(0)
@เหรียญพระพุทธ "พระเสตังคมณี(พระแก้วขาว.) - พระศรีลา(ปางปราบช้างนาฬาคิริง.) วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่" ขนาดพิมพ์ใหญ่/ออกแบบสวยงาม.@








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง@เหรียญพระพุทธ "พระเสตังคมณี(พระแก้วขาว.) - พระศรีลา(ปางปราบช้างนาฬาคิริง.) วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่" ขนาดพิมพ์ใหญ่/ออกแบบสวยงาม.@
รายละเอียดเหรียญพระพุทธ "พระเสตังคมณี(พระแก้วขาว.) - พระศรีลา(ปางปราบช้างนาฬาคิริง.) วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่" ขนาดพิมพ์ใหญ่/ออกแบบสวยงาม สภาพสวยมาก เก็บเก่าเดิมๆ ของดี/น่าใช้...

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ประวัติพระเสตังคมณี (พระแก้วขาว)

เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นด้วยผีมือปฏิมากรรมของช่างชาวละโว้ หรือขอม(ลพบุรี) ตามตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพานล่วงแล้วได้ 700 ปี ในวันเพ็ญเดือน 7 พระสุเทวฤาษี ได้เอาดอกจำปา 5 ดอก ขึ้นไปบูชาพระจุฬามณียังดาวดึงษ์สวรรค์ และได้สนทนากับพระอินทร์ พระอินทร์ได้บอกกับพระสุเทวฤาษีว่า ปีนี้ในเดือนวิสาขะเพ็ญที่ลวะรัฏฐะ(ลพบุรี) จะสร้างพระพุทธรูปปฏิมากรรมด้วยแก้วขาว ครั้นสุเทวฤาษีกลับจากดาวดึงษ์สวรรค์แล้ว จึงไปเมืองละโว้ ขณะนั้นเจ้าเมืองละโว้และพระกัสสปเถระเจ้า ปรารถที่จะสร้างพระแก้ว แล้วขอพระวิศนุกรรมมาเนรมิตรเป็นองค์พระปฏิมากร สุเทวฤาษีและฤาษีอื่นๆก็ได้ประชุมช่วยในการสร้างพระด้วย เมื่อสำเร็จแล้วก็บรรจุพระบรมธาตุ 4 องค์ไว้ในพระโมลี(กระหม่อม) พระนลาด(หน้าผาก) พระอุระ(หน้าอก) พระโอษฐ์(ปาก) รวม 4 แห่ง

เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระแก้วได้ประดิษฐสถานอยู่ที่เมืองละโว้สืบมาเป็นเวลานาน ครั้นเมื่อพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้ ถูกเชิญมาครองเมืองหริภุญชัย พระนางจึงขออนุญาติจากพระราชบิดา นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ สามเณรและพระเสตังคมณี(พระแก้วขาว) มาเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำพระองค์ พระแก้วขาวจึงได้ประดิษฐาน ณ นครลำพูนเป็นเวลาหลายร้อยปี ต่อมาพระเจ้าเม็งรายมหาราช ปฐมกษัตริย์เม็งราย ผู้สถาปนาอนาจักรล้านนาไทย ได้อัญเชิญพระแก้วขาว มาประดิษฐานในที่ประทับของพระองค์ในปี 1824 ทรงเคารพสักการะบูชาเป็นพระพุทธรูปประจำประองค์ตั้งแต่นั้นมา และกษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญชัยและนครเชียงใหม่ในยุคต่อมา ก็นับถือพระพุทธรูปบูชาประจำพระองค์ทั้สิ้น

คำไหว้พระเสตังคมณี...

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)
เสตังคะมณี พุทธะพิมพัง มหาเตชัง
มหิทธิกัง โย เว พุทธัง นะมัสสันโต
สัคคะติง โส คะมิสสะติ เตเนตัง พุทธ
พิมพัญจะ อะหัง วันทามิ สัพพะทา


ประวัติพระศีลา (ปางปราบช้างนาฬาคิริง)

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพานได้ 7 ปี 7 เดือน 7 วัน พระเจ้าอาชาตศัตตุราช ผู้ครองนครราชคฤท์(อินเดีย) มีพระประสงค์ที่จะสร้างพระพุทธรูป ทรงให้นำเอาดินจากท้องมหาสมุทรมาสร้างพระพุทธรูปปางเสด็จบิณฑบาตร ในเวียงราชคฤห์ ปราบช้างนาฬาคิริงด้วยพระเมตตา โดยมีรูปช้างนาฬาคิริงนอนหมอบอยู่ทางขวา และรูปพระอานนท์ถือถือบาตรอยู่ทางด้านซ้าย ทรงให้สร้างรูปทั้งสามนั้นในหน้าหินรูปเดียวกัน เมื่อสร้างพระพุทธรูปเสร็จ พระเจ้าอาชาตศัตตุราชาและพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย พร้อมใจกันตั้งจิตอธิฐาน กล่าวคำอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุ 7 องค์ให้เสด็จเข้าสถิตย์ในองค์พระพุทธรูปศีลา เมื่อพระบรมสารีริกธาตุทั้ง 7 พระองค์สถิตย์ตั้งอยู่ในองค์พระศีลาเจ้าแล้ว พระศีลาเจ้าก็ทรงสำแดงอิทธิฤทธิ์เสด็จขึ้นไปในอากาศ พระเจ้าอาชาตศัตตุราชทรงเห็นเป็นอัศจรรย์ จึงทรงประดิษฐานพระศีลาในเงื้อมเขาที่สูง และทำแท่นบูชาไว้ข้างล่างสำหรับผู้ที่ต้องการมาสักการะบูชา
ต่อมาพระเจ้า 3 องค์มีพระนามว่า สีละวังโส เรวะโตและญานคัมภีระเถระ พากันไปนมัสการพระศีลาเจ้าที่เงื้อมเขา และขออาราธนาพระองค์เสด็จโปรดมหาชนในประเทศบ้านเมืองที่ไกลบ้าง พระเถระเจ้าทั้ง 3 องค์จึงขออนุญาตพระเจ้าอาชาตศัตตุราชนำพระศีลาไปยังเมืองหริภุญชัย เมื่อพระเถระเจ้ามาถึงเมืองนคร (ลำปาง) ก็อัญเชิญพระศีลาเจ้าประดิษฐานไว้ในเมืองนั้น เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนชาวเมืองเป็นเวลาหลายสมัย

ในสมัยพระเจ้าติโลกราชผู้ครองเมืองเชียงใหม่ มีรับสั่งให้ไปอาราธนาพระศีลาเจ้ามาประดิษฐานไว้ ณ เมืองเชียงใหม่ โดยประดิษฐานไว้ที่วัดป่าแดง วัดหมื่นสารและวัดสวนดอกไม้ตามลำดับ ในปีมะแมจุลศักราช 837 (พ.ศ.2019) ทรงอาราธณาพระศีลาเจ้ามาประดิษฐานในหอพระแก้ว ในราชวังของพระองค์ ครั้นถึงเทศกาลอันสมควรก็กระทำพิธีสักการะบูชาสระสรงสมโภชพระแก้วและพระศีลาเจ้าเป็นงานประจำปี ถ้าปีในแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ก็ทรงให้จัดการทำพิธีขอฝน สระสรงองค์พระศีลาเจ้า เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าติโลกราช พระราชบุตร พระราชนัดดาได้เสวยราช ก็ทรงดำเนินตามราชประเพณีสืบๆกันมา

คำไหว้พระศีลา...

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)
สีลาพิมพัง สุรูปัญจ อิธิเตชัง มหัพพลัง โย เว
พุทธัง นมัสสันโต นิพพานัง โส คะมิสสะติ
เตเนตัง พุทธพิมพัญจะ อะหัง วันทามิ สัพพะทา
นัสสันตุ เม สัพพะโรคา สัพพะภะยา มาเม โหนตุ
พุทธศีลา นุภาเวนะ สัพพะลาภา ภะวันตุ เม

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ราคาเปิดประมูล225 บาท
ราคาปัจจุบัน-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา -- (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ25 บาท
วันเปิดประมูล - 19 ม.ค. 2552 - 16:58:50 น.
วันปิดประมูล - 29 ม.ค. 2552 - 16:58:50 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลtoy2k (19.1K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     225 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     25 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM