(0)
พระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 พร้อมบัตรรับรอง g pra







ชื่อพระเครื่องพระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 พร้อมบัตรรับรอง g pra
รายละเอียดพระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 พิมพ์ต้อบัวเล็บช้าง (ไม่มีโค๊ต) พร้อมบัตรรับรอง g pra บริเวณหน้าพระ เหมือน Face Off ถอดหน้ากาก
****โปรดอ่าน องค์พระบริเวณพระพักตร์มีตำหนิจากการผลิต ลักษณะเหมือนถอดหน้ากาก พิจารณาให้ชอบก่อนแล้วค่อยประมูลนะครับ อย่าประมูลเล่นๆ มันเสียเวลาทั้งสองฝ่ายครับ****

พระพุทธชินราชอินโดจีน นับเป็นพระยอดนิยมมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน จากปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ก็คือ
1.เจตนาการสร้างที่ต้องการให้ทหารและประชาชนได้มีพระเครื่องไว้บูชาติดตัวในยามเกิดสงคราม เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจและปกป้องภยันตราย
2. เป็นการจำลองรูปแบบ “พระพุทธชินราช” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองพิษณุโลก ที่มีความงดงาม ศักดิ์สิทธิ์ และสำคัญต่อพุทธศาสนิกชน
3.ด้วยพิธีกรรมที่ถือว่ายิ่งใหญ่อลังการมากในสมัยนั้น เป็นการรวมพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังร่วมสมัยจำนวนมากเข้าร่วมปลุกเสกอธิษฐานจิต
4. พุทธคุณและพุทธานุภาพเป็นเลิศเป็นที่ประจักษ์
จัดสร้างโดย พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ประกอบพิธีเททองหล่อตาม ‘ตำราการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์’ ของวัดสุทัศน์อย่างสมบูรณ์ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 จากนั้นประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ในวันที่21 มีนาคม พ.ศ.2485 โดยมี ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) เป็นองค์ประธาน เจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นแม่งาน ทั้งได้รับเมตตาจากพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังผู้ทรงวิทยาคมในยุคนั้นรวมแล้ว 108 รูป ร่วมมอบแผ่นยันต์ และเดินทางเข้าร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก มีอาทิ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทร์, สมเด็จพระสังฆราช (ชื่น) วัดบวรนิเวศฯ, หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ, หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว, หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ, หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ, หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่, หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว, หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ, หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง ฯลฯ เรียกได้ว่า เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพิธีหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทยเลยทีเดียว

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์เบื้องต้นก็เพื่อต้องการให้ทหารและประชาชน ได้มีพระเครื่องไว้บูชาติดตัวเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในยามเกิดสงครามอินโดจีนเท่านั้น แต่ปรากฏว่าหลังจากสงครามอินโดจีนสงบลง ได้เกิด ‘สงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม’ ซึ่งทหารและประชาชนที่ได้บูชา ‘พระพุทธชินราชอินโดจีน’ ต่างมีประสบการณ์ปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏ จนเป็นเรื่องเล่าขานกันมากมาย ส่งผลให้ พระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูงสืบมาถึงปัจจุบัน

ขอบคุณข้อมูลจาก นสพ มติชน
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน8,100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 29 ส.ค. 2566 - 19:26:37 น.
วันปิดประมูล - 03 ก.ย. 2566 - 05:40:27 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลWachilapat (335)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     8,100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Artto13 (2.3K)

 

Copyright ©G-PRA.COM