(0)
พระกริ่งชัยวัฒน์ ปวเรศ รุ่น 2 ปี2530 วัดบวรนิเวศวิหาร








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่งชัยวัฒน์ ปวเรศ รุ่น 2 ปี2530 วัดบวรนิเวศวิหาร
รายละเอียดกริ่งปวเรศและพระชัยวัฒน์ ปี 30 (พระกริ่งปวเรศ รุ่น 2)
พระกริ่งปวเรศ รุ่นสอง นี้จัดว่าเป็นสุดยอดพระกริ่งของวงการพระเครื่องก็ว่าได้ สร้างที่วัดบวรนิเวศวิหาร ในปี พ.ศ.2530 เนื่องจากทางวัดได้รับพระราชานุญาต ให้จัดสร้างขึ้น เนื่องในโอกาสมหามงคลที่ในหลวงทรงเจริญพระชนม์พรรษาครบ ๕ รอบ 60 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ประกอบพิธีเททองหล่อปฐมมหามงคลฤกษ์ ณ บริเวณพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2529 พระกริ่งปวเรศ ปี30 และพระชัยวัฒน์ทีสร้างขึ้นด้วยวิธีหล่อแบบโบราณนี้ จะได้องค์พระที่ไม่สวยคมชัดไปทั่วทั้งหมด ผิวพระที่ได้จากการหล่อจะมีรูพรุน มากบ้าง น้อยบ้าง จึงต้องทำการตกแต่งด้วยตะไบ ซึ่งทางวัดได้จัดสถานที่และคณะช่างที่จะทำการตกแต่งพระ รวมทั้งการบรรจุ เส้นพระเจ้าของของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผงจิตรลดาที่ได้รับพระราชทาน และบรรจุเม็ดกริ่ง ภายในวัดทั้งหมดทุกขั้นตอน โดยห้ามนำพระกริ่งออกจากสถานที่โดย เด็ดขาดและมีการตรวจตราอย่างเข้มงวดอีกด้วย
พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งปวเรศและพระชัยวัฒน์ ปี 30
ครั้งที่ 1 วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ.2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธี และสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานพิธีอธิษฐานจิต มีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายรูปร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต
ครั้งที่ 2 พิธีวันวิสาขบูชา วันพุธที่ 21 และวันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2529 ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานในพิธี
ครั้งที่ 3 พิธีพุทธาภิเษกอย่างเป็นทางการ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธี สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) วัดราชบพิธฯ ทรงจุดเทียนชัย สมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานพิธีอธิษฐานจิต ร่วมกับพระภาวนาจารย์อีก 36 รูป จากภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิเช่น หลวงปู่สิม แห่งถ้ำผาปล่อง, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม, หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาละวัน, หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก, หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ, หลวงพ่อสง่า วัดหนองม่วง, หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ, หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม และ หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม เป็นต้น นับเป็นเป็นสุดยอดพระเครื่องคู่บ้านคู่เมืองที่ในหลวงเสด็จพระราชดำเนินเททอง ใต้ฐานบรรจุเม็ดกริ่ง,ผงจิตรลดา และเส้นพระเจ้า (เส้นผม) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สำหรับพระกริ่งตั้งแต่โบราณมาแล้ว ถือว่าเป็นวัตถุมงคลชั้นสูงสุด ในบรรดาพระเครื่องทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นพระเนื้อผง ดิน ว่าน เหรียญ ตะกรุด เป็นต้น เนื่องจากกระบวนการจัดสร้างจะซับซ้อนและทำยากมากๆ ในสมัยก่อนผู้ที่สร้างพระกริ่งได้ ต้องเป็นบุคคลสำคัญ เช่นพระมหากษัตริย์ พระเถระชั้นผู้ใหญ่ เป็นต้น พระกริ่งดั้งเดิมเป็นพระที่พุทธสายมหายานสร้างขึ้น เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ราวๆปี พ.ศ. 1100 ของประเทศจีน แล้วคงมีการนำเข้ามาผ่านอาณาจักรมอญโบราณที่ยิ่งใหญ่ในดินแดนสุวรรณภูมิ เพราะตำราสร้างพระกริ่งของไทย ได้สืบทอดมาจากสมเด็จพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ในสมัยพระนเรศวร ท่านนี้คือชาวมอญที่ติดตามพระนเรศวรมาที่ประเทศไทย ตำรานี้ได้ตกทอดมาถึงสมเด็จกรมพระยาปวเรศ อดีตพระสังฆราชสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านได้สร้างพระกริ่งปวเรศ ขึ้นจำนวนไม่กี่สิบองค์ บางคนบอกว่า ประมาณ 30 องค์ ต่อจากนั้นตำราสร้างนี้ก็ตกมาสู่ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม แต่ท่านไม่เคยสร้างพระกริ่ง แล้วสุดท้ายตำราก็ตกทอดมาที่สมเด็จสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ จริงๆแล้วพระกริ่งเป็นรูปลักษณ์ของพระพุทธเจ้า สายมหายาน ชื่อพระไภษํชยคุรุไวฑูรยประภา หรือ พระพุทธจ้าหมอ หรือ หมอแห่งกายและวิญญาณ ทรงเป็นผู้ดูแลและรักษาเหล่าสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นในสมัยก่อนคนที่เจ็บไข้ได้ป่วยจะอาราธนาพระกริ่งทำน้ำมนต์รักษาโรคต่างๆ ถ้าให้ดีควรสวดมนต์ที่เกี่ยวกับท่านดังนี้
"นโม ภควเต ไภษชฺยคุรุไวฑูรฺยปฺรภราชาย ตถาคตาย อรฺหเต สํมฺยกฺสมฺพุทฺธาย ตทฺยถา โอม ไภษชฺเย ไภษชฺเย ไภษชฺย สมุทฺคเต สฺวาหา"
เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมายุ 5รอบในวันที่ 5 ธันวาคม 2530 ทางวัดบวรนิเวศได้รับพระราชทานราชานุญาตให้จำลองแบบพระกริ่งพระชัยวัฒน์ปวเรศขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาศมหามงคล และที่นับเป็นพระมหากรุณาอันหาที่สุดมิได้ ในหลวงทรงพระราชทาน ผงจิตรลดา และ เส้นพระเจ้า เพื่อบรรจุไว้ในองค์พระกริ่งปวเรศที่จัดสร้างครั้งนี้ทุกองค์
พระกริ่งชุดนี้จัดสร้างโดยกรรมวิธีหล่อแบบโบราณคือหล่อแบบเข้าดินไทย โดยอาจารย์กิจจา วาจาสัจ เป็นผู้ขึ้นหุ่นเทียนทั้งหมด ได้เริ่มทอลองหล่อองค์ต้นแบบ 2 องค์ แล้วมอบให้อาจารย์นิรันดร์ แดงวิจิตร ตกแต่งให้สวยงาม ต่อมาสมเด็จญาณสังวร ได้นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อพระราชทานวินิจฉัย หลังจากนั้นได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขจนเสร็จสมบูรณ์ ในเดือนกรกฏาคม พ.ศ.2528
การเข้าหุ่นดินไทยสำหรับการเทพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ ได้ทำที่บ้านของอาจารย์กิจจา เพื่อสะดวกในการทำงานและดูแลทุกขั้นตอนไม่ให้รั่วไหล หลังจากเข้าช่อเสร็จได้จำนวนพระกริ่งปวเรศ รวม 1500ช่อ เป็นจำนวน 31,500องค์ พระชัยวัฒน์ 600 ช่อ เป็นจำนวน 36,600องค์ สำหรับโลหะทองชนวนที่นำมาสร้างได้แก่
1. ทองชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าๆของัดบวรนิเวศ เช่นชนวนพระกริ่งปวเรศรุ่นแรก
2. ทองชนวนพระพุทธรูป ภปร. วัดบวรนิเวศปี 2508
3. ทองชนวนที่ได้จากการบูรณะพระมงคลบพิธ อยุธยา
4. ทองชนวนพระกริ่งเก่าๆของวัดสุทัศน์ สมัยสมเด็จสังฆราชแพ และ เจ้าคุณศรี
5. ทองชนวนพระกริ่งหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
6. ทองชนวนพระกริ่ง ภปร. ที่ระลึก 50ปีธรรมศาสตร์
7. แผ่นทองคำ เงิน ทองแดง ลงอักขระ รวบรวมโดยคณะลูกศิษย์สมเด็จญาณสังวร และนายพิศาล มูลศาสตร์สาธร ปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยผู้ว่าราชการจังหวัดได้มาจากพระเถระ มากกว่า108รูป
8. ทองคำน้ำหนัก 60 กิโลกรัม
9. เงินพดด้วง
พิธีเททองหล่อพระ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ปวเรศ ณ มณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศ เมื่อวันศุกร์ ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2528 เป็นปฐมมหามงคลราชาฤกษ์ ของพิธีเททองหล่อ โดยมีสมเด็จญาณสังวร เป็นประธานพิธีเททอง ต่อมาทางวัดบวรนิเวศได้กำหนดมหามงคลฤกษ์ในการเททองหล่อพระจนครบจำนวนเป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 20-28 มีนาคม พ.ศ.2529 โดยสมเด็จญาณสังวร เสด็จมายังมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศทุกเช้าเพื่อเทพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ปวเรศจนครบทุกช่อ
พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ 1 จัดพิธี วันเสาร์ ที่ 12 เมษายน พ.ศ.2529 ณ อุโบสถวัดบวรนิเวศ โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธี สมเด็จญาณสังวร เป็นประธานพิธีนั่งปรกอธิษฐานจิต ได้อาราธนาพระเถระ 36 รูปนั่งปรกอธิษฐานจิตดังนี้
- พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศน์
- หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง
- หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม
- หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส
- หลวงพ่อเหรียญ วัดบางระโหง
- หลวงพ่อกล้วย วัดหมูดุด
- หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา
- หลวง่อสง่า วัดหนองม่วง
- หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ
- หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
- หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม
- หลวงพ่อลัด วัดหนองกระบอก
- หลวงพ่อพล วัดหนองคณฑี
เป็นต้น
พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ 2 วันที่ 21-22 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ตรงกับวันวิสาขบูชา ประกอบพิธี ณ อุโบสถวัดบวรนิเวศ สมเด็จญาณสังวร ทรงอธิษฐานจิตเดี่ยว
พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ 3 วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2530 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในการประกอบพิธีครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์มหาเถระ) วัดราชบพิตร เสด็จจุดเทียนชัย สมเด็จพระญาณสังวร เป็นองค์ประธานในพิธีอธิษฐานจิต ร่วมกับพระคณาจารย์อีก 18 รูปเช่น
- สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศ
- พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดพิชัยญาติการาม
- หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
- หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม
- หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธินิมิต
- หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม
- หลวงพ่อพุธ ว้ดป่าสาลวัน
- หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
- หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว
- หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง
- หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม
เป็นต้น
จำนวนพระที่สร้าง กำหนดการสร้างพระกริ่งและชัยวัฒน์ปวเรศ จำนวน 25,000 ชุดส่วนที่เหลือคงไว้เป็นช่อ โค้ดที่อยูด้านหลังพระกริ่งเป็นเลข ๙ ไทยหรือตัวอุณาดลมอยู่บนเลข๕ไทย พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ปวเรศ ปี 2530 เป็นพระที่ทรงคุณค่ายิ่ง เพราะเกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยตรง เพราะภายในบรรจุมวลสารจิตรลดาและเส้นพระเจ้าพระราชทาน นับเป็นสุดยอดพระกริ่งอย่างแท้จริง
พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ปี 2530 เฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 5 รอบ
พระกริ่งปวเรศ ๓๐ ซึ่งเป็นคำเรียกสั้นๆ ง่ายๆ ของ พระกริ่งปวเรศ รุ่น ๒ ที่จัดสร้างขึ้นโดย วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี ๒๕๓๐ ชั่วโมงนี้ มีการเช่าหาบูชาพระกริ่งรุ่นนี้กันอย่างกว้างขวาง มีวงเงินหมุนเวียนหลายสิบล้านบาทเลยทีเดียว ส่วนหนึ่งของกระแสความศรัทธาเลื่อมใสใน พระกริ่งปวเรศ ๓๐ มาจากพิธีเฉลิมฉลองในโอกาสมหามงคลทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ พสกนิกรชาวไทยต่างพากันสะสมของที่ระลึกทุกอย่างอันเกี่ยวเนื่องกับพระองค์ รวมทั้ง พระกริ่งปวเรศ ๓๐ รุ่นนี้ด้วย เพราะเป็นพระกริ่งที่ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้น เนื่องในโอกาสมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ (๖๐ พรรษา) เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
นอกจากนี้ ล้นเกล้าฯ ยังได้เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อปฐมมหามงคลฤกษ์ ณ บริเวณพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๒๘ จึงนับได้ว่า พระกริ่งปวเรศ 30 รุ่นนี้มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยตรง
พระกริ่งปวเรศ ที่ทรงประกอบพิธีเททองหล่อในวันนั้น มีจำนวน ๑๐ ช่อ ใน ๑ ช่อมีพระกริ่ง ๒๑ องค์ นอกจากนี้ยังมี พระชัยวัฒน์ปวเรศ อีก ๑๐ ช่อ ใน ๑ ช่อมีพระชัยวัฒน์ ๓๑ องค์ หลังจากนั้น ทางวัดนำก้านชนวนของพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ทั้ง ๒๐ ช่อนี้ไปเป็น ชนวน หล่อหลอมกับเนื้อนวโลหะมงคลอีกจำนวนมาก เพื่อใช้ในการเททองหล่อพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ต่อไป จนครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ คือ ๒๕,๓๐๐ ชุด ประกอบด้วย พระกริ่ง ๒๕,๓๐๐ องค์ พระชัยวัฒน์ ๒๕,๓๐๐ องค์ (และมีเผื่อเสียอีกจำนวนหนึ่ง) พระกริ่งพระชัยวัฒน์ที่หล่อในเวลาต่อมานั้น เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) เป็นผู้ประกอบพิธีเททองหล่อติดต่อกันถึง ๙ วัน คือตั้งแต่วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์-๗ มีนาคม ๒๕๒๙ โดยมี พระอมรโมลี (เจ้าคุณอมรฯ สมณศักดิ์ในขณะนั้น ปัจจุบันคือ พระพรหมมุนี) เป็นผู้ควบคุมดูแลการหล่อพระ อาจารย์กิจจา วาจาสัจ เป็นผู้ดำเนินงาน และ ช่างประสิทธิ์ พรหมรักษ์ เป็นหัวหน้าคณะทำงานหล่อพระทั้งหมด
พระกริ่งพระชัยวัฒน์รุ่นนี้เป็นการเททองหล่อแบบดินไทย ซึ่งเป็นกรรมวิธีแบบโบราณ จึงมีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมาก และเสียเวลากว่าการสร้างพระกริ่งสมัยใหม่ ที่สร้างด้วยวิธีฉีดเนื้อโลหะเหลวใส่แม่พิมพ์ ซึ่งต้องทำกันที่โรงงาน พระกริ่งพระชัยวัฒน์ ที่สร้างด้วยวิธีหล่อแบบโบราณ จะได้องค์พระที่ไม่สวยคมชัดไปทั่วทั้งหมด ผิวพระบางองค์จะมีรูพรุนมากบ้างน้อยบ้าง จึงต้องมีการตกแต่งด้วยตะไบ ซึ่งทางวัดได้กำหนดให้คณะช่างที่ตกแต่งองค์พระ รวมทั้งการบรรจุ เส้นพระเจ้า ผงจิตรลดา ที่ได้รับพระราชทาน และ เม็ดกริ่ง ภายในวัดทั้งหมด โดยได้จัดห้องทำงานไว้ต่างหาก ห้ามไม่ให้ช่างนำองค์พระกลับไปตกแต่งที่บ้านโดยเด็ดขาด และเมื่อมีการเข้าออกห้องทำงาน จะมีการตรวจตราเป็นพิเศษอีกด้วย เมื่องานตกแต่งองค์พระเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางวัดได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งปวเรศขึ้นถึง ๓ ครั้งด้วยกัน คือ
ครั้งที่ ๑ วันเสาร์ที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๙ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธี และสมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานพิธีอธิษฐานจิต มีพระคณาจารย์หลายท่านร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต
ครั้งที่ ๒ พิธีวันวิสาขบูชา วันพุธที่ ๒๑ และวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานในพิธี
ครั้งที่ ๓ พิธีพุทธาภิเษกอย่างเป็นทางการ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันอาทิตย์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธี สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) วัดราชบพิธฯ ทรงจุดเทียนชัย สมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานพิธีอธิษฐานจิต ร่วมกับพระภาวนาจารย์อีก ๓๖ รูป จากภาคต่างๆ ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต
เมื่อเสร็จพิธีทั้งหมดแล้ว ทางวัดได้นำพระกริ่งพระชัยวัฒน์ ออกให้ศรัทธาสาธุชนทำบุญเช่าบูชาเป็นการกุศล ชุดละ ๕,๐๐๐ บาท ใน ๑ ชุดจะมีพระกริ่ง ๑ องค์ และพระชัยวัฒน์ ๑ องค์
พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ปวเรศปี ๒๕๓๐ (ต่อจากฉบับที่แล้ว) หลังจากทราบพระบรมราชวินิจฉัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีพระราชกระ แสรับสั่งว่า “พระกริ่งปวเรศที่จำลองขึ้นมาในครั้งนี้ ขอให้ทำให้แม้นแต่อย่าให้เหมือน” ที่ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ได้อัญเชิญมาแล้ว อาจารย์กิจจา พร้อมคณะกรรมการฯ จึงรับด้วยเกล้าฯ ด้วยการนำ “องค์ต้นแบบ” มาแก้ไขและตกแต่งรายละเอียดให้ “แตกต่างจากองค์ดั้งเดิม” โดยเฉพาะบริเวณ “พระพักตร์และข้อพระบาทขวา” ที่มีขนาด “เล็กกว่าองค์ดั้งเดิม” อยู่แล้วเนื่องจากการนำพิมพ์ต้นแบบไป “ถอดพิมพ์ด้วยยาง” ขนาดจึงเล็กลงไปตามแบบอย่างของการ “ถอดพิมพ์ทั่ว ๆ ไป” โดยการแก้ไขและตกแต่งใหม่สำเร็จบริบูรณ์ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ นับเป็นการดำเนินการที่รวดเร็วแต่ประณีตทางด้าน “พระชัยวัฒน์” นั้น อาจารย์กิจจา ได้มอบหมายให้ปฏิมากรรม มนตรี (นายช่างมาลี) พัฒนางกูร แห่ง “aพัฒนช่าง” ผู้เคยฝากฝีมืออันเลื่องลือในด้านปั้นพิมพ์พระได้อย่างสวยงามมามากมายหลาย รุ่นแล้ว (ดังได้กล่าวมาแล้วเมื่อครั้งที่นำเสนอเรื่องของพระกริ่ง 7 รอบ) และ นายช่างมนตรี ก็มิได้ทิ้งฝีมือเชิงช่างผู้ชำนาญเลยได้ทำการ “ขึ้นต้นแบบ” จากภาพถ่ายของ “พระกริ่งปวเรศองค์ดั้งเดิม” และสามารถย่อส่วนพระกริ่งปวเรศองค์ดั้งเดิมให้มี “ขนาดเล็ก” ที่หน้าตักกว้างเพียง ๑ ซม. พร้อมถ่ายทอดรายละเอียดจากองค์จริงได้ครบถ้วนเช่นกัน
เมื่อทำการ “ถอดแบบพิมพ์” เป็นที่พอใจของทุกฝ่ายแล้วขั้นตอนต่อไปก็คือการ “เข้าหุ่นเทียนด้วยดินไทย” ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลโดย อาจารย์กิจจา ก็มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะเช่นกันดังนั้นการทำงานจึงใช้ “บริเวณบ้าน” ของ อาจารย์กิจจา ที่ เจริญพาศน์ เริ่มตั้งแต่การฉีดขี้ผึ้งเข้าแม่พิมพ์ยางทั้ง “พระกริ่งและพระชัยวัฒน์” แล้วนำหุ่นขี้ผึ้งมาคัด “คุณภาพ” หากไม่สวยงามก็นำไปฉีดใหม่แล้วทำการตกแต่งเอา “ฉลาบตามตะเข็บพิมพ์ออก” ก่อนติดหุ่นเทียนเข้ากับก้านชนวนที่เป็นเทียนหรือขี้ผึ้ง เสร็จแล้วนำ “มูลโคมานวดผสมกับดินนวล” แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อสำหรับ “ทาหุ่นเทียน” ลองคิดดูก็แล้วกันว่าพระจำนวนมากถึง ๖๐,๐๐๐ กว่าองค์ (รวมเผื่อเสีย) กลิ่นมูลโคจะส่งกลิ่นเพียงใดดังนั้นงานระดับนี้จะทำกันแค่คนสองคนย่อมไม่ ทันการ จึงต้องว่าจ้างคนงานนับร้อยคนมาช่วยกันทำงานเพื่อให้เสร็จทันกำหนดโดย อาจารย์กิจจา เล่าเหตุการณ์ในตอนนั้นในเชิงตลกว่า “สรรพากรเขต” และ “แรงงานเขต” ต้องแวะมาเยี่ยมเยือนถึงที่บ้านเจริญพาศน์ในชุด “เครื่องแบบเต็มยศ” กันเลยแต่พอทราบความจริงว่าคนงานเหล่านี้มาช่วยกันทำงาน “เพื่อสิ่งใดแล้ว” บรรดาข้าราชการผู้รักหน้าที่ดังกล่าวก็เข้าใจเพราะขั้นตอนการทำงานช่วงนี้ ต้องให้ “ความสำคัญ” ไม่น้อยไปกว่าขั้นตอนการประกอบพิธี “เททองหล่อพระ” เช่นกันคือนับตั้งแต่การหา “ดินนวลมาผสมมูลโค” ก็ต้องใช้ทั้ง “ดินละเอียดและดินหยาบ” พร้อมการ “ปั้นปากจอกผูกลวด ฯลฯ” โดยขั้นตอนเรื่องนี้ “ผู้เขียน” เคยไปขอเรียนเพื่อเป็นความรู้จากท่านอาจารย์มาก่อน จึงพอจะเข้าใจขั้นตอนการทำงานว่า “ยากลำบากเอาการ” ต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วนจึงจะทำให้การ “เททองหล่อแบบโบราณ” สำเร็จลุล่วงด้วยดี
สำหรับ “ช่างหล่อพระ” ก็เช่นกันท่านอาจารย์กิจจามีหน้าที่รับผิดชอบในการหาช่างที่มีความเชี่ยวชาญ แม้ว่าช่วงนั้นในยุทธจักรช่างหล่อพระจะมีช่างอยู่หลายสำนัก แต่สำหรับงานใหญ่ระดับชาติที่มีความเกี่ยวข้องกับ “พระมหากษัตริย์” ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐยิ่งของปวงชนชาวไทยท่านอาจารย์กิจจาจึงได้กำหนด “คุณสมบัติของช่าง” ที่จะมาร่วมประกอบพิธีเททองในโอกาสพิเศษดังนี้ ๑.ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต (เป็นประการสำคัญที่สุด) ๒.มีผลงานในอดีตเป็นที่ยอมรับ ๓.มีความเข้าใจในพิธีกรรมและขั้นตอนการเททองหล่อพระ ๔.มีใจรักงานศิลปะและมีความขยันขันแข็งและอดทน
ท่านอาจารย์กิจจา ได้นำรายชื่อช่างหล่อแต่ละสำนักเสนอต่อที่ประชุมโดยใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าว ข้างต้น ซึ่งคณะกรรมการได้ใช้ระยะเวลาพอสมควรในการ “คัดเลือกช่าง” ที่จะมา “ทำงานใหญ่และสำคัญ” นี้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อันสำคัญยิ่งโดยท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณสังวรฯ ในฐานะองค์ประธานคณะกรรมการได้ทรงคัดเลือกทีมงานช่างที่ดำเนินการหล่อ “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ภ.ป.ร. ๕๐ ปีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๗” ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯทรงเป็นที่ปรึกษาฝ่ายบรรพชิตในการจัดสร้าง “วัตถุมงคล ภ.ป.ร” ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกแห่งการสถาปนา “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบ ๕๐ ปี” เนื่องจากทรงเคยเห็นผลงานของช่างกลุ่มนี้มาก่อนแล้วว่าฝีมือเป็นที่เชื่อ ถือได้เพราะนำทีมโดย นายช่างประสิทธิ์ พรหมรักษ์-นายช่างถนอม ทองอินทร์-นายช่างเรืองศักดิ์ โดยได้เรียกช่างกลุ่มนี้มาชี้แจงทำความเข้าใจและลงมือสัญญารับงานตั้งแต่ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ และท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้ทรงให้ อาจารย์กิจจา ช่วยควบคุมดูแลอย่าให้มีขั้นตอนรั่วไหลเรื่องนี้ อาจารย์กิจจา ยอมรับว่าหนักใจไม่น้อยเลยแต่ก็เต็มใจปฏิบัติตามที่ได้รับมอบหมาย แม้จะเป็นงานบุญงานกุศลที่หนักที่สุดในชีวิตแต่เมื่องานสำเร็จลุล่วงแล้ว อาจารย์กิจจาฯ ก็อดที่จะภาคภูมิใจไม่ได้เพราะงานครั้งนั้นถือเป็นงานที่เหน็ดเหนื่อยที่ สุดในชีวิตการหล่อพระ
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน7,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 30 ส.ค. 2565 - 15:05:39 น.
วันปิดประมูล - 04 ก.ย. 2565 - 15:11:41 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลTiktony (951)(1)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 30 ส.ค. 2565 - 15:06:23 น.



ด้านหลัง ออกบัตรเองลด 600 ออกบัตรให้เพิ่ม 100


 
ราคาปัจจุบัน :     7,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    korn88 (5.6K)

 

Copyright ©G-PRA.COM