(0)
พระกริ่ง ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร เนื้อนวะ วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2530 เนื้อนวะ เต็มสูตร มีหน้าตาสวยงาม ผิวสีจำปาเทศ เริ่มกลับดำตามธรรมชาติ ชัดเจน สวยแชมป์ ติดรางวัลที่1 พร้อมกล่องเดิม + บัตรรับรอง GPRA







ชื่อพระเครื่องพระกริ่ง ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร เนื้อนวะ วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2530 เนื้อนวะ เต็มสูตร มีหน้าตาสวยงาม ผิวสีจำปาเทศ เริ่มกลับดำตามธรรมชาติ ชัดเจน สวยแชมป์ ติดรางวัลที่1 พร้อมกล่องเดิม + บัตรรับรอง GPRA
รายละเอียดพระกริ่ง ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร เนื้อนวะ วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2530 เนื้อนวะ เต็มสูตร มีหน้าตาสวยงาม ผิวสีจำปาเทศ เริ่มกลับดำตามธรรมชาติ ชัดเจน สวยแชมป์ ติดรางวัลที่1 พร้อมกล่องเดิม + บัตรรับรอง GPRA ใบประกาศจัดส่งให้ตามหลังเมื่อได้รับค่ะ
*องค์นี้หล่อเต็มเดิม ไม่มีรอยตะไบแต่งองค์ เต็มฟอรม์หายากมากค่ะ*

ประวัติคร่าวๆในการจัดสร้าง
พระกริ่งใหญ่ ปวเรศ ปี 2530 วัดบวรนิเวศวิหาร
เนื้อนวะโลหะผสมแก่ทองคำ
แบบพิมพ์ นายช่าง สำเนา จากองค์พระกริ่งปวเรศ องค์เดิมที่ประดิษฐานในวัดบวรฯ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน เททองชนวน ณ. วัดบวรฯ ในวันศุกร์ ที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๒๘ ด้วยพระองค์เอง
พระกริ่ง ปวเรศ พ.ศ. ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 ทรงพระชนม์ครบ ๕ รอบ ทางวัดบวรฯ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จำลองแบบพระกริ่งปวเรศและสร้างพระชัยวัฒน์ เพื่อเฉลิมฉลองศุภมงคลสมัยและเทิดพระเกียรติในวโรกาสนี้ การสร้างนั้นเททองภายในวัด และตกแต่งพระก็ทำภายในวัด การอุดผงพระและแต่งพระทำโดยช่างถนอม ช่างประสิทธิ์ ช่างหมู ทุกคนต้องรักษาศีลอุโบสถ และทำด้วยใจจงรักภักดี อุดพระนั้นทำสองชั้น โดยคราวแรกนำผงจิตลดาที่พระราชทานมาบรรจุไปก่อนกับเส้นพระเจ้า(เส้นผม) ของพระองค์ท่าน ทำอย่างนี้ทุกองค์ โดยมีเจ้าพนักงานในวังดูแลอย่างใกล้ชิด จากนั้นเมื่อบรรจุผงจิตลดาและเส้นพระเจ้าแล้วจึงปิดด้วยโลหะชั้นหนึ่งแล้วบรรจุเม็ดกริ่ง แล้วจึงปิดก้นพระ ตอกโค๊ต ๕ ไทยและอุณาโลมข้างบัวหลัง เป็นพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ที่เปี่ยมด้วยการสร้างดี มีผงจิตรลดาบรรจุทุกองค์ พร้อมเส้นพระเจ้า

พระกริ่ง-ปวเรศ 30
พระกริ่งปวเรศ เป็นสมัญญานามของพระกริ่งที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสร้างขึ้นทราบกันมาว่า ทรงสร้างขึ้นเพื่อประทานแก่เจ้านายที่ทรงค้นเคยสนินสนมและเจ้านายที่ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ มีจำนวนน้อยมาก ไม่เกิน 30 องค์ทรงสร้างด้วยเนื้อนวโลหะ พุทธลักษณะพระกริ่งปวเรศนั้นสันนิษฐานว่าทรงสร้างขึ้นโดยอาศัยเค้าจากพระกริ่งจีนที่นิยมเรียกกันว่า *** พระกริ่งใหญ่ *** ในปัจจุบัน พระองค์ท่านจะทรงสร้างขึ้นในปีใดนั้นปัจจุบันไม่มีผู้ใดทราบ ภายหลังหลวงชำนาญเลขา ( หุ่น ) สมุห์บุญชีในกรมของพระองค์ ได้ขอประทานอนุญาตนำแบบพิมพ์ไปสร้างขึ้นอีกเท่าไรไม่ปรากฏ โดยที่พระกริ่งนี้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงสร้างขึ้นจึงนิยมเรียกว่า พระกริ่งปวเรศ ในอาณาจักรพระเครื่องนับว่าพระกริ่งปวเรสเป็นพระโลหะที่มีค่านิยมสูงและหายากยิ่งที่จะเสาะแสวงหาไว้สักการะบูชา จึงเป็ฯปูชนียวัตถุที่มีค่าทางพุทธศิลป์และทางจิตใจ กล่าวได้ว่า พระกริ่งปวเรศเป็นพระกริ่งรุ่นแรกที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ อีกทั้งยังมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความนิยมสร้างพระพุทธปฏิมาในลักษณะเดียวกันนี้ในเวลาต่อมาอย่างแพร่หลาย

พระกริ่ง - ปวเรศ
เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เจริญพระชนมพรรษา 5 รอบนักษัตร ในปี 2530 วัดบวรนิเวศวิหารทรงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จำลองแบบ พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองสุภมงคลสมัยและเทิดพระเกียรติในมหามงคลวโรกาสนี้ พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานผงจิตรลดา เพื่อบรรจุในองค์พระกริ่งปวเรศที่สร้างใหม่นี้ทุกองค์

มวลสาร ทองชนวน โลหะต่างๆ และแผ่นยันต์หล่อพระ
พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างขึ้นด้วยเนื้อนวโลหะ ซึ่งประกอบด้วย ทองคำ เงิน ทองแดง สังกะสี ชิน เจ้าน้ำเงิน เหล็กละลายตัวบริสุทธิ์ และปรอทสะตุ ซึ่งนับเป็นโลหะธาตุต่างๆ ที่สำคัญและหายากตามตำรับวิธีการหล่อพระกริ่งแต่โบราณ เมื่อได้อายุตามควรแล้วผิวองค์พระกริ่งจะมีสีดำ ที่นิยมเรียกว่า *** เนื้อกลับดำ ***
ทองชนวนหล่อพระประกอบด้วย
- ทองชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าที่สำคัญๆ ของวัดบวรนิเวศวิหาร
- ทองชนวนหล่อพระพุทธรูป ภปร. วัดบวรนิเวศ
- ทองชนวนหลวงพ่อมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ( ที่ยังคงเหลืออยู่ )
- ทองชนวนรุ่นเก่าของวัดสุทัศน์เทพวราราม
- ทองชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
- ทองชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ภปร. ที่ระลึก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ทองชนวนอื่นๆ ที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค
แผ่นยันต์พระอาจารย์จำนวนมาก ซึ่งกระทรวงมหาไทยและคณะศิษย์ในสมเด็จพระญาณสังวร รวบรวมจากวัดต่างๆ ของประเทศประกอบด้วยพระอาจารย์ในปี 2528 จำนวนมากกว่า 108 รูป และพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงที่มรณภาพไปก่อนแล้วอีกหลายสิบรูป

จำนวนพระ พระกริ่ง ปวเรศ 30 ที่จัดสร้าง
ตามโครงารสร้างพระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ 30 วัดบวรนิเวศวิหาร กำหนดให้สร้างพระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ จำนวน 25000 ชุด แต่ เนื่องจากำหนดให้ช่างเททองหล่อพระกริ่งทุกองค์ในพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จึงทำการเททองหล่อพระตามกรรมวิธีแบบโบราณของไทย ซึ่งเป้นวิธีที่เหมาะสมที่สุดต่อการเททองหล่อพระในกำหนดพิธี ดังนั้น ช่างจึงต้องทำหุ่นองค์พระเพิ่มขึ้นเผื่อเสียไว้ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อจะได้ทำการเททองหล่อพระทั้งหมดอย่างต่อเนื่องในพิธี การเททองหล่อพระครั้งนี้ได้พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ เป็นองค์พระครบทุกองค์ตามจำนวนหุ่นพระที่เตรียมไว้ปรากฏเป็นอัศจรรย์ประการหนึ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ พระที่เห็นสมควรคงไว้เป็นช่อ มีดังนี้
พระกริ่งปวเรศ จำนวน 15 ช่อ
พระชัยวัฒน์ปวเรศ จำนวน 32 ช่อ

พิธีเททองหล่อพระกริ่ง -ปวเรศ 30
พระบาทสมเด็๗พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นพ้นล้นหาที่สุดมืได้ โปรดเกล้าฯ ทรงรับเชิญเสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อพระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ .2528 เป็นปฐมมหามงคลฤกษ์ของพิธีเททองหล่อพระ ทองชนวนจากปฐมพิธีนี้จักเป็นชนวนในการหล่อพระสืบต่อไป ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวรเป็นประธานพิธีการเททองหล่อพระ ณ วัดบวรนิเวศวิหารทั้งหมดก่อนประกอบพิธีพุทธาภิเษก

พิธีพุทธาภิเษก
การประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่ง- พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ประกอบพิธีรวม 3 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 พิธีพุทธาภิเษกในคืนวันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
มเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมาร ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธี
สมเด็จพระญาณสังวร ประธานพิธีอธิฐานจิต
ครั้งที่ 2 พิธีวันวิสาขบูชา วันพุธ - พฤหัสบดีที่ 21-22 พฤษภาคม 2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระญาณสังวร ประธานประกอบพิธี
ครั้งที่ 3 พิธีพุทธาภิเษก พระกริ่ง- พรัชัยวัฒน์ ปวเรศ วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน 2530 ณ พระอุโบสวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี
สมเด็จพระสังฆราช ทรงจุดเทียนชัย
สมเด็จพระญาณสังวร ประกอบพิธีอธิษฐานจิต
พิธีครั้งนี้นับเป็นพิธีพุทธาภิเษก พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ 30 ที่เป็นทางการครั้งแรก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ราคาเปิดประมูล550 บาท
ราคาปัจจุบัน18,850 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 22 ม.ค. 2567 - 20:28:37 น.
วันปิดประมูล - 23 ม.ค. 2567 - 20:51:37 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลไทยนิยม (958)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 22 ม.ค. 2567 - 20:29:04 น.



พระกริ่ง ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร เนื้อนวะ วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2530 เนื้อนวะ เต็มสูตร มีหน้าตาสวยงาม ผิวสีจำปาเทศ เริ่มกลับดำตามธรรมชาติ ชัดเจน สวยแชมป์ ติดรางวัลที่1


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 22 ม.ค. 2567 - 20:29:22 น.



เป็นพระกริ่ง ที่เปี่ยมด้วยการสร้างดี มีผงจิตรลดาบรรจุทุกองค์ พร้อมเส้นพระเจ้า..(เส้นผม ในหลวง ร.9).


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 22 ม.ค. 2567 - 20:30:48 น.



*องค์นี้หล่อเต็มเดิม แทบไม่มีรอยตะไบแต่งองค์ เต็มฟอรม์หายากมากค่ะ*


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 22 ม.ค. 2567 - 20:30:53 น.



ป็นพระกริ่ง ที่เปี่ยมด้วยการสร้างดี มีผงจิตรลดาบรรจุทุกองค์ พร้อมเส้นพระเจ้า..(เส้นผม ในหลวง ร.9).

เจตนาสร้างดียิ่งใหญ่ มีพิธีชัดเจนครับ
พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ
เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เจริญพระชนมพรรษา 5 รอบนักษัตร ในปี 2530 วัดบวรนิเวศวิหารทรงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จำลองแบบ พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองสุภมงคลสมัยและเทิดพระเกียรติในมหามงคลวโรกาสนี้ พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานผงจิตรลดา เพื่อบรรจุในองค์พระกริ่งปวเรศที่สร้างใหม่นี้ทุกองค์

มวลสาร ทองชนวน โลหะต่างๆ และแผ่นยันต์หล่อพระ
พระกริ่ง - พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างขึ้นด้วยเนื้อนวโลหะ ซึ่งประกอบด้วย ทองคำ เงิน ทองแดง สังกะสี ชิน เจ้าน้ำเงิน เหล็กละลายตัวบริสุทธิ์ และปรอทสะตุ ซึ่งนับเป็นโลหะธาตุต่างๆ ที่สำคัญและหายากตามตำรับวิธีการหล่อพระกริ่งแต่โบราณ เมื่อได้อายุตามควรแล้วผิวองค์พระกริ่งจะมีสีดำ ที่นิยมเรียกว่า *** เนื้อกลับดำ ***
ทองชนวนหล่อพระประกอบด้วย
- ทองชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าที่สำคัญๆ ของวัดบวรนิเวศวิหาร
- ทองชนวนหล่อพระพุทธรูป ภปร. วัดบวรนิเวศ
- ทองชนวนหลวงพ่อมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ( ที่ยังคงเหลืออยู่ )
- ทองชนวนรุ่นเก่าของวัดสุทัศน์เทพวราราม
- ทองชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
- ทองชนวนพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ภปร. ที่ระลึก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ทองชนวนอื่นๆ ที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค
แผ่นยันต์พระอาจารย์จำนวนมาก ซึ่งกระทรวงมหาไทยและคณะศิษย์ในสมเด็จพระญาณสังวร รวบรวมจากวัดต่างๆ ของประเทศประกอบด้วยพระอาจารย์ในปี 2528 จำนวนมากกว่า 108 รูป และพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงที่มรณภาพไปก่อนแล้วอีกหลายสิบรูป


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 22 ม.ค. 2567 - 21:28:04 น.



.


 
ราคาปัจจุบัน :     18,850 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Panu_pdd (664)

 

Copyright ©G-PRA.COM