(0)
สวยคม เข้มขลัง ระฆัง หลังฆ้อน






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องสวยคม เข้มขลัง ระฆัง หลังฆ้อน
รายละเอียดประมาณ 1.3 ซ.ม. สูงประมาณ 1.7 ซ.ม. จัดสร้างโดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณฉันทมหาเถร (เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ผู้เป็นบุตรของหม่อมเจ้าถึก (พระโอรสสมเด็จพระเจ้าสัมพันธวงค์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรานุรักษ์ ผู้เป็นต้นราชกุล อิศรางกูรฯ) ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 8 ของวัดระฆังก่อนหน้า พระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) โดยสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี 2453--2457 ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม (ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อปี 2464) และสร้าง พระสมเด็จ หลังฆ้อน อีกครั้งช่วงปี 2458-2470 โดยท่านได้นำเอาแผ่นโลหะที่พระอาจารย์ต่าง ๆ ได้ลงอักขระไว้นำมาหลอมหล่อรวมกับชนวนพระพุทธชินราช ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ทำเป็นเชื้อชนวนในการสร้างพระวัดระฆังหลังฆ้อนนี้ พระที่สร้างในคราวแรกจะมีกระแสเหลืองออกทองลูกบวบ และเนื้อสำริด และเนื้อเมฆสิทธิ์ก็เคยพอเห็น ..แต่หายากมาก ส่วนพระที่สร้างในคราวหลังจะมีสีอ่อนกว่า แต่ที่จริง ๆ ก็ ไม่ได้มีการแบ่งแยกรุ่นกันอย่างชัดเจนนัก เพราะว่าค่อนข้างจะแยกกันอย่างชัดเจนได้ยาก สำหรับ เกจิที่มาร่วมพิธีปลุกเสกในพิธีสมัยนั้น มีจำนวนถึง 60 รูป ได้แก่ หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก, หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง, หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่, หลวงพ่อพ่วง วัดกก, กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์, หลวงพ่อชู วัดนาคปรก, หลวงพ่อสาย วัดอินทราราม(ใต้), หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ, หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม, หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม, หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน, พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ), สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม, หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน, หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า , หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, ... (จากบันทึกประวัติที่ พระราชธรรมภาณี รองเจ้าอาวาสวัดระฆัง เมื่อปี 2513 ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณฉันทมหาเถร (เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน บันทึกไว้ ที่หลงเหลืออยู่มีดังต่อไปนี้) พิธีกรรม เนื่องด้วยการสร้างพระเนื้อทองเหลืองนี้ เริ่มด้วยการส่งแผ่นทองเหลืองไปถวายพระอาจารย์ต่าง ๆ ในพระนครฯ ธนบุรี และต่างจังหวัด มากท่านด้วยกันได้ทำการลงเลขยันต์แล้วส่งคืนกลับมา เมื่อรวมแผ่นทองเหลืองที่ลงเลขยันต์เสร็จแล้ว จึงเริ่มพิธีโดยอาราธนาพระเถรานุเถระ ผู้ทรงวิทยาคุณมาทำการปลุกเศกทองเหลืองที่จะหลอมเทเป็นองค์พระตามแบบพิมพ์ที่กำหนดไว้ สถานที่ทำพิธีในพระอุโบสถนั้น พิธีกรรมนั้นใหญ่โตแข็งแรงมาก เมื่อเททองเป็นองค์พระแล้ว จึงเลื่อยออกเป็นกิ่ง ๆ จากแกนชนวน และเลื่อยตัดออกเป็นแท่งๆ ลักษณะของแท่งพระเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณเกือบ 3 เซนติเมตรครึ่ง ความยาวประมาณเกือบ 5 เซนติเมตรครึ่ง ความหนาประมาณครึ่งเซนติเมตร หลังจากเลื่อยตัดจากช่อแล้ว พระแต่ละองค์จะติดกันเป็นแพ ต้องใช้เลื่อยเฉือนบากออกตรงรอยต่อระหว่างองค์ และใช้ฆ้อนเคาะกระแทกให้องค์พระแต่ละองค์แยกออกจากกัน จึงเป็นที่มาของชื่อ "ระฆังหลังฆ้อน" โดยบางองค์อาจจะมีรอยฆ้อนกระแทกยุบลงไปบ้าง บางองค์ก็ไม่มี จะมีก็แต่เพียงรอยตะไบแต่งเท่านั้น ลักษณะพิมพ์พระ เป็นรูปองค์พระปฏิมา ประทับนั่งปางสมาธิ บนอาสนะบัว 2 ชั้น อยู่ภายในซุ้มครอบแก้ว พื้นภายในเส้นครอบแก้ว ด้านหลังองค์พระเป็นปรกโพธิ์เหมือนกันหมด ลักษณะเป็น เม็ดกลม รายรอบเหนือพระเศียร เหมือนพิมพ์ปรกโพธิ์ ด้านหลัง เป็นแบบเรียบ ตอนสร้างสมัยนั้น แบ่งออกเป็น 2 อย่าง อย่างหนึ่งไม่ได้ขัดแต่งให้เช่าองค์ละ 1 บาท อีกอย่างหนึ่งเป็นพระขัดแต่งให้เช่าองค์ละ 2 บาท วิธีขัดท่านจ้างโยมปั้นผู้ชำนาญในการพระ ซึ่งแกอยู่ที่หอไตร ฯ ในสระ เอาตะไบลงตะไบที่มุมทั้งสองตอนบน และข้างทั้งสอง ทำให้มีรูปลักษณะมน ๆ แล้วเอากระดาษทรายลงขัดอีกจนทั่วทั้งด้านหน้าและหลัง แล้วจึงเอา รากลำพู ลงขัดเป็นครั้งสุดท้าย เสร็จแล้วดูงามมาก ทั้งนี้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ฯ ท่านรวบรวมเงินเอาไปปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญและพระอุโบสถ ที่แจกให้แก่ผู้ที่ควรแจกก็มีมาก เมื่อพระรุ่นที่ 1 หมด จึงทำเป็นรุ่นที่ 2 เล่ากันว่าผู้มีพระติดตัวลงไปในนาในหนองที่มีปลิงชุกชุมปลิงไม่เกาะ องค์นี้เนื้อจัดมาก มาพร้อมเลี่ยมกันน้ำ และ กรอบเงินสั่งตัดอย่างดี นิมนต์ขึ้นคอได้เลยครับ ไม่เอาบัตรลด 400 ถ้าส่งออกบัตรไม่แน่ใจว่าพระเลี่ยมเงินรับออกบัตรหรือเปล่า เคยเห็นแต่เลี่ยมทองรับออกบัตร แต่รับประกันตามกฏทุกประการ รับประกันยันโลกแตก ไม่แท้คืนเต็มทุกบาททุกสตางค์ครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน7,600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 20 มี.ค. 2554 - 21:16:24 น.
วันปิดประมูล - 24 มี.ค. 2554 - 21:30:41 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลkant_chon (687)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 20 มี.ค. 2554 - 21:16:53 น.



หน้า บน


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 20 มี.ค. 2554 - 21:17:18 น.



หน้า ล่าง


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 20 มี.ค. 2554 - 21:17:48 น.



หลัง บน


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 20 มี.ค. 2554 - 21:18:13 น.



หลัง ล่าง


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 20 มี.ค. 2554 - 21:18:47 น.



เปิดกรอบ


 
ราคาปัจจุบัน :     7,600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    thongpaiwan (4.7K)

 

Copyright ©G-PRA.COM