(0)
@@@!!! สุดยอดพิธี 16วาระ...หลักเมืองมหามงคล50 ว่านดำปัดทอง 5-4-3 น่าสะสมก่อนจะจับกันไม่ลงครับ..G2








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง@@@!!! สุดยอดพิธี 16วาระ...หลักเมืองมหามงคล50 ว่านดำปัดทอง 5-4-3 น่าสะสมก่อนจะจับกันไม่ลงครับ..G2
รายละเอียด@@@...หลักเมืองมหามงคล 50 เนื่อว่านดำปัดทอง 3ลูก 3 ขนาด น่าสะสมเป็นอย่างมาก ทั้งพิมพ์ทรงก็สวยงามพุทธคุณก็หายห่วง หากชอบก็ลองเคาะดูนะครับ....

หลักเมืองมหามงคล 2550
พิมพ์ทรงงดงาม มวลสารเลิศล้ำ พิธีกรรมเข้มหลังเปี่ยมพลังพุทธานุภาพ เทวานุภาพ
ด้วยมนตราพุทธาคม 16 วาระโสฬสมหามงคล

เมื่อเอ่ยถึงวัดหน้าพระบรมธาตุ เชื่อว่าผู้นับถือ ศรัทธาในองค์พระเสื้อเมืองท้าวจตุคาม และองค์พระทรงเมืองท้าวรามเทพ ย่อมต้องเคยได้ยินชื่อเสียงเกียรติคุณเป็นอย่างดี เนื่องเพราะในปี 2548 ท่านพระครูกาชาด เจ้าอาวาส รพะเกจิอาจารย์ผู้ทรงเวทวิทยาคุณหนึ่งในพระครูสี่กาผู้ปกปักษ์พิทักษ์พระบรมธาตุเจดีย์ ได้ร่วมกับ คุณณสรรค์ พันธรักษ์ราชเดช กตัญญูบุตรของพล.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช จัดสร้างสิ่งมงคลสักการะ “ท้าวจตุคามท้าวรามเทพ รุ่นพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง” ขึ้น และต่อมาในปี 2549 เนื่องในวาระทำบุญอายุครบ 9 รอบ 108 ปี พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ก็ได้ร่วมกันจัดสร้างสิ่งมงคลสักการะ หลักเมืองรุ่นพิเศษ 9 รอบ 9 พิธี 108 ปี ท่านขุนพันธ์” ขึ้นซึ่งปรากฏชื่อเสียงโด่งดังได้รับความนิยมศรัทธาอย่างท่วมท้น มีผู้เสาะแสวงหามาจนทุกวันนี้สิ่งมงคลสักการะทั้งสองรุ่นดังกล่าวก่อให้เกิดถาวรวัตถุหลายประการ อาทิ หอพระไตรปิฏก ศาลาบำเพ็ญกุศล เป็นต้น อานิสงค์ผลบุญทั้งหมดนี้ได้ตกถึง พล.ต.ต.ขี้นุนพันธรักษ์ราชเดชและผู้มีจิตศรัทธา ซึ่งก็คือผู้ครอบครองสิ่งมงคลสักการะทั้งสองรุ่นดังกล่าวอย่างแน่นอน
เนื่องในปีมหามงคล 2550 นี้ ท่านพระครูกาชาดได้มีดำริที่จะบูรณะพัฒนาขยายอุโบสถให้มั่นคงถาวรเพื่อความสะดวกในการประกอบศาสนกิจจึงได้ร่วมกับ คุณณสรรค์ พันธรักษ์ราชเดช อีกวาระหนึ่งจัดสร้างสิ่งมงคลสักการะท้าวจตุคามท้าวรามเทพ ท้าวพังพะกาฬ รุ่น “หลักเมืองมหามงคล 2550” ขึ้นเพื่อให้กุศลเจตนาสำเร็จบรรลุโดยเร็ววัน


สิ่งมงคลสักการะรุ่น “หลักเมืองมหามงคล 2550” ที่ได้ดำเนินการจัดสร้างในครั้งนี้ประกอบด้วย พระบูชาพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช พระบูชา เทพธิดาอินทภาณี หรือแม่นางตะเคียนทองผู้สถิตย์อยู่ในต้นตะเคียนทอง เสาหลักเมืองนครศรีธรรมราช (ตามคำยืนยันของ พ่อท่านวรรณ วัดเสาธงทองที่ พล.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เคารพนับถือในฐานะพระอาจารย์) พระบูชา ท้าวจตุคามและท้าวรามเทพ ทั้งสองพระองค์รวมอยู่บนฐานเดียวกันตามแบบรุ่น บูรณะหลักเมืองนครศรีฯ 2547 ซึ่งปัจจุบันมีการแสวงหากันในค่านิยม สูงหลักแสนอีกทั้งได้จัดสร้างพระผงลผงและเหรียญสุริยันจันทราทรงกลม ซึ่งสิ่งมงคลสักการะ รุ่น “หลักเมืองมหามงคล 2550” ทุกแบบพิมพ์ทรงดังกล่าวล้วนแล้วจัดสร้างขึ้นด้วยความประณีตพิถีพิถัน มีความสวยงามวิจิตรตระการตาเป็นสำคัญ มีเนื้อหามวลสารอันศักดิสิทธิ์มากมายของ พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช ซึ่งต่อมาได้ก่อให้เกิดเป็นวัตถุถมงคลหลายรุ่นผ่านพิธีกรรมทับถมมานับครั้งมิถ้วนนับตั้งแต่ ขุนพันธ์พุทธาคมเขาอ้อ , มงคลจักรวาล พุทธาคมเขาอ้อ, ,พยัคฆ์ทักษิณ,, บูรณะหลักเมืองนครศรีณ 2547 , พุทธศิลป์ย้อนยุค วัดนาสน, ไตรภาคีศรีนคร วัดนางตรา , พุทธามหาเวท วัดศาลาไดพ, พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง วัดหน้าพระบรมธาตุ, หลักเมืองรุ่นพิเศษ 9 รอบ 9 พิธี 108 ปี ท่านชนพันธ์ วัดหน้าพระบรมธาตุ,หลักเมืองพุทธาคมเขาอ้อ , สำนักตักศิลาวัดเขาอ้อ นอกจากนี้ยังได้อัญเชิญมวลสารมหามงคล ผงพระเบญจภาคี และผงจิตรลดา ซึ่งในหลวงพระราชทานให้ จากพุทธชินราช ภ.ป.ร. มาร่วมผสมผสานเพื่อให้บังเกิดศิริมงคลสูงสุด


ในด้านการประกอบพิธีกรรมก็ได้มุ่งเน้นความเข้มขลังทรงพลังพุทธานุภาพเทวานุภาพอย่างเอกอุเพื่อให้ผู้ศรัทธาอาราธนาสักการะบูชาได้อย่างสนิทใจ โดยประกอบพิธีกรรมย้อนรอยวัตถุมงคลหลักเมืองยุคแรก 16 วาระโสฬสมหามงคล ดังนี้ คือ

วาระที่1 ประกอบพิธีบวงสรวงเปิดพิมพ์พระผงไม้ตะเคียนนำฤกฤษ์ ขนาด 5 ซม. เบื่องหน้าพระพักตร์องค์เศียรหลักเมืองซึ่งแกะสลักจากไม้ตะเคียนทองต้นเดียวกัน ณ ศาลหลักเมือง ในฤกษ์เช้า วันที่ 19 พฤศจิกายน 2549

วาระที่2 ประกอบพิธีปลุกเสกปรุงยาวาสนามหาจินดามณี โอสถอันพิลาศเลิศล้ำยอดยาในโลกแผ่นดิน โดยมีพ่อท่านหรั่งสำนักสงฆ์ห้วยเตง เป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ และมีอาจารย์เอกวิทย์ ยอดระบำ เจ้าพิธีกรรมเป็นประธานฝ่ายฆราวาส ณ ศาลหลักเมือง ในฤกษ์บ่าย วันที่ 19 พฤศจิกายน 2549

วาระที่3 ประกอบพิธีบวงสรวงเปิดพิมพ์พระผงไม้ตะเคียนนำฤกษ์ ขนาด 4 ซม. ณ.วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วันที่ 26 พฤศจิกายน 2549

วาระที่4 ประกอบพิธีบวงสรวง องค์เทพธิดาอินทภาณีแม่นางตะเคียนทองเสาหลักเมือง ณ ลากนกหว้า เขายอดเหลือง สถานที่กำเนิดต้นตะเคียนเสาหลักเมือง วันที่ 5 มาราคม 2550

วาระที่5 ประกอบพิธีบวงสรวงองค์พระโพธิสัตว์พังพะกาฬ ณ ศาลพังพะกาฬ บ้านกำเนิด วันที่ 6 มกราคม 2550

วาระที่6 ประกอบพิธีบวงสรวงองค์พญาราหู ณ วัดเขาพระราหู จ.สุราษฏรฺธานี วันที่ 7 มกราคม 2550

วาระที่7 ประกอบพิธีบวงสรวงองค์พระพุทธสิหิงค์ ณ อพระพุทธสิหิงค์ศาลากลางจังหวัด วันที่ 14 มกราคม 2550

วาระที่8 ประกอบพิธีบวงสรวงเปิดพิมพ์พระผงไม้ตะเคียนนำฤกษ์ ขนาด3 ซม. ณวัดหน้าพระบรมธาตุ ในฤกษ์บ่าย วันที่ 20 มกราคม 2550

วาระที่9 ประกอบพิธีเททองนำฤกษ์ ณ วัดหน้าพระบรมธาตุ ในฤกษ์เย็นวันที่ 20 มกราคม 2550

วาระที่10 ประกอบพธีบวงสรวงประจุพุทธาคม ณ ถ้ำฉัตรทัณฑ์ สำนักวัดเขาอ้อ ในวันที่ 22 มีนาคม 2550

วาระที่11 ประกอบพิธีบวงสรวงปลุกเสกอัญเชิญจ้าวสมุทร ณ กลางทะเลชุมพร ในวันที่ 24 มีนาคม 2550

วาระที่12 ประกอบพิธีบวงสรวงพุทธาภิเษก ณ โบสถ์มหาอุด วัดเขาขุนพนม (หนึ่งในสถานที่ประกอบพิธีพระหลักเมืองยุคแรก) ใน วันที่ 31 มีนาคม 2550

วาระที่13 ประกอบพิธีบวงสรวงองค์เศียรหลักเมือง ณ ศาลหลักเมือง ในฤกษ์เช้า วันที่ 2 เมษายน 2550

วาระที่14 ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เทวาภิเษก ณ ศาลหลักเมือง ในฤกษ์ บ่ายวันที่ 2 เมษายน 2550

วาระที่15 บวงสรวงองค์ท้าวจตุคาม และองค์ท้าวรามเทพ ณ วิหาร พระทรงม้า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ในฤกษ์ เช้า วันที่ 6 เมษายน 2550

วาระที่16 ประกอบพิธีสมโภชพุทธาภิเษกกลางหาวรับแสงสุริยันจันทรา ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ใน ฤกษ์บ่าย วันที่ 6 เมษายน 2550 พระผงและเหรียญสุริยันจันทราท้าวจตุคามท้าวรามเทพ พระผงจัดสร้างขึ้นสามขนาดคือ ขนาด 5 ซม. 4ซม. 3 ซม. ออกแบบ สร้างสรรค์พิมพ์ทรงได้อย่างสวยงามสมบูรณ์ครบถ้วนทุกสรรพสิ่งมิ่งมงคลที่ชาวนครศรีธรรมราชและทั่วไปนับถือศรัทธาทั้งองค์พระบรมธาตุเจดีย์ องคท้าวจตุคาม องค์ท้าวรามเทพ องค์ท้าวพังพะกาฬ ศาลหลักเมือง และนักษัตรทั้ง 12 ทุกสรรพสิ่งมิ่งมงคลจัดวางตำแหน่งได้อย่างเหมาะสมลงตัว จารึกพระนามรุ่นและชื่อวัดไว้เพื่อเป็นเกียรติประวัติ ซึ่งไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านพ้นนับร้อยนับพันปี ชนรุ่นหลังก็ยังสามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจนความสำคัญข้อนี้เป็นเอกลักษณ์ที่มีในวัตถุมงคลทุกรุ่นที่จัดสร้างโดย คุณณสรรค์ พันธรักษ์ราชเดช ซึ่งจะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเสียก่อน

( ขอสงวนสิทธิ์ให้เฉพาะสมาชิกที่มีความพร้อมและปฎิบัติตามกฎกติกาของ g-pra เท่านั้นที่จะเข้ามาเคาะให้ราคานะครับ)

( ท่านใดประมูลได้และโอนเงินแล้วกรุณาแจ้งให้ทราบด้วยนะครับจะได้รีบจัดส่งวัตถุมงคลไปให้นะครับ)
ราคาเปิดประมูล3,095 บาท
ราคาปัจจุบัน3,655 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ5 บาท
วันเปิดประมูล - 14 พ.ค. 2550 - 21:08:41 น.
วันปิดประมูล - 16 พ.ค. 2550 - 00:40:03 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลยันต์โบราณ (770)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     3,655 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     5 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    piyawit (52)

 

Copyright ©G-PRA.COM