(0)
++เปิดวัดใจเคาะเดียว 200 ++ เหรียญพระแก้วมรกต ปี 2475 เนื้ออัลปาก้า บล็อคธรรมดา






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง++เปิดวัดใจเคาะเดียว 200 ++ เหรียญพระแก้วมรกต ปี 2475 เนื้ออัลปาก้า บล็อคธรรมดา
รายละเอียดในการจัดสร้างครั้งต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเป็นประธานกรรมและมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ให้เสร็จสมบูรณ์สง่างามสมกับเป็นพระอารามหลวงในพระบรมมหาราชวัง และเพื่อให้ทันกับพิธีสมโภชพระนคร ซึ่งจะมีอายุครบ 150 ปี ใน พ.ศ.2475 โดยตั้งงบประมาณ ที่จะต้องใช้ในการปฏิสังขรณ์ไว้สูงถึง 600,000 บาท ซึ่งพระองค์เองทรงมีพระราชศรัทธา อุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 200,000 บาท เป็นทุนเริ่มต้น คณะรัฐบาลในสมัยนั้นสนองตามพระราชดำริอนุมัติเงินแผ่นดินสมทบทุนร่วมอีก 200,000 บาท สำหรับส่วนที่ยังขาดอยู่ทรงพระราชทานวโรกาส ที่จะให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร และไพร่ฟ้าประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสที่จะบำเพ็ญกุศลร่วมกัน ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดพนักงานเรี่ยไร ดำเนินการโฆษณาประกาศบอกบุญ ปรากฏตามข้อความเชิญชวนในใบปลิว ที่โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจพิมพ์ถวาย เมื่อปี พ.ศ.2473 ว่า
“.....โดยให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดพนักงานรับเรี่ยไร โดยมีใบเสร็จ และ เหรียญพระแก้วตอบแทน เป็นที่ระลึก ตามชั้นและจำนวนเงินที่บริจาค ดังต่อไปนี้
1. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองคำ
2. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 20 บาท ขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วเงิน
3. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาท ขึ้นไปพระราชทานเหรียญพระแก้วทองขาว (นิเกิล)
4. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองแดง

อย่างไรก็ตาม ตามประกาศ ระเบียบการรับเงินเรี่ยไรในการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ของหอรัษฏากรพิพัฒน์ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2473 ยังได้กล่าวไว้ว่า ผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป กรรมการจะได้รวบรวมรายนามประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เป็นคราวๆ ไป.............ฯ”

พุทธลักษณะ
เหรียญพระแก้วมรกตที่ระลึกกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี เป็นเหรียญกลมขอบเรียบ ด้านหน้า ปรากฏรูปองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรทรงเครื่องวสันตฤดู แบบนูนต่ำ ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีผ้าทิพย์ ภายในซุ้ม ลักษณะเดียวกับซุ้มของพระพุทธชินราช และ พุ่มดอกไม้อยู่บนพื้นเหรียญโดยรอบ เชื่อกันว่าองค์ ผู้กำหนดรูปแบบของเหรียญนี้ คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งหากพิจารณาด้วยเหตุผล นับว่ามีความเป็นไปได้ เพราะผู้ที่ออกแบบจะต้องมีความรู้ในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง
ด้านหลังของเหรียญ ปรากฏเป็นยันต์รูปกงจักร มีอักษรจารึก “อัฏฐังคิกมรรค” หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “มรรค 8” อักขระขอมที่ปรากฏในยันต์ อ่านได้ความว่า “ทิ สํ วา กํ อา วา ส สํ” อันเป็นคำย่อขององค์ประกอบของหนทางหลุดพ้นจากทุกข์ทั้ง8 ได้แก่ ทิ คือ สัมมาทิฐิ สํ คือ สัมมาสังกัปโป วา คือ สัมมาวาจา กํ คือ สัมมากัมมันโต อา คือ สัมมา อาชิโว วา คือสัมมา วายาโม ส คือ สัมมา สติ สํ คือ สัมมาสมาธิ
รายนามคณาจารย์ปลุกเสก ( อ้างอิงจากสำนักงานวัดพระแก้ว )
1. พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิตร 2. สมเด็จพระวันรัต ( แพ ตสสเทโว ) วัดสุทัศน์
3. พระโพธิวงศาจารย์(นวม) วัดอนงคาราม
4. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดโพธิ์
5. หลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม ฉะเชิงเทรา
6. หลวงพ่อเข้ม วัดม่วง ราชบุรี
7. หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
8. หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี
9. หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง อุบลฯ
10. หลวงพ่อเปี้ยน วัดโพธิราม สุพรรณบุรี
11. หลวงพ่อกรัก วัดอัมพวัน ลพบุรี
12. เจ้าคุณอุบาลี สิริจันโท วัดบรมนิวาส
13. หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ สุมทรสงคราม
14. หลวงพ่อแฉ่ง วัดพิกุลเงิน นนทบุรี
15. หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
16. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
17. หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง อยุธยา
18. หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย สระบุรี
19. หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
20. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์
21. หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม สุมทรสงคราม
22. หลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี สิงห์บุรี
23. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี
24. หลวงพ่ออี๋ วัดสัต***บ ชลบุรี
25. หลวงพ่อทอง วัดเขากบ นครสวรรค์
26. หลวงพ่อคง วัดท่าหลวงพล ราชบุรี
27. หลวงพ่อสอน วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
28. หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม สุมทรสงคราม
29. หลวงพ่อชม วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา
30. หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สุมทรสงคราม
31. หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน นครสวรรค์
32. หลวงพ่อคง วัดใหม่บำเพ็ญบุญ
33. หลวงพ่อญัติ วัดสายไหม ปทุมธานี
34. หลวงพ่อพร วัดดอนเมือง
35. หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว
36. หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ สิงห์บุรี
37. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
38. หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
39. หลวงพ่อพิธ วัดฆะฆัง พิจิตร
40. หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี
41. หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
42. หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน2,200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 24 ธ.ค. 2562 - 07:20:47 น.
วันปิดประมูล - 25 ธ.ค. 2562 - 07:31:17 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลjuicy (3.4K) 


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     2,200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Preecha_71 (598)

 

Copyright ©G-PRA.COM