(0)
พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ฯ ปี2506พร้อมรอยจารใต้ฐาน ตอกโค้ตมิด้านหลังที่ฐาน








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ฯ ปี2506พร้อมรอยจารใต้ฐาน ตอกโค้ตมิด้านหลังที่ฐาน
รายละเอียดพระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ฯ ปี2506พร้อมรอยจารใต้ฐาน ตอกโค้ตมิด้านหลังที่ฐาน หากย้อนไปมองพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ที่สร้างขึ้นในเมืองไทย จะพบว่า พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ สายสำนักวัดสุทัศนเทพวราราม มีความโดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง นับเนื่องแต่องค์สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) ที่ทรงสร้างพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ขึ้นมาแล้ว วัดสุทัศนเทพวรารามยังมีลูกศิษย์ที่สืบสานการสร้างต่อๆ มา ไม่ว่าจะเป็น พระมงคลราชมุนี (สนธิ์ ยติธโร) ที่นักสะสมพระเครื่องคงคุ้นอยู่กับชื่อสมณศักดิ์ท่านที่ "พระศรีสัจจญาณมุนี" และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ)

เหตุที่ดำเนินการสร้างพระกริ่งนั้น ด้วยในระหว่างนั้นสภาพของทางวัดสุทัศนเทพวรารามชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก ประกอบกับสภาพวัดที่ใหญ่โต หากบูรณะก็ต้องใช้เงินมิใช่น้อย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) จึงได้จัดสร้างพระกริ่งตามแบบองค์พระอุปัชฌาย์ คือ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) ขึ้น มวลสารพระกริ่งรุ่นนี้ ผสมโลหะกริ่งเก่าๆมวลสารพระกริ่งเก่าๆ ของพระสังฆราชแพและชนวนกริ่งเจ้าคุณศรีสนธิ์เป็นจำนวนมากสังเกตได้จากมวลสารที่ปรากฎ

เมื่อประกอบพิธีเททองพระกริ่งตามตำรับวัดสุทัศน์ฯ เสร็จสิ้นเป็นองค์พระแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์(เสงี่ยม) ได้จัดการส่งพระกริ่งทั้งหมดนี้ไปยังพระ คณาจารย์ต่างๆ เช่น หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ให้ทำการปลุกเสกลงเลขยันต์ที่ก้นขององค์พระกริ่งแทบทุกองค์รวมทั้งหลวงปู่ดู่ที่เมตตาจารเป็นยันต์กอหญ้าให้ด้วย เป็นเวลาทั้งสิ้นปีเต็ม แล้วจึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้งภายในพระอุโบสถของวัดสุทัศน์ฯ เป็นเวลาสามวันสามคืน โดยมีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงเข้านั่งปรกปลุกเสกจำนวนกว่า ๔๐ รูป อาทิเช่น
๑. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
๒.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
๓.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
๔.หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม
๕.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง
๖. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
๗.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ
๘.หลวงพ่อถิร์ วัดป่าเลไลยก์
๙.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
๑๐.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
๑๑.หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
๑๒.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง
๑๓.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
๑๔.พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
๑๕.หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม
๑๖.หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน
๑๗.หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธินิมิต
๑๘.หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์
๑๙.หลวงปู่นาค วัดระฆัง ฯลฯ
เป็นต้น

กระแสเนื้อเดิมเป็นสีจำปาออกนากกลับดำ และมีรอยจารที่ฐานชั้นล่างเกือบจะทุกองค์ด้วย องค์ที่ประมูลนี้เป็นจารยันต์กอหญ้าของหลวงปู่ดู่ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

แค่จารหลวงปู่ดู่นี่ก็สุดคุ้มแล้ว หลวงปู่จารไปบริกรรมไป

พระกริ่งหลังปิบางส่วนที่ยังคงเหลือได้เก็บไว้ในพระอุโบสถ บางส่วนที่ยังไม่ได้ตัดก้านชนวน ก็เก็บไว้ทั้งก้าน ต่อเมื่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) มรณภาพลงเมื่อปี พ.ศ.2526 ทางมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ได้รับอนุญาตจากคณะสงฆ์ให้นำพระกริ่งหลังปิ ออกจากพระอุโบสถมาให้ประชาชนเช่าบูชาอีกครั้งหนึ่ง ในส่วนของพระกริ่งที่ยังไม่ได้ตัดจากก้าน ทางมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ได้ตัดแต่งแล้วตอกโค้ตตัวปิ ที่ทำขึ้นใหม่มาตอก แล้วนำไปให้พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม อธิษฐานจิตปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง

พระกริ่งดังกล่าวเป็นพระเครื่องที่ดี เนื่องจากเหตุผลหลาย ประการ

๑.พระกริ่งหลังปิสร้างด้วยเนื้อนวโลหะกลับดำสวยงามเป็นเนื้อนวโลหะแท้ของ ตระกูลวัดสุทัศน์ฯโดยตรงและท่านผู้สร้างก็เป็นศิษย์สายตรงของสมเด็จพระ สังฆราช(แพ)โดยเป็นพระปลัดขวาของสมเด็จฯ

๒.เนื้อหาชนวนดี พระกริ่งรุ่นนี้ได้ชนวนทุกรุ่นของสมเด็จสังฆราช(แพ)รวมกับชนวนของท่านเจ้า คุณศรีสัจจญาณมุนี(สนธิ์) ซึ่งสมเด็จพุฒาจารย์ได้นำลงมาจากพระตำหนักของสมเด็จสังฆราชด้วยตนเอง พร้อมได้รับเพิ่มเติมจากท่านเจ้าคุณแป๊ะ(พระราชวิสุทธาจารย์) เจ้าคณะ๖ ผู้เป็นอดีตคนรับใช้ใกล้ชิดของสมเด็จพระสังฆราช(แพ)อีกเป็นจำนวนมาก กล่าวได้ว่าเป็นพระกริ่งรุ่นสุดท้ายที่มีการผสมชนวนของเก่าไว้อย่างมากมาย

๓.บรรจุกริ่งพร้อมผงวิเศษ เมื่อเททองเป็นองค์พระและตัดออกมาแล้ว ยังได้ทำการบรรจุเม็ดกริ่งพร้อมกับผงวิเศษของสมเด็จพระสังฆราช(แพ) ทำให้กริ่งรุ่นนี้ไม่ค่อยมีเสียงดังเมื่อเขย่า

๔. เมื่อพระกริ่งเสร็จสิ้นเป็นองค์พระแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์(เสงี่ยม)ยังได้จัดการส่งพระกริ่งทั้งหมดนี้ไปยังพระ คณาจารย์ต่างๆ เช่นหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ,หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี,หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ให้ทำการปลุกเสกลงเลขยันต์ที่ก้นขององค์พระกริ่งแทบทุกองค์ด้วยเป็นเวลาทั้ง สิ้นปีเต็มแล้วจึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถของวัดสุทัศน์ฯเมื่อวัน ที่ ๖-๗-๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๘ เป็นเวลาสามวันสามคืน โดยมีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงเข้านั่งปรกปลุกเสกจำนวนกว่า ๔๐ รูป
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน4,150 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 27 ส.ค. 2564 - 16:06:53 น.
วันปิดประมูล - 28 ส.ค. 2564 - 18:26:03 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลอี๊ดเมืองเลย (3.6K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     4,150 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Owthapra (789)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM