(0)
พระยอดธง กรุวัดชะเมา นครศรีธรรมราช เนื้อสัมฤทธิ์แก่ทองสมัยอยุธยาตอนต้น สภาพเดิมๆ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระยอดธง กรุวัดชะเมา นครศรีธรรมราช เนื้อสัมฤทธิ์แก่ทองสมัยอยุธยาตอนต้น สภาพเดิมๆ
รายละเอียดพระยอดธง กรุวัดชะเมา นครศรีธรรมราช เนื้อสัมฤทธิ์แก่ทองสมัยอยุธยาตอนต้น องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย พระยอดธงสมัยก่อนสร้างขึ้นเพื่อที่จะเป็นขวัญกำลังใจแก่ทหาร พระยอดธงพระบูชาขนาดเล็กซึ่งมีแกนเดือยอยู่ที่ใต้ฐานแล้วนำไปบรรจุ(เสียบ)ไว้บนยอดธงของแม่ทัพและเหล่านายกองต่างๆเพื่อเป็นการเสริมสิริมงคลและเป็นขวัญกำลังใจแก่บรรดาทหาร พระยอดธงเป็นสุดยอดพระเครื่องมีความเก่าแก่และผ่านศึกสงครามมาแล้ว พุทธคุณเด่นในด้าน คงกะพันชาตรี แคล้วคลาด ปลอดภัย ข้อมูลกรุวัดชะเมา .........กลายเป็นที่ฮือฮา การค้นพบ "พระยอดธงศิลปะอยุธยาตอนต้น" พระกรุเมืองคอน วัดชะเมา ถ.ราชดำเนิน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เมื่อปลายเดือนเม.ย.54 เป็นจุดประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ชาวบ้านเรียกชื่อสืบทอดกันว่า"หลวงพ่อสูง" หน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตรเศษ ความเป็นมานั้นได้สืบค้นข้อมูลและพบจารึกที่ฐานพระพุทธรูปว่า สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.1079 ประดิษฐานที่เดิมตรงพื้นที่วัดประตูเขียน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองนครศรีธรรมราช พบในบริเวณใต้ฐานพระประธานที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังวัด และมีการเคลื่อนย้ายมาบูรณะประดิษฐานด้านหน้าวัด เป็นพระพุทธรูปศิลปะลังกาวงศ์ มีหน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตรเศษ สูงประมาณ 4 เมตรเศษ ซึ่งถูกบูรณะให้อยู่ในรูปทรงเดิมอย่างงดงาม

เผยอาถรรพ์ใครคิดเคลื่อนย้ายเกิดอาเพศทั้งลมพายุ,ฟ้าผ่าและอุบัติเหตุ-ระบุ 9 เจ้าอาวาสมรณภาพปริศนา “พระเกษม เขมจิตโต”กล้าลองของแต่เคลื่อนย้ายสำเร็จ-แตกตื่นพระทองคำพร้อมเพชรนิลจินดาใต้ฐานเพียบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 14 ส.ค.2554 ที่วัดชะเมา ถนนราชดำเนิน ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ได้มีประชาชนจำนวนมากแห่เดินทางไปชมการประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณศิลปะเชียงแสนลังกาวงศ์ อายุเกือบ 1,500 ปี ซึ่งประเกษม เขมจิตโต เจ้าอาวาสย้ายจากสถานที่ประดิษฐานเก่าบริเวณด้านหลังวัด มาประดิษฐานในที่ใหม่บริเวณลานด้านหน้าวัด ริมถนนราชดำเนิน อยู่ระหว่างการบูรณะซ่อมแซมโดยก่อปูนหุ้มองค์พระเดิมแต่ยังไม่แล้วเสร็จ และยังพบว่าใต้ฐานเดิมที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดังกล่าวมีพระพุทธรูปองค์เล็กหน้าตัก 3 นิ้ว 5 นิ้ว และ 7 นิ้ว พระเครื่องศิลปะลังกาวงศ์ที่ทำด้วยทองคำ และทำด้วยเงินรวมหลายองค์ บางองค์ชำรุดเศียรขาดก็มี อีกทั้งยังพบเพชรนิลจินดาของมีค่าอีกจำนวนมาก ทำให้ประชาชนที่ทราบข่าวแห่เดินทางมาขอชมอย่างต่อเนื่อง

สำหรับพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ทำการย้ายออกมาประดิษฐานที่ใหม่นั้น มีหน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตรเศษ สูงประมาณ 4 เมตรเศษ นำมาบูรณะซ่อมแซมและประดิษฐานให้อยู่ในลักษณะรูปทรงเดิมอย่างงดงาม อย่างไรก็ตามพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวมีการเล่าลื่อกันมานับ 100 ปีว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีอาถรรพ์มาก หากใครคิดจะเคลื่อนย้ายจะต้องจะเกิดอาเพศต่าง ๆ นา ๆ เช่น เกิดฟ้าผ่า เกิดลมพายุที่คนโบราณเรียกว่า”ลมหัวด้วน” หรือเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง จนไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้สำเร็จแม้เจ้าอาวาสวัดชะเมาจะพยายามมาตลอดถึง 9 เจ้าอาวาส ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุหรือฆราวาสจะมีอันเป็นไปจนมรณภาพและเสียชีวิตอย่างปริศนาทุกราย การที่พระเกษม เขมจิตโต เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน กล้าเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปองค์นี้ทำให้คนทั่วไปให้ความสนใจและวิพากวิจารณ์อย่างกว้างขวาง และเป็นห่วงว่าพระเกษม เจ้าอาวาสจะมีอันเป็นไปจนมรณภาพไปอีกรูป

เกี่ยวกับเรื่องนี้ พระปลัดเกษม เขมจิตโต เจ้าอาวาสวัดชะเมา อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า พระพุทธรูปองค์นี้ชาวบ้านเรียกชื่อสืบทอดกันว่า “หลวงพ่อสูง” เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนลังกาวงศ์ หน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตรเศษ ซึ่งพุทธลักษณะศิลปะเชียงแสนลังกาวงศ์นั้นจะต้องเป็นแบบนั่งราบเท่านั้น คือนั่งขัดสมาธิแบบขาขวาทับบนขาซ้าย จากการได้สืบค้นข้อมูลความเป็นมาคาดว่าสร้างสมัยเชียงแสนตอนต้นโดยช่างลังกา โดยเฉพาะมีหลักฐานจากการพบจารึกที่ใต้ฐานพระพุทธรูปว่าสร้างในปี พ.ศ.1079 หากนับจนถึงปีนี้พระพุทธรูปองค์นี้มีอายุเก่าแก่ถึง 1,475 ปี เดิมประดิษฐานตรงพื้นที่วัดประตูเขียน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองนครศรีธรรมราชมาตั้งแต่โบราณ ภายหลังในปี พ.ศ.2458 หรือเกือบ 100 ปีที่ผ่านมา พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณสิริธรรมมุณี หรือพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รตฺนธชเถร)เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช ได้สั่งการให้รวมพื้นที่วัดขึ้น 3 วัด คือ วัดประตูเขียน วัดสมิทฐาน และ วัดโมฬี หรือ วัดชะเมา เป็นพื้นที่เดียวกันและกลายเป็นวัดชะเมาในปัจจุบันนั่นเอง

“พระพุทธรูปองค์นี้เดิมประดิษฐานอยู่ในเขตวัดประตูเขียน ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ของวัดชะเมาในปัจจุบัน และเจ้าอาวาสวัดชะเมาทุกรูปเห็นว่าพระพุทธรูป”หลวงพ่อสูง”เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่สำคัญจึงต้องการเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปหลวงพ่อสูงมาอยู่บริเวณหน้าวัดซึ่งเป็นจุดที่เหมาะสม ประชาชนที่ผ่านไปมาจะได้มีโอกาสแวะเข้าไปสักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลได้อย่างสะดวก โดยที่ผ่านมาได้พยายามเคลื่อนย้ายมาอย่างยาวนานต่อเนื่องถึง 9 เจ้าอาวาส แต่ไม่สำเร็จ ทำให้พระพุทธรูปที่เก่าแก่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา และเป็นที่รับรู้ของคนทั่วไปว่าความพยายามของเจ้าอาวาสที่ผ่านมาเกิดอาเพศตลอดว่าเมื่อจะทำการเคลื่อนย้ายก็จะเกิดปรากฏการณ์เหลือเชื่อทุกครั้ง ในบางครั้งเกิดฟ้าผ่าลงมาอย่างรุนแรง บางครั้งเกิดลมพายุหัวด้วนอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย หรือเกิดอุบัติเหตุกับช่างหรือคนงานที่มาเคลื่อนย้าย”

พระปลัดเกษม เขมจิตโต เจ้าอาวาสวัดชะเมา กล่าวต่ออีกว่า เมื่อไม่มีใครกล้าดำเนินการจึงมีการปล่อยปละละเลยไว้เฉย ๆ จนเมื่อปี 2516 พระครูสุทธิจารี เป็นเจ้าอาวาสมีปรารภให้ย้ายพระพุทธรูปหลวงพ่อสูงแต่ท่านได้มรณภาพลงอย่างกระทันหัน ต่อมาสมัยพระครูกาแก้ว เป็นเจ้าอาวาส ได้ขอดำเนินการปลูกสร้างโรงเรือนหลังคามุงสังกะสีกันแดดกันฝน แต่พระครูกาแก้วก็มรณภาพไปอีกรูป และสมัยพระครูสุทธิวรคุณ เป็นเจ้าอาวาสท่านก็ปรารภจะเคลื่อนย้ายอีกครั้ง และอยู่ไม่นานท่านมรณภาพไปอีก จนไม่มีใครกล้าเคลื่อนย้ายหรือยุงเกี่ยวกับพระพุทธรูป”หลวงพ่อสูงอีก”

“จนมาในสมัยอาตมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อปี 2553 อาตมาตั้งใจที่จะบูรณะบำรุงเสนาสนะ ภายในวัดชะเมาให้มีความสวยงาม เจริญหูเจริญตา จึงตัดสินใจดำเนินการเคลื่อนย้ายอีกครั้ง โดยก่อนการเคลื่อนย้าย อาตมาได้ตั้งเครื่องบวงสรวง เซ่นไหว้ ตั้งจิตอธิษฐานเพื่อทำการรื้อองค์พระพุทธรูปมาตั้งหน้าวัด แต่กลับมีอุปสรรคอาเพศหลายอย่างทั้งเกิดลมพายุพัดแรงมากและมีแรงฟ้าผ่ารุนแรง ในขณะที่คนงานเกิดอุบัติเหตุเสียหาย อาตมาจึงสั่งยุติการเคลื่อนย้ายเอาไว้ก่อน จนเมื่อช่วงเดือนเมษายน ที่ผ่านมาอาตมาได้ตั้งจิตอธิษฐานขอเคลื่อนย้ายและตั้งใจว่าหากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ก็จำเป็นที่จะต้องทุบองค์พระทิ้งเสีย จากนั้นอาตมาจึงเริ่มเคลื่อนย้ายพระพุทธรูป”พลวงพ่อสูง”เป็นครั้งที่ ซึ่งในขณะเคลื่อนย้ายโดยใช้รถเครนยกได้เกิดลมพายุได้พัดอย่างแรงมาก แต่สามารถเคลื่อนย้ายสำเร็จ แต่เกิดเรื่องเหลือเชื่อเมื่อเกิดฝนตกหนักเฉพาะภายในบริเวณวัดเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก”

เจ้าอาวาสวัดชะเมา เปิดเผยอีกว่า“เมื่อเคลื่อนย้ายมาได้แล้วจึงได้สร้างมณฑปประดิษฐานบริเวณลานด้านหน้าวัด และได้เร่งบูรณะซ่อมแซมให้มีรูปทรงดังเดิมรวมทั้งสร้างพระพุทธรูป”หลงพ่อสูง”จำลองหน้าตัก 1 เมตร สูง 1.5 เมตร ประดิษฐานในมณฑปด้านล่าง จนในช่วงกลางคืนเวลาตี 1 อาตมาได้นิมิตว่าให้อาตมาไปเอาสิ่งของใต้ฐานพระพุทธรูปมาเก็บไว้ด้วย จึงลุกขึ้นเดินไปตรวจสอบยังจุดที่ประดิษฐานเดิม จึงพบพระพุทธรูปและพระเครื่องที่สร้างด้วยทองคำและเงิน รวมทั้งพบเพชรนิลจินดาอีกจำนวนมาก ทั้งหมดเป็นศิลปะเชียงแสนลังกาวงศ์ ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูลเชื่อว่าทั้งพระพุทธรูป และพระเครื่อง น่าจะอยู่ในสมัยสร้างองค์พระบรมธาตุเจดีย์

“โดยในสมัยนั้นมีการถวายพระพุทธรูปทองคำ เงิน และทรัพย์สินมีค่าเป็นพุทธบูชาแด่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าและพระบรมธาตุเจดีย์ ที่เหลือส่วนหนึ่งได้นำมาประดิษฐานไว้ในวัดประตูเขียน วัดสมิทฐาน และ วัดโมฬี จนมีการรวม 3 วัดดังกล่าวเป็นวัดชะเมา และมีการนำพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน ทรัพย์สินมีค่าฝังไว้ใต้ฐานพระพุทธรูป”หลวงพ่อสูง” จนมีการเคลื่อนย้ายและมาขุดพบเมื่อช่วงเดือนเมษายน ที่ผ่านมาดังกล่าว ซึ่งในขณะนี้อาตมาได้เก็บรักษาหนึ่งไว้ในที่ปลอดภัย และจะพิจารณาภายหลังว่าจะดำเนินการอย่างไรกับพระพุทธรูปทองคำ เงิน และสิ่งของมีค่าที่ได้มาจากฐานองค์พระ” พระปลัดเกษม เขมจิตโต เจ้าอาวาสวัดชะเมากล่าวในที่สุด.
พระยอดธงองค์ที่ท่านชมอยู่นี่ เป็นสภาพเดิมๆจากกรุชึ่งองค์นี้มีคราบกรุติดไม่มากครับ ตอนนี้ในพื้นที่ก็หายากขึ้นเรื่อยๆครับ ลองพิจารณาดูครับเป็นพระที่มีพุทธศิลปสวยงามและไม่ธรรมดาแน่นอนครับสำหรับพระกรุนี้ รับประกันตามกฏทุกประการ
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน3,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ500 บาท
วันเปิดประมูล - 01 ธ.ค. 2554 - 14:36:41 น.
วันปิดประมูล - 04 ธ.ค. 2554 - 14:36:41 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลสองต้น (541)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 01 ธ.ค. 2554 - 14:37:56 น.



รูป


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 01 ธ.ค. 2554 - 14:38:46 น.



รูป


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 01 ธ.ค. 2554 - 14:39:14 น.



รูป


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 01 ธ.ค. 2554 - 14:41:16 น.



องค์นี้ล้างคราบกรุแล้ว


 
ราคาปัจจุบัน :     3,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     500 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM