(0)
พระภูธราวดี เนื้อดำ ปี2506 ของดีแดนใต้ ขุนพันธ์ฯ อาจารย์นำ อาจารย์ปาน หลวงพ่อหมุน หลวงพ่อคง เกจิสายเขาอ้อ หลวงพ่อเงิน หลวงพ่อเต๋ ปลุกเสก






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระภูธราวดี เนื้อดำ ปี2506 ของดีแดนใต้ ขุนพันธ์ฯ อาจารย์นำ อาจารย์ปาน หลวงพ่อหมุน หลวงพ่อคง เกจิสายเขาอ้อ หลวงพ่อเงิน หลวงพ่อเต๋ ปลุกเสก
รายละเอียดปี พ.ศ. ๒๕๐๕ พล.ต.ท.ประชา บูรณธนิต กับผม ได้สร้างพระพิมพ์ภูธราวดีด้วยผงว่าน และ ยาแก้-ยากันต่าง ๆ (และยังมี) ผงวิเศษ ผงพระ ดินเสื้อเมือง-หลักเมือง ตะไคร่จากพระธาตุเจดีย์ทั่วประเทศ ดินท้องถ้ำ ดินยอดเขาที่มีชื่อเป็นมงคล ดินสังเวชนียสถานจากอินเดียโดย พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ทรงประทาน กับได้เททองหล่อพระประธานแบบทวาราวดีถวายวัดพระปฐมเจดีย์ สร้างศาลากตัญญูธรรมไว้ที่หน้าองค์พระปฐมเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระซึ่งหล่อขึ้นในครั้
งนั้น กับสร้างพระกริ่งภูธราวดีด้วยเนื้อทองนวโลหะ

พระเครื่องครั้งนั้นทำแจกตำรวจทั่วประเทศ ทหารและผู้อื่นก็แจกตามสมควรไม่มีการให้เช่า พระพิมพ์สร้างขึ้นจำนวน ๑๖๘,๐๐๐ องค์ พระพิมพ์(เนื้อดินผสมผง)นั้นทำการประสมผงที่ศาลามีชัยแล้วนำมาทำพิธีพุทธาภิเษกที่วั
ดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช และได้กดพิมพ์เป็นองค์ที่นั่น พล.ต.ท.ประชา บูรณธนิต มาเป็นครั้งคราว อาจารย์นำ แก้วจันทร์ เป็นประธานในพิธีตลอด ผมเป็นผู้ช่วย กดพระพิมพ์ได้ร้อยองค์จะมีพระคะแนนเป็นพิมพ์พระนางตรา ๑ องค์ พิมพ์วัดประตูทอง ๑ องค์ พิมพ์ทวาราวดี ๑ องค์

ขณะที่ประสมผงอยู่นั้น ยุงที่ศาลามีชัย และ ในเมืองไม่กัดคน เมื่อทำพิธีพุทธาภิเษกในพระวิหารหลวงนั้นเป็นเวลากลางคืนแมลงต่าง ๆ ไม่มีมาตอมแสงไฟเลย ทำกันอยู่หลายเดือน กินนอนกันอยู่ที่นั่น คนพิมพ์พระมีทั้งทหาร ตำรวจทั้งยศนายและพล พ่อค้า ข้าราชการ พลเรือนก็มี และต้องนุ่งขาวห่มขาวรับศีลทุกวัน ใครออกไปข้างนอกกลับเข้ามาต้องพรมน้ำมนต์ก่อน ห้ามยืนรับของต่อมือผู้หญิงและต้องถือพรหมจรรย์ ใครกลับบ้านแล้วกลับมาทำพระต้องรับศีลใหม่ ห้ามผู้หญิงและคนนอกเข้าในพิธี

เมื่อพิมพ์พระเสร็จแล้วสุมด้วยไฟแกลบ ใช้ไม้ที่มีนามเป็นมงคลลงเลขยันต์ทำเชื้อเพลิง เมื่อเข้าที่สุมไฟมีพระสวดชัยมงคลคาถา ๙ รูป เมื่อเอาขึ้นจากที่สุมพรมด้วยน้ำมันจันทน์อย่างดี แล้วทำพิธีพุทธา-ภิเษก-ปลุกเสกอีกครั้ง

ขณะพิมพ์พระอยู่นั้นเกิดมหาวาตภัย กระเบื้องมุงหลังคาพระวิหารหลวงมิได้หลุดปลิวเลยแม้แต่แผ่นเดียว แต่วิหารทั่วไปในวัดนั้นกระเบื้องหลังคาปลิวแตกหักเสียหายมาก พล.ต.ท.ประชา บูรณธนิต และ นายวรศักดิ์ อดิเทพวรพันธุ์ ได้มอบตัวเป็นศิษย์ในครั้งนั้น

เมื่อทำพิธีพุทธาภิเษกในวัดพระมหาธาตุฯ นครศรีธรรมราช แล้ว ก็นำไปทำพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระปฐมเจดีย์ โดยบรรทุกเรือเมล์ปากพนังไป ตามปกติเรือนี้เดินเลียบฝั่งตะวันตกรับคนโดยสารและสินค้าตามเมืองท่าต่าง ๆ จนถึงกรุงเทพฯ แต่เรือเที่ยวนั้นหลงทาง เมื่อออกจากปากน้ำสุดแหลมตะลุมพุกแล้วเกิดแล่นตัดอ่าวไปถึงจันทบุรี ท้องทะเลก็เกิดพายุแต่หาได้ถูกเรือไม่ มีตำรวจไปกับพระหลายนาย หัวหน้าคือ ร.ต.ท.สมิง โชติพันธุ์ กับจ่าหนึ่ง นายสิบพลเรือไปถึงท่าราชวงศ์เวลา ๑๑.๐๐ น. วันนี้จำไม่ได้ ได้นิมนต์พระ ๙ รูป ไปสวดชัยมงคลคาถารับพระพิมพ์และฉันเพลที่นั่น ตอนขนลังพระขึ้นบรรทุกรถยนต์มีฝนปรอยให้ฤกษ์ทั้ง ๆ ที่เป็นฤดูร้อนเดือนเมษายน

พิธีพุทธาภิเษก-ปลุกเสกที่พระปฐมเจดีย์ ทำพร้อมกับการสุมหุ่นหล่อพระประธาน เวลากลางคืนมีพระไทย พระญวน และพระจีน แต่แยกกันคนละแห่ง ตั้งพิธีสุมหุ่นใต้ต้นโพธิ์ใบดกหนาอยู่เหนือหุ่นราว ๑ วา เปลวไฟพุ่งขึ้นกระพือใบโพธิ์อยู่ตลอดคืน แต่ใบโพธิ์มิได้เหี่ยวแห้งแม้แต่ใบเดียว เสร็จพิธีแล้วคนรูดเอาไปบูชาจนโกร๋น คืนนั้นฝนตกในบริเวณพิธีพอประมาณ แต่แถวหลังพระและสถานีรถไฟบริเวณห่างออกไปไม่มีฝน พระบรมสารีริกธาตุปาฏิหาริย์ออกจากองค์พระเจดีย์เป็นดวงโตเท่าผลส้มโอ มีรัศมีสวยงาม มาวนอยู่ในอากาศเหนือต้นโพธิ์แล้วหายไป

ในพิธีได้นิมนต์พระอาจารย์ที่ขลังทุกจังหวัดมาร่วมปลุกเสก ผู้ใดจะเข้าในบริเวณพิธีมงคลต้องนุ่งขาวห่มขาว จนผ้าขาวในจังหวัดนครปฐมไม่มีขาย ผู้หญิงแม้แต่พราหมณีซึ่งไปในคณะพราหมณ์พิธีบวงสรวงก็ไม่ยอมให้เข้าในวงสายสิญจน์ ยุงในวงสายสิญจน์ไม่มีแบบเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราช แต่พวกนอกสายสิญจน์ยุงกัดแทบแย่

เสร็จพิธีปลุกเสกแล้ว คืนต่อมาได้มีมหรสพฉลอง ทุกจังหวัดมีมหรสพอะไรต่างก็พาไปแสดงประชันกัน สงขลารับหนังกั้นไปประชันกับหนังจันแก้วนครศรีธรรมราช หนังกั้นแพ้หนังจันแก้วจนเหลือแต่เด็กนอนหลับอยู่หน้าโรงเพียงคนเดียว ซ้ำมีนักเลงดีลักเครื่องทำไฟเสียอีก
ราคาเปิดประมูล570 บาท
ราคาปัจจุบัน620 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 08 ธ.ค. 2554 - 02:10:08 น.
วันปิดประมูล - 09 ธ.ค. 2554 - 09:23:55 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลnungsan (2.1K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 08 ธ.ค. 2554 - 02:10:56 น.



เพิ่มเติมครับผม

พระเครื่องชุดภูธราวดีนี้ พุทธลักษณะเป็นพระปางปางห้ามญาติซึ่งเลียนแบบพุทธลักษณะมาจากพระร่วงโรจน์ฤทธิ์ที่วัดพระปฐมเจดีย์ ด้านหลังมียันต์ตัว "นะ"ขึ้นยอดเป็นอุนาโลมอยู่ในกรอบรูปสามเหลี่ยมลักษณะคล้ายพระเจดีย์มีขนาดกว้างประมาณ1 ซม. สูงประมาณ 2.3 ซม. มีทั้งสีน้ำตาลแบบเนื้อดินผสมว่านและสีดำแบบว่านผสมผงซึ่งส่วนผสม สำคัญ ๆ ของพระเครื่องเนื้อดินผสมผงชุดภูธราวดี ได้แก่

1. ดินจากสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่งในประเทศอินเดีย

2.ว่านสำคัญ ทั้งว่านยา ว่านไสยศาสตร์ ยาแก้ยากันต่าง ๆ และว่านหายากชนิดต่าง ๆ ประมาณ 400 ชนิด

3.ดินจากหลักเมืองและจากภูเขา หรือสถานที่ชื่อเป็นมงคลทั่วราชอาณาจักร

4.ตะไคร่จากพระเจดีย์องค์สำคัญ ๆ เช่นจากพระปฐมเจดีย์จังหวัดนครปฐม , จากวัดบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ฯลฯ

5.พระผงแตกหักจากพระสมเด็จฯ ผงแตกหักจากพระนางตรา , ผงจากพระ๕ณาจารย์ทั่งราชอาณาจักรที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น (พศ.2505-2506 ) ตลอดจนน้ำพระพุทธมนต์จากพิธีสำคัญ ต่าง ๆ ในการจัดสร้างพระพิมพ์พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ จำนวน 168,000 องค์ ทุก ๆ 100 องค์จะมีพระคะแนนที่เป็นพิมพ์พิเศษแตกต่างออกอีกไป 1 องค์ เช่น พระพิมพ์พระนางตรา , พระพิมพ์ทวารวดี, พระพิมพ์วัดประตูทอง เป็นต้น รวมจำนวนพระพิมพ์คะแนนพิมพ์ละประมาณไม่เกิน 1,680 องค์ นอกจากนี้ยังมีพิมพ์พิเศษที่มีจำนวนน้อยยิ่งกว่า พิมพ์คะแนน อันได้แก่ พิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งไม่ถูกระบุในประวัติการจัดสร้าง ตลอดจนพระกริ่ง และ พระบูชาภูธราวดี หน้าตัก 5 นิ้ว ที่ไม่สามารถระบุจำนวนการสร้างที่แน่ชัดได้

ส่วนผสมที่สำคัญสำหรับการหล่อพระกริ่งและพระบูชาธวารวดีซึ่งเท่าที่ปรากฏหลักฐานมีเฉพาะเนื้อนวะโลหะได้แก่
1.ทองคำ
2. เงิน
3. ทองแดง
4.ดีบุก
5.พลวง
6.สังกะสี
7.เจ้าน้ำเงิน
8.เหล็กละลายตัว
9.เหล็กธรรมดาและเหล็กไหล

ซึ่งก่อนการจัดสร้างพระเนื้อโลหะได้มีการจัดส่งทั้งแผ่นเงิน,ทอง,นาค,เงิน,ดีบุก ให้คณาจารย์ต่าง ๆ ทั้งที่มาเข้าร่วมในพิธีด้วยตนเอง และไม่ได้เข้าร่วมพิธีลงจารอักขระ มาด้วย

พิธีพุทธาภิเศกของพระชุดภูทราวดี มีทั้งสิ้น 3 ครั้งด้วยกันได้แก่

ครั้งที่1 และครั้งที่2 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยทั้งการกดพิมพ์พระเนื้อดิน และหล่อพระเนื้อโลหะต้องเตรียมการและจัดทำกันอยู่เป็นเดือน ๆ โดยผู้ที่กดพิมพ์ มีทั้งทหาร ตำรวจ พลเรือน ข้าราชการ ผู้ที่กดพิมพ์และช่วยหล่อพระจะต้องนุ่งห่มขาว รับศีลสมาทานทุกวัน หากผู้ใดออกนอกปะรำพิธี ก่อนกลับเข้าในพิธี ต้องประพรมน้ำพระพุทธมนต์ก่อน รวมถึงต้องรับศีลใหม่ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องถือพรมจรรย์ ห้ามรับของต่อมือผู้หญิงรวมถึงห้ามคนนนอกและผู้หญิงเข้าใกล้ในเขตพิธีด้วย เมื่อเข้าที่เป็นที่เรียบร้อย จึงใช้ไม้ที่มีนามเป็นมงคลลงเลขอักขระเป็นเชื้อเพลิง เมื่อสุมไฟได้ที่ จะต้องมีพระสวดชัยมงคลคาถา 9 รูป เมื่อนำพระขึ้นมาจะต้องประพรมด้วยน้ำมันจัทน์หอมอย่างดีจึงจะนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเศกต่อไป( เป็นเรื่องแปลกที่ขณะที่จัดสร้างพระชุดนี้ได้เกิดมหาวาตภัยขึ้นที่แหลมตะลุมพุก วิหารทั่วไปในวัดล้วนได้รับความเสียหายแต่ภายในเขตพิธีอันได้แก่ วิหารหลวง ไม่มีสิ่งใดได้รับความเสียหายเลยแม้แต่กระเบื้องมุงหลังคาสักแผ่นเดียว

ครั้งที่ 3 ทำพิธีพุทธาภิเศกที่จังหวัดนครปฐม มีทั้งพราหมณ์ พระไทย พระจีน พระญวน ในนิกายต่าง ๆ
รายนามพระคณาจารย์ต่าง ๆ เท่าที่รวบรวมได้ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเศกของพระเครื่องชุดภูธราวดีได้แก่
1.สมเด็จพระสังฆราชเป็นองค์ประธานพิธีที่หน้าองค์พระปฐม เมื่อ 24 เมษายน 2506
2.พระมหาวีรวงศ์-พิธีเดียวกับสมเด็จพระสังฆราช
3.พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ
4.พระอาจารย์คง วัดบ้านสวน
5.หลวงพ่อหมุนวัดเขาแดงตะวันออก
6.อาจารย์นำ วัด ดอนศาลา ( ขณะเข้าพิธียังเป็นฆราวาสอยู่และมีรูปถ่ายปรากฏเป็นหลักฐาน)
7.หลวงพ่อเต๋วัดสามง่าม
8.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
9.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลาบางแก้ว
10. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
ฯลฯ

นอกจากนี้มีเกจิฯ อีกมากมายที่สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าพิธีพุทธาภิเศก ทั้ง 3 ครั้ง และไม่ได้มีหลักฐานบันทึกไว้
มูลเหตุแห่งการสร้างและผูดำเนินการจัดสร้าง

พระเครื่องชุดนี้สร้างขึ้นจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าของนายตำรวจ 2 ท่านได้ แก่

1. พล.ต.ท ประชา บูรณธนิต ท่านผู้นี้มีชื่อเสียงโด่งดังทางสายปราบปราม เคยพิชิตเสือชื่อดังต่าง ๆ ในยุคหลังสงครามที่โด่งดังในภาคกลางมากมายเช่น เสือใบ , เสือเจริญ , เสือผาด มีฉายาว่าเป็นมือปราบหนังเหนียว เนื่องจากการปะทะกับพวกโจรขณะเดินทางจากนครปฐม เข้ากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2495 โดยปรากฏหลักฐานว่าในขณะเกิดเหตุ ท่านพกพระท่ากระดาน และลูกม ของหลวงปู่เหรียญวัดหนองบัว ( น่าจะเป็นสาเหตุให้พระท่ากระดานมีราคาสูงมาตั้งแตครั้งนั้น )

2.พล.ต.ต ขุนพันธรักราชเดช นามเดิม ชื่อ บุตร์ พันธรักษ์ ่านผู้นี้มีเสียงโด่งดังทางสายปราบปรามเช่นกัน มีฉายาเป็นภาษายาวี "รรยอกะจิ"เคย พิชิต เสือร้ายที่มีชื่อเสียงโด่งดังทางภาคใต้ทางแถบเทือกเขาบูโดจังหวัดนราธิวาส เช่น ขุนโจร อาแวสะดอ ที่กล่าวกันว่าหนังเหนียวเพราะเขี้ยวหมูทอง แดง อ้ายดำหัวแพร เป็นต้น ท่านผู้นี้เป็นศิษย์ฆราวาสของสำนักเขาอ้ออันโด่งดัง

นอกจากนี้ยังมีบุคคลสำคัญที่ช่วยในการจัดเตรียมวัสดุมงคลเพื่อการจัดสร้างพระ โดย พลตรี พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล

มูลเหตุในการจัดสร้างพระเครื่องชุดนี้นอกเหนือจากศรัทธ่อันแรงกล้าที่มีต่อพระพุทธศาสนาของคณะผู้ร่วมจัดสร้างเพื่อที่จะนำไปแจกจ่ายให้ผูศรัทธา และมีปรากฏในบันทึกของพล.ต.ท. ประชา ฯ ว่าได้มีการจัดพระเครื่องชุดนี้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระตำหักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2506 โดยรายการที่จัดพระเครื่องทูลเกล้าถวายมีดังนี้

1. พระเครื่องภูธราวดี 309 องค์ ในจำนวนนี้มีเลี่ยมทองคำรวม 5 องค์
2.พระเครื่องคะแนน ปางปฐมเทศนาจำนวน 3 องค์
3.พระเครื่องคะแนนพิมพ์พระนางตราจำนวน 3 องค์
4.พระเครื่องคะแนนพิมพ์ประตูทอง จำนวน 3 องค์
5.พระกริ่งภูธราวดีสร้างด้วยนวโลหะจำนวน 2 องค์
6.พระกริ่งยอดธงภูธราวดีสร้างด้วยนวโลหะจำนวน9 องค์ (จัดสร้างเฉพาะเพื่อทูลเกล้าถวาย 9 องค์เท่านั้น)



รูปพระด้านข้างและรูปเกจิฯ และฆราวาสในพิธีครับ

แถวกลางจากซ้ายมาขวาคนที่2 (มีหนวดใส่แว่นดำ)คือท่านประชาครับ
คนที่4 นั่งถัดจากพระในแถวกลางคือขุนพันธ์ ถัดจากขุนพันธ์ คือท่านอาจารย์นำแก้วจันทร์ ขณะเป็นฆราวาสครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     620 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    plaikaow (45)

 

Copyright ©G-PRA.COM