(0)
((((( เหรียญย้อนยุค ))))) ((((( ของขวัญปีใหม่ ๑๙ บาท )))))หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม ชนมายุ ๗๗ ปี พ.ศ. ๒๔๘๔








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง((((( เหรียญย้อนยุค ))))) ((((( ของขวัญปีใหม่ ๑๙ บาท )))))หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม ชนมายุ ๗๗ ปี พ.ศ. ๒๔๘๔
รายละเอียด((((( เหรียญย้อนยุค ))))) ((((( ของขวัญปีใหม่ ๑๙ บาท )))))หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม ชนมายุ ๗๗ ปี พ.ศ. ๒๔๘๔

เหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นหนึ่งในห้าของเหรียญยอดนิยมของวงการพระเครื่อง ทั้งนี้คงเนื่องมาจากท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดองค์หนึ่งแห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ ซึ่งเป็นภาพที่เหมือนจริง มีชีวิตชีวา ด้านหลังของเหรียญมีคำอำนวยพรอันเป็นมงคล “ลาภผลพูลทวี” เหรียญนี้จึงเป็นที่แสวงหาของคนทั่วไป


ประวัติวัดบางกะพ้อม
วัดบางกะพ้อม ตำบลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้สร้างที่มาของชื่อ “วัดบางกะพ้อม” นั้นน่าสนใจ โดยมีตำนานเล่าว่าในสมัยสงครามกับพม่า ชาวบ้านละแวกนี้มีอาชีพสานกระบุง ตะกร้า เสื่อ พ้อม (ภาชนะสานขนาดใหญ่สำหรับบรรจุข้าวเปลือก) เป็นสินค้าขายเพื่อเป็นค่ายังชีพคราวหนึ่งมีทหารพม่าบุกเข้ามา ชาวบ้านคนหนึ่งหนีไม่ทันจึงแอบอยู่กับพ้อมที่สานเตรียมไว้ขาย และอธิษฐานว่าถ้ารอดตายเพราะทหารพม่ามองไม่เห็น ไม่จับตัวไป จะสร้างวัดขึ้นในบริเวณนี้ เมื่อรอดพ้นมาได้แล้วจึงสร้างวัดตามที่บนบานไว้ และตั้งชื่อวัดว่า “บังกับพ้อม” ซึ่งต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น “บังกะพ้อม” และ “บางกะพ้อม” อันเป็นชื่อวัดในปัจจุบัน ครอบครัวและบุตรหลานของท่านได้สร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงทาน กุฏิสงฆ์ ฯลฯ ทายาทของตระกูลนี้มีท่านหนึ่งมีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 5-6 คือ พลเรือเอกพระยามหาโยธา (ฉาง แสงชูโต)


ประวัติหลวงพ่อคง
หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 8 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 3 เมษายน 2408 ณ บ้านตำบลบางสำโรง อำเภอบางคนฑี จังหวัดสมุทรสงคราม ญาติของท่านใช้นามสกุล “จันทรประเสริฐ” สืบต่อมาท่านบวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 12 ปี จนอายุ 19 ได้ลาสิกขาบทและอีก 1 ปีต่อมาเมื่ออายุ 20 ปี จึงอุปสมบทอีกครั้งที่วัดเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อปีระกา พ.ศ.2427มีพระอาจารย์ด้วงเป็นอุปัชฌายะ พระอธิการจุ้ย วัดบางเกาะเทพศักดิ์ กับพระอธิการทิม วัดเหมืองใหม่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ในตอนบรรพชาเป็นสามเณรก็ดี ตอนอุปสมบทเป็นพระภิกษุก็ดี หลวงพ่อคงได้เรียนพระปริยัติธรรมกับอาจารย์นก ซึ่งเป็นอุบาสกในตำบลนั้น ในพรรษา 21 พ.ศ.2448 ประชาชนในตำบลบางกะพ้อมได้อาราธนาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม ซึ่งที่สุดทรุดโทรมมากในขณะนั้น ท่านจึงย้ายจากวัดเหมืองใหม่มาเป็นสมภารวัดกะพ้อมตั้งแต่ปีนั้นเป็นต้นมา หลวงพ่อคงเป็นนักพัฒนาและเป็นช่างฝีมือ เช่น ช่างไม้ ช่างปั้น ช่างแกะ ช่างวาดเขียน อีกทั้งมีฝีมือในการทำดอกไม้เพลิงหลายชนิดท่านมีอาจารย์หลายองค์ เช่น หลวงพ่อร้าย วัดเขายี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม หลวงพ่อทิม วัดเหมืองใหม่ หลวงพ่อคง วัดศรัทธาราษฎร์ สมุทรสงคราม หลวงพ่อรุน วัดช้างเผือก หลวงพ่อตาบ วัดบางวันทอง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์) วัดอรุณราชวราราม ธนบุรี หลวงพ่อทอง วัดเขากบ จังหวัดราชบุรี หลวงพ่อปาน วัดโรงธรรม อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม พระครูอินทโมฬี (ศรี) เจ้าคณะแขวง อำเภอแม่น้ำอ้อม สมุทรสงคราม ฯลฯ
หลวงพ่อคงมีลูกศิษย์มากมายหลายองค์ ที่มีชื่อเสียงก็คือ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง จังหวัดนนทบุรี และหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงครามท่านเป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในการปฏิบัติธรรม ในสมัยท่านหนุ่ม ๆ ได้ออกรุกขมูลทุกปี จนภายหลังเป็นเจ้าอาวาสบริหารวัดรับภาระมากแล้ว ในเดือน 4 ของทุก ๆ ปี ท่านจะไปปักกลดในป่าช้าข้างวัดเป็นเวลาราว 1 เดือน เรียกกันว่า “รุกขมูลข้างวัด” โดยถือว่าเป็นการชำระจิตใจให้สะอาดหลังจากมายุ่งกับเรื่องทางโลกเกือบทั้งปี วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 ขณะท่านนั่งร้านเพื่อตกแต่งพระขนงพระประธานองค์ใหม่ เมื่อท่านสวมพระเกตุพระประธานเสร็จ ท่านก็เกิดเป็นลม แต่ก็มีสติดี เอามือประสานในท่านั่งสมาธิจนหมดลมถึงแก่มรณภาพในอาการอันสงบสมกับเป็นผู้ฝึกจิตมาดีแล้ว ศิษย์เห็นท่านนั่งอยู่นานจึงประคองร่างลงมาจากร่างร้าน จึงรู้ว่าท่านมรณภาพแล้ว รวมอายุได้ 78 ปี 58 พรรษา


เหรียญหลวงพ่อคง

หลวงพ่อคงเป็นพระเกจิอาจารย์มีจิตกล้าแข็ง และมีอาคมขลัง โดยได้ร่ำเรียนมาจากอาจารย์หลายท่าน ท่านมีเมตตาต่อลูกศิษย์ทั่วหน้ากัน คุณวิเศษท่านจึงเป็นที่เลื่องลือและมีผู้เคารพนับถือมากมาย เมื่อ พ.ศ.2481 ท่านได้รับนิมนต์เข้ามาร่วมในพิธีปลุกเสกเหรียญและแหวนมงคลเก้า ที่ระลึกในงานสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสังฆราชฯ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิธฯ กรุงเทพมหานคร ลูกศิษย์ของท่านคือ พ.อ.พระยาศรีสุรสงคราม (เปลื้อง ดิลกโยธิน) ผู้ร่วมในงานสร้างวัตถุมงคลที่วัดราชบพิธฯ ในครั้งนั้นได้เห็นรูปแบบเหรียญวัดราชพิธฯ รู้สึกชอบ มีความต้องการจะสร้างเหรียญหลวงพ่อคงบ้าง จึงติดต่อช่างผู้ทำเหรียญคือ “ร้านอัมราภรณ์ตึกดิน” ให้ออกแบบและดำเนินการสร้างเหรียญใน พ.ศ.2484 เมื่อตอนขออนุญาตสร้างเหรียญ หลวงพ่อคงท่านไม่สู้เต็มใจนัก โดยกล่าวว่า “ฉันไม่ใช่ผู้วิเศษจะสร้างรูปตัวเองแจกดูกระไรอยู่” แต่เมื่อเป็นความต้องการของลูกศิษย์ ท่านจึงยินยอม โดยให้เขียนข้อความเป็นภาษาไทยทางด้านหลังเหรียญว่า “ศิษย์สร้างบูชาพระคุณของหลวงพ่อ” และมีคำอำนวยพรอีกว่า “ลาภผลพูนทวี” ด้วยเหตุนี้ ทางร้านอัมราภรณ์ตึกดินจึงได้รับมอบหมายให้สร้างเหรียญจำนวน 3,000 เหรียญ ราคาว่าจ้างเหรียญละ 14 สตางค์ ว่ากันว่าขอบของเหรียญมี 2 แบบ คือขอบหยัก ๆ แบบข้างเหรียญกษาปณ์ กับแบบขอบเรียบ เหรียญแบบขอบเรียบนี้มีจำนวนมากกว่าขอบหยักหลายเท่า




รูปแบบเหรียญ

เป็นเหรียญรูปไข่ เนื้อทองแดงรมดำ
ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อคงครึ่งองค์ มีอักษรไทยโดยรอบเขียนว่า “พระอุปัชฌาย์คง วัดบางกะพ้อม ชนมายุ 77 ปี พ.ศ.2484”
ด้านหลัง มีอักษรไทยโดยรอบว่า “ลาภผลพูนทวี” และ “ศิษย์สร้างบูชาพระคุณของหลวงพ่อ”
ส่วนกลางของเหรียญเป็นยันต์ห้า และอักขระขอม “นะโมพุทธายะ” และ “อุณาโลม” ส่วนกลางของยันต์ห้าเป็นอักษรขอม 4 แถว ถอดเป็นอักษรไทยว่า :
สพฺพพุทฺธรานุภาเวน
สพฺพสนฺตาปวชฺชิโต
สพฺพสมตถสมปนฺโน
สีติภูโตสทาภว




วัตถุมงคลอื่น ๆ

นอกจากเหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ที่นำเสนอมาเป็นเรื่องหลักในบทความนี้แล้ว หลวงพ่อคงยังได้สร้างเครื่องรางของขลังอีกหลายอย่างเป็นที่นิยมกันมาก เพื่อประโยชน์ของท่านผู้อ่าน จึงขอนำมาเสนอโดยสังเขปดังนี้
- เหรียญหล่อ อรุณเทพบุตร เป็นเหรียญหล่อรูปไข่ พระพุทธประทับนั่งขัดสมาธิราบ มีเทพบุตรอยู่ด้านข้างสองข้าง ด้านหลังเรียบ
- เหรียญหล่อหนุมานแบกโมคคัลลา-สารีบุตร เป็นเหรียญหล่อหูในตัว มีพระพระพุทธรูปยืน มีสาวก พระโมคคัลลา-สารีบุตรอยู่ด้านข้าง ด้านหลังมีอักขระขอม
- เหรียญปาดตาล พ.ศ.2486 เหรียญรูปทรงเสมา เนื้อเงินลงยา เนื้อทองแดง ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อคง ด้านหลังมีอักขระขอมกับ พ.ศ.2486 ปีที่สร้าง
- เหรียญเสมาหล่อพิมพ์ต่าง ๆ พิมพ์พระพุทธสองหน้า พระพุทธหลังยันต์ และด้านหลังเรียบ เนื้อทองเหลือง กับเนื้อเงิน
- เสื้อยันต์วิรุฬจำบัง เขียนยันต์ด้วยมือ เป็นเสื้อกั๊ก ข้างนอกสีดำ ข้างในสีขาว
- ตะกรุดมหาปราบ ตะกรุดมหาระงับ เป็นตะกรุดโทนที่นิยมกันมาก
- ลูกอม เนื้อผงพระพุทธคุณ ออกสีขาวอมชมพู บางลูกมีเลี่ยมเงินเก่า ที่เป็นเนื้อผงสีดำก็มี บางท่านว่าข้างในมีบรรจุกระดาษสาลงยันต์ด้วย
ฯลฯ




บทสรุป

หลวงพ่อคงเป็นพระเกจิอาจารย์องค์สำคัญของลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ท่านได้สร้างวัตถุมงคลหลายอย่าง เช่น เหรียญปั้ม เปรียญหล่อ เสื้อยันต์ ธง ลูกอม ฯลฯ แต่ที่นิยมและมีราคาเช่าหาสูงสุดก็คือเหรียญปั้มรูปเหมือนท่านที่นำเรื่องและภาพมาลงในที่นี้เป็นเรื่องหลัก คุณวิเศษของหลวงพ่อคงนั้นมีหลายเรื่อง แต่ผู้เขียนขอนำมาเสนอเพียงเรื่องเดียว ซึ่งได้ฟังมาจากนักเล่นพระและคนรุ่นเก่าของจังหวัดสมุทรสงครามคือคุณสง่า เพชรนารายณ์ ผู้จากไปเมื่อไม่นานมานี้ ทั้งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์ทั้งหลวงพ่อคงและคุณสง่า เพชรนารายณ์ ด้วยคุณสง่าเล่าว่าได้ประจักษ์ในความมหัศจรรย์ของหลวงพ่อคงมาด้วยตนเอง คือวันหนึ่งหลวงพ่อคงติดกิจนิมนต์ไปฉันเพลที่จังหวัดราชบุรี การเดินทางสมัยนั้นต้องไปโดยเรือเมล์แดงซึ่งขึ้นล่องเป็นเวลา หากขึ้นเรือไม่ทันเที่ยวเมล์นั้นก็จะไปฉันเพลไม่ทัน ปรากฏว่าเมื่อท่านมาถึงท่าน้ำ เรือเมล์เที่ยวนั้นผ่านไปแล้ว แต่ท่านก็ไม่เดือดร้อนกลับพูดขึ้นว่า “ทันหรอก” (หากเป็นสำนวนคนกรุงเทพฯ ในปัจจุบันคงว่า “ทันอยู่แล้ว”) ซึ่งทำความแปลกใจแก่ผู้อยู่ในที่นั้นตาม ๆ กัน แต่สักพักใหญ่เรือแดงลำนั้นก็ล่องลอยตามน้ำกลับมาที่ท่าเรือเพราะเครื่องยนต์ของเรือเสีย ช่างกำลังแก้ไขกันอยู่ พอถึงบริเวณหน้าวัดก็แก้เสร็จ ทำให้ท่านขึ้นเรือนั้นไปฉันเพลทันตามที่ติดนิมนต์ไว้ เรื่องนี้เป็นเรื่องแปลกที่ท่านมั่นใจหรือรู้แน่ว่าอย่างไรก็ “ทันหรอก” ตามที่พูดไว้ ตามเรื่องที่เล่านี้น่าจะแสดงว่าท่านคงได้ฌานสมาบัติ จึงรู้ว่าเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นเครื่องรางของขลังและเหรียญที่ท่านได้ปลุกเสกไว้จึงมีความขลังเป็นของวิเศษที่ทุกคนใฝ่หากันมาก เป็นที่นิยมตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน นับเป็นเหรียญนิยมอันดับหนึ่งของจังหวัดสมุทรสงคราม
ราคาเปิดประมูล9 บาท
ราคาปัจจุบัน69 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 23 ธ.ค. 2554 - 00:50:08 น.
วันปิดประมูล - 24 ธ.ค. 2554 - 08:02:42 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลpunnarai (14.8K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     69 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    sumitcha (45)

 

Copyright ©G-PRA.COM