(0)
พระภูมิชัยมงคล เก่าผิวหิ้งขนาดบูชาสูงประมาณ 9 นิ้ว**ขนาดฐานกว้างประมาณ 3 นิ้ว








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระภูมิชัยมงคล เก่าผิวหิ้งขนาดบูชาสูงประมาณ 9 นิ้ว**ขนาดฐานกว้างประมาณ 3 นิ้ว
รายละเอียดรูปเหมือนบูชาพระภูมิชัยมงคลองค์เทพเทวดาเทพารักษ์ทรงยืนถือพระขรรค์ประทานทรัพย์ เนื้อทองผสมเก่าผิวหิ้ง ขนาดบูชาสูงประมาณ 9 นิ้ว**ขนาดฐานกว้างประมาณ 3 นิ้ว **ศิลป์งดงาม ยุคปัจจุบัน เนื้อทองผสมทาทองปิดรอบองค์ผิวทองมีหลุดร่อนกระเทาะบ้างบางจุดโดยเฉพาะช่วงรอบฐานผิวหิ้งตามกาลเวลาธรรมชาติ สภาพสวยผิวหิ้ง ผ่านการบูชามาผิวสีทองคร่ำสวย ทรงยืนพระหัตถ์ข้างขวาทรงพระขรรค์ ข้างซ้ายถือถุงทรัพย์ลักษณะประทาน เป็นมงคลยิ่งลักษณะมีทั้งเฝ้าดูแลปกปักรักษา และมอบทรัพย์ หาดูชมไม่ง่ายนัก
**เหมาะตั้งบูชาเป็นมงคลองค์เทพเทวดาประจําสถานที่ บ้านเรือน ร้านค้า ห้างร้าน บริษัท สํานักงาน บูชาแบบพระภูมิคุ้มบ้านคุ้มเรือนเทวดารักษา ถ้าบ้านเรือนใดนําไปสักการะบูชา เสมือนมีเทพยดาอารักษ์คุ้มครองปกปักรักษาคุ้มครองเรือนชานท่าน มีแต่เงินทองไหลมาเทมาเพราะมีถุงทรัพย์



********************************************
เกร็ดเล็กน้อย
องค์นี้ท่านเป็นเทวดาอารักษ์ปกปักรักษาบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย เป็นพระภูมิ(เทวดา)หรือเรียก พระภูมิชัยมงคลเป็นเทพารักษ์ในรูปเทวดา ทรงเครื่องต้นแบบกษัตริย์ โดยทรงสวมชฎาทรงสูง สวมพระภูษาห้อยชายมีสายธุรำ และสายสังวาลย์ ทรงสวมกำไลปั้นเหน่งและพาหุรัด สวมฉลองพระบาทเชิงงอน พระกรซ้ายถือถุงเงินทองเชื่อว่าท่านจะคอยประทานเงินให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ พระกรขวาทรงพระขรรค์ ปกครองดูแลเคหสถานบ้านเรือนและร้านโรงต่างๆทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาอาคาร เคหะสถาน ที่ดิน และผู้ที่อยู่อาศัย ให้ร่มเย็นเป็นสุข

จึงมีการสร้างตามรูปลักษณ์คติความเชื่อถือศรัทธา เป็นเทพเทวดาเทพารักษ์พระภูมิไว้ให้สักการะบูชาประจําบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย

ประวัติความเป็นมาของพระภูมิชัยมงคล
ความเป็นมาของพระภูมิชัยมงคลตามคติทางศาสนาพราหมณ์ มีดังนี้
เรื่องราวการกำเนิดพระชัยมงคลมีความเป็นมาในอวตารปางที่ 5 แห่ง องค์พระนารายณ์หรือพระวิษณุเทพ ในยุคนั้นทั้งมนุษย์และทวยเทพ มีการไปมาหาสู่กันอย่างง่ายดายอยู่เสมอ แต่สมัยนี้ ติดต่อกันยากลำบาก เพราะมนุษย์สมัยนี้มีความดีน้อยลงมาก บรรดาทวยเทพจึงไม่ลงมาคบหาด้วย
ในสมัยนั้นมีผู้เป็นใหญ่ที่สุดในมวลมนุษย์ ทรงพระนามว่า "ท้าวทศราช" ปกครองนคร "กรุงพาลี" ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่เหนือมนุษย์ทั้งหลาย ทรงมีพระมเหสีพระนามว่า "พระนางสันทรทุกเทวี" มีโอรสด้วยกัน 9 พระองค์ คือ
1.พระภูมิชัยมงคล
2.พระนครราช
3.พระเทเพล ( พระเทเพน )
4.พระชัยศพน์ ( พระชัยสพ )
5.พระคนธรรพน์
6.พระธรรมโหรา ( พระเยาวแผ้ว )
7.พระเทวเถร ( พระวัยทัต )
8.พระธรรมมิกราช ( พระธรรมมิคราช )
9. พระทาษธารา

พระโอรสทั้ง 9 พระองค์ มีความสามารถและอานุภาพมาก ในฐานะเทพ ทั้ง 9 พระองค์ มีความสามารถเท่าเทียมกัน ท้าวทศราชทรงมอบหมายให้ทั้ง 9 พระองค์ ไปดูแลสถานที่ต่างๆ แทนพระองค์
ต่อมาท้าวทศราช เกิดความโลภมาก,เห็นแก่ตัว,เบียด เบียนมนุษย์ ปกครองบ้านเมืองอย่างไร้คุณธรรม กดขี่ข่มเหงราษฎรโดยไม่กลัวบาป จนได้รับความเดือดร้อนไปทั่วทุกแห่ง นอกจากนี้ ยังรับสั่งให้พระโอรสทั้ง 9 พระองค์กระทำความผิดโดยเรียกร้องเครื่องเซ่นสังเวยต่างๆ จนราษฎรได้รับความลำบากทุกข์ยาก ไม่สามารถขัดขืนหรือหาทางออกได้
เมื่อ พระศิวะมหาเทพทรงทราบเรื่องราวความเป็นมาของความเดือดร้อนของมนุษย์ จึงมีโองการให้พระนารายณ์( พระวิษณุ ) อวตารลงมาปราบพระเจ้ากรุงพาลี เมื่อพระนารายณ์อวตารลงมาจนเติบใหญ่เป็นพราหมณ์น้อย มีวิชาความรู้ ได้เดินทางมาเฝ้าท้าวทศราช เมื่อท้าวทศราชเห็นพราหมณ์น้อยน่าเลื่อมใส และถามพราหมณ์น้อยว่า ต้องการอะไรเป็นการบูชา พราหมณ์น้อยจึงออกอุบายขอที่เพียง 3 ก้าวเท่านั้น ท้าวทศราชตรัสรับปาก พราหมณ์น้อยจึงขอให้ท้าวทศราชหลั่งน้ำอุทกธารา ในขณะที่กำลังหลั่งนั้น พระศุกร์ ผู้เป็นอาจารย์ของท้าวทศราชรู้ทันอุบายของพราหมณ์น้อย ได้แปลงกายเข้าไปอุดรูน้ำไว้ พราหมณ์น้อยจึงเอาปลายหญ้าคาแยงเข้าถูกนัยน์ตาของพระศุกร์เข้า พระศุกร์เจ็บปวดจนทนไม่ไหวเหาะหนีไปน้ำจึงไหลออกมา
หลังจากนั้นพราหมณ์น้อยก็แสดงอิทธิฤทธิ์กลับคืนสู่ร่างเดิมซึ่งใหญ่โตกว่าปราสาทราชมณเฑียร เมื่อย่างก้าวเพียง 3 ก้าว ก็กินอาณาบริเวณกรุงพาลีทั้งหมด ท้าวทศราชเห็นก็ทรงก้มกราบลงขอขมาพระนารายณ์ทันที ( พราหมณ์น้อย ) พระนารายณ์ ทรงขับไล่ท้าวทศราช,พระนางสันทรทุกเทวีและพระโอรสทั้ง 9 พระองค์ ให้ไปอยู่นอกเขตป่าหิมพานต์ นับจากนั้นราษฎรก็อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข
ฝ่ายท้าวทศราช,พระ มเหสีและพระโอรส ต้องพบกับความยากลำบากแสนสาหัส ด้วยสภาพเช่นนี้ทำให้ท้าวทศราชและพระโอรสสำนึกถึงความผิดของตนที่ได้กระทำ ไว้แต่หนหลัง ท้าวทศราชจึงได้พาพระโอรสทั้ง 9 ไป เข้าเฝ้าพระนารายณ์เพื่อขออภัยโทษและแสดงความสำนึกผิดอย่างแท้จริงและปวารณา ตนว่าจะตั้งอยู่ในศีลธรรม ประกอบกรรมดี มีจิตใจเผื่อแผ่ พระนารายณ์เห็นจิตอันแรงกล้าจึงอภัยโทษให้และอนุญาตให้ท้าวทศราชและพระโอรส ทั้ง 9 กลับมาอยู่ที่กรุงพาลีได้ดังเดิม แต่ไม่ใช่ฐานะกษัตริย์ แต่ให้ประทับอยู่บนศาลที่มีเสาเพียง 1 เสาปักลงบนผืนดิน และจะต้องปฏิบัติตามคำสัญญาอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะไม่ให้อยู่ในโลกอีกต่อไป

ความเป็นมาของพระภูมิชัยมงคลตามคติทางพระพุทธศาสนา มีดังนี้
ตำนาน ความเป็นมาของพระภูมิไนพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงเป็นพระโพธิ์ สัตว์ เสด็จออกบวช และประทับบำเพ็ญญาณสมาบัติใต้ต้นไทรใหญ่ จนตกกลางคืนก็ปรากฎภูมิเทวดาทรงพระนามว่า พระเจ้ากรุงพาลี ซึ่งไม่พอใจที่
ที่พระโพธิ์สัตว์มาบำเพ็ญบารมีในถิ่นตนจึงขับไล่ พระโพธิ์สัตว์จึงขอพื้นดินของพระเจ้ากรุงพาลี 3 ก้าวเพื่อใช้บำเพ็ญบารมีต่อไป ฝ่ายพระเจ้ากรุงพาลีเห็นว่าเล็กน้อยจึงถวายให้ พระโพธิ์สัตว์ก็ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ก้าว 3 ก้าว ก็กินอาณาบริเวณพื้นที่ของพระเจ้ากรุงพาลีจนหมดสิ้น ทำให้พระเจ้ากรุงพาลีไม่มีที่อาศัยต้องออกไปอยู่นอกเขตมนุษย์ ทำให้ลำบากยากเข็ญจนทนไม่ไหว จึงให้คนใช้ 3 คน( นายจันถี,นาย จันทิศและนายจันสพ ) พระเชิงเรือนไปขอแบ่งที่ดินจากพระโพธิ์สัตว์ พระโพธิ์สัตว์ก็ทรงประทานให้และทรงสั่งสอนให้พระเจ้ากรุงพาลีตั้งมั่นในความ สุจริตไม่เบียดเบียนผู้อื่น คอยคุ้มครองมนุษย์และสัตว์โลกตลอดไปและหากกระทำการมงคลใดๆ จะต้องทำพิธีบูชาพระเจ้ากรุงพาลีในฐานะเจ้าของที่ จึงจะประสบความสำเร็จมีความสุข,เจริญรุ่งเรือง
ความเป็นมาของพระภูมิตามคติพราหมณ์และคติพุทธ
มีความคล้ายคลึงกัน
โอรสแต่ละพระองค์ของท้าวทศราช จะต้องมีหน้าที่คอยปกครองดูแลสถานที่ต่างๆ แตกต่างกันไป ดังนี้
1.พระภูมิชัยมงคล ทรงฉลองพระองค์อย่างกษัตริย์หรือเทพารักษ์โดยทรงสวมชฎาทรงสูง สวมพระภูษาห้อยชายมีสายธุรำ และสายสังวาลย์ ทรงสวมกำไล,ปั้นเหน่ง และพาหุรัด สวมฉลองพระบาทเชิงงอน พระหัตถ์ซ้ายทรงถือถุงเงิน พระหัตถ์ขวาทรงถือพระขรรค์ ปกครองดูแลเคหสถานบ้านเรือนและร้านโรงต่างๆ
2.พระนครราช ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคลแต่พระหัตถ์ซ้ายถือช่อดอกไม้ ดูแลปกครองป้อม,ค่าย,ประตูเมือง,หอรบและบันไดต่างๆ
3.พระเทเพล หรือ พระเทเพน ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายถือหนังสือหรือคัมภีร์ ปกครองดูแลฟาร์ม,ไร่และคอกสัตว์ต่างๆ
4.พระ ชัยศพน์ หรือพระชัยสพ ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ขวาถือหอก พระหัตถ์ซ้ายวางแนบอยู่บริเวณพระสะเอว ปกครองดูแลเสบียง,คลังและยุ้งฉางต่างๆ
5.พระคนธรรพน์ ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายถือผะอบ ปกครองดูแลพิธีวิวาห์, เรือนหอและสถานบันเทิงต่างๆ
6.พระธรรมโหรา หรือ พระเยาวแผ้ว ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายแพนหางนกยูง ปกครองดูแลโรงนา,ป่าเขา,ลำเนาไพรและเรือกสวนต่างๆ
7.พระ เทวเถร หรือ พระวัยทัต หรือ พระเทวเถรวัยทัต ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคลแต่พระหัตถ์ขวาถือธารพระกร ( ไม้เท้า ) ปกครองดูแลปูชนียสถาน,เจดีย์และวัดวาอารามต่างๆ
8.พระ ธรรมมิกราช หรือ พระธรรมมิคราช ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายถือพวงมาลา ปกครองดูแลกิจต่างๆ อันเกี่ยวกับพืชพันธุธัญญาหารทั้งปวงและพระราชอุทยาน
9. พระทาษธารา ทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ไม่ได้ถืออะไรปกครองดูแลบึง, ห้วยหนอง,คลองและลำธารต่างๆตลอดจนน้ำที่ตกลงมาจากฟ้า
ราคาเปิดประมูล950 บาท
ราคาปัจจุบัน-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา -- (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 22 มิ.ย. 2553 - 05:25:28 น.
วันปิดประมูล - 02 ก.ค. 2553 - 05:25:28 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลทวารวดี (4.8K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     950 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM