(0)
ปรกจ้อย เนื้อทองคำ รุ่นยอดฉัตร แยกจากชุดกรรมการ (ทองหนัก1.43กรัม) สร้างปี2553 ร้วนสร้างเจดีใหญ่วัดละหารไร่ หลวงปู่บัว วัดเกาะตะเคียนปลุกเสก สร้างปี2553ครับ มีกล่องกรรมการเดิมให้ครับ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องปรกจ้อย เนื้อทองคำ รุ่นยอดฉัตร แยกจากชุดกรรมการ (ทองหนัก1.43กรัม) สร้างปี2553 ร้วนสร้างเจดีใหญ่วัดละหารไร่ หลวงปู่บัว วัดเกาะตะเคียนปลุกเสก สร้างปี2553ครับ มีกล่องกรรมการเดิมให้ครับ
รายละเอียดขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๙ วันที่ ๑๙ ส.ค.๕๓ เป็นวันเศรษฐีมหาเศรษฐีร่วมหล่อยอดฉัตร (ยอดเจดีย์ภาวนาภิรัต), พระกริ่งชินบัญชรขนาดพระธาน, พระมหาเศรษฐีนวโกฏิและ พระชัยวัฒน์ประจำตระกูล
วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๓ ปีนี้เป็นวันเศรษฐีมหาเศรษฐีที่เกจิอาจารย์รุ่นเก่าได้รวบรวมกันค้นคว้า นำเอา ๙ อุบาสก-อุบาสิกาที่เป็นมหาเศรษฐีในครั้นพุทธกาลมาร่วมกัน สถาปนาขึ้นเป็นพระพุทธรูป ๙ พระพักตร์ เพื่อน้อมนำเอาคุณความดีของ ๙ มหาเศรษฐีสมัยพุทธกาลซึ่งเป็นโยมอุปฐากและสร้างถาวรวัตถุ วัดวาอาราม ถวายพระพุทธเจ้า และสาธารณประโยชน์ไว้มากมาย
มหาเศรษฐีเหล่านั้นแต่ละท่านมีเงินมากเป็นโกฏิๆ แม้ว่าจะบริจาคทรัพย์สินเงินทองสร้างวัดวาอารามไปมากมายมหาศาล แต่กลังยิ่งมีอานิสงส์ให้เงินทองไหลมาเทมาอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น บรรดาปรมาจารย์และพระเกจิอาจารย์ในสมัยโบราณจึงร่วมกันคิดสร้างพระพุทธรูปขึ้นไว้เคารพบูชาโดยมี ๙พระพักตร์เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและไม่เหมือนใคร เพื่อเป็นการระลึกถึงและเคารพมหาเศรษฐีทั้ง ๙ ท่าน
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ สิริจันโท ได้รจนาพระคาถาบูชาพระมหาเศรษฐนวโกฏิขึ้นเป็นภาษาบาลี เพื่อใช้สวดมนต์ขอพร และอาศัยความศักดิ์สิทธิ์ของพระคาถานี้ให้บังเกิดแก่ผู้ที่นำไปเคารพบูชา เมื่อแปลจากพระคาถาที่เป็นภาษาบาลีออกมาได้ความดังนี้
ขอทรัพย์สินเงินทองของเราอย่าเสื่มสิ้นไป อุปัทวอันตรายอย่าเกิดแก่เรา ... ขอสายธารแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหารจงตกลงมาในเรือนของเราเหมือนในเรือนของท่านธนัญชัยอัครมหาเศรษฐี ขอแก้วแหวนเงินทองโภคทรัพย์ทั้งปวงจงตกลงในเรือนของเราเหมือนของท่านยัสสะเศรษฐี, ท่านสุมานะเศรษฐี, ท่านชะฎิกัสสะเศรษฐี, ท่านอนาคปิณฑิกเศรษฐี, ท่านเมนฑะกัสสะเศรษฐี, ท่านโชติกะเศรษฐี, ท่านสุมังคะกัสสะเศรษฐี, ท่านวิสาขามหาอุบาสิกามหาเศรษฐี
พระพุทธรูป ๙ หน้าหรือพระพุทธรูปเก้าพระพักตร์องค์นี้ ก็คือพระพุทธรูปที่เป็นสัญญาลักษณ์แทนองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่พวกเราชาวพุทธเคารพนับถือนั้น แต่พระพักตร์ทั้ง ๙ นั้นเป็นเพียงสัญญาลักษณ์เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของมหาอุบาสกอุบาสิกาทั้ง ๙ ท่านนั้น ปรมาจารย์โบราณที่สร้างขึ้นไว้ ท่านให้ชื่อว่า “พระมหาเศรษฐีนวโกฏิ”
พระอุบาลีคณูปรมาจารย์ “สิริจันโท” พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายธรรมยุตินิกาย ท่านได้สร้างพระมหาเศรษฐีนวโกฏิด้วยไม้มงคลตามตำราประดิษฐานไว้ที่วัดบรมนิวาส พร้อมกันนั้นท่านได้บันทึกตำราทั้งวิธีการสร้างพระมหาเศรษฐีนวโกฏิ ตลอดจนพระคาถามหาเศรษฐีไว้ด้วย ท่านจารึกไว้ในตำราว่า เมื่อเถลิงศกใหม่คือวันพญาวัน ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายนของทุกปี ท่านให้บูชาพระมหาเศรษฐีนวโกฏิด้วยของขาว ๙ อย่าง อาหารคาวหวาน ๙ อย่าง สวดบูชาด้วยพระคาถามหาเศรษฐี ๙ จบ แล้วอธิษฐานทำน้ำมนต์ประพรมบ้านเรือน โรงงาน ร้านค้า ข้าทาสบริวาร ลูกหลานจะอยู่เย็นเป็นสุขตลอดปี นอกจากสวดบูชาพระมหาเศรษฐีนวโกฏิทั้ง ๙ ในวันเถลิงศกใหม่แล้ว อีกวันหนึ่งที่สำคัญควรจะสวดบูชาไปด้วย ก็คือ วันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙ ของทุกๆปี ที่ปรมาจารย์ผู้ค้นคิดตำรานี้ขึ้นให้ยึดถือเป็นวันปฐมกำเนิดของพระมหาเศรษฐีนวโกฏิ ซึ่งปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๓
มูลนิธิหลวงปู่ทิม อิสริโก และวัดละหารไร่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง จะประกอบพิธีเททองหล่อพระมหาเศรษฐีนวโกฏิขึ้น เพื่อเป็นสิริมงคล พร้อมกันนั้นวัดละหารไร่ โดยพระครูวิจิตรธรรมภิรัต หรือ พระอาจารย์เชย เจ้าอาวาสวัดละหารไร่องค์ถัดจากหลวงปู่ทิม ยอดพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนี้ จะเททองหล่อยอดพระมหาเจดีย์ หรือยอดฉัตร ขึ้นในวันเศรษฐีมหาเศรษฐี เพื่อนำขึ้นประดิษฐานเป็นยอดพระมหาเจดีย์ภาวนาภิรัต ซึ่งกำลังดำเนินการสร้างแล้วเสร็จไปประมาณ ๙๐% และพร้อมกันนั้น มูลนิธิหลวงปู่ทิม อิสริโก จะดำเนินการสร้างวัตถุมงคลขึ้นมาเพื่อรายได้จัดสร้างพระมหาเจดีย์ภาวนาภิรัตให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ พร้อมทั้งสร้างอาคารโรงเรียนปริยัติธรรมเพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนของพระสงฆ์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาของเราต่อไป
วัตถุมงคลที่จะร่วมในพิธีเททองหล่อยอดเจดีย์ และสร้างถาวรวัตถุวัดละหารไร่ ในครั้งนี้ เรียกโดยรวมว่า รุ่น “ยอดฉัตร” นอกจากจะเททองหล่อยอดฉัตร(ยอดเจดีย์ภาวนาภิรัต)แล้ว ยังไว้สร้างวัตถุมงคล ดังต่อไปนี้
๑. พระมหาเศรษฐีนวโกฏิ ขนาดหน้าตัก ๙ นิ้วจำนวน ๙๙ องค์ , หน้าตัก ๕ นิ้วจำนวน ๑๙๙ องค์, และขนาดห้อยคอเนื้อนวโลหะจำนวน ๒,๕๙๙ องค์
๒. หล่อพระพุทธรูป พระกริ่งชินบัญชรขนาดใหญ่หน้าตัก ๓๖ นิ้ว ผู้สถาปนาทำนุบำรุงวัดละหารไร่จากที่ชำรุดทรุดโทรม เมื่อ ๔๐ปีก่อนให้เจริญก้าวหน้ามาจนทุกวันนี้ ถึงแม้หลวงปู่ทิมจะมรณภาพไปแล้ว ๓๕ ปีแต่ท่านก็ได้สร้างพระกริ่งชินบัญชรขึ้นให้ เป็นมรดกตกทอดใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ สงเคราะห์ผู้ที่เคารพนับถือให้เจริญรุ่งเรืองจนแผ่บารมีมาถึงวัดละหารไร่ เป็นเหตุให้วัดละหารไร่เจิรญรุ่งเรืองขึ้น แม้พระกริ่งชินบัญชรที่หลวงปู่ทิมท่านสร้างขึ้นมีจำนวนมากถึง สามพันกว่าองค์ มากกว่าของพระเกจิอาจารย์ใดๆในยุคนั้นก็จริง แต่ก็มีราคาแพงแสนแพงและหายากขึ้นทุกวัน มูลนิธิหลวงปู่ทิม สร้างพระกริ่งชินบัญชรขนาดใหญ่หน้าตัก ๓๖ นิ้วขึ้น ก็เพื่อให้ผู้ที่ใช้พระกริ่งชินบัญชรตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงรุ่นล่าสุด(พระกริ่งชินบัญชร ๗๒, พระกริ่งชินบัญชร ญสส.) ขึ้นไว้เพื่อให้เป็นที่เคารพบูชา เป็นเครื่องเตือนและระลึกว่า พระกริ่งชินบัญชรที่พวกท่านบูชาอยู่ไม่ได้เป็นเพียงผู้ทำนุบำรุงวัดละหารไร่ให้เจริญรุ่งเรืองเท่านั้น ยังทำให้ท่านที่ใช้รุ่งเรืองเจริญ สงเคราะห์และขจัดปัดเป่าอุปสรรคความขัดข้องให้หมดไปจากผู้ที่เคารพบูชา ซึ่งตัวท่านผู้ใช้ต่างรู้กันดี จึงขอแจ้งให้มาร่วมกันสร้าง
นอกจากจะเททองสร้างพระพุทธรูป “กริ่งชินบัญชร” หน้าตัก ๓๖ นิ้วขึ้นแล้ว ยังจะสร้างพระกริ่งชินบัญชรขนาดหน้าตัก ๓ นิ้วขึ้นจำนวนหนึ่ง จะเรียกว่าเป็นพระชัยวัฒน์ประจำตัว ตามแบบที่แม่ทัพ นายกอง และเศรษฐีในสมัยโบราณสร้างขึ้นไว้สำหรับใช้บูชาประจำตัว เวลาเคลื่อนย้ายทัพหรือเวลาเดินทางก็ได้ นอกจากจะคุ้มครองปกป้องแล้วยังจะเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองอีกด้วย ในองค์พระชัยวัฒน์บูชาประจำตัว (พระกริ่งชินบัญชร ขนาด ๓ นิ้ว) นอกจากจะบรรจุดวงชะตาของผู้ที่ต้องการบูชาแล้วยังบรรจุดวงพระยันต์มหาพิชัยสงคราม พระยันต์รณรงค์สงคราม ยันต์สารพัดกัน ยันต์มหาระงับของหลวงปู่ทิมตามตำราที่ผู้สร้างได้รับมาจากหลวงพ่อเริ่ม ปรโม ศิษย์ทายาทวิชาโหราศาสตร์ของสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทัย) วัดสระเกศ ที่เคยให้ผู้สร้างเป็นผู้ดำเนินการสร้างพระชัยวัฒน์ประจำตระกูล เพราะชีวิตคนเราในปัจจุบัน นอกจากจะต้องต่อสู้และป้องกันแล้วยังจะต้องมีมหาระงับคุ้มตัวด้วย ชีวิตจึงจะปลอดภัย ,เป็นสุข และรุ่งเรืองก้าวหน้า
๓. สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งอันถือเป็นสัญญาลักษณ์ของวัดละหารไร่ที่จะขาดเสียไม่ได้ คือ “พระขุนแผนพรายกุมาร” เมื่อครั้งเททองสร้างพระกริ่งชินบัญชรมหาโสฬสที่วัดละหารไร่ เมื่อ ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓ ไม่ได้นึกถึงและไม่คิดจะสร้างพระขุนแผนพรายกุมาร ตกดึกหลังเททอง หล่อพระกริ่งแล้วเพียงคืนเดียว หลวงปู่ทิม ไปเข้าฝันถามคุณประชา ตรีพาสัย ศิษย์ผู้ใกล้ชิดว่าทำไมไม่สร้างเอกลักษณ์ของวัดไว้? ผมและคุณประชาจึงต้องนำชนวนพระกริ่งชินบัญชรมหาโสฬส มาหล่อเป็นพระขุนแผนเนื้อโลหะขึ้นไว้ด้วย และให้ได้ผลเหมือนพระขุนแผนรุ่นแรกที่มีราคาเหยียบล้านขึ้นไป การสร้างยอดฉัตรครั้งนี้จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างเอกลักษณ์ของวัดขึ้นไว้ด้วย ทั้งเนื้อผงและเนื้อนวโลหะจากชนวนชินบัญชร ๗๒
๔. นอกจากนั้นจะสร้างพระปรกมะขาม อันลือลั่นของหลวงปู่ทิม ขึ้นอีกด้วยเรียกว่า “องค์จ้อยยอดฉัตร” นอกจากจะสร้างขึ้นเพื่อนำไปติดบนยอดฉัตรแล้วจะนำออกให้บูชาด้วยกัน ๕ เนื้อ คือ ทองคำ เงิน นวโลหะ ดีบุก และทองแดง โดยนำชนวนพระกริ่งชินบัญชร ๗๒, พระกริ่งชินบัญชร ญสส. ที่เททองแล้วตะกรุดไม่ละลายมาผสมเป็นชนวนในองค์จ้อยยอดฉัตร ทุกๆเนื้อเพื่อให้โด่งดังเหมือนปรกองค์จ้อยหลวงปู่ทิม
พระเศรษฐีนวโกฏิ ขนาด ๕ นิ้วและ ๙ นิ้ว
พระเศรษฐีนวโกฏิ ขนาด ๙ นิ้ว
วัตถุมงคลทั้งหมดจะนำเข้าพิธีใหญ่อีกครั้งในวันยกยอดฉัตรขึ้นสู่มหาเจดีย์ภาวนาภิรัต เนื่องในวันคล้ายวันมรณภาพครบ ๓๕ ปีของหลวงปู่ทิม วันเสาร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๓
จากการพูดคุย ของอ.ชินพร และคณะกรรมการ สรุปเบื้องต้น(อาจมีการปรับเปลี่ยนบ้างเล็กน้อย) ดังนี้
๑. พระชัยวัฒน์ประจำตระกูล เนื้อโลหะผสมกึ่งนวโลหะ (พิมพ์ชินบัญชร)ขนาด ๓ นิ้ว
... กรุณาผูกดวงของเจ้าของพระหรือเจ้าบ้านมาให้ทางเราเพื่อบรรจุในองค์พระด้วยครับ
๒. พระเศรษฐีนวโกฏิ ทุกองค์อุดผง มวลสารตามตำรับเศรษฐีนวโกฏิ แบ่งเป็น
๒.๑ ชุดกรรมการพระเศรษฐีนวโกฏิ ทำบุญ ๑๐,๐๐๐ บาท สมนาคุณ
- พระเศรษฐีนวโกฏิ ขนาด ๙ นิ้ว จำนวน ๑ องค์
- พระเศรษฐีนวโกฏิ ขนาด ๕ น้ิว จำนวน ๑ องค์
- พระเศรษฐีนวโกฏิ ขนาดห้อยคอ เนื้อนวโลหะ จำนวน ๑ องค์
- พระขุนแผนพรายกุมารเนื้อกระสารท พิมพ์ใหญ่ตะกรุดเงิน จำนวน ๑ องค์
- พระขุนแผนพรายกุุมารเนื้อผง ไม่มีตะกรุด จำนวน ๑ องค์
๒.๒ พระเศรษฐีนวโกฏิ ขนาด ๙ นิ้ว สั่งจอง องค์ละ ๖,๐๐๐-๗,๕๐๐ บาท
๒.๒ พระเศรษฐีนวโกฏิ ขนาด ๕ นิ้ว สั่งจอง องค์ละ ๒,๕๐๐ บาท
๒.๓ พระเศรษฐีนวโกฏิ ขนาดห้อยคอ เนื้อนวโลหะ สั่งจอง ๑,๐๐๐ บาท
๓. พระปรกองค์จ้อยใบมะขาม รุ่นยอดฉัตร
๓.๑ ชุดปรกองค์จ้อย (กรรมการ) สร้างราว ๙๙๙ ชุด สั่งจองชุดละ ๓,๕๐๐บาท ขอจำกัดท่านละไม่เกิน ๕ ชุด
ประกอบด้วยเนื้อทองคำ ๑ องค์, และเนื้อ เงิน-นวะ-ดีบุก-ทองแดง อย่างละ ๒ องค์ รวม ๙ องค์
๓.๒ พระปรกองค์จ้อย เนื้อเงิน องค์ละ ๓๐๐ บาท
๓.๓ พระปรกองค์จ้อย เนื้อนวโลหะ องค์ละ ๒๐๐ บาท
๓.๔ พระปรกองค์จ้อย เนื้อทองแดง องค์ละ ๑๐๐ บาท
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน6,050 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 11 ต.ค. 2566 - 00:33:42 น.
วันปิดประมูล - 18 ต.ค. 2566 - 21:34:39 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmnus_yui (1.6K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 11 ต.ค. 2566 - 00:34:25 น.



(ทองหนัก1.43กรัม)


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 11 ต.ค. 2566 - 00:34:45 น.



(ทองหนัก1.43กรัม)


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 11 ต.ค. 2566 - 00:35:01 น.



(ทองหนัก1.43กรัม)


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 11 ต.ค. 2566 - 00:35:18 น.



(ทองหนัก1.43กรัม)


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 11 ต.ค. 2566 - 00:35:51 น.



(ทองหนัก1.43กรัม)


 
ราคาปัจจุบัน :     6,050 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    MRDAVE (802)

 

Copyright ©G-PRA.COM