(0)
หลวงพ่อน้ำเคือง ปางห้ามญาติ สูง 12.5 นิ้ว วัดดงตะขบ พิจิตร ทองเหลือง ผิวหิ้งเดิมๆ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องหลวงพ่อน้ำเคือง ปางห้ามญาติ สูง 12.5 นิ้ว วัดดงตะขบ พิจิตร ทองเหลือง ผิวหิ้งเดิมๆ
รายละเอียดหลวงพ่อน้ำเคือง ปางห้ามญาติ สูง 12.5 นิ้ว วัดดงตะขบ พิจิตร ทองเหลือง ผิวหิ้งเดิมๆ

ฐานกว้าง 3 นิ้ว

รับประกันความแท้และตามกฏ
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน1,950 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 01 มิ.ย. 2554 - 10:07:24 น.
วันปิดประมูล - 03 มิ.ย. 2554 - 10:06:20 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลthenoom9 (1.2K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 01 มิ.ย. 2554 - 10:07:40 น.



4


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 01 มิ.ย. 2554 - 10:08:05 น.



5


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 01 มิ.ย. 2554 - 10:09:36 น.



หมายเลของศ์พระ 259 รุ่นพิเศษสร้างมณฑป ปี2524

หมายเลของศ์พระ 259 รุ่นพิเศษสร้างมณฑป ปี2524

หมายเลของศ์พระ 259 รุ่นพิเศษสร้างมณฑป ปี2524


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 01 มิ.ย. 2554 - 10:09:45 น.



7


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 01 มิ.ย. 2554 - 10:10:55 น.



หลวงพ่อน้ำเคือง เป็นพระพุทธรูปที่เป็นศูนย์รวมใจของชาวตำบลดงตะขบ และผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา เป็นพระพุทธรูปที่ทรงอานุภาพด้านความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะของชาวดงตะขบมานานนับร้อยปี จึงเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ทางจิตใจ ที่ชาวบ้านดงตะขบยึดเหนี่ยวเป็นที่พึ่งทางจิตใจ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าหลวงพ่อน้ำเคืองกับชาวดงตะขบเป็นสิ่งที่คู่กัน จนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงประวัติของบ้านดงตะขบ ประวัติวัดดงตะขบ ประวัติของหลวงพ่อน้ำเคือง

พุทธลักษณะขององค์หลวงพ่อน้ำเคือง และเหตุผลที่ผู้คนมีความเลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงพ่อน้ำเคือง

ประวัติการสร้างหลวงพ่อน้ำเคืองนั้น ไม่มีหลักฐานการสร้างที่ชัดเจน ส่วนประวัติความเป็นมาก่อนที่จะประดิษฐานที่วัดดงตะขบ มีหลักฐานจากคำบอกเล่าและรวบรวมขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรได้ความว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2299 มีข่าวว่ามีผู้พบพระในวัดร้างที่บ้านน้ำเคือง (ปัจจุบันตั้งอยู่ในตำบลท้ายทุ่ง อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร) ซึ่งเป็นวัดอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดดงตะขบ ห่างประมาณ 6 กิโลเมตร และมีเรื่องเล่าว่ามีชาวบ้านจากที่อื่นจะมาอัญเชิญไป แต่ไม่สามารถนำไปได้ ความได้ทราบถึงชาวบ้านดงตะขบ ซึ่งในขณะนั้นมีคุณตาทวดคอน ปานอ่อง (ทายกวัดในสมัยนั้น) เป็นผู้นำชาวบ้านดงตะขบเดินทางไปที่วัดน้ำเคือง และได้พบพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร สร้างในสมัยสุโขทัยตอนต้น ประทับยืนอยู่ในกลางวัดปกคลุมด้วยป่าไม้ จึงได้นำแตรวงแห่อัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคือง (มาตั้งชื่อภายหลัง) ขึ้นแป้งจี่ (เป็นล้อเลื่อนมีสองล้อ ทำด้วยไม้ทั้งคัน) จากวัดน้ำเคืองมาประดิษฐานไว้ในอุโบสถหลังเก่า และได้ขนานนามว่า “หลวงพ่อน้ำเคือง” ตามชื่อวัดเดิมซึ่งมีอิทธิปาฏิหาริย์มากมาย เมื่อผู้ใดต้องการอะไรก็จะมาบนบาน และก็จะได้สิ่งที่ขอตามปรารถนา จึงมีผู้คนนับถือกันมาก

เมื่อเวลาผ่านไปอุโบสถชำรุด ยากแก่การบูรณะ ประมาณปี พ.ศ. 2465 คณะกรรมการวัดนำโดยคุณตาถนอม คุณตาไก่ ร่วมกับชาวตำบลดงตะขบ ได้จัดสร้างมณฑปบริเวณกลางวัด และได้อัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองมาประดิษฐาน พร้อมอัญเชิญหลวงพ่อขาวมาประดิษฐานไว้ด้านหลัง และนำรอยพระพุทธบาทจำลองมาประดิษฐานไว้ด้านขวาหลวงพ่อน้ำเคือง ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2502 มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสหลวงพ่อน้ำเคืองมากขึ้น ชื่อเสียงโด่งดังไปไกล ทางคณะกรรมการวัดทราบข่าวจากผู้หวังดี ว่ามีพวกมิจฉาชีพต้องการนำหลวงพ่อน้ำเคืองไปขาย ประกอบกับมณฑปชำรุดทรุดโทรมมาก จึงได้อัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองมาประดิษฐานบนหอสวดมนต์ มีพระคอยทำหน้าที่เป็นเวรยามดูแลความปลอดภัย ต่อมาผู้ที่ศรัทธาต่อหลวงพ่อน้ำเคืองเพิ่มมากขึ้น ในแต่ละวันจะมีประชาชนมานมัสการ และมีการจุดธูปเทียนเป็นจำนวนมาก ทางวัดเกรงว่าจะเกิดอัคคีภัย ประกอบกับพระในวัดน้อยลงหลังออกพรรษา คณะกรรมการวัดจึงได้สร้างกุฏิหลังใหม่ให้พระโหม อาวุโธ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้น

ประมาณปี พ.ศ. 2504 ได้อัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองมาประดิษฐานที่กุฏิเจ้าอาวาส ที่จัดทำเป็นห้อง 2 ห้อง มีประตูเหล็ก 2 ชั้น ซึ่งขณะนั้นชื่อเสียงของหลวงพ่อน้ำเคืองก็ขจรกระจายไปไกลด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ มากมาย เมื่อผู้ใดต้องการอะไรก็จะมาบนบานและก็จะได้สิ่งที่ขอตามปรารถนา จึงมีผู้คนนับถือกันมาก การอธิษฐานจิตคนส่วนใหญ่สัญญาว่าจะให้การแสดงลิเกแก้บนโดยนับเป็นเวลา จึงทำให้สถานที่คับแคบเกินไปสำหรับการประกอบพิธี และการเดินทางเข้ากราบไหว้ของประชาชนทั่วไป
ประมาณปี พ.ศ. 2506 ทางคณะกรรมการวัดได้ประชุมตกลงกันอัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองมาประดิษฐานที่อุโบสถ

และในปี พ.ศ. 2510 เป็นวันที่หัวใจของชาวตำบลดงตะขบ ซึ่งมีจิตใจผูกพันกับหลวงพ่อน้ำเคืองแทบจะแตกสลาย เมื่อได้ทราบข่าวว่าหลวงพ่อน้ำเคืองถูกตัดเศียร เหตุการณ์วันนั้นทำให้น้ำตาของชาวดงตะขบและผู้เลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงพ่อน้ำเคืองไหลหลั่งจนปริ่มจะขาดใจ และได้ร่วมกันสาปแช่งโจรใจบาปที่กล้าทำร้ายจิตใจของพุทธศาสนิกชนได้ลงคอ ต่างวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ และได้ช่วยกันสืบหาวัตถุพยาน เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจในการติดตามตัวคนร้ายให้ได้
ต่อมานายสำเนียง เลือดทหาร ได้พบคนร้ายที่สถานีรถไฟตะพานหิน ขณะที่จะขึ้นรถไฟ จึงได้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และได้ติดต่อคณะกรรมการวัดมาดูเพื่อยืนยัน เมื่อยืนยันแน่นอนว่าเป็นเศียรของหลวงพ่อน้ำเคืองจึงได้จัดงานพุทธาภิเษกจัดงานสมโภช 9 วัน 9 คืน หลังจากเสร็จจากงานได้อัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองประดิษฐานที่กุฏิเจ้าอาวาสหลังเดิม
ต่อมาในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2524 กำนันดี จันทร์อ้น (ไวยาวัจกรขณะนั้น) พร้อมด้วยนายถนอม เกตุงาม (นายอำเภอตะพานหินขณะนั้น) พร้อมด้วยชาวตำบลดงตะขบ ได้วางศิลาฤกษ์มณฑป เพื่ออัญเชิญหลวงพ่อน้ำเคืองมาประดิษฐาน โดยมีการจัดงานสมโภช 7 วัน 7 คืน


 
ราคาปัจจุบัน :     1,950 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    เอ็ดวังหลุม (126)

 

Copyright ©G-PRA.COM