(0)
พระสมเด็จโนนผึ้ง หลวงปู่หมุน พิมพ์ใหญ่ ออกวัดโนนผึ้ง ปี ๔๐ ฝังเพชรหน้าทั่ง มีพระธาตุ หลังปิดจีวรทับเส้นเกศา พร้อมบัตรรับรอง








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระสมเด็จโนนผึ้ง หลวงปู่หมุน พิมพ์ใหญ่ ออกวัดโนนผึ้ง ปี ๔๐ ฝังเพชรหน้าทั่ง มีพระธาตุ หลังปิดจีวรทับเส้นเกศา พร้อมบัตรรับรอง
รายละเอียดพระสมเด็จหลวงปู่หมุน ที่เรานำมาให้ท่านบูชาอยู่นี้ เป็นพิมพ์ใหญ่ ฝังเพชรหน้าทั่ง มีเม็ดพระธาตุ ๖ เม็ด หลังปิดจีวร ทับเส้นเกศาของหลวงปู่ มีเม็ดพลอยสีน้ำตาล มันวาว หลายจุด เช่นช่วงลำตัวขององค์พระ ด้านข้างฝั่งซ้ายขององค์พระมุมบนซ้ายมือองค์พระ พระองค์นี้ฟอร์มพิมพ์ดีมากครับ ยันต์หลังติดชัดเจน มาพร้อมบัตรรับประกันพระแท้

ประวัติการสร้าง
หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล ปลุกเสก เมื่อครั้งจำพรรษาที่ วัดโนนผึ้ง ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่ประสาร ซึ่งเป็นสหธรรมมิกรุ่นน้องของท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ จัดเป็นพระรุ่นแรกๆ ของหลวงปู่ครับ

หลวงปู่ประสาร ท่านจะเก่งมากด้านเมตตามหาเสน่ห์ ผูกดวงคู่ และเชี่ยวชาญทางด้านว่านยาต่างๆเป็นอย่างมาก จนหลวงปู่หมุนท่านถึงกับเอ่ยปากชมว่า หลวงปู่ประสารเป็นเอกทางด้านนี้หาคนเทียบรัศมีท่านยากในย่านนี้ เป็นหนึ่งในไม่กี่รูปที่หลวงปู่หมุน ท่านยอมรับว่าเก่ง และแตกฉานในวิชาความรู้ต่างๆ ท่านจึงไว้วางใจ และถ่ายทอดวิชาให้หลายอย่าง

พระสมเด็จโนนผึ้ง สร้างและเสกด้วยเจตนาบริสุทธิ์ มวลสารที่อยู่ในองค์นั้นหามารวมกันหลายชั่วอายุคน รุ่นต่อรุ่นมาจากอาจารย์สู่ลูกศิษย์ ผงนี้มี อาถรรพ์ยิ่งนัก มวลสารจากชานหมากครูบาอาจารย์อีกมากมาย หลวงปู่หมุนท่านลบผงช่วยในโบสถ์ หลวงปู่หมุนท่านบอกว่าการลบผงนี้ทำได้ ยาก มากๆ ในชีวิตคนๆ หนึ่งจะทำสำเร็จนั้นได้เพียงไม่กี่ครั้ง ยากนักจะหาใครทำได้ เห็นจะมีก็แต่สมเด็จพุฒาจารย์โต แห่งวัดระฆังฯ หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร และหลวงปู่สี แห่งวัดถ้ำเขาบุญนาค ซึ่งหลวงปู่หมุนท่านเคยไปขอศึกษาการลบผงตำรับของสมเด็จ พุฒาจารย์โต จากหลวงปู่สี จนสำเร็จมาจนครบกระบวนความรู้ ด้วยความอุตสาหะของท่าน ด้วยบุญญาธิการของท่าน ด้วยสายวิชาการเดินธาตุทั้ง ๔ ที่ท่านสำเร็จมา ท่านจึง เรียนและพยายามจนประสบผลสำเร็จ ได้ทุกประการ นับเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ศึกษาจนสำเร็จได้ จึงไม่ต้องสงสัยแต่อย่างใดเลยว่า พระสมเด็จวัดโนนผึ้งชุดนี้ดีจริงหรือไม่ เพราะเมื่อครั้งที่หลวงปู่หมุนมาจำพรรษา ที่วัดป่าหนองหล่มโดยการนิมนต์เชิญโดย พระอาจารย์จ่อย สิริคุตโต หลวงปู่หมุน ได้นำพระสมเด็จโนนผึ้งติดย่ามมาด้วย ตอนนั้น เป็นพิธีหล่อพระแก้วมรกตองค์ใหญ่ ๕๙ นิ้ว ที่วัดป่าหนองหล่ม เมื่อปี ๒๕๔๑ – ๒๕๔๒ ปู่หงษ์ พรหมปัญโญ เป็นประธาน หลวงปู่หมุนท่านกำหนดราคาไว้ที่ทำบุญองค์ละ ๕๐๐ บาท มีคนถามว่าหลวงปู่ทำไมแพงจัง หลวงปู่หมุนท่านยิ้มๆ แล้วตอบว่าทำได้ยากนะ เก็บกันไว้เถอะ อนาคตจะแพง และหากันไม่ได้นะ พุทธคุณเหลือล้นสุดยอด ดีทั้งนอกดีทั้งใน ใครได้ไว้ครอบครองถือว่าเป็นมงคลแก่ชีวิตอย่างยิ่ง สมัยนั้น ๕๐๐ บาท ถือว่าแพงมากๆ สำหรับพระผงเนื้อว่านแบบนี้

