(0)
พระสมเด็จวัดระฆังหลังฆ้อน ยุคต้นเนื้อหาจัดจ้าน พร้อมบัตรรับรองครับ





ชื่อพระเครื่องพระสมเด็จวัดระฆังหลังฆ้อน ยุคต้นเนื้อหาจัดจ้าน พร้อมบัตรรับรองครับ
รายละเอียดประวัติสมเด็จวัดระฆังหลังฆ้อน

วัดระฆังโฆษิตาราม กรุงเทพฯ (เดิมเป็นจังหวัดธนบุรี) เป็นพระ
อารามหลวงซึ่งมีพระเถราจารย์สำคัญอย่างน้อย ๓ องค์ คือ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด)
และ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) พระภิกษุทั้ง ๓ รูปนี้สร้างพระพิมพ์
สำคัญไว้จำนวนมาก สองท่านแรกสร้างพระเนื้อผงเรียกกันทั่วไปว่า “พระสมเด็จวัดระฆัง” และ “พระสมเด็จปิลันทน์” ส่วนองค์หลังคือ สมเด็จ
พระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) สร้างพระหล่อเนื้อโลหะ คือ “พระวัดระฆัง
หลังฆ้อน” อันเป็นเนื้อเรื่องของบทความนี้
ประวัติสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ)
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม นามเดิม หม่อมราชวงศ์เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นบุตรของหม่อมเจ้าถึก ในสมเด็จพระ ประพันธวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ เกิดเมื่อวันจันทร์แรม ๑๒ ค่ำเดือน ๙ ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๔๐๐ ที่บ้านบางอ้อ จังหวัดนครนายก
ย้ายจากนครนายกมาอยู่ที่ กรุงเทพฯ ตั้งแต่เยาว์วัย เรียนอักขระสมัย
กับบิดาแล้วถวายตัวเป็นศิษย์ของหม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) ศึกษาพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) กับ พระอมราชราจารย์ (เกษ) รวมทั้งหม่อเจ้าชุมแสงผู้เป็นลุงและพระโหราธิบดี (ชม) โดยเรียนกับ
๔ ท่านนี้เป็นพื้น นอกจานกนี้ยังเป็นศิษย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และ สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ฯ อีกด้วย จึงคุ้นเคยกับสมเด็จพระสังฆราช
(แพ ติสสเทว) ในเวลาต่อมา
- พ.ศ.๒๔๑๓ บรรพชาเป็นสามเณร เข้าแปลพระปริยัติธรรมได้เปรียญ
๓ ประโยคตั้งแต่เพียงอายุ ๑๔ ปี
- พ.ศ.๒๔๑๙ เข้าแปลพระปริยัติธรรมได้อีก ๑ ประโยค รวมเป็นเปรียญ ๔ ประโยค
- พ.ศ.๒๔๒๑ อุปสมบทในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) เป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ.๒๔๒๕ เข้าแปลพระปริยัติธรรมได้อีก ๑ ประโยครวมเป็น
๕ ประโยค
- พ.ศ.๒๔๓๐ (ปีกุน) ทรงแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะที่ “พระราชา
นุพัทธมุนี” แล้วโปรดอารธนาไปหรอ วัดโมลีโลก (วัดท้ายตลาด) ต่อมาถึง
พ.ศ.๒๔๓๕ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) หรือพระพุทธรูปบาทปิลันทน์ ย้ายไป
ครองวัดพระเชตุพนฯ โปรดอารธนากลับมาครองวัดระฆังฯ อีกครั้ง
- พ.ศ.๒๔๓๘ ทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ “พระเทพเมธี”
- วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ร.ศ.๑๒๑ (พ.ศ.๒๔๔๕) โปรดให้เปลี่ยนเป็น
พระธรรมไตรโลกาจารย์
- ถึงรัชกาลที่ ๔ วันที่ ๒๕ มกราคม พงศ.๒๔๕๓ ทรงเลื่อนเป็น “พระพิมลธรรม”
- วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนา
พระพิมลธรรม (หม่อมราชวงศ์ เจริญ) ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะ
ที่ “พระพุทธโฆษาจารย์” ซึ่งเป็นสมณศักดิ์สุดท้าย
- สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) มรณภาพเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๑ อายุ ๗๐ ปี พรรษา ๕๐
อนึ่ง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) มีความสามารถในการเทศน์
มหาชาติและเป็นนักปกครองที่ดีมีทั้งพระเดชและพระคุณเป็นที่รักและเคารพ
ทั้งจากพระภิกษุและฆราวาสโดยทั่วไป
การสร้างพระวัดระฆังหลังฆ้อน
พระเทพญาณเวที (ละมูล) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม
ซึ่งเป็นศิษย์ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) ได้ให้รายละเอียดว่า พระวัดระฆังหลังฆ้อนนี้มีการสร้าง ๒ วาระ
การสร้างครั้งแรก
พระเทพญาณเวทีเล่าว่าเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์สร้างพระ
วัดระฆังหลังฆ้อนในครั้งแรกนั้น ท่านผู้เล่ายังไม่ได้บรรพชาเป็นสามเถร (บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๘) และสมเด็จฯ (เจริญ) ยังมีสมณศักดิ์
เป็น “พระพิมลธรรม” อยู่ (เลื่อนเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔) จึงสรุปได้ว่าการสร้างพระวัดระฆังหลังฆ้อนนั้นอยู่ในราว
พ.ศ.๒๔๕๓ ถึง พ.ศ.๒๔๕๗
พระญาณเวทีเล่าว่า
การสร้างครั้งนี้เททองที่บริเวณพระอุโบสถ พิธีกรรมคราวนั้นกล่าว
ได้ว่าทำอย่างใหญ่โต เริ่มด้วยการส่งแผ่นทองเหลืองถวายไปยังพระคณาจารย์
ต่างๆ ที่ามีชื่อทั้งในกรุงเทพฯ ธนบุรี และต่างจังหวัด ทำการลงเลขยันต์แล้ว
ส่งกลับคืนมา แล้วนำแผ่นทองเหลืองลงยันต์นั้นมาหลอมรวมกับทองเหลือง
เก่าซึ่งมีทั้งฝาบาตรและถาดทองเหลืองเก่าที่มีอยู่มากในสมัยนั้น โบราณเรียก
ทองชนิดนี้ว่าทองใบหรือทองลำย่อย เมื่อเทเป็นองค์พระแล้วเนื้อพระจึง
ดูเข้มจัด มีกระแสคล้ายกับทองดอกบวบ”
คนเก่าแก่ที่อยู่แถววัดระฆังเรียกพระที่สร้างว่า “พระสมเด็จปรกโพธิ์ เนื้อทองเหลือง (หรือทองฝาบาตร)”
พระญาณเวที (ละมูล) เล่าอีกว่าพระที่ไม่ได้ขัดแต่งให้เช่าองค์ละ
๑ บาท ส่วนอีกอย่างที่พระจัดแต่งให้สวยงามให้เช่าองค์ละ ๒ บาท
พระบางองค์แต่งแล้วมีหูเชื่อมด้านบน บางองค์แต่งขอบด้านบน
โค้งมนดูคล้ายกับเล็บมือ บางองค์มีลงเหล็กจารเป็นพิเศษบางองค์มียันต์ในตัว
ซึ่งมีน้อย
สมเด็จฯ ท่านนำรายได้ไปทำการปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและศาลา
การเปรียญในขณะนั้น
การสร้างครั้งที่ ๒
คาดว่าพระวัดระฆังหลังฆ้อนซึ่งสร้างในครั้งแรกนั้นเป็นที่นิยม
กันมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้คน จึงมีการสร้างอีกครั้งเป็น
ครั้งที่สอง
การสร้างครั้งหลังนี้อยู่ในระหว่าง พงศ.๒๔๕๘ ถึง พ.ศ.๒๔๗๐ เพราะ
พระญาณเวที (ละมูล) เล่าว่าการสร้างครั้งที่สองนั้น ท่านบรรพชาเป็น
สามเณรแล้ว (บรรพชา พ.ศ.๒๔๕๘) และสมเด็จพระอุปัชฌาย์เลื่อนสมณศักดิ์
จากพระพิมลธรรมเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เป็นสมเด็จพระพุทธ
โฆษาจารย์ ในพ.ศ.๒๔๖๔) หลังจากนั้นเพียง ๖ ปี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ก็ถึงแก่มรณภาพใน พงศ.๒๔๗๐
ข้อมูลข้างต้นนี้นำมาจากหนังสือ “ของดีวัดระฆัง” รวบรวมโดย
พระครูปลัดสมคิด สิริวทฺฒโก ชื่อบท “พระสมเด็จปรกโพธิ์ เนื้อทองเหลือง”
นอกจากนี้ผู้เขียนเอง (ม.ร.ว.อภิเดช) ได้รับฟังมาว่าเนื้อโลหะของ
พระวัดระฆังหลังฆ้อนนี้ยังมีส่วนผสมของเศษโลหะที่เหลือจากการแต่งพระพุทธ
ชินราชจำลองที่รัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดให้หล่อที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
จังหวัดพิษณุโลกแล้วทรงนำไปเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจม
บพิตรฯ ด้วย
การหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ทำใน พ.ศ.๒๔๔๔ ชะลอมาตกแต่งที่
กรมทหารเรือ ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดระฆังฯ และบ้านช่างหล่อนัก ช่างที่แต่ง
น่าจะเป็นช่างจากบ้านช่างหล่อ เรื่องที่ว่าพระวัดระฆังหลังฆ้อนมีส่วนผสม
โลหะจากพระพุทธชินราชจำลองจึงเป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือ อนึ่ง พระรูปหล่อและ
เหรียญจอบหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานนี้ที่มีส่วนผสมจากโลหะเหลือจากการ
ตกแต่งพระพุทธชินราชจำลองนี้เช่นกัน ทั้งนี้คงเป็นเพราะช่างผู้หล่อพระ
หลวงพ่อเงินเป็นช่างจากบ้านช่างหล่อ อนึ่งเมื่อพิจารณาจากเนื้อโลหะของ
พระวัดระฆังหลังฆ้องกับพระหล่อหลวงพ่อเงินวัดระฆังหลังฆ้อนแล้วมีความ
คล้ายหรืออาจจะใช้คำว่า “เหมือนกัน” มาก
นอกจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) เจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ในขณะนั้นจะเป็นประธานในพิธีหล่อพระวัดระฆังหลังฆ้อนแล้ว พระภิกษุ
องค์สำคัญรูปหนึ่งซึ่งมีส่วนร่วมในการสร้างและปลุกเสกก็คือพระอาจารย์พา วัดระฆังฯ พระอาจารย์พาเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิชาอาคมขลัง มีความสนิท
ชิดชอบกับสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนเทพวรารามและพระพุทธวิถี
นายก (หลวงปู่บุญ) วัดกลางบางแก้ว หลวงปู่บุญเคยนำพิมพ์พระชัยวัฒน์
ของอาจารย์พาไปสร้างพระชัยวัฒน์ของวัดกลางบางแก้ว นอกจากนี้ท่าน
ยังมีความคุ้นเคยกับช่างบ้านช่างหล่อ จึงเชื่อแน่ว่าท่านคงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง
สำคัญในการสร้างพระวัดระฆังหลังฆ้อนในครั้งนั้น
พุทธลักษณะ
มีทั้งพิมพ์ล่ำและพิมพ์ผอมชะลูด โดยรวมมีพุทธลักษณะดังนี้
ด้านหน้า พระพุทธประทับนั่งขัดสมาธิรามบนฐานบัว ๒ ชั้น มีซุ้มโค้ง
โดยรอบองค์และฐาน เหนือพระเศียรและด้านข้างองค์พระมีใบโพธิ์โดยรอบ
มีพระกรรณแต่ไม่เห็นรายละเอียดบนพระพักตร์
ด้านหลัง ...ใหญ่หลังเรียบ มีน้อยองค์ที่มียันต์ในตัวและมีการลง
เหล็กจาร
เนื้อ เนื้อโลหะผสมออกเหลือง และเนื้อสัมฤทธิ์ (มีน้อย)
ขนาด กว้างประมาณ ๑.๗๐ ซ.ม. สูงประมาณ ๒.๓๐ ซ.ม.
ความหนา ไม่แน่นอนแต่ไม่บางนัก
พระพุทธคุณ
พระพุทธคุณของพระวัดระฆังเลื่องลือกันมานานตั้งแต่ครั้ง
สงครามโลกครั้งที่ ๒ แล้ว โดยเฉพาะทางแคล้วคลาดจากภัยอันตรายต่างๆ
พระพุทธคุณหนึ่งที่พูดกันมากคือ มีติดตัวแล้วปลิงไม่เกาะ มีผู้เชื่อถือ
ได้เล่าว่ามีข้าราชการผู้หนึ่ง (อดีตสุขาภิบาล อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ) แขวนพระในคอรวม ๕ องค์ เมื่อลงไปในคลองปรากฎว่าปลิงไม่เกาะ ในขณะที่คนอื่นที่ลงน้ำด้วยกันถูกปลิงเกาะกันตามๆ กันนึกสงสัยว่า
จะเป็นด้วยพระพุทธคุณของพระเครื่ององค์ใดใน5องค์นี้ จึงลองถอด
พระออกแล้วก็ลงคลองโดยแขวนพระทีละองค์ ปรากฎผลเป็นที่แน่ชัดว่า
พระองค์ที่แขวนแล้วปลิงไม่เกาะก็คือพระวัดระฆังหลังฆ้อน เนื้อทองเหลืองนั่นเอง...

พระองค์ที่ลงประมูลนี้ผ่านการใช้ และประสบการณ์มาพอสมควร และเนื้อหาความแท้ยังดูง่าย เปี่ยมด้วยพุทธคุณ ไม่ผิดหวังสำหรับผู้ที่จะครอบครอง มาพร้อมบัตรรับรอง ระบุสภาพใช้สึก มีตลับเลสสั่งตัดให้ด้วยครับ
รับประกันตามกฏครับ
ราคาเปิดประมูล6,900 บาท
ราคาปัจจุบัน7,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 08 มี.ค. 2558 - 06:50:32 น.
วันปิดประมูล - 11 มี.ค. 2558 - 14:12:47 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลmoonmon (537)(7)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     7,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    โฟล์คซอง (2.7K)

 

Copyright ©G-PRA.COM