(0)
ปลาตะเพียน ตัวผู้ ตัวเมีย สภาพเดิม ๆๆๆ ครับ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา หายากสภาพเดิม ๆๆ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องปลาตะเพียน ตัวผู้ ตัวเมีย สภาพเดิม ๆๆๆ ครับ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา หายากสภาพเดิม ๆๆ
รายละเอียดปลา ตะเพียนทองตะเพียนเงิน หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา สภาพสวยไม่ผ่านการใช้ กะไหล่เงิน-ทอง เดิมๆ เก็บเก่าครับ พุทธคุณ เด่นดังทางเรื่อง เมตา-มหานิยม ทำมาค้าขึ้น คู่นี้แท้ดูง่ายสุดๆ ....... ( พิมพ์ใหญ่ นิยม ) หายากมาก น่าสะสมครับ

**************************************
เปิดตำนาน : ปลาตะเพียน

ตามความเชื่อแต่โบราณเกี่ยวกับเครื่องรางที่บูชาแล้วให้ผลเรื่องการค้า ขาย โชคลาภ เงินทอง นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด อาทิ ไซดักทรัพย์ กุมารทอง นางกวัก ซึ่งปลาตะเพียนนั้นก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน แต่การกำเนิดของปลาตะเพียนว่าเกิดขึ้นเมื่อใดยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ แต่เชื่อกันว่ามีมาแล้วหลายร้อยปีแล้วเพราะมีการค้นพบปลาตะเพียนโบราณที่ทำ ด้วยวัสดุหลากหลายชนิด อาทิ ผ้า ไม้มงคล ไม้จักสาน โลหะ และหลากหลายขนาดขึ้นอยู่กับครูบาอาจารย์แต่ละท่านที่จะจัดสร้างขึ้นในวาระ นั้น ๆ ส่วนในเรื่องความนิยมเครื่องรางที่เป็นปลาตะเพียนนั้นจะไม่หวือหวาเหมือน เครื่องรางประเภทอื่น ๆ เนื่องจากเป็นเครื่องรางที่ดูผิวเผินแล้วเหมือนกับไม่มีอะไร ไม่มีฤทธิ์หวือวา แต่ในความเป็นจริงปลาตะเพียนจะมีฤทธิ์มีเดชแบบค่อยเป็นค่อยไปดังภาษิตที่ว่า “น้ำซึมบ่อทราย” แล้วยังให้พุทธคุณในเรื่องความร่มเย็นเป็นสุข ช่วยพยุงและเสริมฐานะค่อยเป็นค่อยไปแก่ผู้บูชาด้วย ซึ่งหาได้ยากในหมู่เครื่องรางด้วยกัน

แต่หากจะสืบเสาะเลาะลึกลงในความเชื่อเรื่องการกำเนิดของปลาตะเพียนนั้นก็ จะมีความเชื่อที่แตกต่างกัน บ้างก็ว่าน่าจะสืบเนื่องมาการเสวยพระชาติเป็นปลาตะเพียนเพื่อการสั่งสมบุญ บารมีของพระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่ง บ้างก็ว่าเนื่องด้วยปลาตะเพียนเป็นสัตว์น้ำที่หากินคล่องแคล่ว กินอาหารง่าย ปราดเปรียวกว่าปลาประเภทอื่น บ้างก็ว่าชื่อของปลาตะเพียนนั้น คำว่า “เพียน” ซึ่งเป็นคำท้ายนั้นออกเสียงคล้ายกับคำว่า “เพียร” ซึ่งหมายถึงความขยันหมั่นเพียร ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค และรวมไปถึงการขยันทำมาหากินอีกด้วย แต่ไม่ว่าปลาตะเพียนจะมีกำเนิดมาจากความเชื่อใดก็ตาม ครูบาอาจารย์แต่โบราณท่านได้บรรจงสร้างสรรค์ปลาตะเพียนขึ้นมาเป็นเครื่องราง ที่เราได้รู้จักกันทุกวันนี้ โดยใช้วัสดุประเภทต่าง ๆ ที่หาได้สะดวกในช่วงเวลานั้น แต่จะต้องถูกต้องตามตำราบังคับและเมื่อพิจารณาตัวปลาตะเพียนจะต้องมีลักษณะ สมส่วนและดูมีชีวิตจริง ๆ รวมไปถึงจะต้องมีการอาการพลิ้วไหวเหมือนกำลังแหวกว่ายอยู่ในแม่น้ำ ส่วนที่ขาดไม่ได้คือจะต้องมีการสร้างเป็นคู่เสมอ ดังที่โบราณเรียกว่า “ปลาตะเพียนเงิน ปลาตะเพียนทอง” ซึ่งมีความหมายแฝงถึงความเจริญก้าวหน้าเหมือนปลาที่สืบสายพันธุ์ต่อไปไม่มี วันหมด และยังหมายรวมไปถึงการครองชีวิตร่วมกันอย่างผาสุก (สำหรับคู่แต่งงาน) แต่ก็ยังมีอีกหลายท่านก็ยังมีความเข้าใจผิดว่าตัวหนึ่งเป็นตัวผู้ อีกตัวหนึ่งเป็นตัวเมียจนถึงปัจจุบัน

หลังจากได้รูปร่างของปลาตะเพียนมาเรียบร้อยแล้ว ครูบาอาจารย์ท่านจะลงยันต์บ้าง อักขระบ้าง หรือหัวใจพระคาถาต่าง ๆ กำกับลงบนตัวปลาพร้อมกับปลุกเสกด้วยมนต์ต่าง ๆ ตามตำราบังคับจนปลาตะเพียนนั้นมีอาการขยับเขยื้อนเหมือนมีชีวิตจึงเป็นอัน เสร็จพิธี ซึ่งหากเป็นปลาตะเพียนยุคหลัง ๆ จะนิยมใช้การปั๊มอักขระยันต์ต่าง ๆ ลงไปที่ตัวปลาตะเพียนที่เป็นจัดสร้างด้วยเนื้อโลหะแทน เช่น ทองเหลือง ตะกั่ว ทองแดง เพราะประหยัดเวลาและดูสวยงาม แต่ในบางสำนักก็นิยมใช้การพิมพ์ตัวปลาตะเพียนพร้อมอักขระยันต์ต่าง ๆ ลงในผ้าก็มี แต่ไม่ว่าจะจัดสร้างด้วยวัสดุประเภทใดก็ตาม อักขระยันต์หรือบรรดาหัวใจพระคาถาต่าง ๆ ที่บรรจุลงบนตัวปลาตะเพียน ตลอดจนพิธีการปลุกเสกจะต้องถูกต้องตามตำราบังคับเท่านั้น มิเช่นนั้นจะถือว่า “วิบัติ” (ไม่สำเร็จตามความประสงค์) และการสร้างปลาตะเพียนในคราวนั้นจะถือว่า “หมด” (ใช้ไม่ได้) หากยังฝืนนำไปใช้หรือออกให้บูชาจะถือว่า “ผิดครู” อันเป็นการลบหลู่ครูบาอาจารย์และจะเป็นกรรมหนักเช่นกัน

ในเรื่องของพระคาถา อักขระยันต์ที่มาการลงที่ตัวปลาตะเพียนนั้น มีอยู่ด้วยกันหลากหลายแบบ ตามตำราของครูบาอาจารย์แต่ละรูปที่ท่านได้รับการถ่ายทอดมาแต่ส่วนมากจะเป็น หัวใจพระคาถาที่มีอานิสงส์ทางลาภสักการะ เมตตา มหานิยม อาทิ นะชาลีติ (หัวใจพระสีวลี) นาสังสิโม (หัวใจพญาเต่าเลือน) อุอากะสะ (หัวใจมหาเศรษฐี) นอกจากนั้นในปลาตะเพียนบางสำนักยังมีการลงอักขระยันต์ที่แตกต่างกันไป อาทิ นะมะพะทะ (ตั้งธาตุทั้ง 4) ยันต์ตรีนิสิงเห (เมตตา โชคลาภ) เป็นต้น ในเรื่องของจำนวนการสร้างในแต่วาระนั้นแต่โบราณมาเราจะพบว่า ส่วนใหญ่ครูบาอาจารย์จะจัดสร้างคราวละไม่มาก (ไม่ถึง 10 คู่ต่อครั้งก็มี) และมักจะแจกจ่ายให้แก่ลูกศิษย์ที่เลื่อมใสจนหมดแล้วจึงสร้างใหม่ บางรูปจัดสร้างปีละวาระเดียวก็เดียว บางรูปจัดสร้างเพียงครั้งเดียวก็มี สำหรับสำนักที่ได้รับความนิยมมาก ๆ เกี่ยวกับปลาตะเพียนตั้งแต่โบราณที่มีการบันทึกกันไว้ เช่น หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (สร้างน้อยมาก) หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก (หาชมตัวจริงยาก) หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะเป็นของสำนักใดปัจจุบันก็หาตัวจริงยากแล้วครับ ส่วนใหญ่จะเป็นของเก๊เก่าบ้าง ของเก๊ใหม่บ้าง ยัดวัดยัดอาจารย์กันซะมาก เหตุเพราะแต่ละสำนักจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันซึ่งผู้ที่ศึกษาและสะสมจะ ต้องเข้าใจและแยกแยะให้ออก อีกเหตุผลหนึ่งก็คือหากเป็นของครูบาอาจารย์ชื่อดัง ๆ เช่น หลวงพ่อเดิม หลวงพ่อจง จะจำหน่ายได้รวดเร็วเพราะมีคนศรัทธาค่อนข้างมาก
ราคาเปิดประมูล900 บาท
ราคาปัจจุบัน950 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 25 ก.ค. 2560 - 16:35:34 น.
วันปิดประมูล - 29 ก.ค. 2560 - 19:50:38 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลtammanoon (9.5K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 25 ก.ค. 2560 - 16:36:17 น.



ลงใหม่
ผู้ชนะประมูลขอยกเลิกครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     950 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Supawat (472)(3)

 

Copyright ©G-PRA.COM