(0)
พระก้าวหน้า (เศรษฐีนวโกฏิ) หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว วัดสันติวิเวกปลุกเสก ปี 2552 ผู้บูชาเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย เพราะเสกในฤกษ์มหาเศรษฐี พร้อมกล่องเดิม








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระก้าวหน้า (เศรษฐีนวโกฏิ) หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว วัดสันติวิเวกปลุกเสก ปี 2552 ผู้บูชาเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย เพราะเสกในฤกษ์มหาเศรษฐี พร้อมกล่องเดิม
รายละเอียดพระก้าวหน้า (เศรษฐีนวโกฏิ) หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว วัดสันติวิเวกปลุกเสก ปี 2552 ผู้บูชาเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย เพราะเสกในฤกษ์มหาเศรษฐี พร้อมกล่องเดิม

ตำนานพระเศรษฐีนวโกฎิ
พระเครื่องรูปแบบแปลกตา ที่เล่าลือกันว่า มีคุณวิเศษด้านโภคทรัพย์อย่างยิ่ง

พระอะไร ทำไม ต้องมีถึง เก้าหน้า ? แต่ละหน้า หมายถึงอะไร ?
พระเศรษฐีนวโกฎิ เขาสร้างกันอย่างไร เขาบูชากันอย่างไร ถึงเห็นผลกันเร็วนัก ?

จะถือว่า เป็นพระซุ้มกอ ของบรรดาพระกริ่ง พระรูปหล่อ ได้หรือไม่ ?
สมัยที่ผู้เขียนเริ่มสนใจพระเครื่องใหม่ๆเมื่อ15 – 16ปีก่อน ได้เคยอ่านหนังสือที่เขาเผยแพร่ข่าววัตถุมงคลข่าวหนึ่ง รู้สึกว่า แปลก และติดตา ตรึงใจ มาจนถึงทุกวันนี้ นั่นคือข่าวการให้บูชาพระก้าวหน้า วัดไทรยืน( วัดนี้ จำไม่ได้เสียแล้วว่าอยู่ที่ไหน )แต่ที่จำได้แม่นยำคือเห็นพระกริ่งที่มีรูปร่างเป็นพระพุทธเจ้านี่แหละ แต่มีหน้า(หรือ พระพักตร์)รอบคอเต็มไปหมด ตอนนั้นหนังสือพระ เขาเรียกว่า"พระก้าวหน้า" โดยบรรยายคุณวิเศษว่า"บูชาพระเก้าหน้าแล้ว ชีวิตจะก้าวหน้า" พ้องตามชื่อพระ ผู้เขียนในขณะนั้น นึกตำหนิในใจว่าพระแบบนี้ ผู้สร้างคงจะพิเรนท์ ออกแบบ และสร้างเองตามใจชอบเป็นแน่ ก็ไม่ได้นึกอยากจะบูชาไว้เป็นเจ้าของเลย แต่ก็ยังจำพระแบบที่มี 9 พระพักตร์ได้อยู่ตลอดเวลา

ต่อมาเมื่อได้ศึกษาประวัติพระมากขึ้น ศึกษาการสร้างพระมากขึ้นจึงได้พบว่าพระที่มีเก้าพระพักตร์แบบนี้ โบราณเขามีสร้างกันจริง และเป็นวิชาชั้นสูงในการสร้างพระ เขาเรียกว่า"พระนวโกฎิ หรือ พระเศรษฐีนวโกฎิ" คำว่า"นวโกฏิ"นั้นเป็นคำสนธิมาจากคำว่า นวะ(ที่แปลว่า เก้า + กับ คำว่า โกฎิ ซึ่งหมายถึงจำนวนนับ อันเป็นจำนวนมากมายมหาศาล ไม่รู้จบสิ้น เมื่อนำมารวมกัน กับคำว่า พระกริ่งแล้ว ย่อมหมายถึงพระกริ่งที่นำพาหรือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดทรัพย์สินที่มีมากมาย ไม่รู้จักหมดสิ้นนั่นเอง รวมความแล้วก็คือพระกริ่งที่อุดม ด้านเจริญโภคทรัพย์ อย่างมหาศาล ไม่จบสิ้น หรือ อินฟินิตี้ ของฝรั่งนั่นแล

ตำราการสร้างพระกริ่งเศรษฐีนวโกฎินั้น มาจากที่ใดไม่ปรากฏ แต่สันนิฐานกันว่าเป็นพระที่พระเถราจารย์ชาวรามัญโบราณสร้างไว้ โดยสมัยก่อนอาจใช้ไม้มาแกะเป็นพระเก้าหน้าแทนการหล่อด้วยโลหะ เพราะในวงการเคยพบพระไม้แกะเป็นรูปพระเก้าหน้า หรือพระนวโกฎิมาจากเมืองมอญ ไม้ที่ใช้แกะพระนวโกฎินั้นมีด้วยกันหลายชนิด ที่นิยม เช่น ไม้ขนุน ไม้จิก หรือไม้เนื้อแข็งอย่างสักและประดู่แดง พระเศรษฐีนวโกฎิตามตำรามอญนั้นเคยได้ยินคนแก่ชาวมอญปทุมเขาเล่าให้ฟังว่า ที่ใต้ฐานพระจะเจาะให้เป็นรู เพื่ออุดของมงคลจำพวก ตะกรุดทองคำ พระบรมสารีริกธาตุ หรือพระธาตุ พระสิวลี แทนก็ได้ และจะอุดรูด้วยชันโรง หรือผงวิเศษ ของพระอาจารย์เจ้าผู้สร้าง (พระเถราจารย์ชาวมอญ ยังมีตำราการสร้างพระเครื่องชั้นยอดอีกอย่างที่เรียกว่า พระอาหาร กล่าวคือ ในขณะกระทำภัตรกิจ หากอาหารคำใดที่ฉันเข้าไปแล้วมีรสชาติหวานอร่อยลิ้น พระเถราจารย์ผู้เคร่งครัด ในพระธรรมวินัย ชาวรามัญจะคายข้าวคำอร่อยคำนั้นใส่มือทันที และจะนำข้าวคำอร่อยมาตากแดดให้แห้งเก็บสะสมไว้ เมื่อได้จำนวนมากขึ้นแล้ว ก็จะนำมาตำบดให้ละเอียดเพื่อผสมเป็นมวลสารสร้างพระต่อไป พระที่สร้างได้นี้ เขาเรียกว่า พระอาหาร มีคุณวิเศษคือเมื่อสร้างเป็นองค์พระแล้ว ปลุกเสกด้วย บทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณแล้ว จะมีคุณด้านโภคทรัพย์ ไม่อดอยาก ในเรื่องอาหาร การกินเลย ไม่อดอยากในเรื่องทรัพย์สินเงินทองเลย ผมทราบมาว่า หลวงพ่ออุตตมะ ที่เพิ่งมรณะภาพนี้ ท่านก็เคยสร้างพระอาหารไว้เหมือนกัน รู้สึกจะสร้างไว้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น )

ต่อมาเมื่อคติการสร้างพระกริ่งในเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชแพ แห่งวัดสุทัศน์ได้แพร่หลายไปสู่วัดต่างๆ การสร้างพระกริ่ง ในชั้นหลังจึงพยายามกระทำพิธีกรรมตามแบบสมเด็จพระสังฆราชแพทั้งสิ้น คือมีการจารอักขระ แผ่นยันต์ต่างๆ สุมหุ่นและพิธีเททองหล่อพระ การสร้างพระกริ่งเศรษฐีนวโกฎิก็เช่นกัน พระอาจารย์ผู้สร้างได้ดัดแปลงเอาส่วนดีของการสร้างพระกริ่งมาใช้ในการสร้างพระเศรษฐีนวโกฎิ เพียงแต่แผ่นยันต์ในการสร้างพระเศรษฐีนวโกฎินั้นจำต้องใช้พระยันต์เฉพาะในด้านโภคทรัยพ์มาเสริมเพิ่มเติมให้ขลังขึ้นเท่านั้น

การบูชา พระเศรษฐีนวโกฎิ ให้ได้ผลดีนั้น ท่านผู้ศรัทธา พึงปฎิบัติดังนี้

คาถาบูชาพระเศรษฐีนวโกฎิ
พระคาถาบูชาพระ ว่าดังนี้ ตั้งนะโม 3 จบ
มาขะโย มาวะโย มัยหัง มาจะโกจิ อุปัททะโว
ธัญญะ ธารานิ ปะวัสสันตุ ธนัญชัย ยัสสะ ยะถาคะเร
สุวัณณานิ หิรัญญาจะ สัพพะโภคา จะ รัตตะนา
ปะวัสสันตุ เม เอวังคะเร สุมะนะ ชะฎิสัสสะ จะ
อะนาถะบิณฑิกะ เมทะ กัสสะ โชติกะ สุมังคะ สัสสะ จะ
มัณฑาตุ เวสสันตะ รัสสะ ปะวัสสันติ ยะถาคะเร
เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ สัพพะ สิทธิ ภะวัน ตุ เม

พระคาถานี้ เดิมที เป็นของเจ้าประคุณ พระอุบาลี คุณูปรมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) อดีตเจ้าอาวาส วัดบรมนิวาส เป็นพระคาถาบูชาพระเศรษฐีนวโกฎิในอันที่จะบรรดาลให้เกิดโชคลาภ สิริ มงคล ท่านให้ภาวนาพระคาถานี้ บูชาเถิด ปรารถนา อธิฐานเอาสิ่งใด จะได้สมดังความตั้งใจ
หากทำการค้าขาย ก่อนเปิดร้าน ให้อาราธนาพระนวโกฎิ ด้วยพระคาถานี้ ครบ 3 จบ ด้วยใจมั่นแล จะค้าขายดี มีเงินทองมากมาย ไม่นานจะเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐีแล

อนึ่งถ้ามีทุกข์ ภัย ให้อาราธนาพระเศรษฐีนวโกฎินี้ ลงสรงน้ำ อาราถนาให้น้ำกลายเป็นน้ำพระพุทธมนต์ สวดพระคาถานี้ 9 จบ เอาน้ำรด อาบ กิน ทุกข์จะโยก โศกจะหมด เคราะห์กรรม จะคลาย มลายสิ้นไป จะบันดาลความสุขสวัสดิ์ และโชคลาภมาให้
เมื่อถึงวันเถลิงศก คือ วันที่ 15 เมษายน ของทุก ๆ ปี จึงให้จัดหาดอกไม้ขาว 9 กระทง เช่น ดอกมะลิ ข้าวตอก 9 กระทง อาหารคาว หวาน 9 อย่าง ธูป 9 ดอก เทียน 9 เล่ม จุดบูชา พระนวโกฎินี้ แล้วสวดคาถานี้ ให้ได้ 9 จบ นิมนต์พระสรงน้ำ ขออาราธนาทำเป็นน้ำพระพุทธมนต์ เอามาอาบกิน ประพรมบ้านเรือน เรือกสวน ไร่นา บริวาร ทั้งหลาย จะอยู่เย็น เป็นสุข ตลอดทั้งปี แล
พระนวโกฎินี้ ใครหมั่นอาราธนา พร้อมสวดพระคาถาบูชาอยู่เป็นเนืองนิตย์ จะไม่รู้ยากจนเลย และหากยังมั่นคงใน ศีล 5 หนักแน่นเท่าใด จะยิ่งบริบูรณ์ เพิ่มพูนขึ้นทุกวัน แล
หากท่านยังไม่มีพระเศรษฐีนวโกฎิ ไว้บูชา ก็ให้ว่าพระคาถา ข้างต้นนี้ สวดให้บ่อย ๆ ก็ใช้ได้นะครับ อ้อ แล้วอีกอย่างหนึ่ง เคล็ดลับในการบูชาพระที่มีคุณวิเศษด้านโชคลาภ ร่ำรวยนั้น ท่านต้องเป็นคนทำบุญ ทำทานสักหน่อย เรียกว่า มีอารมณ์ในการอยากบริจาค จาคะทาน อยู่เป็นเนืองนิจ มาก ก็ได้ น้อย ก็ได้ ไม่ว่ากัน แต่ยิ่งทำมากเท่าไร ยิ่งได้คืนมากเท่านั้น
ราคาเปิดประมูล90 บาท
ราคาปัจจุบัน100 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 19 ต.ค. 2564 - 15:13:13 น.
วันปิดประมูล - 20 ต.ค. 2564 - 17:05:38 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลphicha (427)(1)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     100 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    cunchit (3.4K)

 

Copyright ©G-PRA.COM