(0)
พระนางพญากรุวัดสุดสวาท จ.พิษณุโลก








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระนางพญากรุวัดสุดสวาท จ.พิษณุโลก
รายละเอียดพระนางพญาวัดสุดสวาท
มหานิยมตัวจริงเสียงจริง ฟังชื่อก็รู้



เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 14 ก.พ.53 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่าที่วัดสุดสวาสดิ์ ต.บ้านคลอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก มีการรื้อศาลาหลังเก่าเพื่อสร้างใหม่ มีการขุดพบกรุพระนางพญาจำนวนมาก จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบว่าที่ภายในบริเวณวัดมีชาวบ้านจำนวนมากแห่กันมาขุดค้นหากรุพระกันตั้งแต่ตี5 โดยมีรถแบ็กโฮขุดรื้อถอนซากศาลาออกจากพื้นดิน ตลอดเวลามีชาวบ้านคุ้ยเขี่ยกองดิน พบพระเครื่องเนื้อดินเผากระจัดกระจายไปทั่วบริเวณ ชาวบ้านที่มามุงดูต่างเข้ายื้อแย่งชิงเอาไปเป็นของตัวเองจำนวนมาก ต่อมาทางวัดได้แจ้งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาดูแลความสงบ เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวบ้านเข้ามาแย่งกรุพระของทางวัด ซึ่งก่อนหน้ามีชาวบ้านมาขุดคุ้ยได้พระไปนับพันองค์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภาพที่ขุดพบกรุพระเครื่องครั้งนี้ รถแบ็กโฮขุดลึกประมาณ 3 เมตร วัตถุลักษณะเป็นโอ่งหรือไหโบราณสภาพที่แตกไปครึ่งหนึ่ง เนื่องจากถูกรถแบ็กโฮขุดไปโดนในช่วงแรก ปรากฏว่าพบกรุพระเครื่องบรรจุอยู่ข้างใน จึงได้ใช้เสียมเสาะรอบข้างเพื่อนำเอาขึ้นมาในลักษณะเหมือนเดิม แต่สภาพแตกไปแล้วครึ่งโอ่ง

พระครูประภัศร์โสตถิคุณ เจ้าอาวาสวัด กล่าวว่า ก่อนหน้าทางวัดต้องการจะสร้างศาลาหลังใหม่ เนื่องจากหลังเดิมที่รื้อถอนอยู่ในสภาพทรุดโทรม เพราะเป็นศาลาดินเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี ช่วงหลังมีการเทพื้นปูนแทนของเก่า จึงใช้ได้ต่อมาอีกหลายสิบปี แต่หลังจากนั้นศาลาเริ่มเสื่อมโทรมตามสภาพ จึงได้ทำการรื้อทิ้งเพื่อจะวางรากฐานสร้างหลังใหม่แทน หลังจากนั้นได้ว่าจ้างรถแบ็กโฮมาทำการขุดพื้นปูนซีเมนต์ และขุดเสาที่ฝังอยู่ใต้ดินก่อน แต่ปรากฏว่าระหว่างที่รถแบ็กโฮขุดดินมาเททิ้งมีพระติดมาจำนวนหนึ่ง จึงได้สั่งให้คนขับแบ็กโฮขุดเปิดหน้าดินเป็นบริเวณกว้างลึกลงไปประมาณ 3 เมตร พบพระบรรจุอยู่ในไหโบราณขนาดใหญ่มีพระนางพญาบรรจุอยู่เต็ม เป็นพระนางพญากรุวัดสุดสวาทที่เคยแตกเมื่อร่วม 100 ปีที่ผ่านมา เพราะสภาพพระและภาชนะที่บรรจุอยู่ในสภาพที่เปื่อยยุ่ย

ด้านนายพลายลน ศรีเมือง กำนันตำบลบ้านคลอง กล่าวว่า หลังจากที่วัดได้เริ่มรื้อถอนศาลหลังเก่า ตนได้เข้ามาดูแลความเรียบร้อย ซึ่งได้ทำการรื้อถอนศาลามาแล้วสองวัน วันแรกไม่พบกรุพระเครื่องแต่อย่างไหน แต่ช่วงวันที่สองขณะที่รถแบ็กโฮขุดดินขึ้นมา ปรากฏว่าพระครูประภัศร์โสตถิคุณ เจ้าอาวาสวัด เห็นพระเครื่องติดมากับดินพร้อมกันด้วย จึงได้ขุดลงไปจนพบภาชนะบรรจุพระจำนวนมาก พร้อมภาชะกระเบื้องน่าจะเป็นสังฆโลก ส่วนศาลาหลังดังกล่าวปลูกสร้างมานานแล้วตั้งแต่ตนยังไม่เกิด เป็นศาลาดิน ช่วงหลังมีการปรับปรุงเทพื้นคอนกกรีต พร้อมกับนำพระประธานมาตั้งไว้กราบบูชา ซึ่งเป็นรูปปั้นหลวงงปู่โง่น และรูปปั้นสมเด็จพุทธจารย์โตพรมรังสี แต่ไม่มีการนำพระมาฝังเอาไว้ ซึ่งกระพระที่ขุดพบเป็นพระนางพญากรุวัดสุดสวาสดิ์เนื้อดินเก่า อายุน่าจะเกิน 100 ปี ตอนนี้ทางวัดและคณะกรรมการเตรียมจะนำออกมาให้บูชา เพื่อนำรายได้มาสร้างศาลาหลังใหม่

ขณะที่อาจารย์ไพบูลย์ ปาณะดิษ ผู้รอบรู้พระเครื่อง พระบูชาไทย จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า เท่าที่ตนมาพิสูจน์กรุแตกที่วัดสุดสวาสดิ์ นั้นของจริง ไหที่บรรจุพระนางพญากรุนี้อายุประมาณ 400 ปี โดยสังเกตุจากเนื้อไห ที่ถูกฝังดินมานาน จนเกิดการออกซิเดชั่นของเนื้อไหจนมี 2 ชั้น คาดว่าถูกฝังในอายุสมัยอยุธยาตอนกลาง ยุคที่สมเด็จพระนเรศวรเคยสร้างพระขุนแผน กรุบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี แต่พระนางพญาสุดสวาสดิ์ที่เห็นนี้ ประชาชนทั่วไปเป็นคนสร้าง จึงไม่นิยมเก็บไว้ตามบ้านเรือน ยุคนั้นเขาสร้าง 1 ธรรมขันธ์ หรือ 84 , 000 องค์ ฝังไว้ในวัด ซึ่งพระนางพญาสุดสวาสดิ์ก็ถูกฝังไว้ใต้ศาลานั่นเอง ฉะนั้นเนื้อดินพระนางพญาย่อมถูกสร้างสมัยอยุธยาตอนกลางๆเช่นกัน



ประวัติพระนางพญากรุวัดสุดสวาท โดย พล.ต.ต.ศิลป์พร ภูมะธน

หากกล่าวถึงพระเครื่องเมืองพิษณุโลกแล้ว นักเลงพระส่วนใหญ่จะต้องนึกถึง "พระนางพญา กรุวัดนางพญา" นับเป็นพระเครื่องยอด ปรารถนาของนักเลงพระทั่วไป เป็น 1ใน 5 ของพระชุดเบญจภาคีที่หายากยิ่งและมีราคาแพงมาก แต่ในความทรงจำของนักเลงพระรุ่นเก่าๆ สมัยคุณปู่คุณตาและคุณพ่อ ยังคงกล่าวขวัญถึง "พระนางพญา" อีกกรุหนึ่ง ก็คือ "พระนางพญากรุวัดสุดสวาสดิ์" หรือที่เซียนพระบางท่านเรียกว่า "พระนางพญาสุดสวาท" อันเนื่องมาจากพระกรุนี้บางองค์มีเนื้อพระ "สีสวาด" (สีเทาอมเขียว) (สวาด, สวาท, สวาสดิ์ มีความหมายว่า รักใคร่ ยินดี)

วัดสุดสวาสดิ์ อยู่หมู่ที่ 3 บ้านบางสะแก ต.บ้านคลอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก จากนิตยสารรายสองเดือน"ศิลปากร" ของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการปีที่ 38 ฉบับที่2 มีนาคม-เมษายน 2538 หน้าในปกท้าย อธิบายไว้ว่า



"....วัดสุดสวาสดิ์ เป็นวัดร้าง เหลือเพียงเนินดินร่องรอยแห่งซากเจดีย์เก่าซึ่งกลายเป็นทุ่งนาไปแล้ว พระเครื่องจากกรุนี้ได้มีผู้ค้นพบปีพ.ศ.2465 มีพระขึ้นจากกรุประมาณ400 องค์เศษ พุทธศิลป์อยุธยา ยุคเดียวกัน หรืออาจจะก่อนหน้าพระนางพญา วัดนางพญาพิษณุโลก เชื่อกันว่า "พระวิสุทธิกษัตรี" พระราชธิดาใน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ และ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ทรงเป็นพระมเหสีของ พระมหาธรรมราชา และทรงเป็นพระราชมารดาของ สมเด็จพระนเรศวร และ สมเด็จพระเอกาทศรถ โปรดให้จัดสร้างขึ้น พระนางพญาสุดสวาทหาชมได้ยากมาก ในปัจจุบัน..." (เขียนโดย...คุณทรงวิทย์ แก้วศรี)

และจากหนังสือ "นครสุโขทัย" หน้า 157 โดยคุณสรวง ปุญญฤทธิ์ กล่าวไว้ว่า "....ขึ้นชื่อว่า "พระพิมพ์สุดสวาท" แล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกันนัก บางคนถือว่าจะหาพระเครื่องอื่นใดเปรียบให้เสมอเหมือนได้ยาก สันนิษฐานว่าสร้างสมัยเดียว อาจารย์เดียวกับพระพิมพ์นางพญา กรุวัดนางพญา พิษณุโลก"

ด้วยเหตุที่ "พระนางพญาสุดสวาท" หาชมได้ยากมากนี่เอง กลับเป็นแรงจูงใจให้นักเลงพระรุ่นใหม่กลุ่มหนึ่ง นำโดย คุณสันต์ วิวัฒนวาณิชย์ และเพื่อน ซึ่งต่างมีความศรัทธาพระกรุนี้ ร่วมแรงร่วมใจกันติดตามค้นหา ใช้ความพยายามอยู่นานจึงเช่าพระได้มาบ้าง ทำให้พระที่เกือบจะสูญหายไป จากตลาดพระ กลับมาสดใสขึ้นอีกวาระหนึ่ง


สำหรับ "สีของพระนางพญาสุดสวาท" ชุดนี้มีอยู่ด้วยกัน 6 สี ได้แก่ สีเหลือง สีเขียว สีแดง สีดำ สีผ่าน (หรือ 2 สี เท่าที่ปรากฎมี สีแดงดำ แดงเขียว สวาทดำ) และสีสวาทสีคล้าย ลูกสวาท หรือสีเทาอมเขียว มีทั้งเทาอ่อนและเทาแก่เกือบดำ นับได้ว่าเป็นพระชุดที่มีสีแปลกแตกต่างไปจากพระกรุอื่นๆ ของจังหวัดพิษณุโลก สีสวาทนี้เป็นสีที่มีเฉพาะกรุนี้กรุเดียว และพระองค์ที่มีสวาทจะมีราคาแพงกว่าสีอื่นๆ อีกด้วย



หลักการพิจารณาพระนางพญาสุดสวาท

1. กรอบพระด้านขวา (องค์พระ) จะเป็น เส้นคู่ขนาน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพระกรุนี้ ต้องจำให้แม่นยำ เว้นเฉพาะ "พระพิมพ์อกนูน" จะไม่มีเส้นคู่ขนานที่ว่านี้

2. พิจารณาจากคราบราดำ เพราะพระกรุนี้อายุหลายร้อยปี อยู่ในกรุและจมดินอยู่นาน พระบางองค์จะเกิดคราบราดำเกาะติดอยู่ไม่มากก็น้อย เฉพาะพระสีดำหรือสีเขียวแก่มักจะปรากฏ คราบสีขาว แต่เท่าที่ผู้เขียนเห็นพระหลายองค์ พระบางองค์ ก็มีทั้งคราบราดำและคราบสีขาว ในองค์เดียวกัน

3. หากพระที่ท่านพบหรือได้มาเป็น สีสวาทเทา เชื่อได้ว่าเป็นพระแท้เพราะเป็นสีเฉพาะของพระกรุนี้เท่านั้น

4. พิจารณาจากแร่ดอกมะขาม หากพระองค์ใดถูกใช้มาแล้วจะปรากฏให้เห็น โดยเฉพาะพิมพ์หูถ่าง จะพบแร่ดอกมะขามมากกว่าพิมพ์อื่นๆ

5. พิจารณาจาก แร่ทรายทอง เพราะพระบางองค์จะมีทรายสีทองปรากฏให้เห็น

ปัจจุบัน "วัดสุดสวาสดิ์" มิได้เป็นวัดร้างดังเช่นแต่ก่อนอีกแล้ว เพราะชาวบ้านบางสะแก และบุคคลในตระกูล"อมรวิวัฒน์" ได้ร่วมใจกันพัฒนา ก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะวัตถุ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่บ้านเกิด โดยมีนายโช จันทรโชติ เป็นผู้แทนชาวบ้านทำหนังสือถึงนายอำเภอ เมืองพิษณุโลก เพื่อขอยกฐานะ "วัดสุดสวาสดิ์" ขึ้นเป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา

พร้อมกับทำหนังสือขออนุญาตอาราธนา "พระภิกษุสมปอง ตโมนุโท" จากเจ้าอาวาสวัดราชบูรณะ จ.พิษณุโลก เข้าไปจำพรรษาและเป็นพระภิกษุ หัวหน้าปกครองวัดสุดสวาสดิ์...จนถึงทุกวันนี้

ผู้เขียนมีโอกาสเห็นพระชุดนี้หลายองค์ จึงใคร่ขอจำแนกพิมพ์ โดยอาศัยคำบอกเล่าของนักเลงพระรุ่นเก่าๆ ประกอบกับการพิจารณาจากที่ได้เห็นในขณะนี้ สรุปได้ดังนี้ หน้าเอียง 1 หน้าตรง 2



พิมพ์ต่างๆ มีดังนี้


1. พิมพ์หูชิดหรือ หูกระต่าย พระพิมพ์นี้ นับว่าเป็นพระที่มีความงามกว่าทุกๆ พิมพ์ของพระกรุนี้ เริ่มแต่พระเกตุมาลาที่เรียวแหลม พระกรรณ สองข้างแนบชิดพระพักตร์อย่างสมส่วน พระพักตร์แบบผลมะตูมมีทั้งเอียงขวา(องค์พระ)เล็กน้อย และพระพักตร์ตั้งตรง สังฆาฏิคมชัดทั้งสองเส้น และองค์พระโดยรวมแล้วจะมีขนาดเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ

2. พิมพ์สังฆาฎิ ปลายพระกรรณด้านขวา (องค์พระ) กางออกมาผิดจากพระพิมพ์แรก และเห็นได้อย่างชัดเจน และมีสังฆาฏิเหมือนกับพิมพ์แรก พระเกตุมาลาไม่ค่อยชัดเจน เท่าที่พบขณะนี้แยกได้เป็นพิมพ์เล็กกับพิมพ์ใหญ่
3. พิมพ์หูถ่าง หรือ พิมพ์หูช้าง เป็นพระที่มีพระกรรณด้านซ้าย (พระ) ใหญ่มาก และถ่างออกมามากกว่าพิมพ์อื่นๆ เส้นสังฆาฏิจะเป็นเส้นคู่ขนานกัน มีเนื้อละเอียด นุ่มกว่าพิมพ์อื่นๆ บางองค์มีแร่ดอกมะขามปรากฏให้เห็นอีกด้วย มีอยู่สองพิมพ์ คือพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่

4. พิมพ์ตุ๊กตา พระกรรณทั้งสองข้างแตกต่างไปจากสามพิมพ์แรก คือพระกรรณทั้งสองข้างอยู่ขนาบข้างพระพักตร์ โดยอยู่ลอยๆ ไม่มีส่วนใดติด พระพักตร์เลย และพระกโบร (ข้อศอก) ซ้าย (องค์พระ) หักฉาก

5. พิมพ์อกนูน พระพิมพ์นี้มีรูปสัญลักษณ์ใกล้เคียงกับ พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์อกนูน มากทีเดียว ทรงพิมพ์ของพระโดยทั่วไปไม่ค่อยชัดเจน เท่าใดนัก พระที่พบขณะนี้มีไม่กี่องค์ กรอบพระด้านขวา (องค์พระ) ก็ไม่เป็นเส้นคู่ขนาน มีนักเลงพระบางท่านเรียกว่าพระพิมพ์นี้ว่า "พิมพ์เทวดา"

6.พิมพ์หูแหลม พระกรรณทั้งสองข้างของพระพิมพ์นี้แนบพระพักตร์ยาวลงมาจนจรดพระอังสา(บ่า) ปลายพระกรรณเรียวแหลม พระเกตุมาลา เล็กแหลมกว่าทุกพิมพ์ พิมพ์หูชี้

7.พิมพ์หูชี้ พระกโบร(ข้อศอก)ทั้งสองข้างกางออกต่างจากพิมพ์อื่นๆ โดยที่พระกรรณทั้งสองข้างแนบพระพักตร์ แต่ปลายพระกรรณทั้งสอง ข้างกลับชี้ออก

8.พิมพ์หูติดบ่า เป็นพิมพ์ที่พระกรรณของพระทั้งสองข้างยาวลงมาจนถึงพระอังสา(บ่า)อีกพิมพ์หนึ่ง โดยพระกรรณเป็นเส้นนูนขนาดใหญ่ ปลายพระกรรณทั้งสองข้างไม่เรียวแหลมเช่นพิมพ์ที่ 6 หรือพิมพ์หูแหลม





ข่าว : คมชัดลึก
15 กุมภาพันธ์ 2553
ราคาเปิดประมูล1,900 บาท
ราคาปัจจุบัน2,200 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 15 ส.ค. 2560 - 23:12:20 น.
วันปิดประมูล - 17 ส.ค. 2560 - 07:55:50 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลkangnutta (3K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     2,200 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    krajub2002 (625)

 

Copyright ©G-PRA.COM