(0)
เหรียญหายาก!!! พระอาจารย์พร สุมโน รุ่นแรก มีเนื้อฝาบาตรเท่านั้นของจริงๆ ปี 2504 วัดประชานิยม ต.หนองหลวง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญหายาก!!! พระอาจารย์พร สุมโน รุ่นแรก มีเนื้อฝาบาตรเท่านั้นของจริงๆ ปี 2504 วัดประชานิยม ต.หนองหลวง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
รายละเอียดพระอาจารย์พร สุมโน รุ่นแรก ปี2504 วัดประชานิยม ต.หนองหลวง
อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
เป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่อยู่กับหลวงปู่มั่น นานที่สุด เป็นพี่ชายของหลวงปู่บุญ ชินวังโส และที่ดูจะเป็นไฮไลในชีวิตของท่านคือ ความเคารพนับถืออย่างมากที่สุดของ พระอริยสงฆ์เจ้า นามท่านผู้นั้นคือ หลวงพ่อพุธ ธานิโย วัดป่าสาละวัน หนึ่งในแม่ทัพธรรมแห่งสายวัดป่า ที่เราๆท่านๆล้วนต้องรู้จักและยอมรับในความเป็นท่าน ดังนั้นมารู้จักกับประวัติคราวในความทรงจำของพลวงพ่อพุธ ที่มีต่อพระอาจารย์พร อย่างมากล้นกันครับ
"อยู่กับหลวงตาพร"

วินัยนี่แน่นอนที่สุด...หลวงตาพร... วินัยกับการประหยัด เวลาก่อสร้างนี้ พวกคนก่อสร้างเขาทำปูนตกเพียงแต่เล็ก ๆ น้อย ๆ ท่านไปเก็บหมด แต่ว่าความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อลูกศิษย์นี่.. ยอด.. หาไม่มีใครเปรียบเทียบ ขนาดเขาเอาน้ำดื่ม น้ำปานะมาแก้วเดียว เอาจอกเล็ก ๆ มาแบ่ง ๆ ๆ ๆ พระเณรเท่าไรให้ได้ฉันทั่วกันหมด หลวงตาองค์นี้เป็นอย่างนั้น อยู่ที่วัดบูรพา

"หลวงตาพร อาจารย์ของหลวงพ่อ"

v พรเอ๊ย! เจ้าก็ฝึกฝนกับครูบาอาจารย์ตั้ง ๑๐ ปี พ้นนิสสัยมุตก์แล้วพอจะช่วยตัวเองได้ v


พระอาจารย์พร สุมโน
(ภาพนี้หลวงพ่อวางไว้บูชาบนหัวที่นอน)

อย่างหลวงตาพร ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อ ในสมัยที่ท่านออกจากฆราวาสไปบวช ทีแรกก็ไปอาศัยอยู่ในสำนักของท่านอาจารย์มั่น ท่านอาจารย์มั่นบังคับให้บวชเป็นตาเถรชีผ้าขาวอยู่ ๓ ปี อบรมสั่งสอนให้ปฏิบัติธรรม ปฏิบัติจนจิตมีความสงบ รู้ธรรม เห็นธรรม รู้ธรรมวินัย ระเบียบปฏิบัติต่อครูบาอาจารย์และพระศาสนาเป็นอย่างดี แล้วท่านก็ให้เปลี่ยนจากเพศชีผ้าขาวเป็นเพศสามเณร คือบวชเป็นเณรใหญ่อยู่อีก ๓ ปี พอครบ ๓ ปีแล้ว ท่านอาจารย์มั่นได้พามาอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดปทุมวนาราม ในจังหวัดกรุงเทพฯ นี้เอง ซึ่งท่านอาจารย์มั่นท่านเป็นผู้นำมามอบให้พระปัญญาพิศาลเถร (หนู) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อเอง เป็นพระอุปัชฌาย์อุปสมบทให้

เมื่ออุปสมบทแล้วก็อยู่ในสำนักของท่านอาจารย์มั่น เอาใจใส่ปรนนิบัติอุปัฏฐากครูบาอาจารย์มิให้เดือดร้อน อาจาริยวัตร อุปัชฌายวัตร อย่างถูกต้องตามวินัยทุกประการ จนกระทั่งท่านอาจารย์มั่นพิจารณาดูอุปนิสัยและการปฏิบัติว่าสมควรพอที่จะออกบำเพ็ญโดยลำพังตัวเองได้แล้ว ท่านจึงเรียกมาสั่งว่า

“พรเอ๊ย! เจ้าก็ฝึกฝนกับครูบาอาจารย์ตั้ง ๑๐ ปี พ้นนิสสัยมุตก์แล้วพอจะช่วยตัวเองได้ หลีกออกไปหาวิเวกเฉพาะตัวก่อนเถิด ให้โอกาสองค์อื่นเขาเข้ามาปรนนิบัติครูบาอาจารย์บ้าง”

นั่นแหละ จึงจะได้ออกจากสำนักครูบาอาจารย์ นี้คือจารีตประเพณีของพระธุดงคกรรมฐานที่ปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์อาจารย์ในสมัยอดีต ในสมัยที่ท่านอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่นยังดำรงชีวิตอยู่

"ดุจดังบิดามารดาผู้ให้เกิด"

v ท่านเลี้ยงดูมาจริง ๆ เหมือนพ่อเหมือนแม่ v

หลวงตาพร คืออาจารย์ของหลวงพ่อมาตั้งแต่สมัยเป็นเณร เป็นพี่ชายหลวงปู่บุญ (ชินวํโส) ท่านเลี้ยงดูมาจริง ๆ เหมือนพ่อเหมือนแม่.. ตอนนั้นท่านเพิ่งได้ ๑๐ พรรษาเท่านั้นเอง แต่ว่าพระ ๑๐ พรรษาสมัยนั้นมันไกลกันเหลือเกินกับพระ ๑๐ พรรษาสมัยนี้ มองดูแล้วเป็นพระที่น่าเลื่อมใสจริง ๆ พระ ๑๐ พรรษาสมัยนี้มีแต่ความจองหองพองขน

อาจารย์ของหลวงพ่อจริงๆ คือพระอาจารย์พร เป็นหลวงตาพร.. หลวงตาพรท่านเคยมีครอบครัวมาแล้ว ตัวท่านชื่อพร อ้อ..ทีแรกชื่ออะไรน้อ..มาเปลี่ยนใหม่ เปลี่ยนเป็นพระ ท่านแต่งงานแล้ว แม่บ้านของท่านก็ชื่อ สอน พอท่านได้ลูกสาวมาท่านตั้งชื่อ พุธ เหมือนกัน (พ้องกับชื่อโยมพ่อ โยมแม่ของหลวงพ่อ และหลวงพ่อเอง ซึ่งชื่อ พร สอน และพุธเหมือนกัน) แล้วก็รู้สึกว่าท่านจะรักหลวงพ่อเหมือนกับลูกในท้องในไส้

ตอนสมัยเป็นเณรนี้ โอ๊ย..น้อยหน้าต่ำตามากที่สุดเลย เขาทั้งหลายมีอาจารย์เก่ง ๆ เทศน์เก่ง โยมก็เยอะ อาจารย์ของเราเป็นหลวงตา ไม่ค่อยมีหน้ามีตากับเขาหรอก ทีนี้ต่อมาพวกที่มีอาจารย์ดี ๆ นั่นตกอับหมด

ครั้งสุดท้ายไปกราบเยี่ยมท่าน ท่านถามว่า

“พิจารณาดูพ่อหรือยังว่าเมื่อไรจะตาย”

“อุ๊ย!... ไม่กล้าล่วงเกินครูบาอาจารย์หรอก”

"ภูมิจิตภูมิธรรมท่านหลวงตาพร"

v พรเอ๊ย!... เจ้าก็มีความรู้พอที่จะคุ้มครองตัวเองได้แล้ว v

หลวงตาพรติดตามหลวงปู่มั่นอยู่ ๙ ปี เพราะฉะนั้นหลวงพ่อมาพบหลวงตาพรแล้วหลวงพ่อจึงไม่กระตือรือร้นที่จะไปพบอาจารย์มั่น ระเบียบวินัยข้อวัตรปฏิบัติทุกอย่างถอดแบบเอามาเปรี๊ยะเลย เมื่อก่อนนี้ เพื่อนฝูง ลูกศิษย์หลวงพ่อดี (หลวงปูดี ฉนฺโน) ลูกศิษย์อาจารย์เสงี่ยม ลูกศิษย์อาจารย์บุ อาจารย์เขาดัง ๆ ทั้งนั้น มีอาจารย์หลวงพ่อ เป็นหลวงตา ไม่ค่อยมีใครสนใจ

ที่นี้มันขำ ๆ อยู่วันหนึ่ง นายโพธิ์ ส่งศรี กับขุนศิริสมานการ โยมโพธิ์บ้านอยู่หน้าไปรษณีย์เมืองอุบลฯ ๒ คนนี่แหละ... หลวงตาพรนี่อยู่วัดบูรพา วัดบูรพาเป็นวัดบ้าน แล้วตอนแรกอาจารย์ดีไปอยู่บ้านท่าบ่อ ที่โรงเรียนกสิกรรมบ้านท่าบ่อ พวกนายโพธิ์ นายขุนศิรินี่แหละ ไปนิมนต์มาอยู่วัดบูรพาฯ ตอนด้านตะวันออกวัดบูรพาฯ เป็นสวนของนายจอม นายจอมก็บริจาคที่สวนนี้ให้ประมาณ ๒ ไร่เศษ ให้เป็นวัดป่า ตอนนั้นให้เป็นวัดป่า ตอนนี้ให้เป็นวัดบ้าน ทีนี้พวกญาติโยมก็แตกตื่นกันไป ไปนั่งสมาธิทุกวัน ๆ

อยู่มาวันหนึ่งนายโพธิ์กับขุนศิรินี้แหละ มากราบท่านหลวงตาพร มาบอกว่า

“ครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านมาสอนกรรมฐานเขาอยู่ทุกวันๆ ไม่นึกอยากได้ดิบได้ดีกับเขาบ้างหรือ”

เขาว่าหลวงตาพร

“นี่ อาจารย์ท่านให้มานิมนต์ไป ไปฝึกกรรมฐาน”

“อุ๊ย! ถ้าครูบาอาจารย์จะเมตตาสงสารอย่างนั้นก็ดีแล้ว ที่ไม่กล้าไป ก็ไม่นึกว่าท่านจะเมตตาสงสารถึงขนาดนี้ เออ...ไปเรียนท่าน เดี๋ยวอาตมาจะไป”

พอโยมกลับไปแล้วหลวงตาพรก็เตรียมไป ไปก็เข้าไปกราบหลวงปู่ดี แต่ด้วยความทะนงของอาจารย์กรรมฐาน ก็ถามหลวงตาพรอย่างดูถูกเหยียดหยาม ว่างั้นเถอะ

“พร! ภาวนาเป็นไหม”

“ก็จั๊กจะเป็นหรือไม่เป็นก็สวดมนต์ไหว้พระภาวนาไปอย่างนั้นแหละ ภาวนาก็พุทโธ พุทโธนั่นแหละ แต่ไม่ทราบว่ามันจะถูกต้องหรือเปล่าก็ไม่รู้”

ทีนี้พอเสร็จแล้ว ท่านอาจารย์ดีก็บอกวิธีให้นั่งสมาธิ นั่งขัดสมาธิเอามือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง กำหนดจิตนึก พุทโธ ธัมโม สังโฆ ๓ หนแล้วก็นึกว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

อยู่ที่จิต เราจะกำหนดเอาจิตอย่างเดียว เสร็จแล้วพอไหว้พระสวดมนต์เสร็จก็นั่งสมาธิ ท่านก็หันหน้ามา

“เอ้า! พรนั่งสมาธิ”

“เรื่องนั่งสมาธินี้ทำอย่างนี้ใช่ไหมอาจารย์”

พอทำไปจังหวัดไหนก็ถาม

“อย่างนี้ถูกต้องไหมอาจารย์”

“เออ! ถูกแล้ว”

เสร็จแล้ว พอนั่งสมาธิ พวกพระพวกเณรอื่น ๆ ระดับครูบาอาจารย์เลิกหมด ญาติโยมก็เลิกหมด วันนั้นหลวงตาพรนั่งอยู่ ๒ ชั่วโมง เสร็จแล้วท่านก็กระดุกกระดิกออกจากสมาธิ

“โอ้! ทำไมนั่งนานแท้ พร”

“เอ้ ความรู้สึกของผมนี้รู้สึกว่ามันไม่นานนะ มันแพล๊บเดียวเท่านั้นเอง มันยังไม่รู้สึกเหนื่อยเลย”

“แล้วมันเป็นอย่างไร จิตมันเป็นอย่างไร”

“เออ! เดี๋ยวจะเล่าถวายครูบาอาจารย์ เป็นอย่างนี้จะถูกต้องหรือเปล่า พอภาวนาพุทโธ ๆ ๆ ไป -๓ คำ จิตมันก็วูบลงไป มันไปนิ่ง สว่าง กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ แล้วมันก็เกิดปีติ พอรู้สึกว่ามันเกิดปีติ เกิดความสุข ความคิดมันก็ฟุ้ง ๆ ๆ ๆ ขึ้นมา แล้วตอนนั้นความตั้งใจอะไรต่างๆ สัญญาเจตนามันหายไปหมด มีแต่ความเป็นเองของจิต แล้วมันก็กำหนดรู้ความคิดที่มันปรุงแต่งขึ้นมาของมันเรื่อยไป”

“แล้วมันคิดอะไรบ้าง”

“สารพัดที่มันจะคิด บางทีมันก็คิดไปโลกไปธรรมสารพัด คิดไปถึงนรก คิดไปถึงสวรรค์ คิดถึงเรื่องชีวิตประจำวันในปัจจุบัน สารพัดที่มันจะคิด จิตในเมื่อมันเข้าสมาธิตามธรรมชาติของมันแล้ว เราไม่มีความสามารถที่จะไปควบคุมมันได้ จริงไหม อาจารย์”

อาจารย์ดีชักงง “มันจะไปไหนมาไหนมันไปเองของมัน บางทีมันกระโดดไปโน่น ไปเมืองสกลนครโน่น บางทีกระโดดไปอำเภอเขื่องฯ บางทีไปยโสธร บางทีไปกรุงเทพฯ สารพัดที่มันจะไป ทั้งที่มันคิดปรุงแต่งขึ้นมานั่น มันเอาระเบียบแบบแผนไม่ได้ แต่ว่าสตินี้มันคอยจ้อง ๆ อยู่ มันจะไปไหนมาไหน ๆ สติตัวนี้ก็ไล่ตาม ๆ ๆ ๆ คอยควบคุม มันเป็นอย่างนี้ มันจะถูกหรือมันจะผิดท่านอาจารย์”

ท่านอาจารย์ดีชักงง ไม่ยอมให้คำตอบ

พอตื่นเช้ามา มากันแต่เช้ามืด ปกติพอเช้ามืดพวกเราก็ทำวัตรเช้ากัน พอมา ท่านอาจารย์ดีก็ถามว่า

“พร! ขอถามหน่อยเถอะว่า เป็นใครมาจากไหน”

“เอ้า! ก็นึกว่าครูบาอาจารย์ทราบดีแล้ว ท่านอาจารย์ก็รู้ดีอยู่แล้วไม่น่าจะถาม”

“เพราะไม่รู้นั่นแหละจึงมาถาม”

“ถ้าหากครูบาอาจารย์ต้องการอยากจะทราบ ก็จะเล่าให้ฟัง ผมเป็นคนทุพพลภาพ ครองบ้านครองเรือนไม่ได้ ผมเคยมีครอบครัวแล้ว มีลูกคนหนึ่ง มาภายหลังนี้ สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงสมบูรณ์ ทำมาหาเลี้ยงชีพไม่ไหว ก็เลยมอบทรัพย์สมบัติทั้งหลายทั้งปวงที่มีอยู่ให้แม่บ้านกับลูกสาวคนหนึ่งให้เขาครอบครอง แล้วก็สั่งเขาว่าอยากมีใหม่ก็มีซะ ฉันก็ไปแล้ว ทีแรกก็ไปอาศัยอยู่ที่วัดบ้านม่วงไข่ ซึ่งหลวงปู่มั่นอยู่นั่น วันหนึ่งไปล้างถ้วยล้างชามขัดกระถงกระโถน ท่านก็เดินไป

พร! เจ้าอยากบวชไหม

โอ้ย! ถ้าครูบาอาจารย์จะเมตตาสงสาร ก็อยากบวชแล้ว เอ่อ! ถ้างั้นเก็บสิ่งของแล้วไปหาเราที่กุฏิ เด้อ

