(0)
พระนางกำแพง อู่ทอง เนื้อดิน กรุเจดีย์กลางทุ่ง ลานทุ่งมหาเศรษฐี จ.กำแพงเพชร เนื้อดำผ้าน หายาก สวยๆ พร้อมบัตรรับรองการันตีพระ







ชื่อพระเครื่องพระนางกำแพง อู่ทอง เนื้อดิน กรุเจดีย์กลางทุ่ง ลานทุ่งมหาเศรษฐี จ.กำแพงเพชร เนื้อดำผ้าน หายาก สวยๆ พร้อมบัตรรับรองการันตีพระ
รายละเอียดพระนางกำแพง อู่ทอง เนื้อดิน กรุเจดีย์กลางทุ่ง ลานทุ่งมหาเศรษฐี จ.กำแพงเพชร เนื้อดำผ้าน หายาก สวยๆ มีบัตรรับรองการันตีพระ

องค์นี้ มีคราบกรุยังครบเดิมๆ ดูง่าย พระสกุลกำแพง เนื้อดำ จะหายากมากครับ สวยๆราคาไปหลายๆหมื่นครับ

จำนวนกรุต่างๆในจังหวัดกำแพงเพชรตามประวัติรวบรวมได้ประมาณ 53 กรุ จะมีกรุทุ่งเศรษฐีรวมอยู่ด้วยมีจำนวน 9 กรุ วิธีการแบ่งกรุโดยทั่วไปอาศัยเส้นลำน้ำแม่ปิงเป็นหลัก แนวลำน้ำแม่ปิงไหลจากเหนือลงใต้ ให้นับทางฝั่งขวาของลำน้ำซึ่งเป็นทุ่งกว้างอยู่ตรงข้ามตัวเมืองกำแพงเพชร เรียกว่าทุ่งเศรษฐี

กรุทุ่งเศรษฐี ( 9 กรุ)ประกอบด้วย
1)วัดพระบรมธาตุ
2)วัดหนองพิกุล (นิยมเรียกสั้นๆว่า วัดพิกุล)
3)วัดซุ้มกอ หรือ นาตาคำ
4)บ้านเศรษฐี
5)วัดฤาษี
6)วัดน้อย หรือ ซุ้มกอดำ
7)วัดหนองลังกา
8)วัดเจดีย์กลางทุ่ง
9)วัดหัวยาง

พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงิน ในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๒ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ
ที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชรมีอยู่ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพร ะ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระกำแพงเพชรนั้นสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท
เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะได้ทรงรับสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๕ แห่งราชวงศ์สุโขทัยและ ปลุกเสกโดยพระฤๅษี ดังนั้นอายุการสร้างของพระกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ ๗๐๐-๘๐๐ ปี พระกรุเมืองกำแพงเพชรกำเนิดที่พระบรมธาตุนครชุม
จังหวัดกำแพงเพชร เป็นพระเครื่องอันดับหนึ่ง ของเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน พระที่พบในบริเวณทุ่งเศรษฐีนี้ถ้าเป็นพระเนื้อดินเผาแล้วจะมีเนื้อที่ละเอียดอ่อน พุทธลักษณะเป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ พระเครื่องเมืองกำแพงเพชร เริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมกันขึ้นมา ในสมัยของพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕
"พุทธคุณของพระกรุเมืองกำแพงเพชร เน้นหนักทางโภคทรัพย์และ มหานิยม" ผู้ใดมีไว้ในครอบครองจะส่งผลความเจริญก้าวหน้าให้กับชีวิต มีครบเครื่องไม่ว่าเรื่องเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ตลอดจนเรื่องโชคลาภ จนมีคำพูดที่พูดติดปากกันมาแต่โบราณกาลว่า “มีกูแล้วไม่จน” ถ้าไปในที่ต่างๆ อยากกินน้ำ หาน้ำไม่ได้
ท่านให้อาราธนาพระใส่ไว้ในปาก หายอยากน้ำแล ถ้าเอาพระไว้บนศีรษะแล้ว ปืนแลหน้าไม้ยิงมาเป็นห่าฝนก็ไม่ถูกตัวเรา เป็นต้น มีเรื่องเล่าขานต่อๆ กันมาว่า แม้องค์พระจะชำรุดเหลือเพียงครึ่งองค์ หรือแค่เพียงส่วนพระบาทหายไป พุทธคุณพระกำแพง เหล่านี้เชื่อถือกันมาช้านานแล้วตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ฯลฯ

ผู้มีวาสนาได้ครอบครองพระเครื่องเมืองกำแพงฯ มีตำนานเล่าขานกัน มาดังนี้แล ฯ

๑) ก่อนคล้องพระ ให้อาราธนาว่า .. พุทธ สัง มัง คะลัง โล เก ฯ .. พุทธัง อาราธนานัง ธัมมัง อาราธนานัง สังฆัง อาราธนานัง ฯ .. พุทธัง ประสิทธิ เม ธัมมัง ประสิทธิ เม สังฆัง ประสิทธิ เม ฯ แล้ว บริกรรมว่า " อิ ติ ปิ โส ภะ กู รา ติ ฯ " 3 จบ หรือ 7 จบ แล้วตามด้วย " อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ฯ " 3 จบ หรือ 7 จบ จะศักดิ์สิทธิ์ทุกประการแล ฯ

๒.) จะออกผจญข้าศึก ศัตรู หรือ ออกสงคราม ให้ เอาพระใส่น้ำมันหอม หรือน้ำมันงา เสกด้วย นวหรคุณ " อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ฯ " แล้วเอาน้ำมันหอมทาผม จะศักดิ์สิทธิ์ ตามปรารถนาทุกประการแล ฯ

๓) จะให้คงกระพันชาตรี ให้เอาพระสรงน้ำมันหอม แล้วเสกด้วย " อิ ติ ปิ โส ภะ กู รา ติ ฯ " เสก ๓ จบ หรือ ๗ จบ แล้วใส่ในขันสำริด อธิษฐานตามปรารถนาเถิด จะเกิดผลทุกประการ แล ฯ

๔) จะให้เป็นเมตตามหานิยม ใคร่มาตุคาม ให้เอาพระสรงน้ำมันหอมใส่ใบพลูทาตัว จะประสิทธิ์แก่ชนทั้งหลาย แล ฯ

๕) จะให้สง่า เจรจาเป็นที่น่าเกรงขาม เป็นมหาอำนาจ ให้เอาพระใส่น้ำมันหอม แล้วนำน้ำมันหอม ไปหุงขี้ผึ้ง เสกด้วย " อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ฯ " ๗ จบ แล้วใช้ขี้ผึ้งทาปาก

๖) จะให้ค้าขายดี มหานิยม เดินทางไกล ขึ้นรถลงเรือ ให้นมัสการด้วย หัวใจพาหุง " พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ ฯ " แล้ว เอาพระสรงน้ำมันหอม แล้วเสกด้วยพระพุทธคุณ " อิ ติ ปิ โส ภะ กู รา ติ ฯ "๗ จบ จะ ประสิทธิ์ แก่คนทั้งหลายแล ฯ

๗) จะให้สวัสดี สถาพรทุกวัน ให้เอาดอกบัว หรือ ดอกไม้บูชาทุกวัน ปรารถนาสิ่งใดจะสมปรารถนาทุกประการแล ฯ

๘) จะให้ความสูญ ให้เอาพระสรงน้ำมันหอม แล้วเอาด้าย ๑๑ เส้นชุบน้ำมันหอมแล้วนำไปทำไส้เทียนถวายพระ แล้วอธิษฐานตามปรารถนาแล ฯ

๙) ถ้าจะสระหัว ให้เขียนยันต์ไส้เทียนใส่ไส้เทียน ยันต์ตามนี้ ขณะเขียนยันต์ใส่น้ำสระผม ให้บริกรรมคาถาดังนี้
" ทะ ธิ วิ ผะมะ อะ มะ พะ ปะติ พะ มง คุ ฯ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ ฯ "แล้ง เสกด้วยคาถาว่า " นะ โม ฯ ๓ จบ …. แล้วว่า พาหุง " พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ ฯ" แล้วว่า " อิ ติปิโส ภะคะวา มหาเชยยังมังคะลัง " แล้วตามด้วย " นะ มะ นะ อะ นอกอ นะ กะ กอ ออ นอ อะ นะอะกะอัง อุมิ อะมิ มะหิสุตัง สุนะพุทธัง อะสุนะอะ ฯ แล้วว่า " กิริมิทิ กุรุมุทุ กะระมะทะ เกเรเมเท ฯ " เสกแต่ละบทว่า ๓ จบ หรือ ๗ จบ แล ฯ จากนั้นจึงลงมือสระผม แล ฯ
ราคาเปิดประมูล550 บาท
ราคาปัจจุบัน3,850 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 24 พ.ค. 2563 - 20:56:15 น.
วันปิดประมูล - 25 พ.ค. 2563 - 20:59:27 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลเบสท์เมืองพิจิตร (617)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 24 พ.ค. 2563 - 20:57:51 น.



เมืองนครชุม ในช่วงที่เจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในสมัยสุโขทัย มีการสร้างเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือ ทรงดอกบัวตูม ไว้หลายแห่ง อาทิ วัดพระบรมธาตุนครชุม เดิมเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน เจดีย์ที่ บ้านโนนม่วง และเจดีย์ที่วัดเจดีย์กลางทุ่ง ล้วนเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ทั้งสิ้น นอกจากที่นครชุมมีที่วัดวังพระธาตุ นครไตรตรึงษ์ วัดกะโลทัย ท้ายเมืองกำแพงเพชร แม้ที่วัดช้างรอบ ก่อมีการก่อเจดีย์ทรงลังกาซ้อนเจดีย์ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ไว้
เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นอิทธิพลของ อาณาจักรสุโขทัยอย่างแท้จริง เมื่อสุโขทัยสิ้นอำนาจและสิ้นความสำคัญลง มีการสร้างเจดีย์ทรงระฆังครอบไว้หลายแห่ง
วัดเจดีย์กลางทุ่ง เดิมชื่อวัดอะไร ไม่ปรากฏหลักฐาน เดิมเห็นแต่ มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่กลางทุ่งนา จึงเรียกขานกันว่าวัดเจดีย์กลางทุ่ง ลักษณะของวัดเจดีย์กลางทุ่ง น่าจะสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 18- 19 ในสมัยสุโขทัยเรืองอำนาจ มีคูน้ำขนาดใหญ่ล้อมรอบ ทั้งสี่ด้านที่เรียกกันว่า อุทกสีมา ภายในอุทกสีมา มีวิหารขนาดใหญ่ ลักษณะค่อนข้างแปลก เกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และอยู่ต่ำกว่าปกติ ด้านหลังมีเจดีย์ประธาน ที่เป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ขนาดใหญ่ ที่ค่อนข้างสมบูรณ์และสมส่วน สร้างด้วยอิฐที่ได้จากดินเหนียวบริเวณทุ่งเศรษฐี ลานประทักษิณรอบๆเจดีย์ มีขนาดกว้างมาก ทำ ศาสนพิธี ได้อย่างสะดวกสบาย มีฐานเขียงสี่เหลี่ยม ซ้อนกันลดหลั่นอย่างสวยงาม รับฐานบัวแก้วและอกไก่ ส่วนยอดสุดหักตกลงมาไม่เห็นมีหลักฐาน นับว่าเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ขนาดใหญ่ ที่งดงามมาก เป็นสัญลักษณ์ของเมืองนครชุมเลยทีเดียว
รอบๆ เจดีย์ประธาน มีเจดีย์รายที่เห็นมีหลักฐานเหลืออยู่เพียงองค์เดียว นอกนั้นไม่เห็นกุฏิ ศาลา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ถูกทำลายไปสิ้น เพราะที่วัดเจดีย์กลางทุ่งมีพระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐีที่มีชื่อเสียงมาก คือพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงนางพญา และพระกำแพงเขย่ง จึงทำให้ โบราณสถานโบราณวัตถุถูกขุดค้นทำลายลง


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 24 พ.ค. 2563 - 20:58:12 น.



องค์นี้เนื้อผ่านดำ มีคราบกรุเดิมๆ เต็มฟอร์ม นางกำแพงอู่ทอง องค์นี้เส้นสายลายพิมพ์ ติดชัดครบถ้วน หลักฐานเนื้อนุ่มนวล แลกลมกลืน เป็นพระดูง่าย ตามมาตราฐานสากล


 
ราคาปัจจุบัน :     3,850 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    SuerAey (633)

 

Copyright ©G-PRA.COM