(0)
พระกริ่งอังคีรส วัดป่าประดู่ เนื้อนวโลหะ ปี 2508 จ.ระยอง สภาพสวยครับ (โค้ด ร.ย.08/หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ปลุกเสก)









ชื่อพระเครื่อง พระกริ่งอังคีรส วัดป่าประดู่ เนื้อนวโลหะ ปี 2508 จ.ระยอง สภาพสวยครับ (โค้ด ร.ย.08/หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ปลุกเสก)
รายละเอียด พระกริ่งพระพุทธอังคีรส เนื้อนวะ ปี 2508 จ.ระยอง ใต้ฐานตอก รย.๐๘

พระพุทธอังคีรส ได้จำลองแบบมาจากพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งประดิษฐาน ณ.พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จัดสร้างในสมัย นาย ดำรง สุนทรศาลทูล เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง และได้มีพิธีพุทธาภิเษกเนื้อโลหะทั้งหมดที่จะใช้ในการหล่อสร้างพระ และฤกษ์เททองขึ้นในวันที่ 18 เมษายน 2508 ณ. วัดป่าประดู่ และในการจัดสร้างได้จำลองแบบองค์พระขึ้น 2 องค์คือ องค์ที่1 สร้างขึ้นด้วยเนื้อเงินบริสุทธิ์ มีขนาดหน้าตักกว้าง 63 ซ.ม. สูง 80 ซ.ม. และน้ำหนัก 63.5 ก.ก. องค์ที่2 สร้างขึ้นด้วยเนื้อทองสัมฤทธิ์ มีขนาดหน้าตักกว้าง 58 ซ.ม. สูง 60 ซม. และ น้ำหนัก 39 ก.ก. ในการหล่อพระทั้งสององค์นี้สิ้นค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน 101,187.50 บาท ด้วยเงินบริจาคทั้งหมดของประชาชนผู้มีจิคศรัทธา.และสมเด็จพระสังฆราชฯ ได้ทรงถวายพระนามให้ว่า “พระพุทธอังคีรส ธรรมราชา สิหิงคปฏิมา บรมโลกนาถ ระยองประชาราษฏร์บรมบพิตร

สำหรับหอพระพุทธอังคีรสที่เป็นที่ประดิษฐานทั้งสององค์นี้ ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ ณ.วันที่ 30 ธันวาคม 2508 โดย พ.ณ.ท่าน พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในขนาดนั้นเป็นประธานในพิธี และการก่อสร้างได้แล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2515 สิ้นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ 1 ล้านบาทเศษ.

ในพิธีพุทธาภิเษกเนื้อโลหะ และพิธีเททองนั้นได้มีการนิมนต์พระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังของจังหวัดระยองมาร่วมพิธี ดังนี้

1 ท่านพระครูภาวนาภิรัต หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่
2 ท่านพระครูอรรถโกศล หลวงปู่ทาบ วัดกระบกขึ้นผึ้ง
3 ท่านพระครูวิจิตรธรรมวัตร หลวงพ่อรัตน์ วัดหนองกระบอก เจ้าคณะอำเภอ บ้านค่าย
4 ท่านพระครูภาวนานุโยค หลวงพ่อหอม วัดซากหมากป่าเรไร(รูปจำลองบรมครูฤษี อิสริโกมุณี ประดิษฐานอยู่เบื้องขวา)
5 ท่านพระครูพิพิธวรญาณ หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า
6 หลวงพ่อแพรว วัดเขายายดา
7 หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ
8 หลวงพ่อเย็น วัดบ้านแลง
9 หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า (มาแทนท่านหลวงพ่อโต วัดเขาซากกระโดน ท่านอาพาธเลยมาร่วมงานไม่ได้)
เป็นต้น. รายชื่อพระเกจิ อาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสก เป็นข้อมูลที่ได้จากการสอบถาม นักสะสมรุ่นเก่าๆ ของเมืองระยองหลายต่อ หลายท่านด้วยกันที่เข้าร่วมพิธี ในปีดังกล่าวจึงมิถือว่า เป็นข้อมูลที่อาจจะถูกต้อง 100 เปอรเซนต์ หรือนำไปอ้างอิงได้ทั้งหมด

ชนวนที่เหลือทั้งหมดจากการเททองหล่อองค์พระทั้ง 2 องค์ได้นำมาสร้างพระกริ่ง ขนาดเล็กเพื่อแจกให้กับผู้ร่วมบริจาคเงินในการสร้างหอประดิษฐานพระพุทธ อังคีรส ในครั้งนี้เพื่อเป็นที่ระลึก โดยพระขนาดเล็กทั้งหมดแบ่งออกเป็นประเภทดังนี้

1 พระกริ่งรูปเหมือนลอยองค์ มีสร้างด้วยเนื้อ เงิน และ นวโลหะ เป็นที่แสวงหากันเป็นอย่างมาก.
2 พระรูปเหมือนปั๊ม ขนาดกลางสร้างด้วยเนื้อทองแดง
3 พระรูปเหมือนปั๊ม ขนาดเล็ก(พระชัยฯ) สร้างด้วยเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง.

โดยพระชุดเล็กทั้งหมดนี้ปัจจุบันเป็นที่เสาะแสวงหาของคนระยองเป็นอย่างมาก เนื่องจากถือว่าดีทั้งเนื้อหา และพิธีตลอดจนเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก อีกทั้งพระพุทธอังคีรส ท่านเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดระยองที่มีคนมาบูชาสักการะมิได้ ขาด รวมทั้งตัวผู้เขียนเอง ณ.วันแรกที่มาอาศัยอยู่ระยองก็ได้มามนัสการท่านเพื่อความเป็นศิริมงคลใน หน้าที่การงาน จนทำให้ปัจจุบันมีความรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน จนถึงวันนี้ก็ 11 ปี แล้วครับที่อยู่ระยองมา.

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาจารย์เคยเขียนในนิตยสารกระแสพระไว้ว่า กริ่งเนื้อเงินสร้างอยู่ ๑๐๐ องค์ กริ่งเนื้อนวโลหะสร้างอยู่ ๑,๐๐๐ องค์ โดยตรงก้นพระตอกโค้ดว่า รย.๐๘ ทุกองค์ สำหรับเนื้อนวโลหะนั้นได้มีการนำพระกริ่งประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ องค์ไปขอให้หลวงปู่ทิมเสกอีกรอบก่อนนำไปแจกจ่ายอีก 2-3 คืนในกุฏิของท่าน เพื่อนำไปแจกให้หน่วยทหารนาวิกโยธินของระยองที่ไปเข้าร่วมรบในสงครามแล้วก็ เกิดประสบการณ์ขึ้น สำหรับข้อสังเกตส่วนตัว สำหรับพระกริ่งชุดนี้ พระพักตร์จะติดแบบไม่สวย ได้มีการขีดเป็นพระโอษฐ์และดวงเนตร จมูกจะไม่ค่อยติด และโค้ด รย.๐๘ มักตอกติดไม่เต็ม น้อยองค์ที่ติดครบ

ตามข้อเขียนในนิตยสารกระแสพระเล่มประจำเดือน สิงหาคม ๒๕๔๖ อาจารย์ประถม เล่าว่าพระกริ่งพุทธอังคีรสได้เททองขึ้นก่อน พร้อมกับการเททองหล่อพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดชลบุรี และได้นำเข้าพิธีปลุกเสกพร้อมกับการเททองหล่อพระพุทธอังคีรสอีกครั้งรวม 2 ครั้ง อาจารย์ประถม เป็นเจ้าพิธีในครั้งนั้นได้ขอให้พระครูวรพรตปัญญาจารย์(แฟ้ม) เจ้าอาวาสวัดป่า ชลบุรี เป็นผู้วางฤกษ์เททอง ฤกษ์ปลุกเสกและฤกษ์เททองในวันนั้นเป็นฤกษ์แคล้วคลาด จึงให้อาจารย์ทุกรูปปลุกเสกแต่บทแคล้วคลาดเป็นหลักและในระหว่างปลุกเสก อาจารย์ประถมได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์บางรูปที่เชื่อว่าท่านได้ตาทิพย์ให้ นั่งดูนิมิตในพิธีด้วยว่ามีนิมิตอะไรบ้าง อาจารย์ประถมเล่าว่า พระเกจิอาจารย์ทุกรูปพูดตรงกันว่า เมื่อได้ฤกษ์พิธีเททองเริ่มนั่งปลุกเสกมีดาวตกลงมาถึง ๕ ดวงซึ่งหมายถึงมีเทวดาลงมาปกปักษ์รักษาพระพุทธรูปองค์นี้ถึง ๕ องค์และประชาชนที่นับถือศรัทธาสามารถบนบานศาลกล่าวหรืออธิษฐานขอความช่วย เหลือได้ทุกอย่าง
ราคาเปิดประมูล 100 บาท
ราคาปัจจุบัน 15,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 50 บาท
วันเปิดประมูล ส. - 16 มี.ค. 2567 - 09:01:08 น.
วันปิดประมูล ส. - 23 มี.ค. 2567 - 22:37:15 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล jopawis (2.5K)(1)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 ส. - 16 มี.ค. 2567 - 09:01:41 น.



บัตร


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 ส. - 16 มี.ค. 2567 - 09:01:58 น.



ก้น


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 ส. - 16 มี.ค. 2567 - 09:02:11 น.



+


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 ส. - 16 มี.ค. 2567 - 09:02:23 น.



+


 
ราคาปัจจุบัน :     15,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Suksawat (1.2K)

 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  supornasia (504) 500 บาท ส. - 16 มี.ค. 2567 - 10:56:26 น.
  พระหน้าทอง (1.3K) 1,100 บาท ส. - 16 มี.ค. 2567 - 15:24:30 น.
  titikorn (2K) 1,150 บาท ส. - 16 มี.ค. 2567 - 18:05:20 น.
  ลุงทศ (30) 3,000 บาท ส. - 16 มี.ค. 2567 - 20:12:46 น.
  Du-doo (2.3K) 10,000 บาท ส. - 16 มี.ค. 2567 - 20:13:26 น.
  tarkkyp (759) 11,000 บาท อา. - 17 มี.ค. 2567 - 18:50:57 น.
  tarkkyp (759) 11,500 บาท อา. - 17 มี.ค. 2567 - 18:51:07 น.
  Suksawat (1.2K) 12,800 บาท ศ. - 22 มี.ค. 2567 - 21:31:50 น.
  Suksawat (1.2K) 14,800 บาท ศ. - 22 มี.ค. 2567 - 22:35:48 น.
  Suksawat (1.2K) 15,000 บาท ศ. - 22 มี.ค. 2567 - 22:37:15 น. (ถึงราคาขั้นต่ำแล้ว)

Copyright ©G-PRA.COM