(0)
วัดใจ เคาะเดียว..เหรียญสมเด็จพระสังฆราช(ปลด) รุ่นแรก ปี 2505 วัดเบญจมบพิตร กทม.






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัดใจ เคาะเดียว..เหรียญสมเด็จพระสังฆราช(ปลด) รุ่นแรก ปี 2505 วัดเบญจมบพิตร กทม.
รายละเอียดพระประวัติ
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (ปลด กิตติโสภโณ)
วัดเบญจมบพิตร
พระองค์ที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ประสูติ
สมเด็จพระสังฆราช (กิตติโสภณมหาเถระ) พระนามเดิม “ปลด” นามบิดา ขุนพิษณุโลกประชานาถ (ล้ำ) นามมารดา ท่านปลั่ง ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ ตรงกับวันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีฉลูเอกศก จุลศักราช ๑๒๕๑ เวลา ๑๐ ทุ่ม (๐๔.๐๐ น.) เศษ ที่บ้านในตรอกหลังตลาดพาหุรัด ติดกับวัดราชบุรณะ ในพระนคร

ท่านขุนพิษณุโลกประชานาถ (ล้ำ) เป็นมหาดเล็กใกล้ชิดในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรม*ข้อความนี้ อยู่ระหว่างการตรวจสอบ*นาถ เป็นเจ้ากรมคนแรกในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

สมเด็จพระสังฆราชเคยรับสั่งว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้รับสั่งชี้แจงให้ทราบว่า มีสายตระกูลสัมพันธ์กันโดยฐานพระญาติ ในสายตระกูลเกตุทัต, หงสกุล, สกุณะสิงห์, และคชาชีวะ, โดยท่านเจ้ากรมล้ำ เป็นบุตรท่านสั้น และหลวงรักษ์ราชหิรัญ (หนูพิณ) และสมเด็จพระสังฆราชทรงใช้นามสกุลว่า “เกตุทัต” เสมอ เพราะทรงถือว่าเป็นสายใหญ่ ส่วนท่านปลั่งนั้น โดยสายตระกูลเพียงแต่แจ้งว่าเป็นญาติกับหม่อมสว่าง ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ โดยสมเด็จพระสังฆราช ทรงทั้งอยู่ในฐานะเป็นน้าของพระโอรสธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้น ที่กำเนิดแต่หม่อมสว่าง

สมัยทรงพระเยาว์และเริ่มการศึกษา
ท่านปลั่งได้พาสมเด็จพระสังฆราช แต่ยังทรงพระเยาว์ ไปอยู่กับท่านตาหรั่งและท่านยายน้อย (ท่านตาและท่านยายของสมเด็จพระสังฆราช) ที่บ้านเดิมในตรอกหลังพระราชวังเดิมธนบุรี ทรงเจริญวัย ณ บ้านนี้ จนถึงเวลาไปบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดพระเชตุพน เมื่อพระชนม์ ได้ ๑๒ ปี

ได้ทรงศึกษาอักขรสมัยพออ่านออกเขียนได้แล้ว เริ่มเรียนภาษาบาลีแต่เมื่อพระชนม์ได้ ๘ ปี โดยท่านตาเป็นผู้พาไปเรียนกับอาจารย์และรับกลับบ้าน ได้เรียนมูลกัจจายน์กับอาจารย์ฟัก วัดประยูรวงศาวาส จนจบการก และเรียน ธมฺมปทฏฺฐกถากับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (เปีย) แต่ยังเป็นพระเทพมุนี วัดกัลยาณมิตร วัดพระเชตุพน และพระยาธรรมปรีชา (บุญ) แต่ยังเป็นพระวิจิตรธรรมปริวัตร ซึ่งเป็นอาจารย์หลวงสอนพระปริยัติธรรม ณ วัด สุทัศนเทพวราราม

การเรียนภาษาบาลีของพระองค์ในระยะนี้ คล้ายกับนักเรียนไปโรงเรียนอย่างในปัจจุบันกล่าวคือ ยังคงอยู่ที่บ้าน แล้วมาเรียนหนังสือตามสถานที่ดังกล่าว แบบนักเรียนไปกลับ จนถึง พ.ศ. ๒๔๔๓ พระชนม์ได้

๑๒ ปี จึงทรงบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ ณ วัดพระเชตุพน

บรรพชา
ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ในสำนักพระสาธุศีลสังวร (บัว) วัดพระเชตุพน เมื่อพระชนม์ได้ ๑๒ ปี ในปีชวด พ.ศ. ๒๔๔๓ ต่อมาอีก ๓ เดือนก็ได้เข้าสอบพระปริยัติธรรมในปลายปีนั้น ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณนิภาคุณากร วัดราชบพิธ ทรงเป็นอธิบดีการสอบไล่

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นสามเณรปลดเข้าแปลได้ประโยค ๑ ก็รับสั่งว่า “เณรเล็ก ๆ ก็แปลได้” และรับสั่งถามถึงอาจารย์ ท่านเจ้าคุณพระสาธุศีลสังวร (บัว) จึงนำถวายตัว ครั้นทรงสอบถามได้ความว่าเป็นบุตรเจ้ากรมล้ำก็ยิ่งทรงพระกรุณา จึงโปรดให้อยู่วัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนาราม ตั้งแต่วันนั้น ต่อมาได้เข้าแปลประโยค ๒ และประโยค ๓ ได้ ในการสอบไล่คราวนั้น

เมื่อได้มาอยู่วัดเบญจมบพิตรแล้ว ก็ได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมสูงขึ้นโดยลำดับ ประโยค ป.ธ. ๔ - ๕ - ๖ ได้ศึกษากับท่านอาจารย์ คือ สมเด็จพระวันรัต ปุณณทัตตมหาเถระ (จ่าย) เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรองค์ประถม และสมเด็จพระวันรัต อุทยมหาเถระ (ฑิต) เจ้าอาวาส วัดมหาธาตุ ผู้กำกับการวัดเบญจมบพิตร และอาจารย์อื่น ๆ อีกหลายท่าน ผลของการศึกษา ปรากฏว่าทรงสอบไล่พระปริยัติธรรมประโยค ๙ ได้เมื่อพระชนม์ย่างเข้าปีที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๔๕๑)

อุปสมบท
ทรงได้อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๔ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๕๒

กรมพระศาสนา

พระองค์ได้รับภารกิจพระศาสนามาเป็นอันมาก และภาระหน้าที่ที่พระองค์ได้ทรงรับแล้วนั้น ๆ ก็ทรงสามารถปฏิบัติให้สำเร็จไปด้วยดี และบางครั้งต้องประกอบด้วยอุบายวิธี เช่นการที่จะป้องกันมิให้ท่านครูบาศรีวิชัย และศิษย์อื่น ๆ ทำการบรรพชาอุปสมบทบุคคลไม่เลือก คือเมื่อมีบุคคลมาขอบวชแล้ว จะเป็นบุคคลเช่นไรไม่คำนึงถึง ให้การบรรพชาอุปสมบททันที ครั้นบุคคลเหล่านั้นนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้ว เพราะไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัย จึงก่อความลำบากแก่วงการคณะสงฆ์ในภาคพายัพ พระองค์ในฐานะเป็นเจ้าคณะมณฑลพายัพ ครั้นจะปฏิบัติการอะไรรุนแรงลงไปก็ไม่ได้ เพราะครูบาศรีวิชัยเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนเป็นอันมาก ซึ่งโดยความเป็นจริง ครูบาศรีวิชัยเป็นภิกษุที่ดีมาก ยากที่จะหาผู้เสมอเหมือนได้ แต่บรรดาสานุศิษย์ของครูบาเองพยายามที่จะใช้บารมีธรรมของท่านไปในทางที่ไม่ถูกต้อง จึงเกิดความไม่เรียบร้อยขึ้นในวงการคณะสงฆ์ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่ พระองค์จึงได้อาราธนาครูบาศรีวิชัยลงมาพักอยู่ที่วัดเบญจมบพิตร เพื่อขอให้ครูบาศรีวิชัยได้ทำสัญญาว่าจะไม่บวชพระเณรก่อนได้รับอนุญาต ในขณะเดียวกันก็ได้ปรึกษาหารือเพื่อความเรียบร้อยแห่งวงการคณะสงฆ์ด้วย ซึ่งครูบาศรีวิชัยก็ได้เห็นชอบด้วยดีและยอมทำสัญญาไว้กับสมเด็จพระสังฆราช เมื่อได้ตกลงกันแล้วสมเด็จพระสังฆราชก็ได้ทรงอนุญาตให้ครูบาศรีวิชัยกลับเชียงใหม่ได้ และการคณะสงฆ์ก็เรียบร้อยแต่นั้นมา สมเด็จพระสังฆราชเคยรับสั่งว่า ครูบาศรีวิชัยเป็นภิกษุที่ดีมาก และได้รักษาสัญญานั้นเป็นอันดีมาจนตลอดชนมชีพของท่าน นี่เป็นเรื่องหนึ่งในหลาย ๆ เรื่อง ที่ได้ทรงปฏิบัติการไปเพื่อกิจพระศาสนา และกิจการพระศาสนาที่ได้ทรงปฏิบัติตลอดพระชนมชีพของพระองค์นั้น พอจะสรุปลงได้ในองค์การพระศาสนาทั้ง ๔ องค์การ ดังต่อไปนี้

