(0)
พระชัยวัฒน์ ๙๐ พรรษาสมเด็จย่า พ.ศ. ๒๕๓๓ เนื้อนวโลหะ สภาพสวยเดิม ๆ โค้ดชัดๆ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระชัยวัฒน์ ๙๐ พรรษาสมเด็จย่า พ.ศ. ๒๕๓๓ เนื้อนวโลหะ สภาพสวยเดิม ๆ โค้ดชัดๆ
รายละเอียดพระชัยวัฒน์ ที่ระลึก 90 พรรษาสมเด็จย่า ปี 2533 เนื้อนวโลหะ สภาพสวย ผิวเดิมๆ ใต้ฐานโค้ดชัดเจน (พร้อมกล่องเดิมๆ)

"พระดี...พิธีใหญ่...อีกหน่อยคงหายากแน่ๆ.."

พระชัยวัฒน์ จัดสร้างในโอกาสเฉลิมฉลองสมเด็จย่ามีพระชนมายุ 90 พรรษา เมื่อปี 2533 ปลุกเสกพิธียิ่งใหญ่ ในวัดพระแก้วฯ โดยมี อจ.นิรันดร์ แดงวิจิตร(อาจารย์หนู ปรมาจารย์พระกริ่งฯ) เป็นผู้กำกับสูตร

มวลสารที่นำมาจัดสร้างมี แผ่นยันต์ที่บรรดาคณาจารย์ลงอักขระถวายมาหล่อหลอมจำนวนมาก อีกทั้งสมเด็จย่าได้ทรงนำสร้อยพระกรที่พระบรมราชชนกมอบให้มาร่วมหล่อองค์พระด้วย

องค์พระจะเป็นเนื้อโลหะผสม เทหล่อสภาพสวยสมบูรณ์ ใต้ฐานตอกโค๊ต จัดเป็นของดีที่ไม่ค่อยได้พบเห็น

มวลสารที่ใช้จัดสร้างพระชัยวัฒน์ฉลอง 90 พรรษาสมเด็จย่ามีดังนี้
1. เนื้อโลหะ
- มีเนื้อนวโลหะที่ได้จากโลหะเดิมของ สมเด็จสังฆราช(แพ),
- โลหะเดิมของพระครูขันติยาภิราม(หลวงพ่อวงษ์)วัดปริวาส
- และของพระอาจารย์อรรถพล กิตติโก วัดปริวาส รวมเป็นน้ำหนัก 90 กิโลกรัม

2.แผ่นพระยันต์
-พระคณาจารย์ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 799 รูป มีเมตตาลงแผ่นทองแดงให้รวมทั้งสิ้นถึง 5,999 แผ่น น้ำหนักแผ่นทองแดง 52 กิโลกรัม

3.แผ่นทองคำ
-ได้มีพิธีลงทองโดยพระอาจารย์อรรถพล กิตติโก ในพิธีลงทองและพุทธาภิเษกแผ่นพระยันต์ที่วัดปริวาส เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2533 โดยลงแผ่นพระยันต์ 108 นะปะถะมัง 14 ดวงพระประสูติและตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

4.เนื้อโลหะทองคำ
- ส่วนหนึ่งจากทองคำบางสะพาน ซึ่งถือเป็นโลหะธาตุทองคำศักดิ์สิทธิ์ใช้ในการสร้างสิ่งมงคลแต่โบราณ รวมถึงทองแดงเถื่อนและทองแดงจันทึก จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้รับความกรุณาจากกรมทรัพยากรธรณี จัดหาและประสานในการปฏิบัติ ได้โลหะทองคำบางสะพานมา 1,998.7 กรัม ทองแดงเถื่อน 6.5 กิโลกรัม

5.เนื้อโลหะชนวน
- ชนวนในการสร้างพระพุทธรูป ภปร. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เททองเมื่อปี2508 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร,
- ชนวนในการสร้างพระชัยวัฒน์ พระกริ่งปวเรศร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เททองเมื่อปี 2528 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร,
- ชนวนเททองหล่อหลวงพ่อเงิน บางคลานพิจิตร ซึ่งนายประเสริฐ นรัตถรักษา คหบดีจังหวัดพิจิตรมอบให้,
- ชนวนเททองหล่อสมเด็จพุฒาจารย์โต วัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง ซึ่งนายทวีป ทวีพาณิชย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองมอบให้

พิธีการในการสร้างมี 3 พิธีด้วยกันคือ
1.พิธีลงทองและพุทธาภิเษกแผ่นพระยันต์ ประกอบพิธีวันที่ 19 มิถุนายน 2533 ณ อุโบสถวัดปริวาส โดยพระญาณโพธิ(เข็ม) ลงทองแผ่นยันต์108 นะปะถะมัง14นะ ดวงประสูติและตรัสรู้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

2.พิธีเททองและพุทธาภิเษก ประกอบพิธีวันที่ 18 สิงหาคม 2533 ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เสด็จเป็นองค์ประธานและทรงนั่งปรกพร้อมพระคณาจารย์อื่นๆผู้ทรงคุณนั่งปรก บริกรรมภาวนารวม 28 รูป จำนวนเท่ากับพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ตั้งแต่เวลา 6.00 น.ของวันประกอบพิธีจนถึง 6.09 น.ของวันรุ่งขึ้น และก่อนหน้าพิธีได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุหร่าย แผ่นพระยันต์ทั้งหมด ตลอดจนเจิมแผ่นทองคำ

3.พิธีพุทธาภิเษก ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์ประธาน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2533

สุดยอด...ด้วยประการทั้งปวง...ของดี..ราคายังไม่แพง..องค์พระขนาดเล็กกำลังดี.ชนวนมวลสารสุดยอด-พิธีใหญ่ดีระดับนี้.เจอที่ไหนต้องเก็บครับ

(ตอนนี้...นักสะสมที่รู้ข้อมูลการจัดสร้างก็..ตามเก็บกันอยู่ครับ)
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน140 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 22 มี.ค. 2566 - 14:04:01 น.
วันปิดประมูล - 26 มี.ค. 2566 - 18:36:30 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลรวมมิตร3737 (636)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 22 มี.ค. 2566 - 14:04:27 น.



.


 
ราคาปัจจุบัน :     140 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    burengnong (1.6K)

 

Copyright ©G-PRA.COM