(0)
@@@ หลวงพ่อโต กรุวัดบางกะทิง พิมพ์สมาธิ สภาพสวยๆๆๆ เดิมๆๆๆ มาพร้อมบัตร รับรองหายากตัวจริงๆๆ@@@@







ชื่อพระเครื่อง@@@ หลวงพ่อโต กรุวัดบางกะทิง พิมพ์สมาธิ สภาพสวยๆๆๆ เดิมๆๆๆ มาพร้อมบัตร รับรองหายากตัวจริงๆๆ@@@@
รายละเอียดพระหลวงพ่อโต กรุบางกระทิง
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระเนื้อดินเผา มีทั้งชนิดเนื้อละเอียดและเนื้อค่อนข้างหยาบ รวมทั้งมีพระเนื้อชินปะปนอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก นับเป็นเนื้อดินที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองอยุธยาโดยเฉพาะ สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางประมาณปี พ.ศ. ๒๒๒๐ ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ทางวัดเปิดกรุอย่างเป็นการในปี ๒๔๘๑ ขณะรื้อโบสถ์เก่าเพื่อสร้างใหม่ จึงได้พบพระหลวงพ่อโต บรรจุอยู่ใต้ฐานพระประธาน ทางวัดจึงได้นำพระส่วนหนึ่งออกมาแจกสมนาคุณแก่ชาวบ้าน ที่ร่วมทำบุญสร้างโบสถ์หลังใหม่ ส่วนพระที่เหลือได้นำบรรจุที่ฐานพระประธานในโบสถ์หลังใหม่ ในการพบกรุพระหลวงพ่อโต ครั้งนั้นได้พบแม่พิมพ์ ของพระหลวงพ่อโตด้วย ต่อมาได้มีคนร้ายแอบขุดพระหลวงพ่อโต ที่ใต้ฐานพระประธานได้ไปจำนวนหนึ่ง พร้อมกับเอาแม่พิมพ์เก่าไปด้วย

ทางวัดจึงได้เปิดกรุพระอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้คนร้ายแอบลักขุดขโมยพระได้อีก การขุดกรุครั้งนี้ ได้พบพระหลวงพ่อโตอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละส่วนกับที่ขุดได้ในครั้งก่อน ทางวัดได้ให้กรมศิลปากร ตรวจสอบ ปรากฏว่า พระหลวงพ่อโต ในส่วนนี้เป็นการสร้างขึ้นภายหลัง ในสมัยรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเนื้อหามวลสารแตกต่างกัน และอายุความเก่าไม่ถึงสมัยอยุธยา ไม่เหมือนกับพระหลวงพ่อโตที่ขุดพบก่อนหน้านี้

พระหลวงพ่อโต มีสัณฐานเป็นรูปสามเหลี่ยม องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีทั้งปางสมาธิ และ ปางมารวิชัย องค์พระคมชัดนูนเด่น พระพักตร์ใหญ่ และมักปรากฏรายละเอียดต่างๆ บนพระพักตร์อย่างครบถ้วน รวมทั้งเส้นสังฆาฏิ ด้านหลังองค์พระ ส่วนใหญ่มีรอยปาด ที่เรียกกันว่า "รอยกาบหมาก" ทั้งนี้สามารถจำแนกแยกแยะจากการค้นพบโดย
๑. พระกรุเก่า (กรุโบสถ์) ค้นพบในปี ๒๔๘๑ จากหลุมลูกนิมิตเมื่อทำการรื้อถอนโบสถ์เก่า
๒. พระกรุใหม่ (กรุวิหาร) ค้นพบในปี ๒๕๑๐ ใต้ฐานชุกชีในพระวิหาร เปิดกรุหลังมีการลักลอบขุด
๓. พระกรุน้ำ (เจดีย์เก่าริมน้ำ) ค้นพบในปี ๒๕๑๒ จากการขุดลอกคลองหน้าวัดโดยกรมชลประทาน

พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง มีของปลอมมานานแล้ว ทั้งที่ถอดพิมพ์ หรือสร้างแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่ รวมทั้งส่วนหนึ่งที่คนร้ายได้ขโมยแม่พิมพ์เก่าไป ได้เอาไปกดพิมพ์พระกันใหม่ ก็เป็นอีกฝีมือหนึ่งที่คนร้ายได้ทำ พระปลอม วางขายกันมาโดยตลอด การพิจารณาจากพิมพ์ทรงองค์พระ จึงอาจจะมีปัญหา เพราะ พระปลอม ส่วนหนึ่งมักจะมีจุดตำหนิเหมือนกับ พระแท้ มาก สิ่งที่ต้องยึดเป็นหลักในการพิจารณา คือ เนื้อพระ ที่ไม่สามารถทำได้เหมือน โดยเฉพาะ ความเก่า ที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติ ซึ่งย่อมแตกต่างกับ ความเก่าที่แปลกปลอม อันเกิดมาจากการเร่งทำปฏิกิริยาด้วยน้ำยาทางเคมี หรือการเผาไปที่เป็นไปอย่างเร่งรีบ

พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง เป็นพระที่ชายชาตรีสมัยก่อน หรือนักเลงโบราณ นิยมกันแขวนโชว์นอกเสื้อมานานแล้ว ด้วยความเชื่อมั่นในพุทธคุณ ที่เลื่องลือกันมานานแล้วว่า เป็นพระคงกระพันชาตรี มหาอุตม์ ปืนผาหน้าไม้ทำอะไรไม่ได้เลย ขณะเดียวกัน คนสมัยใหม่ต่างยืนยันว่า ทางด้านเมตตามหานิยมก็เป็นเลิศ

---------------------------------------------------

เมื่อตอนขุดกรุที่วัดบางกระทิงได้พบแผ่นยันต์เนื้อดินเผา เป็นรูปนกกาสักอยู่ในวงกลม นอกวงกลมออกมาเป็นรูปกลีบบัวบานโดยรอบ ภายในกลีบทุกกลีบมีอักขระเป็นภาษาขอม ตัวพระคาถากระทู้ ๗ แบก และฝนแสนห่า มียันต์นะหน้าทอง ยันนะทรหด ตัวพระคาถามีดังนี้
“อิระชา ... คะตะระสา....ติหังจะโตโร...ถินัง...จะภะกะสะ”

พระคาถานี้ใช้สำหรับท่องมนต์ภาวนากำกับเมื่ออาราธนาพระพิมพ์หลวงพ่อโตติดตัวไป จะเป็นศิริมงคล เป็นเมตตามหานิยมต่อผู้พบเห็น และคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดจากภยันต์ตรายทั้งปวง และถาเกิดภาวะคับขันในเหตุการณ์ร้ายต่างๆในที่ใดๆก็ดีขอให้ระลึกถึงหลวงพ่อโตให้มั่นและภาวนาพระคาถาดังกล่าวไว้ อย่าได้หวั่นไหววิตกในอันตรายนั้นๆด้วยประการทั้งปวง

(ขอขอบคุณ แหล่งข้อมูลต่าง ๆ และขออนุญาติเผยแพร่เกียรติคุณของครูบาอาจารย์ ด้วยความเคารพ)
ราคาเปิดประมูล177 บาท
ราคาปัจจุบัน6,517 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 29 เม.ย. 2559 - 16:56:26 น.
วันปิดประมูล - 01 พ.ค. 2559 - 05:54:28 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลปราศมณฑิล (14.3K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 29 เม.ย. 2559 - 16:56:38 น.



6


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 29 เม.ย. 2559 - 16:56:48 น.



5


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 29 เม.ย. 2559 - 16:57:01 น.



5


 
ราคาปัจจุบัน :     6,517 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Phum_RTAF (366)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM