(0)
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวจังหวัดเชียงรายครับ หลวงพ่อเชียงแสนผาเงา วัดพระธาตุผาเงา หน้าตัก 9 นิ้ว ปี 2520 หล่อดินฝรั่ง ศิลปงดงาม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวจังหวัดเชียงรายครับ หลวงพ่อเชียงแสนผาเงา วัดพระธาตุผาเงา หน้าตัก 9 นิ้ว ปี 2520 หล่อดินฝรั่ง ศิลปงดงาม
รายละเอียดเนื้อโลหะรมมันปู ศิลปงดงามมาก

ตามประวัติ


ที่ตั้งของวัดพระธาตุผาเงา วัดพระธาตุผาเงาตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงทางด้านทิศตะวันตก ตรงข้ามกับประเทศลาว อยู่ในหมู่บ้านสบคำ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย อยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภอเชียงแสนประมาณ 3 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 743 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาเล็กๆ ทอดยาวลงมาตั้งแต่บ้านจำปี ผ่านบ้านดอยจันและมาสิ้นสุดที่บ้านสบคำ แต่ก่อนชาวบ้านเรียกดอยลูกนี้ว่า “ดอยคำ” แต่ต่อมาช่วงหลังๆ ชาวบ้านเรียกว่า “ดอยจัน”

พระธาตุโบราณ 3 องค์ เนินเขาข้างล่าง เป็นที่ตั้งของพระธาตุผาเงา ที่สร้างไว้บนหินก้อนใหญ่ ถัดจากนั้นสูงขึ้นไป 300 เมตร เป็นซากเจดีย์ สูงประมาณ 5 เมตร ชาวบ้านเรียกว่าพระธาตุจอมจัน ส่วนที่สูงที่สุดของเนินเป็นที่ตั้งของซากเจดีย์อีกองค์หนึ่ง สูงประมาณ 5 เมตรเช่นกัน ชาวบ้านเรียกว่า พระธาตุเจ็ดยอด ต่อมาทางวัดได้สร้างพระบรมธาตุพุทธนิมิตเจดีย์ครอบองค์พระธาตุเจดีย์เดิมไว้ แต่ก็ยังสามารถมองเห็นซากของพระเจดีย์เจ็ดยอดได้ ณ ภายในพระเจดีย์องค์ใหม่นี้ สรุปแล้วในวัดนี้มีเจดีย์โบราณสร้างไว้ในอดีตถึง 3 องค์ คือ



1.พระธาตุผาเงา (ล่างสุด) 2.พระธาตุจอมจัน (อยู่ระหว่างกลาง) 3.พระธาตุเจ็ดยอด (บนสุด)

ผู้สร้างพระธาตุผาเงา จากพงศาวดารโยนกบอกว่า ขุนผาพิงหรือขุนพิง (พระองค์พิง) ผู้ครองนครโยนก องค์ที่ 23 ช่วงปี พ.ศ. 494-512 เป็นผู้สร้างเจดีย์ไว้บนหินก้อนใหญ่ที่เชิงเขาดอยจันทร์ ซึ่งเข้าใจว่าหมายถึงพระธาตุผาเงาในวัดนี้ พระธาตุผาเงาได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก คาดว่าน่าจะมีการบูรณะมาบ้าง เพราะพระธาตุองค์นี้ตั้งอยู่ที่ลาดต่ำสุดของภูเขา ซึ่งง่ายต่อการดูแลซ่อมแซม

ผู้สร้างพระธาตุจอมจันและพระธาตุเจ็ดยอด ต่อมาภายหลัง เมื่อขุนลังได้ขึ้นครองเมือง "เวียงเปิกสา" (เมืองเชียงแสนปัจจุบันนี้) ช่วงปี พ.ศ. 996-1007 พระองค์ได้ชักชวนไพร่บ้านชาวเมืองทั้งหลายให้ช่วยกันสร้างเจดีย์ไว้บนยอดดอยคำ ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่าตอดจันทร์ เจดีย์ที่ว่านี้หมายถึงพระธาตุจอมจันและพระธาตุเจ็ดยอด เจดีย์ทั้ง 2 องค์นี้ถูกภัยธรรมชาติทำลาย เช่นถุกแดด-ฝนและลมพัดทำลายมานับพันปีจนเหลือแต่ซากฐานไว้ประมาณ 5 เมตร ประกอบกับช่วยนั้นภาวะเศรษฐกิจอาจจะฝืดเคืองจนทำให้ชาวบ้านทอดทิ้งศาสนาขาดการดูแลเอาใจใส่และที่ฐานองค์พระเจดีย์ทั้งสองก็มีรอยขุดเจาะ อาจจะเป็นฝีมือของพวกนักสะสมของเก่าเสาะแสวงหาโบราณวัตถุก็เป็นได้

ชื่อของวัดพระธาตุผาเงา ชื่อของวัดนี้มาจากชื่อของพระธาตุผาเงา ที่ตั้งอยู่บนยอดหินก้อนใหญ่ คำว่าผาเงาคือ เงาของก้อนผา (ก้อนหิน) หินก้อนนี้มีลักษณะสูงใหญ่คล้ายรูปทรงเจดีย์และให้ร่มเงาได้ดีมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า "พระธาตุผาเงา" ความจริงก่อนที่จะย้ายวัดมาที่นี่ เดิมมีชื่อว่า "วัดสบคำ" ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขง ฝั่งน้ำได้พังทลายลง ทำให้บริเวณของวัดพังลงใต้น้ำโขงเกือบหมดวัด คณะศรัทธา จึงได้ย้ายวัดไปอยู่ที่ใหม่บนเนินเขา ซึ่งไม่ไกลจากวัดเดิม

การสร้างวัดใหม่ ตอนแรกได้สันนิฐานว่าบริเวณเนินเขาเล็กๆ ลูกนี้ ที่กำลังแผ้วถางอยู่นี้จะต้องเป็นวัดเก่าแน่ เพราะได้พบซากโบราณวัตถุกลาดเกลื่อนไปทั่วบริเวณ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2519 จึงได้ลงมือแผ้วถางป่า แต่เดิมที่แห่งนี้เคยเป็นถ้ำเรียกว่า "ถ้ำผาเงา" ปากถ้ำถูกปิดไว้นาน ทำให้บริเวณแห่งนี้เป็นป่ารกชัฎเต็มไปด้วยซากโบราณวัตถุกระจัดกระจายอยู่กลาดเกลื่อนเต็มไปหมด มีชิ้นส่วนใหญ่อยู่ชิ้นหนึ่งเป็นพระพุทธรูปครึ่งองค์ ช่วงล่างหน้าตักกว้าง 4 วา เชื่อว่าเป็นพระประธานในวิหาร คณะศรัทธาจึงตั้งใจบูรณะปฏิสังขรณ์ให้สมบูรณ์เหมือนเดิม

ความฝันของนายจันทรา พรมมา วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2519 นายจันทรา พรมมา หนึ่งในคณะศรัทธาทั้งหมดที่เริ่มบุกเบิกแผ้วถางป่า ได้นอนหลับและฝันในเวลากลางคือว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่ง รูปร่างสูง-ดำ มาบอกว่า "ก่อนที่จะยกชิ้นส่วนองค์พระประธานที่เหลือครึ่งองค์ออก ให้ไปนิมนต์พระมา 8 รูป ทำพิธีสวดถอนเสียก่อน แล้วจะได้พบสิ่งมหัศจรรย์ยิ่งกว่านี้"

ทำพิธีสวดถอน รุ่งขึ้น วันที่ 1 มีนาคม 2519 นายจันทรา พรมมา จึงได้นำเอาความฝันนั้นไปบอกให้คณะศรัทธาทั้งหมดฟัง และต่อจากนั้นทุกอย่างก็ดำเนินไปตามความฝันทุกประการ เพื่อปรับพื้นที่ซึ่งต็มไปด้วยตอไม้ รากไม้และก้อนหินน้อยใหญ่ งานปรับพื้นที่ได้ดำเนินไปด้วยความยากลำบาก

ค้นพบพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงา วันที่ 17 มีนาคม 2519 เวลา 14.00 น. เมื่อคณะศรัทธาได้ปรับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกคนต่างตื่นเต้นและปิติยินดี เมื่อได้พบว่าใต้ตอไม้นั้น (หน้าฐานพระประธาน) มีอิฐโบราณก่อเรียงไว้ เมื่อยกอิฐออกก็พบหน้ากาก (แผ่นทึบ) ก่อกั้นไว้ เมื่อเอาหน้ากากออก จึงได้พบพระพุทธรูปที่มีลักษณะสวยงามมาก ผู้เชี่ยวชาญโบราณวัตถุ วิเคราะห์ว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีอายุระหว่าง 700-1,300 ปี คณะทั้งหมดจึงได้พร้อมกันตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "หลวงพ่อผาเงา" และเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น "วัดพระธาตุผาเงา" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

วัดประจำเมืองเก่า ในช่วงสมัยของอาณาจักรโยนก วัดร้างแห่งนี้กำลังอยู่ในช่วงที่เจริญรุ่งเรืองสุดขีด สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นวัดที่สำคัญและประจำกรุงเก่าแห่งนี้ จะเห็นได้ ว่าพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงาที่ขุดค้นพบแห่งนี้ถูกสร้างและฝังอยู่ใต้พระพุทธ รูปองค์ใหญ่ (พระประธาน) ปิดบังซ่อนเร้นกลัวถูกโจรกรรมจากพวกนิยมสะสมของเก่า

การพัฒนาวัด เมื่อค้นพบพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงาแล้ว วัดเก่าแห่งนี้ก็ถูกบูรณะและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การก่อสร้างวัตถุถาวรต่างๆ ก็ดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น ซุ้มประตูวัด, กำแพงด้านหน้า, กุฏิสงฆ์, ศาลาการเปรียญและพระธาตุผาเงา ท่านเจ้าอาวาสองค์แรกท่านเป็นพระนักพัฒนา ท่านได้สร้างพระวิหารซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อผาเงา ที่เห็นอยู่ทุกวันนี้
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน5,600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 25 ก.ค. 2554 - 02:15:05 น.
วันปิดประมูล - 26 ก.ค. 2554 - 18:34:50 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล120000 (2.2K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 25 ก.ค. 2554 - 02:21:48 น.



.


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 25 ก.ค. 2554 - 02:23:26 น.



หลวงพ่อผาเงาองค์จริง


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 25 ก.ค. 2554 - 02:25:00 น.



.


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 25 ก.ค. 2554 - 02:25:47 น.



.


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 25 ก.ค. 2554 - 02:29:01 น.

รายการนี้ของดส่งออกบัตรครับ เนื่องจากพระมีขนาดใหญ่ส่งไปมาหลายรอบเกรงพระจะเสียหายครับ ถ้าท่านใดรับพระไปแล้วนำไปตรวจสอบว่าเป็นพระไม่แท้ ยินดีจะคืนเงินให้เต็มจำนวน+ค่านำส่งคืนให้ด้วยครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     5,600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    tree01 (34)

 

Copyright ©G-PRA.COM