(0)
หลวงพ่อโสธร รุ่นสักนักงานตำรวจแห่งชาติเนื้อนวะพิมพ์ใหญ่ เลขประจำองค์พระ 7507








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องหลวงพ่อโสธร รุ่นสักนักงานตำรวจแห่งชาติเนื้อนวะพิมพ์ใหญ่ เลขประจำองค์พระ 7507
รายละเอียดหลวงพ่อโสธร รุ่นสักนักงานตำรวจแห่งชาติเนื้อนวะพิมพ์ใหญ่ (ถือว่าเป็นพระหลวงพ่อโสธรที่ตำรวจจัดสร้างเป็นรุ่นที่ 2 ต่อจาก 80 ปี กรมตำรวจครับ จัดสร้างตอนเปิดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)

เลขประจำองค์พระ 7507 มีกล่องเดิม แต่กล่องชำรุดนะครับเป็นปกติของกล่องรุ่นนี้ครับชำรุดแทบทุกกล่อง
องค์นี้เนื้อนวะโลหะเริ่มกลับผิวดำตามธรรมชาติของเนื้อนวะโลหะแล้วครับ พระดีพิธีดีมีประสบการณ์ครับ



ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับนวะโลหะครับ
(ไม่เกี่ยวข้องกับสูตรในการจัดสร้างพระรุ่นนี้นะครับ เพียงแต่นำข้อมูลมาลงให้ทราบว่าเนื้อนวะโลหะจะสามารถกลับผิวเป็นดำได้ครับ)

พระเครื่องเนื้อนวโลหะ เป็นเนื้อโลหะผสมสูตรพิเศษที่ประกอบไปด้วยโลหะที่เป็นมงคล 9 อย่าง ผสมหล่อหลอมรวมกันแล้วจะได้โลหะที่มีเนื้อเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครและมีคุณวิเศษในตัวเอง ยิ่งนำมาปลุกเสกผ่านกรรมพิธีที่เป็นมงคลก็ยิ่งเพิ่มคุณวิเศษขึ้นไปอีก

เนื้อนวะโลหะ มีการจัดสร้างแยกได้ดังนี้

1.เนื้อนวโลหะเต็มสูตร รวมน้ำหนักทั้งสิ้น 45 บาท( 1 บาท เท่ากับ 15.2 กรัม) ซึ่งจะต้องใช้ทองคำถึง 20 % ดังนั้นสูตรนี้ต้องใช้มูลค่าสูงมาก ทำได้จำกัด และเนื้อพระจะกลับดำไม่มีทองแดง หรือพรายเงิน ฉะนั้น นวะโลหะที่มีผิวไฟ(ทองแดง) หรือพรายเงินนั้น จึงไม่น่าจะใช่นวะโลหะเต็มสูตร นวะโลหะเต็มสูตรโดยจะประกอบไปด้วยโลหะ 9 อย่างคือ
1.ชินหนัก 1 บาท
2.จ้าวน้ำเงินหนัก 2 บาท
3.เหล็กละลายตัว หนัก 3 บาท
4.บริสุทธิ์ หนัก 4 บาท
5.ปรอท หนัก 5 บาท
6.สังกะสี หนัก 6 บาท
7.ทองแดง หนัก 7 บาท
8.เงิน หนัก 8 บาท
9.ทองคำหนัก 9 บาท

2.เนื้อนวะโลหะกลับสูตร
สูตรนี้เกิดขึ้นเนื่องจากสูตรแรกใช้ต้นทุนสูง โบราณจารย์จึงได้คิดสูตรนวะกลับ หรือนวโลหะกลับสูตรขึ้นมาแทน เพื่อลดต้นทุน ให้สามารถทำจำนวนได้มากขึ้น โดยการใช้ทองคำหนัก 1 บาท เงิน หนัก 2 บาท และใช้ทองแดงหนัก 9 บาทแทนทองคำ โลหะอื่นๆอาจปรับสูตรนิดหน่อย หรือใช้โลหะเงินมากหน่อยเพื่อให้ผิวออกดำ ( ผิวกลับดำ ) สูตรนี้นิยมในยุคต่อมา แต่ต้นทุนมูลค่าก็ยังสูงอยู่ทำจำนวนมากไม่ได้ ทำเป็นการค้าหากำไรได้ยาก

3.เนื้อนวะโลหะต่อชนวน
เนื่องจากเนื้อนวะโลหะกลับสูจตรยังมีต้นทุนสูงอยู่ จึงได้มีการพลิกแพลงทำเป็นนวโลหะต่อชนวนขึ้นมา โดยการนำช่อชนวนที่เหลือจากการหล่อพระเนื้อนวโลหะกลับสูตร มาหล่อหลอมรวมกับทองแดงล้วนๆ กลายเป็นเนื้อนวะโลหะต่อชนวนชั้นที่ 1 ครั้งต่อไปก็นำช่อชนวนจากชั้นนี้ไปหล่อหลอมรวมกับทองแดงล้วนๆ กลายเป็นนวโลหะต่อชนวนชั้นที่ 2 ทำอย่างนี้หลายๆครั้งจนไม่รู้ว่าเป็นชั้นที่เท่าไร เนื้อนวโลหะเจือจางเหลืออยู่เท่าใด แต่ในแต่ละครั้งเขาจะมีการเพิ่มเงิน เพิ่มจ้าวน้ำเงิน(พลวง) หรือโลหะอื่นๆทุกครั้ง เพื่อให้ได้สีผิวออกดำออกแดงตามต้องการและตามต้นทุนที่คำนวณไว้แล้ว แต่ไม่เป็นไปตามสูตรโบราณใดๆทั้งสิ้นเป็นสูตรยุคโลกาภิวัฒน์แท้ๆ ดังนั้นเนื้อนวโลหะเต็มสูตรจริงๆจะมีมูลค่าและคุณค่าสูงกว่าเนื้อเงินทั่วไปมาก แม้นวะกลับสูตรก็ยังสูงกว่า แต่สำหรับเนื้อนวโลหะต่อชนวนเป็นเรื่องยากที่จะประเมินว่ามีมูลค่าหรือคุณค่าเท่าไร เพราะต้องดูจากองค์ประกอบหลายๆอย่างดังกล่าวแล้ว อีกอย่างหนึ่งเนื้อนวโลหะจะใช้สร้างพระหล่อประเภทกริ่งหรือรูปหล่อเหมือนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการสร้างเหรียญเนื้อนวโลหะ ก็จะใช้วิธีหล่อแล้วเท แล้วรีดเป็นแผ่นก่อนนำไปปั๊มขึ้นรูปหน้าหลัง จากนั้นก็ปั๊มตัดขอบ ก็จบกระบวนการ

ที่มา: http://www.ubonpra.com/board/index.php?topic=919.0;wap2
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน2,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 15 มิ.ย. 2561 - 09:56:14 น.
วันปิดประมูล - 16 มิ.ย. 2561 - 21:39:54 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลgarlic2 (864)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     2,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Chothmoungchai (43)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM