(0)
สมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ หลวงวิจารย์ ยุคกลาง จัดส่งพร้อมใบประกาศรับรองพระแท้ 3 ใบ และงานประกวดพระเครือง 1 ใบ(เอกซเรย์มาแล้วครับองคนี้ได้รางวัลที่ 4 ครับ)








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ หลวงวิจารย์ ยุคกลาง จัดส่งพร้อมใบประกาศรับรองพระแท้ 3 ใบ และงานประกวดพระเครือง 1 ใบ(เอกซเรย์มาแล้วครับองคนี้ได้รางวัลที่ 4 ครับ)
รายละเอียดรับประกันอายุพระ โดยตรวจสอบอายุพระด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ถ้าไม่ถึง คืนเงินทันที พร้อม ค่าตกใจอีก 2 เท่าของราคาปิด ครับ อ่านรายละเอียดการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังครับ
จากหลักฐานและความเป็นมา การสร้างพระพิมพ์ เชื่อได้ว่าเจ้าประคุณสมเด็จ สร้างอยู่ 3 แผ่นดิน หรือ 3 ยุคสมัยตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สร้างครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2368 จนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สร้างครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ.2414 รวมการสร้างพระพิมพ์ประมาณ 14 ครั้ง และแบ่งออกเป็น 3 ยุค ดังนี้

- ยุคต้นว่ากันง่ายๆ ก็คือเริ่มสร้าง ตามบันทึกหลวงปู่คำบอกว่าสมเด็จโตฯ สร้างพระตั้งแต่เป็นเณร พ.ศ.2342 เป็นต้นมา อ.ตรียัมปวาย บอกว่า น่าจะเริ่มราวๆ 2409 เพียง 6 ปี ก่อนสมเด็จโตมณะภาพเท่านั้น แต่ตามประวัติศาสตร์บอกว่าสมเด็จโตเริ่มสร้างพระครั้งแรกใน พ.ศ. 2368 ซึ่งเป็นต้นรัชกาลที่ 3 ตอนนั้นท่านดำรงสมรณศักดิ์เป็น "พระครูโต" เรียกพระที่สร้างว่า "พระพิมพ์" และสร้างมาเรื่อยๆ มากมายหลายบล็อกพิมพ์ หลายขนาดต่อมาเรียกพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นว่า “พระสมเด็จวัดระฆัง” เมื่อครั้งเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ทรงได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี”เมื่อปี พ.ศ. 2407 และได้เรียก “พระสมเด็จวัดระฆัง” เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยสร้างตามโอกาสต่างๆ ดังนี้

1. ปี พ.ศ. 2348 สร้างที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์ เป็น “พระครูโต”
2. ปี พ.ศ. 2378 สร้างเป็นที่ระลึกในการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระปริยัติธรรม”
3. ปี พ.ศ. 2379 สร้างเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้บริจาคเงินสร้างพระพุทธไสยาสน์
4. ปี พ.ศ. 2381 สร้างเป็นที่ระลึกให้งานทำบุญครบ 51 ปี ขณะดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์ พระปริยัติธรรม
5. ปี พ.ศ. 2386 สร้างเป็นที่ระลึกในงานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระราชปัญญาภรณ์”
6. ปี พ.ศ. 2387 สร้างเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้บริจาคเงินบำรุงวัดระฆัง
7. ปี พ.ศ. 2390 สร้างเป็นที่ระลึกในงานทำบุญครบรอบ 60 ปี เป็นที่ “พระเทพกวีศรีวิสุทธินายก”

ซึ่งการสร้างแต่ละครั้งมีจำนวนไม่มาก เป็นพิมพ์ใหญ่ และอื่นๆ เป็นพระเนื้อขาวแก่ปูนทั้งสิ้น หากเป็นพิมพ์ใหญ่ยังไม่มีเส้นกรอบกระจก
สรุปได้ว่ายุคต้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390 (รัชกาลที่ 3 ครองราช พ.ศ. 2367 - 2394)

____________________________________________________

-ยุคกลางในยุคนี้นับจากปี 2399 มีการเว้นระยะการสร้างไปเพราะเป็นช่วงปลายรัชการที่ 3 ต้นรัชการที่ 4 สมเด็จโตท่านไม่ค่อยมีเวลาเพราะออกธุดง และออกต่างจังหวัดเเดินทางบ่อย และต่อมาท่านถูกรับสั่งให้ตามตัวจากรัชกาลที่ 4 ซึ่งเพิ่งขึ้นครองราชย์ ให้กลับมาอยู่วัดระฆังหลังจากไปธุดงค์ตามจังหวัดต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3 จากนั้นท่านก็มีเวลาในการสร้างพระเครื่องมากขึ้น และได้กำเนิดพิมพ์ทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก อันประกอบไปด้วยครอบแก้วและองค์พระปฏิมาบนฐาน 3 ชั้น นับเป็นประดิษฐกรรมที่แปลกใหม่ของการสร้างพระด้วยเนื้อผง ในรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า และพุทธศิลปตามคติของรัชกาลที่ 4 คือไม่มีมุ่นมวยผมหรือเกศบัวตูม มีแต่พระรัศมีอย่างเดียว พิมพ์ทรงของสมเด็จยุคนี้ยังเป็นพิมพ์แบบชาวบ้านที่แกะขึ้นถวายรวมทั้งช่างจากชาวบ้าน ช่างหล่อ ช่างสิบหมู่ซึ่งอยู่ในละแวกเดียวกับวัดระฆัง มีวาระการสร้างดังนี้

1. ปี พ.ศ. 2399 สร้างให้โยมพระบิดามารดา เพื่อแทนคุณ ขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระธรรมกิติโสภณ” เป็นพิมพ์ปรกโพธิ์
2. ปี พ.ศ. 2399 สร้างเป็นที่ระลึกในงานสร้างพระบูชา นามว่า “พระหาพุธพิม”
3. ปี พ.ศ. 2407 สร้างเป็นที่ระลึกในงานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)พรหมรังษี” เป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
4. ปี พ.ศ. 2409 สร้างในขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี” เริ่มสร้างที่จำนวน 84,000 องค์ตามเจตนารมณ์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยแม่พิมพ์ของช่างทองหลวง “หลวงวิจารณ์เจียรนัย”
5. ปี พ.ศ. 2411 สร้างในขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์โต เป็นพิมพ์ใหญ่อกวี

สรุปได้ว่ายุคกลาง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ตั้งแต่ พ.ศ.2399 –2411 (รัชการที่ 4 ครองราชย์ พ.ศ. 2394 - 2411)

____________________________________________________

-ยุคปลายในยุคนี้เป็นยุคที่พระสมเด็จมีพิมพ์ทรงที่สวยงามที่สุด ว่ากันว่าออกแบบโดยหลวงวิจารณ์เจียรนัยที่เป็นช่างหลวง และเป็นพระสมเด็จที่เล่นหาด้วยราคาแพงในปัจจุบันนี้

ตามตำนานยังบอกว่าหลวงวิจารณ์เจียรนัยนอกจากจะออกแบบพิมพ์ทรงที่สวยงามให้สมเด็จโตแล้ว ยังเป็นผู้แนะนำให้สมเด็จโตผสมน้ำมันตังอิ้วในเนื้อพระเพื่อลดการแตกหักหรือเปราะบางในองค์พระรุ่นก่อนๆ

แม้พระยุคนี้จะเป็นพระสมเด็จราคาแพง แต่ข้อสรุปของพิมพ์ทรงยังไม่เป็นที่ยุติ เพราะปัจจุบันยังมีพระสมเด็จที่ซื้อขายกันด้วยราคาหลักล้านหลายต่อหลายองค์ที่พิมพ์ทรงแตกต่างจากพิมพ์ทรงที่ได้รับความนิยมในยุคแรก และอาจเป็นพระสมเด็จยุคแรกมีเจ้าของครอบครองหมดแล้ว หาพระแบบนั้นอีกไม่ได้ วงการพระเครื่องจึงต้องยกระดับพระสมเด็จหลายพิมพ์จากยุคอื่นให้อยู่ในยุคนี้ พระสมเด็จยุคปลายมีวาระการสร้างดังนี้

1. ปี พ.ศ. 2412 สร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย
2. ปี พ.ศ. 2414 สร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ (ลงรักปิดทอง) สร้างถวายแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สรุปได้ว่ายุคปลาย สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่ พ.ศ.2412 –2414 (รัชกาลที่ 5 ครองราช พ.ศ. 2411 - 2453)

รับประกันอายุพระครับ ตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์แล้วอายุไม่ถึงคืนเด็มจำนวน พร้อมค่าตกใจอีก 2 เท่าของราคาปิดครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน18,600 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 01 เม.ย. 2557 - 22:39:47 น.
วันปิดประมูล - 03 เม.ย. 2557 - 00:28:34 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลeastsak (625)(1)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 01 เม.ย. 2557 - 22:44:57 น.



องค์นี้ผ่านการเอกซเรย์เนือพระเพือตรวจสอบอายุ เรียบร้อยครับ
เครืองมืออันทันสมัยระดับโลกครับ มั่นใจได้เต็มร้อยถึงยุคกลางแน่นอนครับ ได้รับรางวัลที่ 4 ตามมาด้วยบัตรรับประกันพระแท้อีก 3 ใบครับ(จัดส่งตามหลังครับ)


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 01 เม.ย. 2557 - 23:06:43 น.



องค์นี้ตัวประสานออกมาตามเนื้อพระมากหน่อยทำให้พระมีลักษณะหนึกนุ่มครับ และตามด้วยเนื้อหาความเก่าคือ รอยปุไต่และหลุมเล็กๆๆอยู่ทั่วไปครับ สาเหตุเกิดจากมวลสารได้หลุดออกจากเนื้อพระ และ ขั้นการการสร้างพระ อาจจะใช้ไม้กระดานปัดเพื่อทำให้ผิวด้านหลังเรียบ เม็ดมวลสารที่เป็นเม็ดๆๆจึงขูดกับเนื้อพระเป็นรอยปู่ไต่ ครับ พบได้กับสมเด็จของวัดระฆังเท่านั้นครับ


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 01 เม.ย. 2557 - 23:33:07 น.



สวยครับ ขึ้นคอไม่อายใครแน่นอนครับ ใบประกาศพระแท้ 4 ใบครับ ลักษณะพระที่มีความเก่าสังเกตตรงซุ้มหวายผ่าซีกนะครับเนื้อตรงซุ้มจะม้วนตัวเข้าไปข้างใน ลักษณะเหมือนเส้นขนมจีนประมาณนั้นครับ ถ้าถอดบล๊อคใหม่จากพระแท้ๆๆเดิม เวลาถอดจากบล๊อคเนื้อก็จะหลุดออกมาตามกันหมด


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 02 เม.ย. 2557 - 00:00:33 น.



ใบประกาศครับ อีกใบหนึ่งเดียวจะลงให้ชมนะครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     18,600 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    samrettae (585)

 

Copyright ©G-PRA.COM