(0)
พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ขี่ครุฑเล็ก สภาพดี เลี่ยมทองคำแท้ พร้อมบัตรรับรอง







ชื่อพระเครื่องพระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ขี่ครุฑเล็ก สภาพดี เลี่ยมทองคำแท้ พร้อมบัตรรับรอง
รายละเอียดพระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ขี่ครุฑเล็ก สภาพดี เลี่ยมทองคำแท้ พร้อมบัตรรับรอง

ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

พระครูวิหารกิจจานุการ หรือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2418 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่ออายุครบ 21 ปี เข้าอุปสมบท ณ พัทสีมาวัดบางนมโค เมื่อ พ.ศ.2439 มีหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ้อย วัดบ้านแพน เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นอนุสาวนาจารย์

เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาปฏิบัติในสำนักอาจารย์พอสมควร แล้วได้ไปศึกษาคันธาธุระ และวิปัสสนาธุระ ณ วัดสระเกศราชวรวิหาร กับวัดสังเวชวิศยาราม ในกรุงเทพมหานคร และวัดเจ้าเจ็ดในอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีประวัติ(เป็นคำบอกเล่าจากพระราชพรหมยานหรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี) ว่าท่านได้เรียนวิชามาจากหลวงพ่อเนียม วัดน้อย และหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จังหวัดสุพรรณบุรีอีกด้วย หลวงพ่อปานได้เล่าเรียนศึกษาวิชากัมมัฏฐานจนท่านมีความรู้สามารถเป็นอย่างยิ่ง และเป็นแพทย์แผนโบราณที่มีคนไข้รักษาเดินทางมาให้ท่านรักษากับท่านไม่เว้นแต่ละวัน ท่านเป็นที่เคารพนับถือของชาวอยุธยา ข้าราชการ คหบดี และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์

ประวัติการสร้างพระ

หลวงพ่อปานท่านได้สร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาที่นับได้ว่าเป็นมรดกทางวงการพระเครื่องไว้ให้เราได้ชื่นชม ซึ่งเป็นพิมพ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนใคร ซึ่งปัจจุบันนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จึงทำให้พระเครื่องของท่านเป็นพระหายากและมีราคาสูงมาก หากเทียบกับพระเครื่องเนื้อดินเผาของเกจิอาจารย์ท่านอื่นๆ
ในปี พุทธศักราช 2446 ท่านได้ครุ่นคิดถึงการจะปรับปรุงเสนาสนะในวัดบางนมโค ให้ดีขึ้น ท่านได้หาทางที่จะได้ปัจจัยมาดำเนินการสร้างเสริมถาวรวัตถุในวัด สิ่งแรกที่ท่านจะทำก็คือ สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแทนองค์เดิมที่ชำรุดทรุดโทรม เมื่อท่านครุ่นคิดหนักเข้าไปหาวิเวกในบริเวณป่าช้าท้ายวัดบางนมโค ในขณะที่ท่านเจริญฌาณอยู่นั้นเอง ชีปะขาวก็ปรากฏกายขึ้นเบื้องหน้าท่าน แล้วบอกท่านจะต้องสร้างพระจึงสามารถหาทุนมาทำงานได้ โดยชีปะขาวได้ชี้แจงว่าให้ทำเป็นรูปสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับบนบัลลังก์เหนือสัตว์พาหนะทุกอย่าง โดยจะมานิมิตให้เห็นวันละหนึ่งตัวพร้อมพระคาถากำกับ ในคืนแรกนั้นชีปะขาว ได้บันดาลให้เกิดลมพายุพัดอื้ออึงแล้วก็ปรากฏร่างของหนุมานลอยลงมาหยุดตรงหน้าท่านยืนนิ่งอยู่ บนศรีษะหนุมานนั้นมีหัวใจพระคาถากำกับไว้ ท่านก็จดจำเอาไว้ ชีปะขาวก็ถามว่าจำได้ไหม ท่านก็บอกว่าจำได้หนุมานก็หายไป ในคืนที่สองก็มีลมพายุพัดแบบคราวแรกแล้วก็มีไก่บินมา ตรงหน้าท่านพร้อมพระคาถาบนหัวไก่ท่านก็ท่องจำได้ ไก่ก็หายไป ในคืนที่สาม ก็มีครุฑปรากฏขึ้นพร้อมด้วยคาถาบนศรีษะท่านก็จดจำไว้ ในคืนที่สี่ ก็มีเม่นมาปรากฏตัวพร้อมคาถา ในคืนที่ห้า ก็มีนกกระจาบมาปรากฏ ในคืนที่หก ก็มีปลาเสือมาปรากฏ เมื่อท่านจำจำขึ้นใจแล้ว ชีปะขาวจึงว่าพระนี้ท่านปลุกเสกได้นานถึงสามปี จะมีอิทธิฤทธิ์ขึ้นมาก ถ้าปลุกเสกครบไตรมาศก็จะป้องกันอันตรายได้ แม้ท่านจะได้รับการแนะนำ จากชีปะขาวแล้วท่านก็ยังมิได้สร้างพระคงรออยู่ ต่อมา จนถึงปี 2450 ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาการปลุกเสกพระจากอาจารย์แจง ฆราวาส ตามตำราพระร่วงเจ้า จึงตัดสินใจสร้างพระขึ้นเป็นครั้งแรกวัตถุประสงค์ของท่านเพื่อหาทุนมาสร้างพระเจดีย์ การสร้างครั้งนั้นนับเป็นครั้งแรกของท่าน

พระเครื่องวัตถุมงคลของหลวงพ่อปาน เป็นที่เชื่อถือของคนรุ่นก่อนมาอย่างยาวนาน พุทธคุณเด่นทางโชคลาภ เมตตา มหานิยม คงกะพันชาตรี หลวงพ่อปานท่านเป็นเกจิอาจารย์ที่ประพฤติปฏิบัติดี เป็นเคารพของชาวอยุธยามาก ปัจจุบันพระเครื่องวัตถุมงคลของท่านหายากขึ้น เพราะพุทธคุณเป็นที่เชื่อถือ มีประสบการณ์ของผู้ที่ใช้แล้วดีมากมาย ใครมีต่างก็เก็บบูชากันหมด ทำให้ราคาขยับขึ้นเรื่อยๆ

สำหรับพระหลวงพ่อปานองค์นี้ เป็นพิมพ์ครุฑเล็ก ซึ่งเชื่อว่ามีพุทธคุณด้านเจริญในหน้าที่ราชการ แคล้วคลาดปลอดภัย มีอำนาจบารมี คู่ควรบูชากับผู้ทำงานราชการชั้นเจ้านาย พระองค์นี้สภาพดี เลี่ยมทองคำแท้พร้อมใช้ และมีบัตรรับรองพระแท้จากจีพระให้เรียบร้อยครับ
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน27,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 15 เม.ย. 2557 - 13:27:39 น.
วันปิดประมูล - 17 เม.ย. 2557 - 11:07:49 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลgold_rabbit (652)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 16 เม.ย. 2557 - 12:32:39 น.

ผงเดิม เต็มครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     27,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Tepnimit (2)

 

Copyright ©G-PRA.COM