๑. องค์การปกครอง

พอได้รับการอุปสมบทแล้ว ในฐานะที่เป็นเปรียญเอก ๙ ประโยค ก็คงจะได้รับมอบหมายให้ช่วยการปกครองคณะเป็นการภายในบ้าง แต่ไม่ปรากฏหลักฐาน ต่อล่วงมาอีก ๖ ปี พระชนมายุได้ ๒๖ ปี พรรษา ๖

ในต้นรัชกาลที่ ๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่พระศรีวิสุทธิวงศ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ งานปกครองคณะสงฆ์ของพระองค์จึงปรากฎเป็นหลักฐานตั้งแต่นั้นมา

๒. องค์การศึกษา

ได้ทรงรับภารกิจพระศาสนาในด้านการศึกษามาเป็นอันมาก เริ่มแต่การศึกษาในสำนักวัดเบญจมบพิตร อาจกล่าวได้ว่า นับตั้งแต่จบการศึกษาตามหลักสูตรแล้วก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูสอนบาลีผู้หนึ่ง ปรากฏว่าทรงเป็นครูที่ดี สามารถถ่ายเทความรู้ให้แก่ศิษย์ได้เป็นอย่างดี ศิษย์ของพระองค์ได้สำเร็จการศึกษาเป็นเปรียญประโยคต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ได้เป็นกำลังพระศาสนา และที่ออกไปรับราชการและประกอบอาชีพต่าง ๆ มีเป็นอันมากทรงรักงานสอนหนังสือมาก เคยรับสั่งเสมอว่าเวลาที่สุขสบายใจ ก็คือการสอนและการแสดงธรรมโดยปฏิภาณโวหาร ทรงทำการสอนด้วยพระองค์เอง และอำนวยการให้พระภิกษุอื่น ๆ สอน ทั้งในสำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรและในมณฑลพายัพ โดยส่งพระเปรียญจากจังหวัดพระนครไปทำการสอนในจังหวัดต่าง ๆ เป็นอันมาก ทำให้การศึกษาภาษาบาลีใน ๗ จังหวัดมณฑลพายัพได้เจริญรุ่งเรืองมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
ราคาเปิดประมูล150 บาท
ราคาปัจจุบัน-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา -- (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 03 พ.ค. 2559 - 02:32:42 น.
วันปิดประมูล - 13 พ.ค. 2559 - 02:32:42 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลberry (2.8K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     150 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM