(0)
วัดใจ/เคาะเดียว...ขาดทุน...เหรียญไตรบารมี 2 หลวงพ่อผอง วัดพรหมยาน อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ เนื้อสามกษัตริย์หมายเลข 194 + เนื้อทองแดงลงยา เลข 194 พร้อมกล่องเดิมรวม 2 เหรียญ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัดใจ/เคาะเดียว...ขาดทุน...เหรียญไตรบารมี 2 หลวงพ่อผอง วัดพรหมยาน อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ เนื้อสามกษัตริย์หมายเลข 194 + เนื้อทองแดงลงยา เลข 194 พร้อมกล่องเดิมรวม 2 เหรียญ
รายละเอียดวัดใจ/เคาะเดียว...ขาดทุน....(ราคาถูกว่าออกจากวัดครับ)
เหรียญไตรบารมี 2 หลวงพ่อผอง วัดพรหมยาน อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ เนื้อสามกษัตริย์หมายเลข 194 + เนื้อทองแดงลงยา เลข 194 พร้อมกล่องเดิม รวม 2 เหรียญ

-จัดสร้างจำนวน 199 ชุด (เพชรกลับจันทร์เพ็ญ)
-ชุดสามกษัตริย์.. หน้าฉลุองค์ทองคำ หลังเนื้อเงิน ขอบนวะโลหะ 1 เหรียญ +เหรียญทองแดงลงยาสีแดง 1 เหรียญ
-ปลายจมูกองค์เนื้อสามกษัตริย์โดนนิดหน่อย/ไม่โด่ง แต่ไม่เสียหายจนน่าเกลียด

-ประวัติหลวงพ่อผอง

หลวงพ่อพระครูธีรพัชโรภาส ( ผอง ธมฺมธีโร ) นามเดิมชื่อ ผอง นามสกุล อินทรผล เกิดที่บ้านหันน้อย ต. หนองมะเขือ อ. พล จ. ขอนแก่น เมื่อวันอังคารที่ 24 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2467 บิดาชื่อ นายหลอด อินทรผล มารดาชื่อ นางบุญโฮม ผลโพธิ์ มีพี่น้องร่วมท้องมารดาเดียวกันทั้งหมด 7 คน ท่านเป็นพี่คนโต การศึกษาในวัยเยาว์ท่านเรียนจบชั้น ม.ศ. 3 จากโรงเรียนบำรุงไทย 2 อ. พล จ. ขอนแก่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้เข้ารับการฝึกเป็นกองทหารอาสาในช่วงปี 2488 พอถึงช่วงปลายปีนั้นสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงท่านจึงไม่ได้ไปร่วมรบแต่อย่างใด ท่านอุปสมบทเมื่อ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2489 ที่วัดศรีชมชื่น ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 15 ต. บ้านเรือ อ. ภูเวียง จ. ขอนแก่น โดยมีพระครูปฏิพัทธ์ธรรมคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ - หลังจากที่ได้บวชที่วัดศรีชมชื่นแล้ว ท่านได้จำพรรษาที่ วัดโพธิ์ชัย และวัดสระแก้ว วัดละ 1 พรรษา ท่านสอบได้นักธรรมชั้นตรีที่วัดโพธิ์ชัยและนักธรรมชั้นโทที่วัดสระแก้ว หลังจากนั้นท่านได้เดินธุดงค์ผ่านมาทางเทือกเขาจังหวัดชัยภูมิ มาจำพรรษาที่วัด มะกอกหวาน อ. ชัยบาดาล จ. ลพบุรี อีก 2 พรรษา หลังจากจำพรรษาที่นี่แล้ว พอออกพรรษานั้นท่านได้เดินธุดงค์ไปตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วภาคกลาง เช่นพระนครศรีอยุธยา ชัยนาถ นครสวรรค์ พิจิตร ฯลฯ และได้มาพักที่ อ. ตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ก่อนจะเดินธุดงค์ขึ้นไปทางภาคเหนือ เหมือนท่านได้เคยบำเพ็ญบารมีเป็นศิษย์กับอาจารย์ ร่วมกันมากับหลวงพ่อทบ ท่านได้รับการชักชวนจากเจ้าอาวาสวัดสว่างเนตร ต. ดงขุย อ. ชนแดน ให้มาจำพรรษาและพัฒนาวัดร่วมกัน ท่านจึงได้ตัดสินใจจำพรรษาที่วัดนี้ เป็นเวลาถึง 7 พรรษา ช่วง พ.ศ. 2492 – 2498 และสอบได้นักธรรมชั้นเอกที่วัดสว่างเนตร หลังจากนั้นท่านได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดสิริรัตนาราม บ้านท่านข้าม อ. ชนแดนอีก 7 พรรษา ในช่วง 14 พรรษา ที่อยู่ที่ อ. ชนแดนนี้ ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นพระสังฆาธิการทำหน้าที่เลขานุการเจ้าคณะตำบล และเคยรักษาการเจ้าคณะตำบลดงขุย ชนแดน อยู่หลายปี และท่านได้เดินทางไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อทบ วัดเขาน้อย ( วัดพระพุทธบาทเขาน้อยในปัจจุบัน ) เทพเจ้าของชาวเพชรบูรณ์ ท่านได้เรียนวิชาอาคมต่าง ๆ คู่กับพระอาจารย์เพ็ง ( พระที่จารตะกรุดให้หลวงพ่อทบ ) ศิษย์เอกของหลวงพ่อทบอีกรูปหนึ่งจากหลวงพ่อทบจนหมดสิ้นวิชาความรู้ของหลวงพ่อทบ และยังได้ช่วยเป็นธุระในการสอนหนังสือนักธรรมให้แก่พระภิกษุและสามเณรที่วัดหลวงพ่อทบตลอดระยะเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่ อ. ชนแดน อีกด้วย นอกจากนี้ท่านยัง เป็นพระคู่สวด คู่กับพระอาจารย์เพ็ง คอยสวดญัตติจตุถกรรมวาจาให้แก่ผู้ที่จะบวช โดยมีหลวงพ่อทบ นั่งเป็นพระอุปัชฌาย์ โดยท่านได้ร่วมเดินทางไปบวชพระกับหลวงพ่อทบในถิ่นทุรกันดารเกือบจะทุกที่ เช่น วังโป่ง ดงขุย ท่าข้าม สามแยกวังชมภู ยางหัวลม นาเฉลียง ฯลฯ -หลังจากที่อยู่ฝากตัวเป็นศิษย์และช่วยหลวงพ่อทบสอนหนังสือและบูรณะก่อสร้างถาวรวัตถุที่วัดเขาน้อย และวัดที่ท่านจำพรรษาแล้ว จนมีความเจริญก้าวหน้าโดยลำดับแล้ว พอถึง ปี 2506 ท่านเบื่อหน่ายในตำแหน่งทางการปกครอง มุ่งแสวงหาความสงบทางด้านจิตใจ ท่านจึงได้ตัดสินใจกราบลาหลวงพ่อทบ ออกเดินจาริกธุดงค์จาก อ. ชนแดน ข้ามเทือกเขารังสามแยกวังชมภู ผ่านมาทางบ้านนาเฉลียง หนองไผ่ บึงสามพัน และได้เดินธุดงค์มาทางบ้านถ้ำท่าเกย ต. สามแยก มาพักที่วัดถ้ำท่าเกยได้ระยะหนึ่ง ก็มีชาวบ้านจากบ้านพรหมยามและบ้านโค้งสุพรรณ ได้พากันเดินทางมานิมนต์ท่านให้ไปช่วยสร้างวัดที่บ้านพรหมยาม ท่านจึงรับนิมนต์และเดินทางมายังบ้านพรหมยามเมื่อวันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม 2506 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 8 ซึ่งเป็นวันโกนก่อนวันพระเข้าพรรษาเพียง 1 วัน ชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างกุฏิที่พักชั่วคราวเป็นเรือนไม้ไผ่หลังคามุงหญ้าคา ให้ท่านได้พักจำพรรษาหลังจากนั้นพอออกพรรษาแล้ว ท่านได้ชักชวนชาวบ้านในละแวกหมู่บ้านใกล้เคียงให้ช่วยกันสร้างวัดพรหมยามขึ้นมา วัดพรหมยามได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน ประกอบกับปฏิปทาที่น่าเลื่อมใสน่าเคารพของหลวงพ่อผอง ทำให้ท่านเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านอย่างที่สุด ประกอบกับวัตถุมงคลของท่าน ที่ท่านปลุกเศกและได้ทำตามตำราวิชาที่เรียนมาจากหลวงพ่อทบ มีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่สายตาของชาวบ้านโดยทั่วไป และยังเป็นประสบการณ์ที่หนัก ๆ อีกด้วย เช่น โดนถล่มยิงด้วย M 16 ถึง 40 นัด รถพรุนทั้งคัน คนขับลูกปืนถาก ๆ แขนขาบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย คนนั่งไปด้วยเสื้อขาดหนังท้องถลอก อีกรายฟ้าผ่าลงมาเต็ม ๆ ที่ร่างไฟลุกเต็มหลังควันพวยพุ่งออกจากหัวแต่ไม่เป็นอะไรเลย อีกรายโดนยิงด้วยลูกซองยาวระยะ 7 เมตร ลูกตะกั่วเข้าเต็มหน้าอกทุกเม็ดกระเด็นหงายท้อง ไปหาหมอเอาคีบหนีบลูกตะกั่วแบน ๆ ที่ติดตามหน้าอกออกแล้วกลับบ้านได้ ทางด้านเมตตามหานิยมท่านก็เป็นเยี่ยมมาก โดยเฉพาะสีผึ้งมหาเสน่ห์มหานิยม แต่ท่านจะนาน ๆ ทำครั้งนึง ปัจจุบันเลิกทำแล้ว ฯลฯ และอีกอย่างหนึ่งวัตถุมงคลประเภทพระเครื่องของท่านก็สร้างน้อยมาก ทำให้ชาวบ้านหวงแหนและแสวงหาวัตถุมงคลของท่านเป็นอันมาก ปฏิปทาที่น่าเลี่ยมใสของท่านอีกอย่างคือท่านไม่ยึดติดในลาภสักการะแต่อย่างใด ไม่สะสมวัตถุข้าวของเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรม บางครั้งท่านอาพาธเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาท คณะศิษย์ยังต้องช่วยกันออกค่ารักษาพยาบาทให้ เพราะท่านไม่สะสมจตุปัจจัยไทยธรรมญาติโยมถวายมาเท่าไหร่ ท่านก็เอามาก่อสร้างถาวรวัตถุและบำเพ็ญทานบารมีจนหมดสิ้น กุฏิที่ท่านอยู่ก็เป็นเพียงกุฏิหลังเล็ก ๆ พอได้อาศัยจำวัดและปฏิบัติธรรมเท่านั้น ปัจจุบันนี้ท่านอายุ 83 ปี พรรษาที่ 62 แต่ท่านก็ยังมีสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บป่วยแต่อย่างใด หลวงพ่อผองท่านนับว่าเป็นศิษย์สายตรงที่เหลือน้อยมาก ๆ ของ หลวงพ่อทบอีกรูปหนึ่ง ที่มีระยะเวลาของช่วงชีวิตเกี่ยวพันกับหลวงพ่อทบนานถึง 14 ปี 2492 – 2506 ท่านนับว่าเป็นพระสุปฏิปันโนที่น่าเลื่อมใสและกราบไว้ได้อย่างสนิทใจอีกรูปหนึ่งของเมืองเพชรบูรณ์


เหรียญไตรบารมี 2 หลวงพ่อผอง ธมฺมธีโร วัดพรหมยาม จ.เพชรบูรณ์

วัตถุประสงค์ : จัดหาปัจจัยเบื้องต้นสำหรับสร้างมณฑป ประดิษฐาน รูปเหมือนหลวงพ่อทบและหลวงพ่ออ้วน ให้เป็นถาวรสืบไป พิธีพุทธาภิเษก 3 วาระ ระหว่างวันที่ 21-26 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 ห ลวงพ่อผอง ไตรบารมี 2 (เพชรกลับ-จันทร์เพ็ญ) คือวัตถุมงคลที่หลวงพ่อผองอนุญาตให้สร้างขึ้น เพื่อสมทบปัจจัยเบื้องต้นในการสร้างมณฑป สำหรับประดิษฐานรูปเหมือน 2 บูรพาจารย์ของหลวงพ่อผอง คือ หลวงพ่อทบ ธมฺมปญโญ วัดพระพุทธบาทชนแดน และ หลวงพ่ออ้วน เตชธมฺโม วัดดงขุย รูปลักษณ์ของเหรียญ ไตรบารมี 2 (เพชรกลับ-จันทร์เพ็ญ) ด้านหน้า : โดดเด่นด้วยรูปแบบ เหรียญเสมาธรรมจักรแบบประยุกต์ ซึ่งเกิดขึ้นจากการนำองค์ประกอบของสุดยอดแห่งเหรียญนั่งพาน คือ เหรียญนั่งพาน หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ และ เหรียญจันทร์เพ็ญมหาปรารถนา หลวงปู่คำพันธ์ มาผสมผสานกัน เพื่อใช้เป็นแนวคิดหลักในการสร้างสรรค์การออกแบบอีกทั้งยังมีการนำความหมายของ พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ-พระธรรม-พระสงฆ์ มาสอดแทรกไว้อย่างลงตัวก่อเกิดเหรียญต้นแบบรุ่นใหม่ที่งดงาม โดดเด่นยิ่งดังรายละเอียดของ ไตรบารมี 2 ดังนี้ ด้านข้าง : ด้านซ้าย และ ขวาของเหรียญ ไตรบารมี 2 จำหลักภาพของสัตว์หิมพานต์ ชื่อว่า เหรา 2 ตน ขนาบไว้ทั้งสองข้าง ทอดหางยาว เกี่ยวกระหวัดขึ้น สู่ด้านบนของเหรียญอย่างมีลีลา งดงามในทุกรายละเอียด แม้เพียงเกล็ดเล็กๆ ก่อเกิดเส้นกรอบ ขอบซุ้มของเหรียญที่ไล่เรียง ลดหลั่นขึ้นไป จวบจนคล้องครอบปกปักษ์ พระพุทธ ที่จำหลักไว้ที่มุมบน เบื้องสูง แล้วเหราจึงตวัดหางทั้งคู่มาจรดจบลงที่ตำแหน่งของห่วงเหรียญด้านบนได้อย่างลงตัวพอดิบ พอดี อย่างน่าอัศจรรย์ใจ ตรงกลาง : จัดวางพื้นหลัง ธรรมจักร อันเป็นสัญลักษณ์แห่ง พระธรรม ภายในธรรมจักรมีอักขระขอมเขียนว่า สัพพพุทธานุภาเว นะ สัพพธัมมานุภาเวนะ สัพพสังฆานุภาเวนะ อันมีความหมายว่า ด้วยอานุภาพทั้งปวงแห่ง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เบื้องหน้าธรรมจักร คือ รูปหลวงพ่อผองนั่งขัดสมาธิ ในลักษณะสำรวม สื่อถึง ความสงบร่มเย็น บนโต๊ะขาสิงห์ อันเป็นสัญลักษณ์ของ พระสงฆ์ ใต้โต๊ะขาสิงห์ จัดวางลายมือชื่อของ หลวงพ่อผอง ธมฺมธีโร ไว้อย่างสวยงาม ลงตัว ล่างสุด : สลัก ลายหน้าสิงห์ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งตบะบารมี มหาอำนาจและลวดลายกนกที่อ่อนช้อยต่อลายไปบรรจบกับตัวเหรา ทุกรายละเอียดสอดร้อยกันอย่างลงตัว งดงาม วิจิตรบรรจง อลังการงานศิลป์ เกินคำบรรยายใดใด ให้ใกล้เคียงความงดงามของเหรียญ ไตรบารมี 2 องค์จริงได้ ด้านหลัง : คือยันต์ เพ็ชรกลับ ที่ศักดิ์สิทธิ์ เข้มขลังตามตำหรับของหลวงพ่อทบ ซึ่งมีพุทธคุณครอบจักรวาล ถัดลงมามีอักขระขอม เขียนไว้ว่า พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา ปิตุมาตุรักษา อันทรักษา พรหมารักษา เทวตารักษา และชื่อวัดพรหมยาม,จังหวัดเพชรบูรณ์ และวาระอายุที่ย่างเข้า 88 ปี ของหลวงพ่อผอง
พิธีปลุกเสก
วาระที่ 1)ภายในพระอุโบสถ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน 2553 ตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีขาล เป็นจันทร์เพ็ญปีขาล ในวันนี้ฤกษ์บนเป็นโจโรฤกษ์ หมายความว่า ดีด้านการแข่งขันมีกำลังกล้าแข็ง เหมาะกับการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ตรงกับอักขระเลขยันต์หัวใจในยันต์เพ็ชรกลับอย่างยิ่ง หลังพิธีเสก ได้จัดให้มีพิธีทำลายแม่พิมพ์และโค๊ตของ ไตรบารมี 2 ท่ามกลางสักขีพยาน
วาระที่ 2) วันที่ 22-26 พฤศจิกายน 2553 เสกเดี่ยวที่กุฎิเก่าหลวงพ่อผอง วาระที่ 3) และพิธีสมโภช ไตรบารมี 2 วันที่ 26 พฤศจิกายน 2553 ภายในพระอุโบสถ วัดพรหมยามพุทธาภิเษก วัตถุมงคล ไตรบารมี 2 เพชรกลับ-จันทร์เพ็ญ (วันที่21-26 พฤศจิกายน พ.ศ.2553)


.....................รับประกันตามกฏทุกประการ............................
ราคาเปิดประมูล6,900 บาท
ราคาปัจจุบัน-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา -- (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 27 พ.ย. 2557 - 18:16:32 น.
วันปิดประมูล - 07 ธ.ค. 2557 - 18:16:32 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลjumanji (2.2K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 27 พ.ย. 2557 - 18:18:38 น.



โบร์ชัวร์เมื่อครั้งออกให้บูชา


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 27 พ.ย. 2557 - 18:22:01 น.



เนื้อเงิน+ขอบนวะ+หน้ากากทองคำ


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 27 พ.ย. 2557 - 18:23:03 น.



เนื้อสามกษัตริย์


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 27 พ.ย. 2557 - 18:24:10 น.



เนื้อทองแดงลงยา


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 27 พ.ย. 2557 - 18:26:10 น.



-ใบเสร็จตอนเช่ามา....ขั้นต่ำถูกกว่าราคาจองเยอะ
-แค่คิดก้อขาดทุนแล้วครับ
-รับประกันตามกฏทุกประการ


 
ราคาปัจจุบัน :     6,900 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 

Copyright ©G-PRA.COM