(0)
*** เหรียญพระชัยหลังช้าง ภปร และ สก เลี่ยมกันน้ำพร้อมใช้ ***








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง*** เหรียญพระชัยหลังช้าง ภปร และ สก เลี่ยมกันน้ำพร้อมใช้ ***
รายละเอียด*** เหรียญพระชัยหลังช้าง ด้านหลังเป็น พระปรมาภิไธย ภปร และ สก ***

คณะสงฆ์สร้างในมหามงคงสมัย เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

พระชัยหลังช้าง “ภ.ป.ร.-ส.ก.” พิธีเข้มขลัง-คู่กันสิริมงคลยิ่ง

“พระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร. และ ส.ก.” ด้วยเป็นวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นในปีแห่งมหามงคล แต่ต่างวาระกัน โดยพระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร. สร้างเมื่อปี 2530 ส่วนพระชัยหลังช้าง ส.ก. สร้างเมื่อปี 2535

แม้จะต่างวาระกัน แต่ทั้ง ภ.ป.ร. และ ส.ก. ต่างก็เป็นที่นิยมของปวงชนชาวไทยยิ่งนัก โดยจะเช่าเก็บคู่กันเป็นที่ระลึก เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว

กล่าวถึงประวัติการสร้างคร่าวๆ ย้อนไปเมื่อปี 2530 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 60 ปี 5 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ปวงชนชาวไทยต่างพร้อมใจกันถวายความจงรักภักดีแด่พระองค์โดยประกอบกิจกรรมต่างๆ ขึ้นอย่างมากมาย

แม้ทางคณะสงฆ์ก็เตรียมถวายความจงรักภักดีแด่พระองค์เช่นกัน โดยครานั้นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา ได้จัดสร้างเหรียญ “พระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร.” ขึ้นเพื่อให้ประชาชนนำไปบูชา โดยรายได้นำขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

พิธีมหาพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่!!! เมื่อ 5 ธ.ค. 2530 เกจิดังทั่วฟ้าเมืองไทยร่วมอธิษฐานจิต...

ส่วนพระชัยหลังช้าง ส.ก. นั้น จัดสร้างขึ้นโดยคณะสงฆ์ไทยเมื่อปี 2535 พิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่เช่นกัน

“เหรียญพระชัยหลังช้าง” ขนาดว่าครั้งหนึ่ง “หลวงพ่อฤาษีลิงดำ” ท่านเคยปรารภแก่ลูกศิษย์ลูกหาไว้ว่า... เหรียญพระชัยหลังช้างนี้เป็นหนึ่งในพระดีที่น่าบูชาไว้ติดตัว เพราะมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์แท้จริง

กล่าวสำหรับประวัติ “พระชัยหลังช้าง” แต่ก่อนเรียกดังนี้ พระนามเดิมคือ “พระชัย” หรือ “พระไชย” ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ออกพระนามเพิ่มว่า “พระไชยวัฒน์” ก่อนเปลี่ยนพระนามเป็น “พระชัยวัฒน์” ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงมีพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลทุกพระองค์ เพียงรัชกาลที่ 8 ที่ไม่มี

ปัจจุบันพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลทุกพระองค์ ประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง

พระชัยเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีลักษณะพิเศษคือเป็นแบบนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในลักษณะถือด้ามพัด

เป็นพระพุทธรูปขนาดย่อมหรือค่อนข้างเล็ก เพื่อสะดวกเคลื่อนย้ายไปในการพระราชพิธีสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพระราชสงคราม ถ้าเป็นทางสถลมารคจะเชิญขึ้นช้างนำหน้าช้างพระที่นั่ง จึงเรียกว่า “พระชัยหลังช้าง” ทางชลมารคก็เชิญลงเรือพระที่นั่งหน้าเรือพระเจ้าอยู่หัวเช่นกัน

สันนิษฐานว่าการหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลเป็นราชประเพณีที่ปฏิบัติสืบเนื่องยาวนาน คือเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงรับบรมราชาภิเษก ที่ปรากฏในพงศาวดารรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร มีการเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ไปในงานพระราชสงครามด้วย บ่งชี้ว่ามีพระชัยมาตั้งแต่รัชกาลนั้นแล้ว จากหลักฐานที่พบน่าจะเกิดมีขึ้นตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา

พระชัยหลังช้าง นับเป็นเหรียญยอดนิยม-เหรียญดีที่น่าสะสม เป็นเนื้อกะไหล่ทอง ขนาด 2.2 X 3.7 c.m.พุทธคุณดีทางเมตตาคุ้มครอง โชคลาภก็เป็นเยี่ยม เพราะพระชัยเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะที่ในสมัยโบราณเวลาออกศึกจะอาราธนาท่านขึ้นบนหลังช้างเป็นเคล็ด และได้ชัยชนะทุกครั้ง...

อาจารย์ที่พุทธาภิเษกหมู่ เจริญพระพุทธมนต์ เกือบ 80 รูป ขอเอ่ยชื่อเป็นตัวอย่างดังนี้

1 สมเด็จพระสังฆราช(วาส) วัดราชบพิตรฯ
2 สมเด็จพระญาณ สังวร วัดบรวนิเวศวิหาร ( พระสังฆราชองค์ปัจจุบัน)
3 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพยา
4 สมเด็จพระวันรัด วัดโสมนัสวีหาร
5 สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปธุมคงคา
6 พระพรหมคุณาภรณ์ (สมเด็จพุฒาจารย์เกี่ยว)วัดสระเกศ (รักษาการองค์พระสังฆราช)
7 พระมหาวีระ ถาวะโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง) พระของท่าน ท่านรับรองว่ากันรังสีต่างๆได้ ที่สำคัญ กระดูกกลายเป็นพระธาตุ
8 พระอาจารย์ ชื้น พุทธสาโร วัดญาณเสน พระของท่าน ท่านรับรองว่ากันรังสีต่างๆได้ ที่สำคัญ กระดูกกลายเป็นพระธาตุ
9 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
10 พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั้น กระดูกกลายเป็นพระธาตุ
11 พระอุดมสังวรเถร (ล.พ.อุตตะมะ) วัดวังค์วิเวการาม เทพเจ้าแห่งสังขระบุรี
12 พระครูฐาปนกิจสุนทร (ล.พ.เปิ่น) วัดบางพระ
13 พระครูปริมานุรักษ์ (ล.พ.พูล) วัดไผ่ล้อม
14 หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก
15 พระครูเกษมธรรมนันท์ (ล.พ.แช่ม) วัดดอนยายหอม
ข้อมูล: /www.web-pra.com

- รับประกันตามกฎ
- ผู้ประมูลได้ หากโอนเงินแล้วกรุณาแจ้งทางโทรศัพท์หรือทางเมลบล็อก G-Pra
- กรณีผู้ประมูลได้เปลี่ยนแปลงที่อยู่ กรุณาแจ้งที่อยู่ใหม่ด้วยน่ะคับ

*** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาแวะชมหรือร่วมประมูลรายการนี้ ยังมีรายการอื่นที่น่าสนใจอีก สามารถดูได้โดยคลิกที่รูป ฆ้อน เลยคับ ***
ราคาเปิดประมูล340 บาท
ราคาปัจจุบัน350 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 05 ก.ค. 2556 - 21:52:02 น.
วันปิดประมูล - 08 ก.ค. 2556 - 23:37:23 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลwipura (568)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 05 ก.ค. 2556 - 21:53:38 น.



ด้านหลัง พระชัยหลังช้างหลัง สก (เหรียญสีเข้ม)


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 05 ก.ค. 2556 - 21:55:14 น.



ด้านหน้าเหรียญพระชัยหลังช้าง หลัง ภปร (เหรียญสีอ่อน)


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 05 ก.ค. 2556 - 21:56:10 น.



ด้านหลังเหรียญพระชัยหลังช้าง หลัง ภปร (เหรียญสีอ่อน)


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 05 ก.ค. 2556 - 21:59:28 น.

ประวัติความเป็นมาของพระชัย
ที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบ ย้อนหลังไปถึงสมัยอยุธยา พระเดชพระคุณพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) แห่งวัดอัมพวัน เล่าไว้ถึงที่มาของพระพุทธชัยมงคลคาถา พาหุงฯ ๘ บท และพระชยปริตร มหาการุณิโกฯ ควบคู่กับพระราชประเพณีอัญเชิญพระชัยหลังช้างไปในราชการสงคราม ว่ามีมาตั้งแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยจะทรงอัญเชิญพระชัยไปในราชการสงคราม กู้บ้านกู้เมืองเป็นปกติ หากเสด็จทางสถลมารคก็จะอัญเชิญพระชัยขึ้นประดิษฐานบนหลังช้าง จึงได้ชื่อว่าพระชัยหลังช้าง

ในขณะที่ในพระชัยในยุครัตนโกสินทร์ มีที่มาจากพระราชจริยาวัตรในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงบูชาพระพุทธรูปประจำพระองค์นี้มาตั้งแต่ยังทรงเป็นสามัญชน ครั้นขึ้นป็นแม่ทัพก็จะอาราธนาพระชัยขึ้นหลังช้างโดยเสด็จราชการสงครามกู้แผ่นดินเป็นปกติเช่นกัน กลายมาเป็นพระราชประเพณีสร้างพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลสืบมา

ด้วยประวัติความเป็นมาดังกล่าวย่อมเป็นที่น่าศรัทธา น่าสักการะพระชัยเพื่ออานิสงส์แห่งความมีชัยชนะนัก หากแต่เดิมประชาชนทั่วไปยากที่จะเข้าถึงเข้าสักการบูชาพระชัยได้ ด้วยพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลทุกองค์จะประดิษฐานอยู่ ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ อันเป็นปีมหามงคล มีงานเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบอย่างยิ่งใหญ่ คณะสงฆ์ทั้งสังฆมณฑลโดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา เป็นประธาน ได้ร่วมกันจัดสร้างเหรียญพระชัยหลังช้าง ภปร. เพื่อเป็นทั้งพระราชกุศล ทั้งเฉลิมพระเกียรติ และเปิดโอกาสให้ปวงชนชาวไทย ได้มีพระชัยไว้สักการบูชาประจำตัว เป็นมหามงคลแก่ทั้งแผ่นดิน ด้วยประวัติความเป็นมาที่แสดงถึงความผูกพันธ์เกื้อหนุนกันอย่างลึกซึ้ง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในความเป็นชาติ พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์

พิธีมหาพุทธาภิเษกเหรียญพระชัยหลังช้าง
มีขึ้นในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยพระเถรานุเถระ องค์แทนสงฆ์ทั้งสังฆปริมณฑล อย่างยิ่งใหญ่สมเป็นงานของแผ่นดิน พระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) ผู้เข้าร่วมทำพิธีพุทธาภิเษก ได้กล่าวกับเหล่าศิษย์ถึงพระชัยหลังช้าง อย่างยกย่องในอานุภาพแห่งความไม่แพ้ เฉกเช่นองค์พระผู้บูชาสักการะพระชัยหลังช้างองค์ต้นแบบ ผู้ทรงตรากตรำกู้ชาติกู้แผ่นดิน ปกบ้านป้องเมืองตลอดพระชนม์ชีพ ด้วยพระกฤษฎาภินิหารแห่งพระบรมโพธิสัตว์ ผู้เปี่ยมล้นด้วยพระมหาทศบารมี ทรงพระมหากรุณาธิคุณยิ่งไพศาล พระราชทานส่งทอดเอกราชและความเป็นไทให้แก่ปวงชนชาวไทยมาถึงทุกวันนี้

ครั้นต่อมาในปี ๒๕๓๕ คณะสงฆ์ก็ได้จัดสร้างเหรียญพระชัยหลังช้างขึ้นอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่ไม่น้อยกว่าครั้งแรก โดยเป็นรุ่น สก. เพื่อเฉลิมฉลองศุภวารมหามงคล ที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ มีพระชนมายุครบ ๕ รอบ หลวงพี่เอก เจ้าอาวาสวัดเขาแร่ เล่าว่า แม้ครั้งนั้นหลวงพ่อฤๅษีท่านไม่ได้ไปร่วมในพิธีพุทธาภิเษกเช่นครั้งรุ่น ภปร. แต่เจ้าหน้าที่ก็ได้นำเหรียญพระชัยหลังช้างรุ่นนี้มาให้หลวงพ่อเสกถึงวัด

ผู้ใดมีเหรียญนี้รุ่นใดรุ่นหนึ่งอยู่แล้ว ก็ขอให้รับรู้ถึงความพิเศษยิ่งของพระชัยหลังช้าง ขออย่าลืมเลือนในคุณค่าสุดวิเศษยิ่งในมือ ขอจงสักการบูชาให้ซึ้งถึงดวงใจอย่างภาคภูมิ สมดังพระราชปณิธานแห่งองค์สมเด็จพระปฐมบรมมหากษัตริยาธิราชเจ้า จอมบดินทร์ปิ่นสยาม มหาราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่สะท้อนกู่ก้องประดุจสีหนาทบันลือด้วยตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ นิราศท่าดินแดงว่า

....ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา
ป้องกันขอบขันธสีมา รักษาประชาชนและมนตรี...


 
ราคาปัจจุบัน :     350 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    megai (256)

 

Copyright ©G-PRA.COM