นอกจากนี้ หลวงปู่หมุนท่านยังเคยกล่าวไว้ว่า “ แม้นว่าถ้าฉันตายไปของ ๆ ฉันจะขลังกว่านี้หลายร้อยเท่า น้ำลาย ไอปาก ลมปรานที่ประจุไปด้วยพลังจิตอัน เข้มขลังของฉัน ย่อมเป็นหนึ่งบ่มีสอง ครบเครื่องเป็นองค์พระ ดีทั้งนอก ดีทั้งใน ฝากไว้ให้แผ่นดิน ให้เลื่องชื่อลือนาม ลือเรื่องถึงเมืองแมน “

พระสมเด็จวัดโนนผึ้ง.....มีพุทธศิลป์เดียวคือ ด้านหน้าเป็นพระสมเด็จปางสมาธิ ฐาน ๓ ชั้น ฐานชั้นกลางจะขึ้นเป็น
เส้นคม ปลายฐานจะค่อยๆ โค้งงอขึ้นด้านบนอย่างอ่อนช้อยสวยงาม อยู่ภายในเส้นครอบซุ้มผ่าหวาย ยอดปลายพระเกศจะไม่จรดติดกับเส้นขอบซุ้ม ด้านหลังเป็นยันต์ใหญ่ และตัวอักษร วัดโนนผึ้ง อ.กันทรารมย์ จ. ศรีสะเกษ

แยกเป็น 3 พิมพ์ตามขนาดโดยประมาณขององค์พระ ดังนี้
๑. พิมพ์จัมโบ้ ขอบล่างกว้าง ๒๔ มม. ขอบบนกว้าง ๒๒ มม. สูง ๓๗ มม. (จำนวนสร้าง ๑๐๐ องค์)
๒. พิมพ์ใหญ่ ขอบล่างกว้าง ๒๒ มม. ขอบบนกว้าง ๒๑ มม. สูง ๓๓ มม. (จำนวนสร้างหลักหมื่นองค์)
๓. พิมพ์เล็ก ขอบล่างกว้าง ๒๐ มม. ขอบบนกว้าง ๑๙ มม. สูง ๓๐ มม . (จำนวนสร้าง ๑๐๐ องค์)

ทั้ง ๓ พิมพ์จะมีทั้งแบบองค์พระบาง (๗ มม.) และองค์พระหนา (๘ มม.) ซึ่งพบเห็นน้อยหายากกว่า

จำแนกตามวัตถุศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุเพิ่มเติมลงในองค์พระเรียงลำดับจากที่หายากพบเห็นน้อยไปหามาก ดังนี้
แบบที่ ๑. ฝังเพชรหน้าทั่ง หรือ และ ฝังทองด้านข้าง หรือผิวขององค์พระ (สร้างหลักสิบองค์ไม่เกิน ๑๐๐ องค์)
แบบที่ ๒. กรรมการทาทองด้านหน้าและหลัง อุดจีวรใต้ขอบสันด้านล่าง (สร้างหลักสิบองค์ กรรมการทาทองแบบที่ ๒ - ๕ สร้างรวมกัน ๑๐๐ องค์)
แบบที่ ๓. กรรมการทาทองด้านหน้า ลงรักด้านหลัง อุดจีวรใต้ขอบสันด้านล่าง (สร้างหลักสิบองค์ กรรมการทาทองแบบที่ ๒ - ๕ สร้างรวมกัน ๑๐๐ องค์)
แบบที่ ๔. กรรมการทาทองด้านหน้าและหลัง ไม่อุดจีวรใต้ขอบสันด้านล่าง (สร้างหลักสิบองค์ กรรมการทาทองแบบที่ ๒ - ๕ สร้างรวมกัน ๑๐๐ องค์)
แบบที่ ๕. กรรมการทาทองด้านหน้า ลงรักด้านหลัง ไม่อุดจีวรใต้ขอบสันด้านล่าง (สร้างหลักสิบองค์ กรรมการทาทองแบบที่ ๒ - ๕ สร้างรวมกัน ๑๐๐ องค์)
แบบที่ ๖. ติดเส้นเกศาและปิดแผ่นจีวรทับบริเวณกลางองค์พระด้านหลัง
แบบที่ ๗. ติดแผ่นจีวรกลางองค์พระด้านหลัง
แบบที่ ๘. อุดจีวรใต้ขอบสันด้านล่าง
แบบที่ ๙. ติดเศษธนบัตรใบละ ๑๐๐ บาทที่ผิวองค์พระ
แบบที่ ๑๐. อุดเศษธนบัตรใบละ ๑๐๐ บาทใต้ขอบสันด้านล่าง
แบบที่ ๑๑. โรยผงตะไบที่ผิวพระ
แบบที่ ๑๒. ฝังพลอยดิบเม็ดใหญ่ที่ผิวพระ
แบบที่ ๑๓. โรยแร่ที่ผิวพระ
แบบที่ ๑๔. ผสมพลอยดิบเม็ดเล็กลงไปในเนื้อมวลสาร

จำแนกตามเนื้อมวลสารหลักที่สร้างซึ่งมีทั้งประเภทเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด โดยจะเรียงลำดับจากที่หายาก พบเห็นน้อยไปหามาก ดังนี้
แบบที่ ๑. เนื้อผงพุทธคุณ ๑๐๘ มีเม็ดพระธาตุงอก
แบบที่ ๒. เนื้อผงพุทธคุณ ๑๐๘ แก่เส้นเกศา
แบบที่ ๓. เนื้อผงพุทธคุณ ๑๐๘ แก่ชานหมาก
แบบที่ ๔. เนื้อผงพุทธคุณ ๑๐๘ แก่ว่าน
แบบที่ ๕. เนื้อผงพุทธคุณ ๑๐๘ แก่ผงตะไบ
แบบที่ ๖. เนื้อผงพุทธคุณ ๑๐๘ แก่ผงธูป
แบบที่ ๗. เนื้อผงพุทธคุณ ๑๐๘

จำแนกตามโซนสีขององค์พระซึ่งการเกิดโซนสีที่ต่างกันนั้น ก็เนื่องมาจากอัตราสัดส่วนผสมและชนิดของเนื้อผงพุทธคุณ ว่านและชานหมากที่ใช้สร้างแตกต่างกัน โดยจะเรียงลำดับจากที่หายากพบเห็นน้อยไปหามาก ดังนี้
แบบที่ ๑. โซนสีดำ (แก่ว่านไพรดำ)
แบบที่ ๒. โซนสีขาว (แก่ว่านขาวจ้าวทรัพย์)
แบบที่ ๓. โซนสีน้ำตาลเข้ม (แก่ชานหมาก)
แบบที่ ๔. โซนสีน้ำตาลเข้ม (แก่ว่าน)
แบบที่ ๕. โซนสีเหลืองขมิ้น
แบบที่ ๖. โซนสีเทา (แก่ผงธูป)
แบบที่ ๗. โซนสีน้ำตาลอ่อน (แก่ผงตะไบ)
แบบที่ ๘. โซนสีน้ำตาลอ่อน



เพชรหน้าทั่งนี้ทางใต้ถือว่าเป็นแร่มงคลที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเองแม้ไม่ได้ปลุกเสก อย่างเช่นที่หลวงพ่อแดง วัดศรีมหาโพธิ์ จ.ปัตตานี ซึ่งเป็นศิษย์เอกสายหลวงปู่ทิม วัดช้างให้ ได้นำมาฝังในพระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นห้าแชะ ที่ท่านสร้างในปี ๒๕๓๘ อันโด่งดังด้วยประสบการณ์ทั่วประเทศมาแล้ว (มีภาพประกอบด้านล่างครับ)

เข้าใจว่าหลวงปู่หมุน ท่านคงได้นำเพชรหน้าทั่งนี้ติดตัวกลับมาด้วย หลังจากที่ท่านได้ไปจำพรรษาร่ำเรียนแลกเปลี่ยนวิชาอาคมกับหลวงปู่ทิม ที่วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ถึง ๒ ครั้ง เป็นเวลานานถึง ๒ ปีเต็ม และท่านได้นำมาฝังไว้ในพระสมเด็จโนนผึ้งของท่านเพียงไม่กี่องค์ เพื่อมอบเฉพาะให้กับลูกศิษย์ลูกหาใกล้ชิดและผู้ทำคุณประโยชน์ แก่ทางวัดและพระพุทธศาสนาเป็นพิเศษเพียงไม่กี่ท่านเท่านั้น




พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน พิมพ์สี่เหลี่ยม รุ่นห้าแชะ หลวงพ่อแดง วัดศรีมหาโพธิ์ จ.ปัตตานี ปี 2538
เป็นรุ่นสุดยอดประสบการณ์ ที่มาของชื่อรุ่น มาจากข่าว 2 โจร ดักปล้น 2 หนุ่มธนาคารที่จังหวัดยะลา
แต่ฝ่ายหนุ่มธนาคารขัดขืนต่อสู้เลยถูกโจรยิงใส่ ถึง 5 นัด แต่กระสุนด้านทั้ง 5 นัด เสียงดัง 5 แชะ
เลยเป็นที่มาของหลวงปู่ทวด รุ่นห้าแชะ นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับประสบการณ์จากลป.ทวด รุ่นนี้อีกหลายราย
ทำให้เป็นที่ปรารถนาของผู้ที่นับถือต้องการได้ไว้บูชา มวลสารที่นำมาสร้างมีว่านต่างๆจำนวนมากรวมทั้งชานหมาก
และดินกากยายักษ์




จำแนกตามเนื้อมวลสารหลักที่สร้างซึ่งมีทั้งประเภทเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด โดยจะเรียงลำดับจากที่หายาก
พบเห็นน้อยไปหามาก ดังนี้

แบบที่ 1. เนื้อผงพุทธคุณ ๑๐๘ มีเม็ดพระธาตุงอก
แบบที่ 2. เนื้อผงพุทธคุณ ๑๐๘ แก่เส้นเกศา
แบบที่ 3. เนื้อผงพุทธคุณ ๑๐๘ แก่ชานหมาก
แบบที่ 4. เนื้อผงพุทธคุณ ๑๐๘ แก่ว่าน
แบบที่ 5. เนื้อผงพุทธคุณ ๑๐๘ แก่ผงตะไบ
แบบที่ 6. เนื้อผงพุทธคุณ ๑๐๘ แก่ผงธูป
แบบที่ 7. เนื้อผงพุทธคุณ ๑๐๘

จำแนกตามโซนสีขององค์พระซึ่งการเกิดโซนสีที่ต่างกันนั้น ก็เนื่องมาจากอัตราสัดส่วนผสมและชนิดของเนื้อผง
พุทธคุณ ว่านและชานหมากที่ใช้สร้างแตกต่างกัน โดยจะเรียงลำดับจากที่หายากพบเห็นน้อยไปหามาก ดังนี้

แบบที่ 1. โซนสีดำ (แก่ว่านไพรดำ)
แบบที่ 2. โซนสีขาว (แก่ว่านขาวจ้าวทรัพย์)
แบบที่ 3. โซนสีน้ำตาลเข้ม (แก่ชานหมาก)
แบบที่ 4. โซนสีน้ำตาลเข้ม (แก่ว่าน)
แบบที่ 5. โซนสีเหลืองขมิ้น
แบบที่ 6. โซนสีเทา (แก่ผงธูป)
แบบที่ 7. โซนสีน้ำตาลอ่อน (แก่ผงตะไบ)
แบบที่ 8. โซนสีน้ำตาลอ่อน




ภาพตัวอย่างเม็ดพระธาตุของพระพุทธสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งในสมัยพุทธกาลและสมัยปัจจุบัน


พระธาตุพุทธสาวก

นับตั้งแต่สมัยพุทธกาลเป็นต้นมา มีพระสงฆ์จำนวนมากมาย ที่ปฏิบัติตามแนวทางที่
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางเอาไว้ และมีความเพียรพยายามอย่างยิ่ง
จนกระทั่งสามารถยกจิตก้าวบรรลุสู่ภูมิธรรมขั้นต่างๆ นับแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป
และสิ่งที่สามารถยืนยันได้ว่าท่านเหล่านั้นสามารถบรรลุภูมิธรรมขั้นสูงได้ก็คือ พระธาตุ
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีพระอริยสงฆ์มากมายที่สามารถปฏิบัติธรรมจนกระทั่งอัฐิกลายเป็น "พระธาตุ"
และมีลักษณะแตกต่างกันมากมาย ซึ่งสามารถแยกออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1. พระสาวกสมัยพุทธกาลและสมัยโบราณ โดยพระสาวกสมัยพุทธกาลนั้น คือ
พระสาวกที่ดำรงขันธ์อยู่ในช่วงสมัยพุทธกาล จนกระทั่งถึงภายหลังพุทธกาลไม่นาน
ส่วนพระสาวกสมัยโบราณ คือ พระสาวกที่ดำรงขันธ์ในช่วงภายหลังพุทธปรินิพพานจนถึง
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 24 พระสาวกในกลุ่มนี้จึงมีเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ปรากฏนามและไม่ปรากฏนาม
ในตำรา พระสาวกสมัยพุทธกาลที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป เช่น พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร เป็นต้น
และพระสาวกสมัยโบราณที่เป็นที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป เช่น พระอุปคุต เป็นต้น

2. พระสาวกสมัยปัจจุบัน พระสาวกสมัยปัจจุบันนั้น คือช่วงตั้งแต่ก่อน พ.ศ.2500 เล็กน้อย
กระทั่งถึงปัจจุบัน ซึ่งมีมากมายหลายองค์ และแต่ละองค์ก็มีพระธาตุลักษณะต่างๆมากมาย
ทำให้ได้สามารถศึกษาลักษณะและวิธีการแปรเปลี่ยนเป็นพระธาตุจากส่วนต่างๆของร่างกาย
ซึ่งนำไปเปรียบเทียบกับลักษณะการเกิดของพระบรมสารีริกธาตุ
และพระธาตุพระสาวกสมัยโบราณได้ ดังเช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นต้น

พระสาวกธาตุสมัยพุทธกาลและสมัยโบราณ

ตามตำราพระธาตุของโบราณ ได้กล่าวถึงลักษณะพระธาตุของพระอรหันต์ผู้ซึ่งทรงขันธ์อยู่ในสมัยพุทธกาล
และหลังพุทธปรินิพพานไม่นาน มีระบุลักษณะของพระธาตุพระอรหันต์เหล่านี้ไว้ 47 องค์
และ ในอรรถกถา* ระบุลักษณะพระธาตุของพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลไว้อีก 3 องค์
ซึ่งซ้ำกับในตำราพระธาตุของโบราณ 2 องค์ รวมปรากฏลักษณะพระธาตุ
ของพระอรหันต์ทั้งสิ้น 48 องค์ ได้แก่

1.พระสารีบุตร
2.พระโมคคัลลานะ
3.พระสีวลี
4.พระองคุลิมาละ
5.พระอัญญาโกณฑัญญะ*
6.พระอนุรุทธะ
7.พระกัจจายะนะ
8.พระพิมพาเถรี
9.พระสันตติมหาอำมาตย์*
10.พระภัททิยะ
11.พระอานนท์
12.พระอุปปะคุต
13.พระอุทายี
14.พระอุตตะรายีเถรี
15.พระกาฬุทายีเถระ
16.พระปุณณะเถระ
17.พระอุปะนันทะ
18.พระสัมปะฑัญญะ
19.พระจุลลินะเถระ
20.พระจุลนาคะ
21.พระมหากปินะ
22.พระยังคิกะเถระ
23.พระสุมณะเถระ
24.พระกังขาเรวัตตะ
25.พระโมฬียะวาทะ
26.พระอุตระ
27.พระคิริมานันทะ
28.พระสปากะ
29.พระวิมะละ
30.พระเวณุหาสะ
31.พระอุคคาเรวะ
32.พระอุบลวรรณาเถรี
33.พระโลหะนามะเถระ
34.พระคันธะทายี
35.พระโคธิกะ
36.พระปิณฑะปาติยะ
37.พระกุมาระกัสสะปะ
38.พระภัทธะคู
39.พระโคทะฑัตตะ
40.พระอนาคาระกัสสะปะ
41.พระคะวัมปะติ
42.พระมาลียะเทวะ
43.พระกิมิละเถระ
44.พระวังคิสะเถระ
45.พระโชติยะเถระ
46.พระเวยยากัปปะ
47.พระกุณฑะละติสสะ
48.พระพักกุละ*

พระสาวกธาตุสมัยปัจจุบัน

พระสาวกเหล่านี้ ได้ปฏิบัติธรรม และก้าวขึ้นสู่ชั้นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา
เมื่อมรณภาพลง ภายหลังจากการฌาปณกิจแล้วก็บังเกิดสิ่งอันน่าอัศจรรย์ใจต่างๆเกิดขึ้น
เมื่อกระดูกที่โดนเผาไฟแล้วก็ดี เส้นผม ฟัน หรือกระทั่งชานหมาก ที่มิได้โดนเผาไฟด้วย
ไม่ว่าเก็บไว้ตามสถานที่ใดก็แล้วแต่ ค่อยๆแปรเปลี่ยนเป็นผลึกใหญ่น้อย สีสันต่างๆ คล้ายกรวดคล้ายแก้ว
เพิ่มลดจำนวนได้เอง หรือ จะเรียกให้ถูกว่า กระดูกของท่านเหล่านั้น ได้แปรเปลี่ยนเป็น 'พระธาตุ'
ซึ่งมีรายนามพระสาวกปัจจุบันที่พบว่าสิ่งของที่เกี่ยวเนื่องด้วยท่าน
มีการแปรเปลี่ยนสภาพเป็นพระธาตุแล้ว ดังนี้

1.สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม กทม.

2.หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร

3.พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พรหมจักโก) วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน

4.หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วบ้านชุมพล สกลนคร

5.หลวงปู่ครูบาบุญปั๋น ธัมมปัญโญ วัดร้องขุ้ม เชียงใหม่

6.หลวงปู่คำตัน ฐิตธัมโม วัดป่าดานศรีสำราญ หนองคาย

7.พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี

8.หลวงปู่เข่ง โฆษธัมโม วัดป่าสีห์พนม สกลนคร

9.พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทธจาโร) วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่

10.พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (วัน อุตตโม) วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม สกลนคร

11.พระครูอินทวุฒิกร (ต่วน อินทปัญโญ) วัดกล้วย อยุธยา

12.พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กันตสีโล) วัดดอนธาตุ อุบลราชธานี

13.หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี

14.หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร หนองคาย

15.พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา

16.พระครูศาสนูปกรณ์ (บุญจันทร์ กมโล) วัดสันติกาวาส อุดรธานี

17.หลวงปู่คำฟอง มิตตภานี วัดป่าศรีสะอาด สกลนคร

18.พระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม สุรินทร์

19.หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง เลย

20.หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่

21.หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง มหาสารคาม

22.หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์

23.หลวงปู่กอง จันทวังโส วัดสระมณฑล อยุธยา

24.พระครูพรหมเทพาจารย์ (เทพ ถาวโร) วัดท่าแคนอก(เทพนิมิตร) ลพบุรี

25.หลวงปู่เมตตาหลวง (สิงห์ สุนทโร) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม นครราชสีมา

26.สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จันทปัชโชโต) วัดนรนารถสุนทริการาม กรุงเทพฯ

27.หลวงพ่อประยุทธ์ ธัมยุทโต วัดป่าผาลาด กาญจนบุรี

28.หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดบรรพตคีรี(ภูจ้อก้อ) มุกดาหาร

29.พระภาวนาวิสุทธิเถร (กัมพล กัมพโล) วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ

30.พระครูขันตยาภรณ์ (คำ ขันติโก) สุสานไตรลักษณ์ เชียงใหม่

31.พระครูสุคันธศีล (คำแสน อินทจักโก) วัดสวนดอก(บุปผาราม) เชียงใหม่

32.หลวงปู่กุ่น จิรกุโล วัดศาลพันท้ายนรสิงห์ สมุทรสาคร ดูรูป

33.หลวงปู่ปั่น สุจิณโณ วัดพรพระร่วงประสิทธิ์ กรุงเทพฯ อ่าน/ดูรูป

34.พระครูประสิทธิธรรมญาณ (แบน กันตสาโร) วัดมโนธรรมาราม(นางโน) กาญจนบุรี

35.พระครูพิสิษฐ์อรรถการ (คล้าย จันทสุวัณโณ) วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช

36.พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) วัดจันทาราม(ท่าซุง) อุทัยธานี

37.พระครูนิยุตธรรมสุนทร (ยิด จันทสุวัณโณ) วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์

38.หลวงปู่มหาปราโมทย์ ปาโมชโช วัดป่านิโครธาราม อุดรธานี

39.พระครูสุวัณโณปมคุณ (คำพอง ติสโส) วัดป่าพัฒนาธรรม(ถ้ำกกดู่) อุดรธานี

40.พระสุธรรมคณาจารย์ (เหรียญ วรลาโภ) วัดอรัญญบรรพต หนองคาย

41.พระนพีสีพิศาลคุณ (ทองอินทร์ กุสลจิตโต) วัดสันติธรรม เชียงใหม่

42.พระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวง กตปุญโญ) วัดป่าสำราญนิวาส

43.หลวงปู่ชื้น พุทธสโร วัดญาณเสน อยุธยา

44.พระครูจิตตวิโสธนาจารย์ (หนู สุจิตโต) วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่

45.หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า เชียงราย

46.หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดอรัญญวิเวก นครพนม

47.หลวงตาประสิทธิ์ ถาวโร วัดถ้ำยายปริก ชลบุรี

48.หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต ขอนแก่น

49.พระครูสุทธิธรรมรังษี (เจี๊ยะ จุนโท) วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม ปทุมธานี

50.พระครูวรวุฒิคุณ (อิน อินโท) วัดคันธาวาส (ทุ่งปุย) เชียงใหม่

51.ครูบาคำหล้า สังวโร สำนักสงฆ์ห้วยขุนสวด พะเยา

52. หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน จ.ศรีสะเกษ

53. หลวงปู่สรวง ( เทวดาเล่นดิน ) วัดไพรพัฒนา จ.ศรีสะเกษ



วาจาสิทธิ์ของหลวงปู่หมุน ที่ได้กล่าวไว้ก่อนละสังขาร ซึ่งลูกศิษย์และชาวบ้านต่างจดจำได้ติดหู คือ…” ของๆ ฉันสร้างเองกับมือ ใครมีไว้บูชาจะ หมุนโชคหมุนลาภ ทำมาค้าขึ้น ไม่มีวันจน ประกอบสัมมาอาชีพใดก็รุ่งเรือง เจริญลาภยศสรรเสริญ จะมีชื่อเสียงหอมขจรขจาย ขอให้เป็นคนดี คิดดี ทำดี ละเว้นชั่ว คุณพระจะรักษา เทวดาจะคุ้มครอง แม้นว่าฉันจะตายไป ของๆ ฉันจะขลังกว่านี้อีกหลายๆเท่า น้ำลาย ไอปาก ลมปราณที่ประจุลงไป ด้วยพลังจิตอันเข้มขลังของฉัน ย่อมเป็น หนึ่งบ่เป็นสอง ครบเครื่องเป็นองค์พระ ที่ดีทั้งนอก ดีทั้งใน ฝากไว้ในแผ่นดิน ให้เลื่องชื่อลือนาม ลือเรื่องถึงเมืองแมน ”

หลวงปู่หมุน ท่านกำเนิดเมื่อ พศ. ๒๔๓๗ – ๒๕๔๖ อายุยืนถึง ๑๐๙ ปี พระเครื่องของท่านออกมา ช่วงบั้นปลายชีวิต ในปี พศ. ๒๕๔๒ – ๒๕๔๕ จึงดูเหมือนเป็นพระเครื่องใหม่ อายุพระไม่เกิน ๑๐ ปี ความนิยมในท้องตลาดพระเครื่อง ยังมีไม่มาก มีเฉพาะกลุ่มลูกศิษย์ที่เคารพศรัทธา แต่ก็มีแนวโน้มกลุ่มลูกศิษย์มากขึ้น จากปากต่อปากของผู้บูชาพระเครื่องหลวงปู่ ที่พบประสบการณ์เหนือธรรมชาติ

สาเหตุที่ท่านอนุญาติให้สร้างพระเครื่อง ในช่วงบั้นปลายชีวิตนั้น เพราะยุคแรก ๆ นั้น ท่านใช้เวลาส่วนใหญ่ ในการออกธุดงค์ไปในป่าดงดิบ และธุดงค์ไปแดนพุทธภูมิ ในต่างประเทศ หลายสิบๆปี จึงไม่ได้ทำวัตถุมงคลออกมาเพื่อให้ชาวบ้านบูชาไว้ยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้เป็นคนดีมีศีล และรวมถึงหารายได้มาสร้างวัดซ่อมอุโบสถ บำรุงเสนาสนะให้ดำรงคงอยู่ สืบสานวัฒนธรรมประเพณี อันดีงามในแผ่นดินสยาม วัดวาอาราม เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้คนรุ่นหลัง ได้กระทำแต่ความดี ละความชั่ว และขัดเกลาจิตใจคนรุ่นใหม่ ให้อ่อนโยน มีเมตตาธรรม สร้างสรรค์สังคม หลีกเลี่ยงพฤติกรรม สร้างเสื่อมสังคม.. หากไม่มีวัด ก็ไม่มีพระ หากไม่มีพระ คนรุ่นใหม่ก็ย้าย ศาสนาไปเป็นคริสต์จักรกันหมด แล้วพุทธศาสนาก็จางหายไปตามกาลเวลา..

หลวงปู่หมุน ท่านไม่ยึดติดลาภยศสมณศักดิ์ ท่านเป็นพระสงฆ์ สายพระป่าที่เคร่งกรรมฐานอย่างแท้จริง ท่านใดที่มองหา พุทธคุณทางด้านอิทธิปาฎิหาริย์, แคล้วคลาดอายุยืน, โชคลาภเสริมดวง และเมตตาบารมี ที่สามารถสัมผัสพุทธคุณในพระเครื่องได้ เป็นความเชื้อส่วนบุคคล จนกว่าท่านจะได้..

คำอาราธนา บูชาหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล
ท่องนะโม ๓ จบ แล้วภาวนาว่า
หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล มะ อะ อุ
หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล อุ อะ มะ
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน4,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 18 ต.ค. 2555 - 23:32:41 น.
วันปิดประมูล - 21 ต.ค. 2555 - 12:54:25 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลamuletfocus (2K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 18 ต.ค. 2555 - 23:34:55 น.



โดยรวมถือว่าฟอร์มพิมพ์สวยครับ ไม่มีบิด งอ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 18 ต.ค. 2555 - 23:36:01 น.



หลังจีวรปิดทับเส้นเกศาครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     4,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    kim_kriss (955)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM