(0)
เหรียญพระบาทสมเด็จพระปรมืนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รุ่น อนุสรณ์มหาราช และเหรียญในหลวงนั่งบัลลังค์ ฉลองครองราชย์50ปี ปี2539(2เหรียญ)








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญพระบาทสมเด็จพระปรมืนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รุ่น อนุสรณ์มหาราช และเหรียญในหลวงนั่งบัลลังค์ ฉลองครองราชย์50ปี ปี2539(2เหรียญ)
รายละเอียดเหรียญพระบาทสมเด็จพระปรมืนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รุ่น อนุสรณ์มหาราช เฉลิมพระชนพรรษา ครบ 3 รอบ 5 ธันวาคม 2506 เนื้ออัลปาก้า
รายละเอียด
เหรียญมหาราช สร้างเมื่อปี พ.ศ.2506 สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 3 ครอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2506 ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครึ่งพระองค์ หันพระพักตร์เบื้องซ้าย ทรงเครื่องทหารมหาดเล็กเต็มยศ ใต้พระบรมรูปมีพระปรมาภิไธย ,พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, ริมขอบด้านซ้ายมีอักษรโบราณเขียนว่าROYAL MINT,ด้านหลังเหรียญเป็นตราพระบรมราชจักรีวงศ์ ,เบื้องบนมีข้อความ อนุสรณ์มหาราช, เบื้องล่างมีข้อความว่า,เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 3 รอบ 5 ธันวาคม 2506,พร้อมกับในพระราชพิธีนี้ได้สร้างเหรียญเนื้อนิเกิ้ลขึ้นอีกจำนวนหนึ่งพร้อมกันด้วย ปัจจุบันเหรียญ มหาราช ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเหรียญเนื้อทองคำ มีการเสาะแสวงหากันมาก มูลค่ากว่าแสนบาทขึ้นไป
ในปีพุทธศักราช 2506 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระชนมายุครบ 3 รอบ (36 พระชันษา) จึงได้จัดงานสร้าง เหรียญอนุสรณ์มหาราชรัชการที่ 9 ครบ 3 รอบ ปี 2506 หรือที่เรียกว่า เหรียญเสมา 3 รอบ รัชกาลที่ 9 เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า เหรียญพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙ ถึงแม้ไม่ได้ผ่านพิธีปลุกเสก แต่ก็มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง แต่สำหรับเหรียญอนุสรณ์มหาราชปี 06นี้ นับได้ว่าศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้นไปอีก เพราะทั้งเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ท่านและเป็นเหรียญที่ผ่านพิธีการปลุกเสกอย่างยิ่งใหญ่ ณ อุโบสถวัดราชบพิธ ถึง 2 วาระด้วยกัน โดยพระคณาจารย์ที่โด่งดังในยุคนั้น และเกจิท่านๆอื่นอีกมาก
พิธีปลุกเสกใหญ่ ณ อุโบสถวัดราชบพิธ 2 วาระด้วยกันคือ
พิธีครั้งที่ 1
-รายนามพระคณาจารย์ที่มาปลุกเสก วันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2506 ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธ
1. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
2. หลวงพ่อพระครูโพธิสารประสาธน์ วัดโพธิสัมพันธ์ บางละมุง ชลบุรี
3. หลวงพ่อพระวรพจรน์ปัญญาจารย์ วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
4. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน แม่ทะ ลำปาง
5. หลวงพ่อพระราชหระสิทธิคุณ วัดราชธานี สุโขทัย
6. หลวงพ่อเงิน (พระราชธรรมาภรณ์ )วัดดอนยายหอม นครปฐม
7. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
8. พ่อท่านคล้าย วัดสวนขวัญ ฉวาง นครศรีธรรมราช
9. พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี
พิธีครั้งที่ 2
-รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่ 5 เมษายน 2507
1. พระสุเมธมุนี เจ้าคณะวัดบางหลวง ปทุมธานี
2. พระสุนทรศีลสมาจาร (หลวงพ่อผล) วัดหนัง ธนบุรี
3. พระครูปลัดบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม นครศรีธรรมราช
4. หลวงพ่อทบ วัดสว่างอรุณ ชนแดน เพชรบูรณ์
5. พระครูนนทกิจวิมล ( หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
6. หลวงพ่อบัว วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี
7. พระครูพุทธมนต์วราจารย์ (พระปลัดสุพจน์) วัดสุทัศน์ พระนคร
8. พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์เชียงราก ปทุมธานี
9. หลวงพ่อหอม วัดขากหมาก ระยอง
-รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่ 6 เมษายน 2507 มีดังนี้
1. พระครูพิทักษ์วิการกิจ (หลวงพ่อสา) วัดราชนัดดา พระนคร
2. พระครูสถาพรพุทธมนต์(หลวงพ่อสำเนียง) วัดเวฬุวนาราม บางเลน นครปฐม
3. พระครูธรรมิตรนุรักษ์ วัดเขาหลัก ท่าศาลา นครศรีธรรมราช
4. พระครูรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถีร์) วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
5. พระเทพสังวรวิมล (หลวงพ่อเจียง) วัดเจริญสุขาราม สมุทรสงคราม
6. หลวงพ่อสำเภา วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ ธนบุรี
7. พระครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
8. พระมุจรินทร์โมลี (หลวงปู่ดำ) วัดมุจรินทร์ หนองจิก ปัตตานี
-รายนามพระคณาจารย์ที่อาราถนามาปลุกเสกวันที่ 7 เมษายน 2507
1. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก บางไทร อยุธยา
2. พระครูโพธิสารประสาธน์ (อาจารย์บุญมี) วัดโพธิสัมพันธ์ ชลบุรี
3. พระวราพจน์ปัญญาจารย์ (หลวงพ่อวัดป่า) วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
4. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน แม่ทะ ลำปาง
5. พระราชประสิทธิคุณ (หลวงพ่อทิม) วัดราชธานี สุโขทัย
6. พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
7. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม
8. พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อเมี้ยน) วัดพระเชตุพน พระนคร
9. พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ โคกโพธิ์ ปัตตานี
สำหรับพิธีปลุกเสกครั้งที่สอง การเริ่มพิธีนั้น พระเจริญคาถาภารวาณจะ ตั้งแต่เวลา15.00 น. ของแต่ละวัน พระคณาจารย์ทุกรูปจะผลัดเปลี่ยนกันนั่งปรกบริกรรมกันตลอดเวลา จนตลอดรุ่งของทุกวัน จนถึงเช้าตรู่ ของวันที่ 8 เมษายน 2507 เวลา 6.00 น. พระอาจารย์ที่นั่งปรกวันที่สามทั้งหมดทุกรูปประชุมพร้อมกันปลุกเสกเงียบเป็นเวลา 30 นาที
พอครบเวลาตามกำหนด เจ้าหน้าที่ลั่นฆ้องชัย พราหมณ์ เป่าสังข์แกว่งบัณเฑาะว์ ปี่พาทย์ทำเพลง 3 ลา พระคณาจารย์ทุกรูปประพรมน้ำพุทธมนต์เหรียญเสมาทั้งหมดที่เข้าพิธีเสร็จแล้วเจิม
พระพิธีธรรมเจริญคาถาดับเทียนชัย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ดับเทียนชัย พราหมณ์เริ่มพิธีเบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชเป็นเสร็จการพิธี

เหรียญในหลวงนั่งบัลลังค์ ฉลองครองราชย์50ปี ปี2539 เนื้ออัลปาก้า พิมพ์กระบี่ยาว
รายละเอียด
เหรียญในหลวงนั่งบัลลังก์ เนื้ออัลปาก้า สุดนิยม พิมพ์เส้นพระเกศาชัด ปลายดาบมีปลอก เป็นเหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พิมพ์นี้เป็นพิมพ์สุดนิยม พิมพ์เส้นพระเกศาชัด ปลายกระบี่มีปลอก
จัดสร้างโดยกระทรวงมหาดไทยในวาระเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เมื่อ พ.ศ. 2539 เป็นเหรียญดีมีคุณค่า ประสบการณ์ดังในด้านแคล้วคลาดของทหารและตำรวจ
การสร้างเหรียญเสมาที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมฉลองทรงครองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี ผู้จัดสร้างได้นำเนื้อโลหะชนวนมวลสารโลหะจากพิธีสำคัญๆ เช่น ชนวนโลหะพระกริ่งดำรงราชานุภาพในงาน 100 ปี กระทรวงมหาดไทยจัดสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2533 และชนวนโลหะพระนิโรคันตรายที่กระทรวงมหาดไทยและประชาชนทั่วประเทศจัดสร้างเพื่อน้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 และแผ่นจารอาคมจากพระเกจิอาจารย์ทุกภาคทั่วประเทศ ทั้งนี้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกทรงประกอบพิธีเจริญจิตภาวนาด้วยพระองค์เอง ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร การจัดสร้างเหรียญครั้งนี้ เหรียญ มีราคาถูกเป็นพิเศษเพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าแสดงความจงรักภักดีและเฉลิมพระเกียรติแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดกาลนาน รายได้ทั้งหมดนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายโดยพระราชกุศลมูลนิธิชัยพัฒนา
เหรียญเป็นรูปทรงใบเสมามีหู ด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับนั่งบนบัลลังก์ ด้านหลังตราสามง่าม และจักร
ชื่อเป็นทางการของเหรียญรุ่นนี้เรืยกว่า เหรียญทรงเสมา(อาร์ม)ที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมฉลองทรงครองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน ปีพ.ศ. 2539
กระทรวงมหาดไทยได้ขอบรมราชานุญาตจัดสร้าง พระบรมรูป(อย่างหนึ่ง)และเหรียญเสมาที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯออกแบบโดยกรมศิลปากร เหรียญเสมาที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวฯด้านหน้าเป็นพระบรมสาทิสลักษ์ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตาลกาญจนสิงหาส์บนบัลลังก์มีข้อความว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” ด้านหลังเป็นรูปสัญลักษณ์ตราจักรีโดยมีข้อความว่า ”พ.ศ.2539”
ถือว่าเป็นเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกที่มีความนิยมมาก มีประสบการณ์มาแล้วดังที่เป็นข่าวใน นสพ.เดลินิวส์มีผู้ประสบรถคว่ำสภาพพังยับเยินและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตชด.ขณะปฏิบัติหน้าที่ทางภาคใต้ถูกผู้ก่อการร้ายซุ่มยิ่งแต่ไม่ได้รับอันตรายเนื่องจากคล้องเหรียญนั่งบัลลังก์ เนื่องเพราะสร้างด้วยเจตนาบริสุทธิ์มหากุศลจากมวลสารที่ดีเยี่ยม
จัดสร้างทั้งหมด 3 เนื้อ คือ
1.เนื้อทอง มี 2 เนื้อ
เนื้อทองสัมฤทธิ์ จัดสร้างจำนวน 25,390 เหรียญ และเนื้อทองคำขัดเงาน้ำหนักเหรียญละ 15 กรัม สร้างจำนวน 25,390 เหรียญ
2.เนื้อเงินขัดเงาน้ำหนักเหรียญละ 8 กรัม สร้างจำนวน 5,000,000 เหรียญ
3.เนื้ออัลปาก้า สร้างจำนวน 5,000,000 เหรียญ
เป็นเหรียญดี ประสบการณ์ดังในด้านแคล้วคลาดของทหารและตำรวจ เหรียญเป็นรูปทรงใบเสมามีหู ด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับนั่งบนบัลลังก์ ด้านหลังตราสามง่าม และ จักร เหรียญมีขนาดขนาด 2.8 X 4 เซนติเมตร
ราคาเปิดประมูล550 บาท
ราคาปัจจุบัน1,150 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 09 ก.ย. 2561 - 16:13:03 น.
วันปิดประมูล - 13 ก.ย. 2561 - 01:27:15 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลouwpon (1K)(1)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 11 ก.ย. 2561 - 07:33:46 น.



เหรียญมหาราช สร้างเมื่อปี พ.ศ.2506 ต้องขอโทษครับ ไม่มีโค็ต เป็นเหรียญที่สร้างในเมืองไทย ครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 11 ก.ย. 2561 - 08:04:50 น.



มีแต่ตอกโค็ตดังรูบครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     1,150 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    sailomzeed (4.1K)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM