(0)
หลวงปู่บอกว่า ใช้แล้ว คนรัก คนเกรง กับเหรียญกรมหลวงชุมพร หลังผด พร้อมบัตร สภาพน่ารัก น่าใช้ เคาะเดียว ไวไว







ชื่อพระเครื่องหลวงปู่บอกว่า ใช้แล้ว คนรัก คนเกรง กับเหรียญกรมหลวงชุมพร หลังผด พร้อมบัตร สภาพน่ารัก น่าใช้ เคาะเดียว ไวไว
รายละเอียดมูลเหตุของการทำเหรียญรุ่นนี้ก็เพราะกองพันทหารราบที่ 3ฯ ต้องท ำการจัดหน่วยเฉพาะกิจ นาวิกโยธินขึ้นมาหน่วยหนึ่ง มีโค้ดเนมว่ า “ฉก.นย.181” โดยมีภารกิจ คือ ไปปราบปรามเหล่าขบวนการโจรก่อก า ร ร้ายทาง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงเดือนธันวาคม ปี 2517 ถ ึง เดือนเมษายน ปี 2518 ภารกิจอันหนักหน่วงก็จบลงด้วยดี บรรดาคณะกรรมการจึงได้ปรึกษาหารือกันว่า ควรจัดทำของที่ระลึกให้กับข้าราชการทั้งหลาย รวมถึงทหารหาญที่ไปปฏิบัติการในครั้งนี้ ในที่สุดคณะกรรมการก็มีความเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจัดทำเหรียญพระบรมรูปกรมหลวงชุมพร เป็นดีที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์เพิ่มเติมจากการแจกฟรีว่า 1. มอบเหรียญให้กรมนาวิกโยธินจำนวนหนึ่ง เพื่อจำหน่ายหารายได้เป็นทุนสวัสดิการแก่ทหารนาวิกโยธินที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติ 2. จะนำเงินรายได้จำนวนหนึ่ง ไปบูรณะศาลของกรมหลวงชุมพรฯ ณ กระโจมไฟกรมหลวงชุมพรฯ บนยอดเขาแหลมปู่เฒ่า ในฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี 3. รายได้จากการจัดจำหน่ายเหรียญจำนวนหนึ่ง จะนำไปประกอบการกุศลตามความเหมาะสมต่อไป เมื่อสรุปผลออกมาดังนี้ คณะกรรมการทั้งหมดก็ทำการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรขึ้นควบคุม โดยให้ดำเนินการเป็นการภายใน เพื่อป้องกันข้อครหาต่างๆ อันจะมีขึ้นในภายหลัง ทีนี้ก็มามองหา “ผู้เสก” ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความเก่งจริง เพราะเป็นของราชการ ทำไม่ดีเดี๋ยวจะเสียหายไปกันใหญ่ ในยุคนั้นไม่มีใครดังเกิน “ผู้ทรงอภิญญา” แห่งบ้านค่าย หลวงปู่ทิม อิสริโก คณะกรรมการจึงร่างหนังสือขึ้นฉบับหนึ่ง ให้เจ้าหน้าที่นำไปกราบเรียนขอความเมตตาจากองค์ท่านให้ปลุกเสกให้ ซึ่งหลวงปู่ทิมก็ตอบรับมาว่า “เต็มใจทำให้ด้วยความยินดี” เป็นเหตุให้คณะกรรมการมีกำลังใจขึ้นอีกอักโข เมื่อองค์เสกปรากฏชัด คณะกรรมการจึงได้ขึ้นไปจัดตั้งเครื่องสังเวยชุดใหญ่ บวงสรวงดวงพระวิญญาณของเสด็จเตี่ย ณ ศาลกรมหลวงชุมพรฯ บนยอดเขาแหลมปู่เฒ่า เพื่อขออนุญาตทำเหรียญขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 จากนั้นก็เริ่มรวบรวมชนวนมวลสารต่างๆ ไม่ยอมให้เหรียญรุ่นสำคัญนี้เป็นเพียง “ทองแดงเปล่า” แต่อย่างใด ลำดับแรกก็หอบแผ่นทองคำ แผ่นเงิน ไปหาพระที่ว่าเก่งให้ลงอักขระปลุกเสก ดังมีรายนามต่อไปนี้ 1. พระครูภาวนาภิรัติ (ทิม อิสริโก) วัดละหารไร่ ต.ตาสิทธิ์ (ต.หนองละลอก-ปัจจุบัน) อ.บ้านค่าย จ.ระยอง 2. พระครูภาวนา นุโยค (หอม จันทโชโต) วัดซากหมากป่าเรไร ต.สำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง 3. พระครูพิพิธวรญาณ (ชื่น สุจิตโต) วัดมาบข่า อ.บ้านค่าย จ.ระยอง 4. พระครูอุดมวิชชากร (เหมือน อินทโชโต) วัดกำแพง ต.มะขามหย่ง อ.เมือง จ.ชลบุรี 5. พระครูวรพรตศีลขันธ์ (แฟ้ม อภิรโต) วัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) ต.บางปลาสร้อย อ.เมือง จ.ชลบุรี 6. หลวงพ่อทัต วัดช่องแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 7. หลวงพ่อแดง วัดเชิงเขา อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส 8. หลวงพ่อบัว วัดสารวัน กิ่ง อ.ไม้แก่น (อ.ไม้แก่น-ปัจจุบัน) จ.ปัตตานี 9. หลวงพ่อชื่น วัดหัวเขา อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ดูรายชื่อก็ขนลุกแล้ว ไม่ใช่เท่านั้นนะ ยังไปเสาะหาของดีจากที่อื่นๆ มาหล่อหลอมร่วมด้วย ที่ทราบแน่ชัดก็คือ 1. ตะกรุดโทน หลวงพ่อปาน วัดมงคลโคธาวาส (วัดบางเหี้ย) ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ 2. ตะกรุดโทนหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา 3. ตะกรุดโทน พระครูพินิจสมาจารย์ (หลวงพ่อโด่ ไชยเสมอ) วัดนามะตูม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี 4. ตะกรุดเก่า ไม่ทราบสำนัก จากผู้มีจิตศรัทธามอบให้จำนวนหลายร้อยดอก 5. ห่วงเหรียญต่างๆ หลายร้อยห่วง เมื่อมวลสารครบครัน ก็ทำการหล่อหลอมโลหะธาตุทั้งหมดให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำไปรีดเป็นแผ่นเข้าเครื่องปั๊ม ซึ่งผู้แกะบล็อกเหรียญคือ ช่างยิ้ม ยอดเมือง เพราะปั๊มเหรียญเพียงเนื้อเดียว จึงเสร็จเร็ว ได้ของเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 นับเหรียญทั้งหมดมีจำนวน 23,599 เหรียญ แยกออกมาเป็นจำนวน 1,000 เหรียญ แล้วนำไปกะไหล่ทอง เพื่อมอบให้กับข้าราชการ และทหารหาญในหน่วย “ฉก.นย.181” และบรรดาผู้มีอุปการคุณทั้งหลาย เป็นกรณีพิเศษ ครั้นกระบวนการสร้างแล้วเสร็จ ก็ขนลังบรรจุพระไปมอบถวายให้หลวงปู่ทิม ที่วัดละหารไร่ หลวงปู่ท่านก็เริ่มปลุกเสกแบบ “บินเดี่ยว” ตามแบบฉบับของท่าน ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งวันนั้นเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของเสด็จในกรมฯ พอดี๊พอดี ท่านเมตตาทำให้เต็มที่ถึง 5 วัน ไปขอคืนเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ได้เหรียญมาแล้วนำมาตอดโค้ดรูปตัว “เฑาว์มหาอุด” โดยเหรียญชุบทองทั้ง 1,000 เหรียญ ได้ตอกโค้ดไว้ที่ด้านซ้ายขององค์ท่าน หรือด้านขวามือของเราเวลาดูเหรียญ ส่วนเหรียญทองผสมธรรมดา ก็ตอกที่ด้านล่างขององค์ท่าน เมื่อตอกโค้ดเรียบร้อย ก็ขนเหรียญทั้งหมดขึ้นทำพิธีบวงสรวงต่อดวงวิญญาณของเสด็จเตี่ยอีกครั้ง ที่ศาลกรมหลวงชุมพรฯ บนยอดเขาแหลมปู่เฒ่า โดยมีการตั้งเครื่องสังเวย และราชวัตรฉัตรธงอย่างสมบูรณ์แบบ มีพราหมณ์เป็นผู้ดำเนินการบูชาจนเสร็จพิธี พอกล่าวบูชาเสร็จ ก็นำน้ำพระพุทธมนต์มาประพรมเหรียญจนทั่วถึงอีกครั้ง น่าประหลาดตรงที่นับแต่จุดธูปจนเสร็จพิธีการ ธูปดับสนิทในวินาทีสุดท้ายได้ 29 นาทีพอดิบพอดี และแล้วก็มาถึงการแจกจ่าย 1,000 เหรียญ เป็นของข้าราชการดังเกริ่น อีก 2,000 เหรียญ ถวายหลวงปู่ทิมไว้เพื่อบำรุงวัด, มอบให้กรมนาวิกโยธิน กองทัพเรือสัตหีบ เพื่อหาทุนสวัสดิการกองทัพเรือ 10,000 เหรียญ เหลือนอกจากนั้นก็จำหน่ายในราคาเหรียญละ 20 บาท ศิษย์ใกล้ชิด (จริงๆ) ของหลวงปู่ทิมท่านหนึ่งว่า เคยได้ยินหลวงปู่พูดถึงการเสกพระของท่านว่า ใครเอาพระรูปแบบใดมาให้ทำ ท่านก็จะทำตามนั้น เช่น เอารูปพระพุทธเจ้ามา ท่านก็ขอบารมีพระพุทธเจ้า เอารูปพระพรหมมา ก็ขอบารมีพระพรหม เอารูปพระเจ้าตากสินมา ท่านก็เชิญดวงวิญญาณพระเจ้าตากมา เอารูปกรมหลวงชุมพรฯ มา ท่านก็เชิญกรมหลวงมา มาเพื่อร่วมเสก เพื่อร่วมรับทราบ มีใคร “ทำเป็น” แบบนี้ไหม ? ความพิถีพิถันตั้งแต่เริ่มสร้าง ว่าด้วยเรื่องราวของมวลสาร ตลอดถึงการปลุกเสกของผู้เรืองวิชา แก่กล้าในญาณวิถี เช่น หลวงปู่ทิม ย่อมไม่ต้องสงสัยเลยว่า พุทธคุณในเหรียญนี้จะแน่นปั๋งขนาดไหน ใครมีก็เรียกว่าได้ทั้ง “พระที่เรืองฤทธิ์” กับ “โยมผู้เรืองเวทย์” ไว้ในองค์เดียวกัน

****ขออนุญาติลงรูปเจ้าของเดิมครับ
ราคาเปิดประมูล12,950 บาท
ราคาปัจจุบัน13,150 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 01 มี.ค. 2556 - 08:38:47 น.
วันปิดประมูล - 02 มี.ค. 2556 - 09:29:36 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลsak15 (1.9K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     13,150 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Chan59 (1K)

 

Copyright ©G-PRA.COM