(0)
พระปิดตาฝนแสนห่า หลวงพ่อลัด วัดหนองกระบอก จ.ระยอง เนื้อตะกั่ว โค้ตสะดือ อุดผง ปี 2530








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระปิดตาฝนแสนห่า หลวงพ่อลัด วัดหนองกระบอก จ.ระยอง เนื้อตะกั่ว โค้ตสะดือ อุดผง ปี 2530
รายละเอียดพระปิดตาฝนแสนห่า หลวงพ่อลัด วัดหนองกระบอก จ.ระยอง เนื้อตะกั่ว โค้ตสะดือ อุดผง ปี 2530

หลวงพ่อรัตน์ทายาททางธรรมของ 3 พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งภาคตะวันออกคือหลวงพ่อวงศ์ - หลวงพ่ออ่ำ - หลวงพ่ออี๋ สร้างพระปิดตามหาลาภฝนแสนห่า ผสมและบรรจุหัวเชื้อสีผึ้งเจ็ดจันทร์และลงคาถากำกับด้วย นะ กินไม่รู้จบ ใครได้บูชาไว้ จะเป็นผู้มีกินมีใช้ ไม่รู้จักหมดสิ้น นับเป็นพระปิดตาที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้

พระครูวิจิตรธรรมานุวัติ( หลวงพ่อรัตน์ ) ผู้เป็นทั้งศิษย์ทายาทธรรม และศิษย์ที่สืบทอดทั้งวิทยาอาคมและสืบสายสมณศักดิ์ที่ พระครูวิจิตรธรรมานุวัติ ตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอบ้านค่ายของ หลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย จ.ระยอง ได้ยอมเปิดเผยให้เป็นที่รู้จักในบั้นปลายของชีวิตท่านว่า อำเภอบ้านค่ายนั้น ไม่เคยขาดสายพระอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมเลย

เมื่อปี พ.ศ. 2481 วัดราชบพิตรฯ ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 150 ปีขึ้น พระคณาจารย์ที่ได้รับนิมนต์มาร่วมนั่งปรกปลุกเสกในพิธีนั้น จะต้องเป็นผู้แก่กล้าวิชาอาคมอย่างแท้จริง อำเภออื่นๆ หรือจังหวัดอื่นๆ จะนิมนต์ไปเพียงองค์เดียวเท่านั้น แต่เฉพาะที่อำเภอบ้านค่ายได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีถึง 2 องค์ คือ หลวงพ่อวงศ์วัดบ้านค่าย กับ หลวงพ่ออ่ำวัดหนองกระบอก

และทั้ง 2 ท่านนี้คือ พระอาจารย์ของหลวงพ่อรัตน์ ยิ่งไปกว่านั้น หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ พระอาจารย์ชื่อดังของเมืองชลบุรีและได้รับกิจนิมนต์ไปในพิธีวัดราชบพิตรฯ ด้วยเช่นกัน ก็เป็นพระอาจารย์ของ หลวงพ่อรัตน์ อีกท่านหนึ่ง ที่ได้ถ่ายทอดวิชา ตะกรุดหนังกลองแตก ให้กับหลวงพ่อรัตน์ด้วย

หลวงพ่อรัตน์ จึงเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ชื่อดังระดับประเทศถึง 3 ท่านด้วยกันดังกล่าว ได้รับการถ่ายทอดวิชาอาคมจากพระอาจารย์ทั้ง 3 ท่านอย่างมากมาย นับเป็นศิษย์ผู้มีความรู้แตกฉานในวิชาอาคมต่างๆ อย่างแท้จริง

หลวงพ่อรัตน์ มีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านค่าย มีวัดที่อยู่ในการปกครองดูแลถึง 40 วัด ท่านจึงมุ่งงานด้านบริหารศาสนกิจเป็นส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันก็ได้ส่งเสริมญาติโยมทางด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานไปด้วย...แต่ในด้านมงคลวัตถุ ได้มีผู้ขอร้องให้ท่านสร้างไว้เป็นที่ระลึกบ้าง แต่ท่านก็เฉยเสีย คงสร้างแต่ แพะ ซึ่งเป็นเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง อันสำคัญของวัดหนองกระบอก ที่ได้มีการสร้างกันมาตลอด โดยสร้างในพรรษา ครั้งละไม่กี่ตัว

หลวงพ่อรัตน์ เป็นชาวบ้านค่ายโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันจันทร์ ปีขาล พ.ศ. 2445 เมื่ออายุครบเกณฑ์ทหารแล้ว ก็ได้เข้ารับใช้ชาติ เป็นทหารเรืออยู่ 2 ปี ออกจากราชการทหารแล้วก็ได้อปสมบท เมื่ออายุได้ 23 ปี ณ วัดบ้านค่าย โดยมี หลวงพ่อวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า กิตติสาโร

เมื่อบวชแล้วก็ได้ศึกษาธรรมมะและวิชาอาคมต่างๆ จากหลวงพ่อวงศ์ และหลวงพ่อวงศ์ก็ได้ให้ พระรัตน์ ไปฝึกกสิณธาตุกับ หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก อันเป็นวัดที่อยู่ใกล้กัน หลวงพ่ออ่ำเป็นศิษย์ผู้น้องของหลวงพ่อวงศ์

หลวงพ่ออ่ำ ได้ให้หลวงพ่อรัตน์ฝึกเพ่งกสิณ ด้วยอุบายอันแยบยล ทำให้หลวงพ่อรัตน์ฝึกเพ่งกสิณได้สำเร็จ ด้วยการให้อานหนังสือในห้องมืด โดยใช้แสงสว่างจากใจที่เกิดจากดวงกสิณธาตุ เป็นเครื่องส่องนำ นอกจากนี้หลวงพ่ออ่ำ ยังได้ถ่ายทอดวิชาการสร้างและปลุกเสก แพะ อันเป็นเครื่องรางของขลัง อันสำคัญประจำวัดหนองกระบอก ให้หลวงพ่อรัตน์ด้วย

ในขณะที่หลวงพ่อวงศ์ และหลวงพ่ออ่ำ ดังเงียบๆ อยู่เฉพาะอำเภอบ้านค่ายนั้น ทางด้านหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ กำลังดังระเบิด ใครๆ ก็รู้จักหลวงพ่ออี๋ทั้งนั้น หลวงพ่ออี๋ก็ได้มาหา หลวงพ่อวงศ์หลวงพ่ออ่ำเสมอๆ เพื่อการค้นคว้าปรึกษาวิชาการต่างๆ ทางคาถาอาคม เพราะหลวงพ่ออี๋เคารพนับถือหลวงพ่อวงศ์และหลวงพ่ออ่ำมากแม้แต่เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่ออี๋ ก็ยังเอามาให้หลวงพ่อวงศ์ช่วยปลุกเสกให้ด้วย และตรวจดูว่าใช้ได้แล้วหรือยัง

ในระยะที่หลวงพ่ออี๋ มาหาหลวงพ่อวงศ์ และหลวงพ่ออ่ำ นี้เอง ท่านก็ได้ถ่ายทอดวิชาสำคัญของท่านให้กับหลวงพ่อรัตน์ด้วย คือ วิชาการสร้าง ตะกรุดหนังกลองแตก โดยมี หลวงพ่อมงคล ซึ่งติดตามหลวงพ่ออี๋ มาร่วมเรียนด้วย ภายหลังหลวงพ่อมงคล องค์นี้ได้ไปอยู่วัดแสมสาร ช่องแสมสาร สัตหีบ ท่านได้ทำปลัดขิก และตะกรุดหนังกลองแตก จนโด่งดังอย่างเงียบๆในท้องถิ่น ท่านมักจะพูดให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังว่า วิชาตะกรุดหนังกลองแตกนี้ หลวงพ่ออี๋ ได้ถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ไว้เพียง 2 คนคือ ตัวท่านเองกับหลวงพ่อรัตน์วัดบ้ายค่าย( หลวงพ่อมงคล เพิ่งมรณภาพเมื่อปลายปี 2529 นี้เอง )

เมื่อหลวงพ่อวงศ์มรณภาพได้ปีเศษ ที่ประชุมสงฆ์จังหวัดระยอง และอำเภอบ้านค่าย ซึ่งก็มีหลวงพ่ออ่ำ อาจารย์ของหลวงพ่อรัตน์ร่วมประชุมอยู่ด้วย ต่างมีมติเห็นว่า หลวงพ่อรัตน์นอกจากจะปราดเปรื่องทางวิทยาอาคมแล้ว ยังมีความรู้ทางด้านปริยัติธรรมและหนังสือแตกฉานมาก สมควรที่จะดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอบ้านค่าย สืบแทนต่อจากหลวงพ่อวงศ์ หลวงพ่อรัตน์จึงได้รับตำแหน่งนี้ ในสมณศักดิ์เดิมของหลวงพ่อวงศ์คือ พระครูวิจิตรธรรมานุวัติ เจ้าคณะอำเภอบ้านค่าย ในขณะที่หลวงพ่อรัตน์อายุได้เพียง 40 ปีเศษ ท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้มาถึงปัจจุบันนี้ ปกครองดูแลวัดในอำเภอถึง 40 วัดด้วยกัน

แม้จะมีภารกิจในด้านศาสนกิจมากมาย แต่หลวงพ่อรัตน์ก็ไม่ได้ทอดทิ้งวิชาการสร้างแพะ ที่แกะจากเขาควายฟ้าผ่า ในทุกๆ พรรษาครั้งละไม่มากนัก พอออกพรรษาก็มีผู้มารับไปหมด สำหรับวัตถุมงคลอื่นๆ ท่านไม่ได้ทำ เพราะท่านมุ่งงานทางด้านปริยัติธรรม และพัฒนาวัดในเขตปกครองมากกว่า ทั้งยังได้ฝึกฝนอบรมการนั่งสมาธิ ฝึกการทำวิปัสสนากัมมัฏฐานแก่ญาติโยมชาวบ้านทั่วไป

จวบจนเมื่อปลายปี 2529 ท่านจึงยอมอนุญาตให้ คุณชินพร สุขสถิตย์ ศิษย์ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ เป็นผู้สร้างพระปิดตารุ่นแรกของท่านขึ้นได้ โดยท่านได้มอบแผ่นยันต์ต่างๆ และตะกรุดให้ด้วย เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ว่า อำเภอบ้านค่ายนั้น แม้จะหมดยุคของหลวงพ่อวงศ์ , หลวงพ่ออ่ำ , หลวงพ่อทาบ และหลวงปู่ทิมแล้ว บ้านค่ายก็หาได้สิ้นคนดีไม่

พระปิดตารุ่นนี้ จึงเป็นพระเครื่องรุ่นแรกของหลวงพ่อรัตน์ ท่านได้ตั้งชื่อว่า พระปิดตามหาลาภฝนแสนห่า
ฝนแสนห่า เป็นหนึ่งในบทพุทธคุณอิติปิโส 8 ทิศ ที่พระพุทธเจ้าบันดาลให้ฝนตกเพื่อชะล้างโรคห่า และสิ่งอัปมงคลทั้งปวง พร้อมทั้งบันดาลความร่มเย็นชุ่มฉ่ำให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย

หลวงพ่อรัตน์ ท่านกล่าวว่า ด้วยอานุภาพแห่งพระคาถาในบทพุทธคุณอิติปิโส 8 ทิศ นี้ จะบันดาลให้เกิดความเมตตาและโชคลาภนี้ก็จะแผ่ไปถึง วิชาฝนแสนห่า เป็นวิชาสุดยอดของหลวงพ่ออ่ำ ท่านจะถ่ายทอดให้ผู้ทีรับปากเป็นสัจจะว่า จะบวชไม่สึกตลอดชีวิตเท่านั้น
ราคาเปิดประมูล530 บาท
ราคาปัจจุบัน550 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 09 พ.ย. 2560 - 04:11:39 น.
วันปิดประมูล - 13 พ.ย. 2560 - 10:31:12 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลtamthodsaporn (1.2K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 09 พ.ย. 2560 - 04:11:53 น.



.


 
ราคาปัจจุบัน :     550 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Nitlahanrayong (278)

 

Copyright ©G-PRA.COM