(0)
พระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้ามงคล จ.พระนครศรีอยุธยา <<พร้อมบัตร เคาะเดียว>>








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้ามงคล จ.พระนครศรีอยุธยา <<พร้อมบัตร เคาะเดียว>>
รายละเอียดพระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้ามงคล จ.พระนครศรีอยุธยา
รูป HD กรุณาคลิก https://www.img.in.th/image/N7Xl


พระกรุวัดตะไกร เป็นพระกรุเก่าแก่อีกหนึ่งพิมพ์ของเมืองกรุงเก่า หรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่นิยมสะสมอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสม พระเครื่องพระบูชามาแต่โบราณ โดดเด่นมาพร้อมกับ "พระกริ่งคลองตะเคียน" โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าหาดูของแท้ๆ กันค่อนข้างยากเช่นกัน

วัดตะไกร ตั้งอยู่ที่คลองสระบัว อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันเป็นวัดร้าง ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง แม้แต่ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าก็ไม่พบชื่อวัด มีเพียงสิ่งก่อสร้างที่หลงเหลือไว้ เช่น เจดีย์ และพระอุโบสถ ทำให้พอสันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ประมาณในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และคงมีการบูรณะกันเรื่อยมาตามลำดับ ที่ปรากฏชัดคือ ในราวสมัยพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากปรากฏพระปรางค์ร้างอยู่องค์หนึ่งเป็นพุทธศิลปะในสมัยพระเจ้าปราสาททอง

การค้นพบพระกรุวัดตะไกรนั้น เล่ากันว่า ชาวบ้านได้พบเจอพระเนื้อดินที่วัดตะไกรมาราว 100 ปีกว่าแล้ว แต่ไม่มีผู้ใดสนใจ กระทั่งมีการแตกกรุครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2470 หลังจากนั้นก็พบทยอยขึ้นจากกรุเรื่อยมาพระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดินเผา ต่อมาปรากฏว่า ผู้ที่บูชา พระติดตัวต่างมีประสบการณ์กันโดยถ้วนทั่วในด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด จึงต่างนำมาบูชาขึ้นคอ จากนั้นมาผู้คนจึงเริ่มแสวงหาและกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบมาถึงปัจจุบัน

พระกรุวัดตะไกร ที่พบมีทั้งเนื้อดิน เนื้อชิน และเนื้อชินสนิมแดง แต่เนื้อชินและเนื้อชินสนิมแดงมีจำนวนน้อยมาก "พระเนื้อดิน" จึงเป็นที่นิยมมากกว่า องค์พระบางองค์ยังปรากฏมีการลงรักปิดทองมาจากกรุก็มี

พระกรุวัดตะไกร มีพุทธลักษณะองค์ พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย องค์ที่ติดชัด พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ นอกจากนี้ เส้นสังฆาฏิยังปรากฏชัดเจน

พุทธลักษณะโดยรวมของพระกรุวัดตะไกรจะคล้ายคลึงกันทุกองค์ แต่เพียงในส่วนพระพักตร์ที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้เกิดการแบ่งแยกออกเป็นพิมพ์ย่อยได้ทั้งหมด 3 พิมพ์ คือ พิมพ์หน้าครุฑ, พิมพ์หน้าฤๅษี และพิมพ์หน้ามงคล โดย "พระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑ" ถือเป็นพิมพ์นิยม ด้วยเชื่อกันว่า นอกจากจะอยู่ยงคงกระพันแล้ว ยังสามารถป้องกันงูเงี้ยวเขี้ยวขอได้อีกด้วย

พระกรุวัดตะไกร เนื้อดินเผา จะมีเอกลักษณ์เฉพาะสำคัญ คือ ที่ใต้ฐานจะมีรูรอยไม้เสียบทุกองค์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการใช้ไม้เสียบเพื่อนำองค์พระออกจากแม่พิมพ์ แต่สำหรับพระเนื้อชินและเนื้อชินสนิมแดงจะไม่มีรูดังกล่าว จุดสังเกตที่ใช้ในการพิจารณา มีดังนี้

- รูใต้ฐานขององค์พระจะมีรูปร่างไม่แน่นอน

- ขอบหรือปีกขององค์พระค่อนข้างบาง ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ จะสังเกตได้ว่าองค์พระที่พบเห็นส่วนใหญ่มักขอบบิ่น

- ด้านหลังจะมีรอยนิ้วมือจากการกดพิมพ์พระ

นอกจากนี้ ให้พิจารณาความเก่าของเนื้อองค์พระของพระกรุเก่า และสีสันวรรณะจากการเผาตามหลักการพิจารณาพระเนื้อดินเผาทั่วไป

สำหรับ พระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑ ซึ่งเป็นพิมพ์นิยมนั้น มีจุดตำหนิเพิ่มเติมดังนี้

- พระกรรณข้างขวาขององค์พระเป็นเส้นใหญ่หนา

- ปลายสังฆาฏิด้านล่างมีเส้นน้ำตก

- เหนือพระหัตถ์ซ้ายจะมีเนื้อนูนเป็นเส้นวิ่งขนานกับพระหัตถ์

- ชายจีวรบริเวณพระอุระมีเส้นขนาน

- บริเวณพระเพลาของบางองค์ปรากฏรอยเขยื้อนของพิมพ์

พระกรุวัดตะไกร นับเป็นพระกรุเก่าที่เป็นที่เลื่องลือมาแต่โบร่ำโบราณว่าเป็นเลิศยิ่งนักในด้านแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี นอกจากนี้ยังช่วยเสริมยศศักดิ์ ป้องกันเขี้ยวงา และเมตตามหานิยม

ปัจจุบันแทบไม่ค่อยพบเจอพระแท้ เพราะผู้บูชาต่างเก็บไว้สืบทอดสู่ลูกหลานครับผม

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ข่าวสด
ราคาเปิดประมูล900 บาท
ราคาปัจจุบัน2,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 13 มิ.ย. 2560 - 21:22:42 น.
วันปิดประมูล - 14 มิ.ย. 2560 - 22:18:09 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลnunthikorn (278)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     2,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    pluakint (272)

 

Copyright ©G-PRA.COM