พอไป ท่านก็เอาผ้าขาวนี้มาตัดกางเกง ตัดเย็บกางเกงเอง กางเกงขาก๊วย แล้วก็ตัดเสื้อ เสื้อก็เสื้อโปโลนี้แหละ พอเสร็จแล้วท่านก็ไปเอามีดโกนมาโกนหัวให้ โกนหัวให้เอง พอโกนหัวเสร็จแล้วให้อาบน้ำอาบท่า เอ้า! ใส่ชุดนี้แล้วก็มาปฏิญาณตนเป็นอุบาสก บวชเป็นตาชีผ้าขาว แล้วก็เป็นชีผ้าขาวอยู่กับท่าน ๓ ปี พอเสร็จแล้วท่านก็บวชเป็นเณรให้ เป็นเณรอยู่ ๓ ปี ทีนี้พอเสร็จแล้วก็พาไปกรุงเทพฯ ก็ไปบวชเป็นพระ อยู่ที่วัดสระปทุม ตกลงว่าอยู่ในสำนักของหลวงปู่มั่น ๙ ปี ที่ออกจากท่านมานี้เพราะโยมแม่ที่อำเภอเขื่องในเสียชีวิต เขาโทรเลขไป ก็มาทำศพแม่ หลังจากนั้นก็เลยไม่ได้กลับไปหาท่านอีก เพราะท่านสั่งว่า พรเอ๊ย! เจ้าก็มีความรู้พอที่จะคุ้มครองตัวเองได้แล้ว ปลีกตัวออกไปปฏิบัติโดยลำพังก็ได้ เปิดโอกาสให้องค์อื่นเขามาปรนนิบัติครูบาอาจารย์บ้าง

ก็ยึดเอาคำนั่น คำพูดนั้น พอออกมาแล้วก็เลยไม่กลับไปอีก ภายหลังเจ้าคุณศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) ก็ให้มาอยู่ที่นี้ที่วัดบูรพาฯ นี้”

พออาจารย์ดีฟังเล่าจบก็

“โอ๊ย! ทำไมไม่บอกให้รู้กันแต่ทีแรก”

“เอ้า! ก็ครูบาอาจารย์ย่อมมีวิจารณญาณ ย่อมดูคนออกว่าใครเป็นอย่างไร มีภูมิจิตภูมิใจตื้นลึกหน้าบางเพียงใด แค่ไหน ครูบาอาจารย์ก็ย่อมรู้อยู่แล้ว”

ทีหลังมาพวกญาติโยมทั้งหลายที่แห่กันไปปฏิบัติ เวลาท่านอาจารย์ดีไม่อยู่ เขาก็นิมนต์อาจารย์พรไปพานั่งสมาธิ แต่ท่านพูดอะไรท่านไม่มีโวหารหรอก พูดเอาแต่หัวใจ
(คัดลอกมาจากhttp://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-poot/lp-poot-hist-01-03.htm ขอขอบคุณท่านผู้เขียนและเจ้าของเว็ป ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ)


เหรียญรุ่นแรก ออกปี 2504 ก่อนเหรียญหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ รุ่นแรก และหายากไม่น้อยไปกว่ากันเลย
เหรียญรุ่นนี้จะมีเนื้อ"ทองเหลือง"เนื้อเดียว ส่วนเนื้ออื่น ออกหลังปีท่านมรณะภาพ สภาพเหรียญนี้เป็นเหรียญที่สวยมาก ธรรมชาติของโลหะทำให้ดูสวยไปอีกแบบ ราคาล่าสุดสภาพเป็นรองเหรียญนี้พอตัว ออกกันไปที่เกือบๆ3พัน
รับประกันความหายากและแท้ ตามกฎครับ สอบถามเพิ่มเติมได้เสมอครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน800 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 20 มี.ค. 2553 - 12:22:51 น.
วันปิดประมูล - 23 มี.ค. 2553 - 12:22:51 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลanonwansanit (511)(1)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 20 มี.ค. 2553 - 12:29:49 น.
.


พระอาจารย์พร สุมโน (ภาพนี้หลวงพ่อพุธวางไว้บูชาบนหัวที่นอน)เอาแค่นี้ ก้อพอจะรู้กันแล้วหล่ะว่าพระอาจารย์ท่านเป็นดังเพชรเม็ดงามอันทรงควรเชิดชูท่าน ดังหลวงพ่อพุธท่านปฎิบัติเสมอมา เช่นการสร้าง 1ใน3รูปปั้นพระอาจารย์ของหลวงพ่อพุธ มีหลวงพ่อพร สุมโนอยู่ใน 3 อาจารย์ผู้ที่ยิ่งใหญ่ในนั้นด้วย จบ.


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 20 มี.ค. 2553 - 12:52:27 น.
.


เอาภาพขอบเหรียญมาฝากครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     800 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM