพาะสิ่งที่เป็นของไทยทั้งนั้น แต่ไม่มีรูปภาพไทยอย่างอื่นแต่งตัวเหมือนอย่างนั้นเลย ท่วงทีไปทางข้างแขกหรือจีน จึงได้ลองคลำถามพระจีนเจนอักษรดูได้ความว่า ทางจีนจะมีรูปทำไว้ตามบานประตูเหมือนกันเรียกว่า "มิ่งซิ้น" แปลว่า เทวดารักษาบานประตู ไปทางพวกทวารปาละ เสียงไม่เข้าใกล้ เขี้ยวกาง เซี่ยวกาง จรีกาง อย่างใดเลย"

รูปเซี่ยวกางส่วนมากจะยืนอยู่บนหลังสิงโต ตามคติของจีน สิงโตมีหน้าที่เฝ้าตามประตูศาสนสถาน เช่น วัด โบสถ์ ศาลเจ้า เซี่ยวกางก็มีหน้าที่อย่างเดียวกัน อิริยาบถของเซี่ยวกางโดยทั่ว ๆ ไปจะเป็นรูปยืน มือข้างหนึ่งจับที่ปลายเครา และมืออีกข้างหนึ่งถืออาวุธ เช่น รูปเซี่ยวกางที่ผนังซุ้มประตูพระอุโบสถวัดราชบพิธ ส่วนเซี่ยวกางที่ทำแปลกออกไปคือเซี่ยวกางที่บานประตูใหญ่วัดบวรนิเวศวิหาร ตนหนึ่งมือซ้ายถือสามง่าม มือขวาถือกริช เหยียบบนหลังจระเข้ อีกตนหนึ่งมือขวาถือโล่ มือซ้ายถือดาบ เหยียบบนหลังมังกร.

ที่มา : จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓, มกราคม ๒๕๓๓

.........................
ขนาด (โดยประมาณ)

กว้าง 2.7 ซม.
สูง 3.5 ซม.

.........
ใหม่ 081-498-9235
ราคาเปิดประมูล90 บาท
ราคาปัจจุบัน350 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 09 มี.ค. 2555 - 13:17:16 น.
วันปิดประมูล - 15 มี.ค. 2555 - 23:31:45 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmai111 (12.5K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 09 มี.ค. 2555 - 13:17:30 น.



1


 
ราคาปัจจุบัน :     350 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    sarunwongp (37)

 

Copyright ©G-PRA.COM